เปิดหนังสือตอบสำนักงานอัยการ ICC



ทีมข่าว นปช.
2 พฤศจิกายน 2555


นปช. เปิดหนังสือตอบกลับจากสำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) กรณีที่ นปช. ได้ยื่นคำร้อง เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 55 เพื่อขอให้ไต่สวนเหตุการณ์เดือน เม.ย.-พ.ค. 53
ขณะนี้สำนักงานอัยการของ ICC ได้เริ่มการตรวจสำนวนเบื้องต้นว่า คำฟ้องของ นปช. อยู่ภายใต้อำนาจของ ICC หรือไม่



ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: ห้องเอกสาร




อ้างถึง OTP/THA/011112/PM-er
วันที่ 1 พฤษจิกายน 2555

เรียน ดร.เหวง

จดหมายฉบับนี้เขียนมาเพื่อตอบการซักถามข้อมูลที่ส่งถึง ท่านอัยการ เบนสุดา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 เกี่ยวกับขั้นตอนการรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (“ICC” หรือ “ศาล”) โดยประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสนธิสัญญากรุงโรม
ตามที่ท่านได้ทราบแล้วว่า ศาลไม่สามารถใช้เขตอำนาจเหนือดินแดนหรือประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสนธิสัญญากรุงโรมได้ นอกจากจะได้รับมอบหมายจาก คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติตามมาตรา 13 (b) ของสนธิสัญญากรุงโรม หรือ ประเทศนั้นๆจะรับเขตอำนาจของศาล โดยการประกาศ และบันทึกที่สำนักทะเบียน ตามมาตรา 12 (3) ของสนธิสัญญากรุงโรม
การประกาศดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นรูปแบบของจดหมายจากรัฐบาลที่เกี่ยวข้องจ่าหน้าถึงนายทะเบียนของ ICC สำเนาถึงประธานของ ICC และอัยการ จดหมายนั้นควรระบุสถานการณ์ที่รัฐบาลจะรับเขตอำนาจศาลของ ICC ซึ่งควรเขียนให้เป็นรูปธรรมให้มากที่สุด แน่นอนศาลมีกฎว่า การกำหนดขอบเขตนั้นไม่สามารถ “ชี้ถึงฐานความผิดในสถานการณ์ได้ เพราะต้องมีการสอบสวนครอบคลุมในทุกประเภทของอาชญากรรมที่อาจเกี่ยวข้อง”
ตามที่กำหนดไว้ในกฎข้อ 44 ผลของการประกาศคือการยอมรับเขตอำนาจศาลในคดีอาชญากรรมตามมาตรา 5 ของสนธิสัญญา (ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ นอกจากนี้ประเทศผู้ประกาศยังต้องให้ความร่วมมือกับศาลตามส่วนที่ 9 ของสนธิสัญญากรุงโรมว่าด้วยเรื่องการร่วมมือระหว่างประเทศและการช่วยเหลือกระบวนการศาล ซึ่งบังคับใช้โดยอนุโลม เป็นความรับผิดชอบของประเทศที่เกี่ยวข้องที่จะต้องทำให้มีกฎหมายภายในประเทศที่กำหนดถึงความร่วมมือทุกประเภทซึ่งกำหนดไว้ในส่วนที่ 9 ของสนธิสัญญา ตามมาตรา 88 อย่างไรก็ดีเนื่องจากส่วนที่ 9 เกี่ยวข้องกับความร่วมมือภายใต้การสอบสวนและดำเนินคดี ไม่ใช่การตรวจสำนวนเบื้องต้น การกำหนดกระบวนการระดับประเทศหรือการออกกฎหมายจึงไม่จำเป็นในการยื่นหนังสือประกาศรับเขตอำนาจต่อศาล
ประเทศผู้ประกาศอาจประสงค์ที่จะเลือกที่จะส่งข้อมูลเอกสารสนับสนุนข้อกล่าวหาอาชญากรรมภายใต้ขอบเขตอำนาจศาล ข้อมูลเหล่านั้นที่ได้รับจะถูกส่งไปที่แผนกวิเคราะห์ของอัยการว่า มีข้อมูลมากเพียงพอหรือไม่ภายใต้มาตรา 15 ของสนธิสัญญา
โปรดเข้าใจว่า มาตรา 12 (3) เป็นการดำเนินการเพื่อให้ศาลมีขอบเขตอำนาจ ไม่ใช่เป็นกลไกเริ่มต้น ดังนั้น หากจะมีการเปิดการสอบสวนขึ้น จะต้องมีการดำเนินการด้านอื่น เช่น อัยการต้องใช้ดุลพินิจเองตามมาตรา 15
หลังจากที่ได้รับหนังสือประกาศ สำนักงานอัยการจะเริ่มการตรวจสำนวนเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ เพื่อพิจารณาว่า ข้อมูลที่มีจะมีเหตุผลเพียงพอที่จะดำเนินการสอบสวน ในกรณีนี้สำนักงานจะพิจารณา โดยอาศัยกฎเกณฑ์ในมาตรา 53 (1) (a)-(c) เพื่อดูว่า
(ก) ข้อมูลที่มีเพียงพอให้เชื่อว่ามีการก่ออาชญากรรมภายใต้ขอบเขตอำนาจศาลขึ้นแล้วจริง หรือ กำลังเกิดขึ้นอยู่
(ข) คดีจะสามารถยื่นต่อศาลได้ภายใต้มาตรา 17 และ
(ค) การสอบสวนจะไม่มีประโยชน์ต่อความยุติธรรม
หากท่านมีคำถามเกี่ยวกับกรณีนี้เพิ่มเติม กรุณาอย่ารีรอที่จะติดต่อ คุณ เอเมอริค โรเจียร์ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ ขอบเขตอำนาจ และความร่วมมือ ซึ่งติดต่อได้ที่ emeric.rogier@icc-cpi.int โทรศัพท์ +31 070 515 9080 (สำนักงาน) หรือ +316 46 44 87 91 (มือถือ)
ขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณในความสนใจของท่าน ในฐานะที่เป็นประเทศไม่เป็นภาคีสนธิสัญญา เกี่ยวกับกิจกรรมของศาลและสำนักงานอัยการ ขอได้โปรดรับการคารวะอย่างสูง