เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ศาลอาญากรุงเทพใต้ อ่านคำสั่งไต่สวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต 6 รายจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
มีเนื้อหาสรุปสำคัญบางประการดังนี้ว่า ผู้ตายทั้ง 6 ประกอบด้วย นายสุวัน ศรีรักษา-เกษตรกร นายอัฐชัย ชุมจันทร์-บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ รามคำแหง นายมงคล เข็มทอง-อาสาสมัคร มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นายรพ สุขสถิต-พนักงาน ขับรถรับจ้าง น.ส.กมนเกด อัคฮาด-พยาบาลอาสา ผู้ตายที่ 5 นายอัครเดช ขันแก้ว-รับจ้าง
ไม่พบอนุภาคที่มาจากการยิงปืน
และมีการประกาศห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหลายแห่งในช่วงดังกล่าว
จึงเชื่อได้ว่าไม่สามารถมีผู้ใดนำอาวุธเข้าไปในพื้นที่การชุมนุมได้
นอกจากนี้ ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวัน มีทั้งผู้สื่อข่าวชาวไทยและต่างประเทศจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฏหลักฐานภาพถ่าย และจากคำเบิกความก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดพบเห็นชายชุดดำอยู่ในบริเวณดังกล่าว
และเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ยิงผ่านรางรถไฟฟ้าเข้าไปในวัดได้ ขณะที่มีภาพบันทึกว่าเจ้าหน้าที่ทหารเล็งปืนเข้าไปในวัด
ศาลจึงมีคำสั่งว่า ผู้ตายทั้ง 6 ถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม. ซึ่งวิถีกระสุนปืนยิงมาจากเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าวัด ปทุมวนารามราชวรวิหาร และบริเวณถนนพระรามที่ 1
ซึ่งเข้าควบคุมพื้นที่ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.
ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ในวัดปทุมวนารามเกิดจากการลงมือของเจ้าหน้าที่ตามคำสั่งของ ศอฉ. ก็ดี ผู้ตายทั้ง 6 ไม่มีคราบเขม่าดินปืนที่มือก็ดี และบริเวณดังกล่าวไม่มีชายชุดดำปรากฏอยู่ก็ดี
ย่อมทำให้"ความจริง"กระจ่างขึ้นมาได้อีกระดับหนึ่ง
จากนี้ไป กระบวนการทางคดีว่าใครบ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็เป็นประการหนึ่ง
ขณะเดียวกัน กระบวนการเผยแพร่ข้อเท็จจริงเพื่อให้สังคมได้รับทราบข้อเท็จจริงในระดับที่เท่าเทียมและใกล้เคียงกัน
ก็เป็นภาระหน้าที่อีกประการหนึ่ง