สัมภาษณ์พิเศษ จตุพร พรหมพันธุ์ เปิดยุทธศาสตร์นำทัพนปช.





กระแสการเมืองเชี่ยวกรากขึ้นทุกที ขณะที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือนปช. จัดทัพใหม่ โดยมี นายจตุพร พรหมพันธุ์ ขึ้นกุมบังเหียน ในฐานะประธานนปช.คนใหม่

การขับเคลื่อนจะเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่ อย่างไร นายจตุพร ให้สัมภาษณ์ไว้ดังนี้

ถูกรับน้องแรงพอสมควร ทั้งกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ให้สัมภาษณ์ และถูกยิงถล่มบ้านพัก

ผม ต่อสู้มายาวนานตั้งแต่ปีพ.ศ.2535-2553 ระหว่างทางต่อสู้ทั้งจากซีกคนที่อยู่ใน กปปส. ซึ่งขณะนั้นอาจเป็นนักการเมือง หรือเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในอาชีพต่างๆ

ส่วน กรณีพล.อ.ประยุทธ์ มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันตั้งแต่ต้น เนื่องจากพล.อ.ประยุทธ์เป็นหนึ่งในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และเคยวิวาทะทางการเมืองมาโดยตลอด

แต่เมื่อน.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร เข้ามา บริหารประเทศ ได้พยายามงดแสดงความคิดเห็นที่จะกระทบกระทั่งกับใครเพื่อให้รัฐบาลบริหาร ประเทศต่อไปได้

แต่ระหว่างการชุมนุมของ กปปส. ชัดเจนว่าการ์ดของ กปปส.เป็นทหาร ถูกจับแล้ว 48 คน ยังเหลืออยู่ในม็อบอีกจำนวนมาก มีการตั้งบังเกอร์รายล้อมที่ชุมนุมเพื่อปกป้อง กปปส.

จึงไม่แปลกใจที่พล.อ.ประยุทธ์ กามิกาเซ่ หลังผมรับ ตำแหน่งประธานนปช. ส่วนการยิงบ้านพักนั้นเป็นครั้งแรกที่ ถูกยิง

กังวลหรือไม่จะเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีก

ได้ พยายามสื่อสารว่านปช.ยึดแนวทางสันติวิธี แม้ท่วงทำนองดูว่าแข็งกร้าวแต่เป็นการแข็งกร้าวในหลักการประชาธิปไตย ประกาศชัดเจนว่าจะต่อสู้ทางการเมือง ไม่ใช่ต่อสู้ทางการทหาร

การพา ประชาชนออกมาชุมนุมเท่ากับปฏิเสธการต่อสู้ทางการทหารด้วยอาวุธอยู่เเล้ว ถ้าตระหนักว่าการเข้ามาสู่อำนาจจะโดยรัฐประหาร ด้วยกองทัพ หรือองค์กรอิสระ โดยที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นปช.ก็ไม่มีทางเลือกที่จะลุกขึ้นมาต่อต้าน

ยุทธศาสตร์ นปช.ใต้ปีกนายจตุพร แตกต่างจากยุคของนางธิดา โตจิราการ อย่างไร

อุดมการณ์ และแนวทางไม่ได้แตกต่างกัน เพียงแต่ยุคนี้ในสถานการณ์ต่อสู้จึงเปิดประตูทุกบานต้อนรับหมู่มิตรให้ออกมา ต่อสู้ร่วมกัน แม้ว่าจะมีความเห็นแตกต่างกันบ้าง

นปช.เปลี่ยนตัวประธานในช่วงร้อนแรง ชื่อจตุพร มีภาพเป็นฝ่ายบู๊ เป็นการส่งสัญญาณพร้อมรบ

ในขบวนการ นปช.จะรู้ว่าผมยึดในกระบวนการสันติวิธีโดยเคร่งครัด แต่ท่วงทำนองการแสดงความคิดเห็นเท่านั้นที่แข็งกร้าวในจุดยืน

ส่วน การเปลี่ยนตัวประธานช่วงนี้ เป็นเรื่องที่ตกลงกันมาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วแต่ตอนนั้นผมยังมีปัญหาหมอน รองกระดูกเคลื่อน จึงขอร้องให้นางธิดา ทำหน้าที่ต่อ แม้จะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแต่ก็ไม่เกี่ยวกัน

มีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เข้ามาเสริมทัพบนเก้าอี้เลขาธิการ

ที่ เลือกนายณัฐวุฒิ มาทำหน้าที่ตรงนี้ เพื่อหลอมกระบวนการคนเสื้อแดงที่บางส่วนมีความเห็นที่แตกต่างกันให้เข้ามา ร่วมกันต่อสู้ เพราะเชื่อว่าเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจะร้ายแรงเหมือนกับปีพ.ศ.2535 รวมกับปีพ.ศ.2553 ความเป็นเอกภาพในการต่อสู้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

ส่วน กลุ่มเสื้อแดงอุดรฯ กับ นายขวัญชัย ไพรพนา อาจเห็นแตกต่างกันในบางเรื่อง แต่ส่วนตัวไม่มีอะไร ในสถานการณ์ขณะนี้นายขวัญชัยก็ประกาศชัดเจนว่าจะร่วมกับการต่อสู้ในครั้งนี้ ผนึกร่วมกับเสื้อแดงส่วนอื่นเต็มที่

วันนี้ นปช.ยังคงสนับสนุนรัฐบาลอยู่หรือไม่

นปช.มี แนวทางและอุดมการณ์ที่ชัดเจน เมื่อถึงเวลาก็เลือกอุดมการณ์และจุดยืนของนปช. เมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยรับฟังและแก้ไขในส่วนที่มีความเห็นที่แตกต่างเราก็ กลับมาร่วมกันได้ปกติ เพราะไม่มีอะไรที่ขัดแย้งเป็นการส่วนตัว แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีการและแนวทางบางเรื่อง

เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยได้ซึมซับบทเรียนที่ผ่านมาอย่างมากมาย เเละมีสิ่งเดียวที่จะรักษาชีวิตของพรรคได้นั่นคือประชาธิปไตย

จุดประสงค์การชุมนุมใหญ่ 5 เม.ย.

5 เม.ย. จะเป็นการแสดงพลังของ นปช. เพื่อปกป้องประชาธิปไตย ไม่ยอมให้ระบอบอื่นเข้ามาปกครองประเทศ รวมถึงเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทาง และกติกาของประเทศขึ้นใหม่ด้วยตัวของประชาชนเอง

โดยลากพวกอมาตยา ธิปไตยออกมาต่อสู้บนกระดานของประชาชนบ้าง เพราะจากการเลือกตั้ง การทำงานขององค์กรอิสระ เห็นได้ว่ามีการแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตย ทำให้เกิดปัญหาของกระบวนการประชาธิปไตยมากมาย

จะขับเคลื่อนมวลชนอย่างไร

มี ความพยายามบีบบังคับไม่ให้ประชาชนมีทางเลือกเพื่อสร้างสุญญากาศทางการเมือง จากเงื่อนไขเดิมที่ใช้ทหารปฏิวัติ ใช้องค์กรอิสระรัฐประหารซ่อนรูป ครั้งนี้พยายามหลบซ่อนโดยให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ใช้คำว่าปฏิวัติประชาชน

เมื่อ ทำไม่สำเร็จก็กลับมาใช้องค์กรอิสระเพื่อเอาคนนอกมาเป็นนายกฯ เมื่อประชาชนไม่ยอมก็จะเอาทหารออกมาทำรัฐประหาร คิดแบบสูตรจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร

แต่ครั้งนี้ไม่มีทางที่จะทำได้ สำเร็จ แม้ว่าจะยึดอำนาจได้ แม้ว่าจะปล้นอำนาจได้ แต่ไม่มีวันที่จะรักษาอำนาจไว้ได้ เพราะฝ่ายประชาธิปไตยเลือดเข้าตาแล้วจึงต้องสู้ยิบตา และคงไม่มีใครยอมที่จะให้ประเทศไทยถอยหลังอีก

ครั้งนี้ประชาชนตื่น ตัวมากกว่าเดิมและจะออกมามากกว่าปี 2553 หลายเท่า ถ้าจะเคลื่อนมากรุงเทพฯก็ต้องเตรียมความพร้อมทุกเรื่อง เพราะจะปักหลักชุมนุมยืดเยื้อแน่นอน

กังวลจะเกิดความสูญเสียหรือไม่ เพราะมีตัวอย่างจากเหตุการณ์ล้อมปราบปี 2553

ปัญหา ไม่ได้เกิดที่เรา ทุกครั้งที่เสื้อแดงชุมนุมถ้าไม่มีใครเข้ามาก่อกวนจะไม่เกิดปัญหาเลย ที่ราชมังคลากีฬาสถานชุมนุมหลายวันก็ไม่มีปัญหา จนกระทั่งมีกองกำลังติดอาวุธมายิงใส่คนเสื้อแดงปัญหาก็เกิดขึ้น ฉะนั้นเรารู้ว่าควรจะขยับอย่างไร

การต่อสู้ครั้งนี้จะต้องสุขุม คัมภีรภาพ ต้องใจเย็น ต้องไม่มีความสะใจ และต้องคิดถึงผลลัพธ์ที่จะประสบความสำเร็จ ต้องคิดทุกตอนก่อนที่จะขยับแต่ละจังหวะ

จุดที่แตกหักจริงๆ คือวันที่เปลี่ยนรัฐบาลไม่ว่าจะโดยกระบอกปืนหรือโดยองค์กรอิสระ วันนั้นจะเป็นวันที่ความอดทนสิ้นสุด แต่ก็ยืนยันว่าเราจะสำแดงพลังด้วยแนวทางสันติวิธี

เมื่อไรมีนายกฯ คนกลาง นปช.ก็พร้อมลุยทันที

ถ้ามีนายกฯคนนอก ไม่ว่าจะมาโดยกระบอกปืนหรือกติกาที่ฉ้อฉล จะเป็นวันที่ นปช.จะเคลื่อนพลในการต่อสู้อย่างชัดเจน

ระหว่าง นี้แม้จะมีการตัดสินคดีความต่างๆ ขององค์กรอิสระเป็นไปตามปฏิทินที่เขาวางไว้อยู่เเล้ว ไม่ได้มีความหมายอะไรกับเรา เราไปรออยู่ที่ปลายทางปฏิทินนี้อยู่เเล้ว พอถึงเวลาที่มีนายกฯที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็เจอกันทันที

ในวันที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็จะได้พบกัน เราจะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯทันทีเพราะรู้เเล้วว่ามีวันนั้นอยู่เเล้วในเดือนเม.ย. ที่จะถึงนี้

สถานการณ์ทางการเมืองในสายตาประธาน นปช. คนใหม่จากนี้จะเป็นอย่างไร

เชื่อว่าสถานการณ์นี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ประเทศไทยไม่เหมือนเดิม ถ้าเกิดการเข่นฆ่าประชาชนครั้งนี้พวกเขาก็จะไม่มีที่ยืน

ฝ่าย ประชาชนนำเสนอมาตลอดว่าให้ยึดมั่นแนวทางประชาธิปไตย การฆ่าไม่ได้ทำให้ทุกอย่างยุติ และถ้ารุกไล่กันมากก็มีตัวอย่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว

วิธีการที่จะจบเรื่องนี้ได้คือต้องเคารพการตัดสินใจของประชาชน ไม่ใช่เข่นฆ่าประชาชน

สุดท้ายนี้การต่อสู้ครั้งนี้ใครจะชนะ

เชื่อ ว่าประชาชน เพราะทั่วโลกประชาชนไม่เคยแพ้ กงล้อประวัติศาสตร์อธิบายชัดเจนว่าสุดท้ายแล้วประชาชนจะเป็นผู้ชนะไม่ว่าผล การต่อสู้เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร