อ่านเต็มๆ คำแถลงอัยการสูงสุด ไม่ส่งคำร้องร่างแก้ รธน. ให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตาม "ม.68"

มติชน 8 มิถุนายน 2555 >>>




ตามที่บุคคลและคณะบุคคล รวม 6 ราย คือ
  • นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ผู้ร้องที่ 1 
  • นายบวร ยสินทรกับพวกกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน ผู้ร้องที่ 2 
  • นายวรินทร-เทียมจรัส ผู้ร้องที่ 3 
  • พลตรีจำลอง ศรีเมือง กับพวก ผู้ร้องที่ 4 
  • นายวิรัตน-กัลยาศิริ กับพวก ผู้ร้องที่ 5 และ
  • พลเอกสมเจตน-บุญถนอม กับพวกสมาชิกวุฒิสภา ผู้ร้องที่ 6 
ได้มีหนังสือส่งเอกสารหลักฐานให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กรณีคณะรัฐมนตรี พรรคร่วมรัฐบาลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานรัฐสภา ได้ร่วมกันเสนอ รับพิจารณา และลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช.... ซึ่งกำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกหรือล้มล้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุขและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 นั้น
ด้วยองค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดเป็นกลไกหนึ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 หมวด 3 ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 68 ไม่ว่าอัยการสูงสุดจะวินิจฉัยไปทางหนึ่งทางใดก็ย่อมมีผลกระทบในทางการเมือง ดังนั้น ในการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 68 อัยการสูงสุดจึงตระหนักเสมอว่า ต้องใช้อำนาจหน้าที่ดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นกลาง
บัดนี้ คณะกรรมการตรวจสอบข!อเท็จจริงที่อัยการสูงสุดแต่งตั้งได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและพิจารณาจากพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏ มีความเห็นเสนอต่ออัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดได้วินิจฉัยแล้วดังต่อไปนี้
1. อัยการสูงสุดมีอำนาจตรวจสอบข อเท็จจริงและยื่นคำร องขอให ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่อย่างไร
   1.1 จากการตรวจสอบเจตนารมณ์และที่มาของบทบัญญัติมาตรา 68 จากรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 27/2550 เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2550 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.....ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ-รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 (คือ มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550) ในหน้าที่ 7-18 สรุปได้ว่า อัยการสูงสุดจะต้องตรวจสอบเรื่องราวว่ามีมูลหรือไม่ ในกรณีมีมูลอัยการสูงสุดจะเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญในขั้นตอนต่อไป
   1.2 จากการพิจารณาบทบัญญัติมาตราอื่นๆ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้แก่ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง มาตรา 154 (1) มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 233 วรรคหนึ่ง มาตรา249 วรรคสอง เปรียบเทียบกับมาตรา 68 แล้ว เห็นได้ว่า การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามมาตรา 68 นั้น มิได้บัญญัติให้อัยการสูงสุดมีหน้าที่เพียงยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำตามที่ผู้ร้องทราบว่ามีการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา68ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 91 วรรคหนึ่ง มาตรา 154 (1) มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 233 วรรคหนึ่งมาตรา 249 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณีส่งคำร้อง ความเห็น เรื่อง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อได้รับคำร้อง ความเห็น เรื่อง จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกทั้งสองสภา
ดั้งนั้น หากรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ให้อัยการสูงสุดมีหน้าที่เพียงรวบรวมข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำที่ผู้ร้องทราบมาโดยไม่ต้องพิจารณาหรือวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามมาตรา 68 หรือไม่ รัฐธรรมนูญก็คงบัญญัติในทำนองเดียวกันตามที่กล่าวข้างต้น
   1.3 พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 16 ได้ บัญญัติรองรับอำนาจอัยการสูงสุดในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ โดยมีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานได้ตามที่เห็นสมควรไว้ด้วย ในการใช้อำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการที่ต้องห้ามตามมาตรา68 อัยการสูงสุดต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครองตามมาตรา 26 และมาตรา 40 และต้องใช้อำนาจในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 255 วรรคสอง ประกอบกับการกล่าวหาบุคคลหรือพรรคการเมืองว่าใช้สิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่ต้องห้ามตามมาตรา 68 เป็นการกล่าวหาที่มีความร้ายแรง กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลและพรรคการเมือง ซึ่งอาจถูกดำเนินคดีอาญา ถูกสั่งยุบพรรคการเมืองหรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ หากอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่มีผู้ทราบการกระทำแล้วปรากฏว่าการกระทำนั้นไม่ใช่การกระทำที่ต้องห้ามมาตรา 68 และยังยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สั่งเลิกการกระทำนั้นอีกย่อมเป็นการใช้อำนาจโดยไม่เที่ยงธรรมกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ถูกร้องโดยไม่เป็นธรรม อันเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแล้วก็ย่อมให้อำนาจอัยการสูงสุดในการที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยถึงการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่  ทั้งนี้เพื่อมิให้อัยการสูงสุดใช้อำนาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง
2. การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎรฯ ได้ สนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... กำหนดให มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการใช้ สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล มล างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุขและให้ได้ มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้ เป็นไปตามวิถีทางบัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญตามความในมาตรา68 หรือไม่
จากการพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกำหนดหลักการอันเป็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไว้เป็นหมวดต่างๆ รวม 15 หมวด คือ หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย หมวด 5แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หมวด 6 รัฐสภา หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ หมวด 9 คณะรัฐมนตรี หมวด 10 ศาล หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญหมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และบทเฉพาะกาล ประกอบกับบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 26 ที่บัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” เห็นได้ว่า การใช้อำนาจขององค์กรของรัฐกับการใช้สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ได้บัญญัติไว้ในลักษณะที่แยกต่างหากจากกัน ซึ่งในส่วนของสิทธิและเสรีภาพนี้จะบัญญัติไว้ในหมวด 3 แต่ในส่วนขององค์กรรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภานี้ จะมีสมาชิกสภาผู!แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้ใช้อำนาจขององค์กรรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น หมวด 6 รัฐสภา หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในหมวด 15 ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามมาตรา 68
3. การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู แทนราษฎรฯ ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... กำหนดให มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการแก้ ไขเพิ่มเติมตามวิถีทางที่บัญญัติไว ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550มาตรา 291 หรือไม่
มาตรา 291 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และวิธีการทำนองเดียวกันที่บัญญัติไว!ในมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ส่วนถ้อยคำที่แตกต่างกันไม่มีผลทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการตามบทบัญญัติทั้งสองมีเนื้อหาหรือความหมายแตกต่างไปจากเดิมแต่อย่างใด
จากการตรวจสอบกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 211 ปรากฏว่าในการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มหมวดที่ 12 กำหนดให!มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญมาเป็นผู้ยกร่าง มีลักษณะทำนองเดียวกับการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช.... ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มหมวด 16 กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญทำนองเดียวกัน ในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 นี้ ได้ดำเนินการโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา211 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 บางส่วน โดยเพิ่มหมวดที่ 12 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อเปิดช่องให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิมต่อไปเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอาจแก้ไขเพิ่มเติมโดยแก้ไขถ้อยคำและข้อความที่มีอยู่แล้วคือ
1) การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราหรือหลักการเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือ
2) โดยเพิ่มเติมข!อความ มาตรา หรือหลักการใหม่เข้าไป คือ การแก้ไขเพิ่มเติมมาตราหรือหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งไม่มีอยู่เดิม
ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช.... โดยมีสาระสำคัญให!มี “การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” โดยการเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ให้มี “หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” มาตรา291/1 ถึงมาตรา291/17 กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ “จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” นั้น ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ว่าด้วยเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหมวดที่ 15 มาตรา 291 ในทำนองเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 211 ดังกล่าวข้างต้น กรณีจึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของผู้ถูกร้องทั้งในส่วนของคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปรากฏว่าได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 ทุกประการและได้มีการพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามที่บัญญัติไว!ในมาตรา136 (16) แล้ว การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันเป็นวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 291
4. การที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู แทนราษฎรฯ ได้ เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช...... มีเนื้อหาส่อให้ เห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้ มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามที่วิธีทางที่บัญญัติไว ในรัฐธรรมนูญตามความในมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่
จากการตรวจสอบเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....)พุทธศักราช.... ทั้งสามฉบับ ปรากฏว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291/11 ทั้งสามฉบับ มีข!อความเหมือนกัน คือวรรคแรก บัญญัติว่า “สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน....” วรรคสี่ บัญญัติว่า “ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทั่วภูมิภาคด้วย” วรรคห ้า บัญญัติว่า “ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้”วรรคหก บัญญัติว่า
“ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามวรรคห้า ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป” เห็นได้ว่าการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้อง มิได้มีเจตนาหรือต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติดังกล่าว คือ ต้องยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งรัฐสภาจะต้องตรวจสอบด้วยและหากวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็เป็นอันตกไป นอกจากนั้น เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จแล้วจะต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อนว่าจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ซึ่งไม่แน่ว่าประชาชนชาวไทยทั่วไปจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ หากเสียงของประชาชนไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นก็เป็นอันตกไป ตามความในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291/13 (ฉบับของนายภราดร ปริศนานันทกุล เป็นมาตรา 291/14)
นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก มาตรา 291 ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจึงกระทำไม่ได้ เนื่องจากต้องห้ามตามความในมาตรา 291 (1) วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ญัตติขอแก้ ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้ ”และไม่ปรากฏว่าร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามฉบับมีข้อความใดที่บ่งชี้ หรือแสดงให้เห็นว่าได้มีการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู!แทนราษฎรของพรรคการเมืองหลายพรรค เสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ตามมาตรา 291 จึงไม่มีเนื้อหาเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
กรณีตามคำร้องของผู้ร้องทั้งหกข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติการณ์หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการตามความในมาตรา68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
อนึ่ง การพิจารณาวินิจฉัยของอัยการสูงสุดในเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เฉพาะของอัยการสูงสุด ตามมาตรา 68 ไม่ได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยขององค์กรอื่นแต่อย่างใด

สำนักงานอัยการสูงสุด
7 มิถุนายน 2555