Hot Topic: ศาลรัฐธรรมนูญท้าให้ "ถอดถอน" ยืนยันไม่ใช่ตัวช่วย ปชป.

วอยซ์ทีวี 8 มิถุนายน 2555 >>>




รายการ Hot Topic ประจำวันที่ 8 มิ.ย. 55

วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่สตูดิโอ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์ในรายการ Hot Topic โดยระบุว่า การยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเรื่องของการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำลังเป็นประเด็นที่เกิดเป็นปัญหา เนื่องจากรัฐธรรมนูญเขียนไม่กระจ่างชัด โดยให้ ประชาชนมีสิทธิเสนอต่ออัยการสูงสุด และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งก็แปลได้สองทางเป็นกรณีของของประชาชนที่ทราบเรื่อง หรืออัยการสูงสุดที่ต้องยื่นเรื่องเข้ามา
เราก็ไม่ได้นิ่งดูดายในกรณีดังกล่าว โดยได้ไปสอบค้นที่มาเมื่อครั้งร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ก็ไม่ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ แต่พบว่ามีการไปเอาตัวบทจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ในมาตรา 63 เราก็ไปขอข้อมูลจากการบันทึกข้อมูลของทางการว่า คณะกรมการยกร่างฯ คิดอย่างไร พบว่ามีสองความเห็นที่ตรงข้ามกัน โดยความเห็นแรกเป็นของฝ่ายเลขาฯที่ใช้คำว่า ผู้ที่รู้เรื่องราวมีสิทธิที่จะเสนอต่ออัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นของเดิม โดยฝ่ายเลขาฯที่ต้องการให้เรื่องไปผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น แต่มีผู้ที่แปรญัตติตรงกันข้ามโดยต้องการให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ต้องผ่านอัยการ
นายจรัญ ยังกล่าวต่อว่า คณะกรรมาธิการก็ต้องตัดสินใจว่าต้องเลือกเวอร์ชั่นไหน แต่ไม่มีการเลือก จึงปรับเปลี่ยนข้อความจนออกไปเป็นมาตรา 63 ซึ่งเป็นที่มาของมาตรา 68 ก็คือ ประชาชนย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบ และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งแบบนี้แปลได้ 2 ทาง ซึ่งไม่ใช่การผูกมัดต่ออัยการสูงสุด โดยมีการระบุว่ามี 2 เหตุผล คือ ประการแรก ต้องผ่านอัยการสูงสุดเพราะเดี๋ยวใครก็ร้องได้ จึงให้อัยการสูงสุดกลั่นกรอง ส่วนประการที่สอง มีการมองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่สิทธิของอัยการสูงสุด เพราะสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นของปวงชนชาวไทย จึงทำให้มีสิทธิและหน้าที่ในการยื่นคำร้องได้ เพราะถ้าหากให้ผูกมัดกับอัยการสูงสุดท่านเดียว แล้วหากประเทศจะมีเหตุการณ์รัฐประหารโค่นล้มการปกครองที่ไม่มีใครรู้ว่าจะมาไม้ไหน แล้วจะทันท่วงทีหรือไม่ จึงควรตีความให้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนได้มีโอกาสมากที่สุด จึงให้มีสิทธิสองประการ
เมื่อถามถึงอำนาจของอัยการสูงสุดในกรณีนี้ นายจรัญ ระบุว่า ยอมรับว่าอัยการสูงสุดไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ เพราะฉะนั้นตนเห็นด้วยว่า อัยการสูงสุด จะต้องมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการวิเคราะห์พิจารณาว่าจะยื่นหรือไม่ยื่น ไม่ใช่เอาคำว่าและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมาบังคับอัยการสูงสุด แต่คำว่าและยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิทธิของประชาชนที่สามารถทำได้ 
ส่วนกรณีของการเสนอความเห้นที่หลากหลายในเว็ปไซต์ กรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่อาจเข้าไปแทรกแซงอำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ นายจรัญ ระบุว่า ยอมรับว่ามีสองความเห็น เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญตีความไปได้สองทาง ว่าเราควรจะไปไทางไหน แล้วอะไรคือตัวชี้วัด แต่สิ่งที่เรายึดมั่น คือการสินใจอะไร ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ จะสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายร้ายแรง ก็ต้องขอให้ยืดเวลาไปก่อน การมีคำสั่งเช่นนี้ไม่ได้ทำให้เสียหายร้ายแรงอะไร ส่วนอัยการสูงสุดจะมีมติไม่ส่งเรื่องนั้นก็ทำได้ เพราะงานที่ต่างกัน อัยการต้องตรวจสอบหลักฐานก่อน ส่วนงานของศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องรับเรื่องเข้ามาก่อน แล้วจึงไต่สวนเรื่อง ซึ่งการมายื่นคำร้องซึ่งก็เหมือนคำฟ้อง เราก็ต้องดูว่ามีสิทธิหรือไม่ในการยื่น แต่เมื่อตีความมีสิทธิเราก็ต้องอ่านคำร้อง เมื่อเข้าตามข้อกฎหมายก็ต้องรับเอาไว้ เป็นการรับเอาไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงด้วย ส่วนการมีคำสั่งระงับไว้ก่อน ก็เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย เป็นเรื่องของวิธีการชั่วคราว ซึ่งวิธีการชั่วคราวนี้ศาลรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันรัฐสภายังไม่ตรา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ เมื่อยังไม่ตรากฎหมายออกมา รัฐธรรมนูญมาตรา 300 ให้ศาลฯออกข้อกำหนดเอาเอง เพราะฉะนั้นข้อกำหนดจึงเสมือนหนึ่งเป็นวิธีการพิจารณาคดี ซึ่งถ้าไม่มีส่วนนี้ เราก็ทำงานไม่ได้ ถ้าเรื่องไม่เขียนไว้จึงมีการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีแพ่งมาใช้ ซึ่งพบว่า มาตรา 264 ที่ถือเป็นกฎหมายอ่อนที่สุด ไม่ใช่ห้าม แต่เป็นคุ้มครองชั่วคราว เพื่อประโยชน์แก่พิพากษาคดีต่อไป
   "ผมยืนยันว่า การออกคำสั่งก็ให้ออกคำสั่งไปยังประธานรัฐสภา เป็นตัวบุคคล ไม่ใช่สั่งไปยังรัฐสภา ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการเหิมเกริมเอาอำนาจตัวเองเป็นใหญ่เมื่อเราเห็นว่ากฎหมายไปได้ ก็มาอยู่ที่ความชอบธรรม เพราะต้องมาชั่งน้ำหนักว่าถ้าไม่ใช้แล้วผลเสียหายร้ายแรงจะขนาดไหน ถ้าใช้แล้วผลจะเป็นอย่างไร ต้องดูดุลยภาพของความเสียหายทั้งสองด้าน ซึ่งเมื่อวิเคระาห์ว่าถ้าเป็นจริงตามคำฟ้องแล้วไม่ยั้งไว้ก่อน คำวินิจฉัยต่อไปของศาลจะไม่มีทางแก้ แต่ยั้งไว้ก่อนเพื่อไต่สวน ถ้าหากบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรตามคำฟ้อง ก็จะเดินไปได้อย่างสง่าผ่าเผย อย่างยั่งยืน"
เมื่อถามว่า ถ้าคำสั่งของศาลได้ส่งไปยังประธานรัฐสภาแล้ว ถ้าประธานฯไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กระบวนการถอดถอน หรือยุบพรรคจะเกิดขึ้นหรือไม่ นายจรัญ ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนุญไม่มีอำนาจบังคับการ ทำได้แต่วินิจฉัยว่าข้อกฎหมายเป็นอย่างไร การบังคับอยู่ที่กระบวนการของกฎหมาย ถ้าประธานรัฐสภาหรือรัฐสภาไม่เชื่อถือตามคำสั่ง  ศาลฯก็ทำอะไรไม่ได้ แต่จากนั้นผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร เราไม่รู้ ส่วนเรื่องยุบพรรค ตนไม่คิดว่าจะมีอะไร เพราะเรามุ่งไปที่สภาฯ ไม่ใช่ที่พรรคการเมือง
ส่วนประเด็นเรื่องการแทรกแซงอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ นายจรัญ ตอบว่า ไม่ใช่การไปขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเรารู้ว่าหลักคิดพื้นฐานที่เราใช้ระบบรัฐสภา ไม่ใช่ศาลเข้าไปแทรกแซง แต่เพราะมีรัฐธรรมนูญมาตรา 68 จากครั้งแรกในมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ให้ประชาชนมีสิทธิหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าใหญ่กว่าคณะรัฐมนตรี รัฐสภา รวมทั้งใหญ่กว่าศาล ถ้าศาลทำขัดแย้งต่อมาตรา 68 ก็ถูกยับยั้งได้ ไม่ใช่ใครใหญ่กว่าใคร
ต่อข้อถามว่า ในการที่ศาลลวินิจัยแบบนี้ เพราะมีอคติต่อการเมืองหรือไม่ นายจรัล กล่าวว่า คงจะห้ามไม่ได้ ห้ามไม่ให้คนคิดแบบนั้นไม่ได้ แต่ตนขอต้องบอกว่ามาถึงววันนี้ก็คงเป็นงานสุดท้ายช่วงชีวิต วันนี้คิดแต่ประโยชน์เพื่อประเทศชาติ เพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่มีการฝักใฝ่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อตำแหน่งลาภยศสรรเสริญ เพราะคิดว่างานนี้ทำเพื่อประโยชน์เพื่อประเทศเท่านั้น
ส่วนกระแสวิจารณ์ว่า การกระทำดังกล่าวจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย นายจรัญ กล่าวว่าต้องบอกว่าเป็นประชาธิปไตยแบบไหน คงต้องกลับมาช่วยดูว่าเป็นอย่างไร วันนี้ประชาธิปไตยต้องตั้งบนฐานของหลักนิติธรรม และต้องให้ความน่าเชื่อถือ ต้องให้ฝ่ายตุลาการเข้ามาถ่วงดุลอำนาจ ไม่เช่นนั้นใครจะยับยั้งการกระทำที่นอกช่องทางของฝ่าบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ โดยขอให้ทำให้เป็นธรรมไม่กลั่นแกล้ง แต่ยืนยันว่าไม่ใช่ว่ามีอำนาจเหนือกว่า เพราะอำนาจอยู่ที่บริหาร นิติบัญญัติ หากออกกฎหมายมาจัดการตุลาการได้ หากตุลาการทำไม่ดี ก็ไปสู่กระบวนการถอดถอนได้
เมื่อถามว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ดูเหมือนกับว่าศาลฯกำลังช่วยพรรคประชาธิปัตย์ นายจรัญ ยืนยันว่า  "ต้องบอกว่าช่วยแล้วได้อะไร ถ้าจะช่วยผมช่วยรัฐบาลไม่ดีกว่าเหรอ ได้อะไรมากกว่าอีก เราห้ามความคิดคนไม่ได้ แต่ให้เราวิ่งชี้แจงก็ทำยาก พูดไปก็เหมือนตอบโต้แต่ก็ไม่อยากตอบโต้ แล้วหากคิดว่าถ้าศาลฯจะลำเอียงควรเข้าข้างใครถึงได้ประโยชน์ ความยากลำบากของงานตุลาการคืองานคานอำนาจ ถ้าตามใจอำนาจเป็นเรื่องง่าย และตนยืนยันว่าที่ตนทำมา 4 ปี ว่าตนไม่เอียงเข้าข้างใครไม่มีผลประโยชนน์กับใคร ส่วนเรื่องการถอดถอนยืนยันว่าเป็นดุลย์แห่งการคานอำนาจและกระบวนการตรวจสอบ และถ้าพบว่าไม่ดีก็ถอดถอน เพื่อเป็นบรรทัดฐาน แต่ถ้าพบว่าเราไม่มีอะไร ก็ต้องให้ความเป็นธรรม"