เปิด"นิรโทษ" ฉบับญาติ99ศพ

ข่าวสด 15 กรกฎาคม 2556



ยื่น"ปู- นางพะเยาว์ อัคฮาด และนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ พร้อมกลุ่มญาติ 99 ศพจากเหตุการณ์สลายม็อบปี?53 แถลงเปิดรายละเอียดร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ที่ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน สี่แยกคอกวัว เมื่อ 14 ก.ค.

พ่อ เฌอ แม่เกด ญาติ 99 ศพ เปิดตัวร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯ ฉบับ ประชาชน เตรียมเสนอต่อนายกฯ วันที่ 16 ก.ค.นี้ก่อนเดินสายขอเสียงสนับสนุนจากพรรค ร่วมรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้าน และยื่น "ขุนค้อน"ให้นำเข้าสู่สภา พ่อเฌอชี้สาระสำคัญให้นิรโทษฯ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ แต่แยกแยะการกระทำที่เกินกว่าเหตุของ ผู้ปฏิบัติการ การออกคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้มีการดำเนินคดี ป้องกันไม่ให้กระทำซ้ำอีก ขณะที่ศาลมีคิวไต่สวนการตาย คดี "ฮิโรยูกิ"กับ 2 ผู้ชุมนุมเสื้อแดง เหยื่อปืน 10 เม.ย.53 อัยการนำพยาน 2 ปาก เป็นทหารขึ้นเบิกความ
เมื่อวันที่ 14 ก.ค. ที่ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 นำโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา น.ส.กมนเกด อัคฮาด อาสาพยาบาลที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามเมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ บิดานายสมาพันธ์ ศรีเทพ หรือน้องเฌอ เยาวชนนักกิจกรรมที่ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 พ.ค.2553 นายอรุณศักดิ์ เลื่อนไธสง พี่ชายนายเกรียงไกร เลื่อนไธสง คนขับรถแท็กซี่ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณบ่อนไก่ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2553 ร่วมแถลงเปิดตัวร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน

นางพะ เยาว์กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเปิดร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมของประชาชน เพราะ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแต่ละฉบับที่ผ่านมาไม่เคยมีฉบับใดที่ผ่านความคิดเห็นของ กลุ่มญาติผู้เสียชีวิต หรือญาติผู้ถูกจองจำ เป็นการร่างกันขึ้นมาเองของกลุ่มต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าทุกร่างที่เสนอไปแล้วจะมีการสอดไส้ให้นิรโทษกรรมยกเข่ง และไม่ได้มอบความเป็นธรรมให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางการเมืองอย่างแท้ จริง จึงมีการพูดคุยกันในกลุ่มญาติว่าควรร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้น โดยจะไม่สอดไส้ และเป็นไปอย่างโปร่งใส

แม่น้องเกดกล่าวต่อ ว่า ทางกลุ่มญาติจะนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปยื่นให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 16 ก.ค. เวลา 09.00 น. หลังจากนั้นจะเดินสายขอความสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้าน ก่อนจะยื่นร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ในวันที่ 24 ก.ค. เพื่อขอให้บรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมสภา ในสมัยประชุมสภาที่จะเปิดในเดือนส.ค.

ส่วนนายพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามี ผู้ยื่นเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม มากกว่า 5 ฉบับ โดยทุกฉบับมักอ้างว่าเป็นความต้องการของกลุ่มญาติผู้สูญเสีย หรือนักโทษการเมือง แต่เมื่อกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตพิจารณาร่างต่างๆ โดยละเอียดพบว่าไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย บางฉบับสอดไส้และไม่กล่าวถึงปฏิบัติการทางทหารที่ใช้ความรุนแรงสลายการ ชุมนุม กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจึงขอ คำปรึกษาจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และเห็นว่าควรจะร่างกฎหมายฉบับประชาชนขึ้นมาเองผ่านกลไกทางรัฐสภา โดยผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ผ่านรัฐสภาเพื่อบังคับใช้ตามกฎหมาย

"สาระ สำคัญของร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้ คือ ให้นิรโทษกรรมประชาชน และ เจ้าหน้าที่ โดยแยกแยะการกระทำใดๆ ที่เป็นความผิดร้ายแรงจนทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ การเผาทำลายทรัพย์สินของเอกชน ตลอดจนการกระทำเกินกว่าเหตุของ ผู้ปฏิบัติการ การออกคำสั่งบังคับบัญชาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายออกจากการนิรโทษกรรม เพื่อให้มีการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม และป้องกันไม่ให้การกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำในภายหลังอีก" นายพันธ์ศักดิ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่างพ.ร.บ. นิรโทษกรรมฉบับนี้เรียกว่า "พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดความสงบเรียบร้อยหรือต่อ ความมั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความ ขัดแย้งทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 พ.ศ...."

โดย มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย มาตรา 3 ระบุว่า
(1) การกระทำใดๆ ของบุคคลอันเป็นความผิดตามกฎหมายจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือข้อกำหนดที่ออกตาม พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ซึ่งได้ประกาศใช้ อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึด อำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 ให้ผู้กระทำ พ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

(2) การกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ที่มี การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่น คงในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวน และการชุมนุมประท้วงทางการเมืองภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 หากเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียว หรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

(3) การกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงการเมืองในเขตท้องที่ หรือพื้นที่ตามมาตรา 3 (2) อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งไม่ได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 (1) หรือมาตรา 3 (2) ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ 19 ก.ย.2549-9 พ.ค.2554 ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางการเมืองภายหลังการยึด อำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 หากการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ
(4) การกระทำใดๆ หรือการตระเตรียมการของบุคคลใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมโดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่น โดยใช้อาวุธ รวมถึงการกระทำอันมุ่งต่อการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการ กระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย โดยให้รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย

นอก จากนี้ ในมาตรา 4 ระบุว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการที่ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งการบังคับ บัญชา และ/หรือไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุ ให้ผู้กระทำพ้นความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

การกระทำ ของบรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการ หรือผู้ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ รวมถึงการ กระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมายให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

โดยบทบัญญัติในวรรคที่สองให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น
ขณะ ที่มาตรา 5 ระบุว่า เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าผู้กระทำตามมาตรา 3 (1) (2) และ (3) ยังไม่ได้ถูกฟ้อง ต่อศาล หรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวน หรือการฟ้องร้อง หาก ผู้ถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัติ นี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น

มาตรา 6 ระบุว่า ผู้ได้รับการนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ไม่สามารถก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้อง สิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น และมาตรา 7 ระบุว่าการดำเนินการใดๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการ ตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กร หรือหน่วยงานของรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

นเดียวกัน พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบช.น. กล่าวถึงความคืบหน้าสำนวนชันสูตรพลิกศพ ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์เดือนเม.ย.-พ.ค.2553 ว่า กำลังเร่งรัดประสานขอสำนวนนายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณแยกสารสิน เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2553 ภายหลังที่ศาลมีคำสั่ง ผลไต่สวนการตายว่า ถูกยิงมาจากด้านเจ้าพนักงาน แต่ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ และขณะนี้สำนวนอยู่ที่พนักงานอัยการ คาดว่าจะส่งมาให้พนักงานสอบสวนบช.น.ภายในสัปดาห์หน้า

ด้าน นายเจษฎา จันทร์ดี ทนายความในคดีชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่น นายวสันต์ ภู่ทอง และนาย ทศชัย เมฆงามฟ้า ผู้ชุมนุมเสื้อแดง ที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 ว่าในวันที่ 16 ก.ค. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวน โดยอัยการจะนำพยานขึ้นเบิกความ 2 ปาก เป็นทหารที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ในวันเกิดเหตุ สำหรับคดีนี้ยังเหลือการไต่สวนอีก 5-6 นัด และมีพยานที่จะต้องนำมาเบิกความอีกหลายปาก อาทิ เจ้าหน้าที่พิสูจน์กระสุน พนักงานสอบสวน รวมถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ด้วย และจากการไต่สวนที่ผ่านมา พยานส่วนใหญ่ยืนยันว่าเป็นเจ้าหน้าที่เป็นคนยิง