โดย ธิดา ถาวรเศรษฐ ....
เมื่อมีเรื่องราวใดก็ตามที่ เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ เราจะพบคนสองกลุ่มปรากฏตัวแ ละนำเสนอความเห็น
กลุ่มแรก แสดงตัวว่า เป็นผู้พิทักษ์ตัวจริงยิ่งกว่าใครในแผ่นดินนี้
กลุ่มที่สอง แสดงตัวว่า เป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์ยิ่งกว่าใครในแผ่นดินนี้
ทั้งสองกลุ่มนี้ จะมีลักษณะร่วมกันคือ ด่าว่าคนที่พูด และทำ ไม่เหมือนตน ไม่ว่าจะอยู่ในฟากเดียวกัน หรือคนละฟากก็ตาม
พวก จารีตนิยม ย่อมแน่นอนว่า ไม่รู้จักคำว่า “เสรีนิยม” อยู่แล้ว แต่พวกประชาชน ต้องรู้จักคำนี้ด้วย เพราะเราอยู่ฝ่ายประชาชน ซึ่งมีความหลากหลาย เพราะเป้าหมายเรา คือ ระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง จำเป็นต้องสร้างแนวคิดที่ “ไม่ใช่จารีตนิยม,ไม่ใช่อนุรักษ์นิยม,หรือไม่ใช่อภิชนนิยม แต่เป็นเสรีนิยม ที่อนุญาตให้ความเห็นแตกต่างกันอยู่ร่วมกันในสังคมได้”
เพราะเป้าหมาย การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น จำเป็นต้องใช้วิธีการประชาธิปไตย ไม่อาจใช้ท่วงทำนองเผด็จการเพื่อไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
ขบวนการประชาชนจึงต้องใช้แนวทางมวลชนเป็นสำคัญ
ประกอบ หนทางการต่อสู้ว่า จะใช้การต่อสู้แบบไหน สันติวิธี หรือการต่อสู้ด้วยอาวุธ และถ้าจะใช้หนทางสันติวธี ก็ต้องใช้ สันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงอย่างจริงจัง เพื่อรักษาขบวนตามยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของขบวนให้ได้ ไม่ใช่ใช้ลัทธิเสรี ไร้ระเบียบวินัย
นอกจากนี้ใน ขบวนประชาชนอันกว้างใหญ่ไพศาล มีความหลากหลายทางความคิด การเคลื่อนขบวนให้ไปในทิศทางใหญ่เดียวกันอย่างมีจังหวะก้าว พร้อมเพรียงกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง พวกใจร้อน ใจเร็ว หรือ พวกต้องการแสดงว่า ฉันนั้นก้าวหน้ากว่าใคร เป็นผู้กล้ายิ่งกว่าใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันฯ จะฟาดหัว ฟาดหาง ผู้อื่น ที่พูด หรือปฏิบัติไม่หมือนกันตน ก็ต้องหันกลับไปดู กลุ่มจารีตนิยมที่ด่าทอกันเป็นตัวอย่าง แต่เขาทำเช่นนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะการยืนอยู่บนผลประโยชน์ของตัวเอง ของกลุ่มของตัวเอง และของอภิชน ก็ต้องเป็นเช่นนั้นเอง
แต่ถ้าเป็นฝ่าย ประชาชน ที่ยึดมั่นผลประโยชน์ประชาชน ปัญหาจะเนื่องมาจากความรับรู้ และความเข้าใจในภววิสัยทั่วด้านหรือไม่เท่านั้น เพราะการเอาอัตวิสัยมากำหนดการกระทำโดยไม่สอดคล้องกับภววิสัยทั้งในขบวน ประชาชนเองและนอกขบวนประชาชน นอกจากทำไม่ได้ผลแล้วก็ยังขัดแย้งกับประชาชนเอง และเกิดผลเสียกับขบวนประชาชนด้วย
และนี่คือบทที่หนึ่งของการต่อสู้ของ ประชาชน นั่นคือ ต้องแยกมิตร แยกศัตรูให้ถูกต้อง และมีท่าทีต้องมิตร และท่าทีต่อศัตรูอย่างถูกต้อง
เรือง ฎีกาประชาชนห้าล้านฉบับในหนึ่งเดือน เป็นตัวอย่างของ กรณีการเคลื่อนไหวของประชาชนใน ลักษณะแนวร่วม ตั้งแต่ปี 2552 เริ่มโดยคุณ วีระกานต์และคณะ แล้วผนึกกำลังกลุ่มต่างๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจ
มี แกนนำบางท่านไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง จนถึงกับแยกตัวออกไป และ ก็มีแกนนำที่แม้จะไม่เห็นด้วย แต่ไม่เห็นว่า จะทำให้เกิดความเสียหายอะไร ตรงข้ามกลับเป็นการตรวจสอบประชาชนได้ และก็มีแกนนำที่สนับสนุนเห็นด้วยเต็มที่
นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “แนวร่วม” ที่มีทั้งความเหมือน และความแตกต่างกัน ฝ่ายประชาชนต้องเข้าใจว่า ภาวะ “แนวร่วม” ยังดำรงอยู่ในขบวนเราจนถึงปัจจุบัน
แน่นอนว่า ภาวะเช่นนี้มีทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อน
จุด แข็งคือมีผู้เข้าร่วมขบวน กว้างใหญ่ไพศาล จุดอ่อนคือ ขาดเอกภาพในองค์กรนำทางความคิดและวิธีการทำงาน ยังต้องแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่างอยู่
แต่ในเรื่องฎีกานั้น ไม่ว่าใครจะคิดแตกต่างอย่างไรก็ตาม แต่ให้สังเกตุข้อดีคือ นี่เป็นกลยุทธ์ใหม่ในช่วงเวลานั้น ที่ทำให้ฝั่งนักวิชาการอนุรักษ์นิยม พรรคอนุรักษ์นิยม สื่ออนุรักษ์นิยม และพวกเครือข่ายอภิชนทั้งหลาย ตกอกตกใจ ดาหน้าออกมาขัดขวาง การฎีกา และโจมตีอย่างดุเดือด ปรากฏว่า แม้จะโจมตีหนักหน่วงเพียงใด ในขั้นรวบรวมรายชื่อ กลับมีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ ประชาชนระดมส่งหลักฐาน และใบฎีกามาถึงห้าล้านราย ในเวลาเพียงหนึ่งเดือน
นี่คือบทพิสูจน์ว่า ประชาชนสมัครใจ ตั้งใจ ถวายฎีกามากจริงๆ และเป็นการตรวจแถวความพร้อมเพรียงและกำลังของประชาชน
เป็น การแสดงกำลังเชิงสันติวิธีที่รวดเร็ว และเป็นประวัติศาสตร์ที่ประชาชนจำนวนมากนับล้านถวายฎีกาถึงพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหนก็ตาม ไม่ว่าจะอ้างรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดๆก็ตาม ที่สำคัญคือเป็นการร้องโดยตรง จากประชาชนหลายล้านคน
ถ้าเรื่องนี้ไม่ สร้างความสั่นสะเทือนต่อระบอบ อำมาตยาธิปไตย ไฉนพวกอำมาตย์และสมุนบริวารจะดาหน้าออกมาเต้นแร้งเต้นกา ขัดขวาง และใช้วิธีสุดท้ายคือ เอา (ฎีกา) ไปขังคุก แช่เย็น จนสิ้นสุดรัฐบาลชุดก่อน
จนกระทั่งหนังสือพิมพ์ มหาประชาชน โดยคุณวีระกานต์ออกมาเปิดประเด็นทวงถามเร็วๆนี้
สาระจึงอยู่ที่ ไฉนจึง “เอาฎีกาของประชาชนไปติดคุก”
ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม เจตจำนงของประชาชนจำนวนกว่า สามล้านหกแสน คน ไม่อาจถูกยับยั้งโดยกระบวนการของฝ่ายอำมาตย์
เมื่อเปลี่ยนรัฐบาล กรมราชทัณฑ์ จึง “เปิดคุก” ที่ขังฎีกาของประชาชนไว้ ประชาชนจึงมีสิทธิทวงถาม เพราะเขาไม่ได้ทำเล่นๆ เขาทำจริงๆ
ใช่! นี่มันยุค พ.ศ.2554 แล้ว หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาร่วม 80 ปีแล้ว ภายใต้การครอบงำของระบอบอำมาตยาธิปไตย ประชาชนไทยยังต้องมาถวายฎีกาถึงพระเจ้าแผ่นดินแบบนี้อีก ฟังดูแล้วน่าขำ หลายคนดูหมิ่นเหยียดหยามแกนนำนปช. ที่นำพาประชาชนมาถวายฎีกา บางคนเพียงพูดว่า มันไม่ได้ผล ก็อาจจะใช่ เห็นไหม เอาไป ติดคุก ตั้งกว่า 2 ปี แต่ในที่สุดก็ต้องปล่อยฎีกาออกจากคุก
แล้วไงต่อ ?
ตอนนี้เริ่ม ออกมา ด่าทอว่า ฎีกาไม่ได้ อย่างนั้นอย่างนี้ ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย แต่มันแสดงออกถึงจิตใจของประชาชนร่วม5ล้านคนที่ลงชื่อมา และอีกนับสิบล้านคนที่ไม่ได้ลงชื่อมา
เพราะฎีกานี้มาจากหัวใจของประชาชน จะขยี้ฎีกาทิ้งด้วยเหตุผลอันใดก็ได้
แต่รู้ไหมว่า การขยี้ฎีกา ก็คือ การขยี้หัวใจของประชาชนไปด้วย
กลยุทธ์การถวายฎีกา จึงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสะพรึงกลัวสำหรับกลุ่มอำมาตย์ที่ต้องหาทางสกัดกั้นทุกวิถีทาง
คน ที่ไม่ชอบเรื่องฎีกา อาจจะมีเหตุผลแตกต่างกันและมีทั้งฝั่งประชาชน และฝั่งอำมาตย์ แต่คนที่อยู่ฝ่ายสนับสนุนการถวายฎีกา ก็อาจมีเหตุผลที่แตกต่างกันเช่นกัน
เหตุผลหนึ่งที่ฝ่ายประชาชน บางทีก็เอามาพูดกัน ก็คือ
“ถ้าฝ่ายปฏิปักษ์ออกมาต่อต้านโจมตีการกระทำใดของฝ่ายประชาชน ก็ให้เชื่อได้ว่า ฝ่ายประชาชนกระทำในสิ่ง ที่ถูกต้องแล้ว
แต่ถ้าทำอะไรแล้ว ฝ่ายปฏิปักษ์ชมเชย สรรเสริญเยินยอ ก็น่าจะเป็นการกระทำที่ผิดทาง”
กลยุทธ์ตามตำราพิชัยสงครามนั้นมีหลายแบบ ลองเทียบเคียงดูจาก 36 กลยุทธ์ของตำราพิชัย
ดังเช่นกลยุทธ ปิดฟ้าข้ามทะเล และ ตีหญ้าให้งูตื่น หรือ ตีหญ้าให้งูออกจากรู
แต่ทั้งหมดนี้ ต้องถือว่าเป็น กระบวนการต่อสู้ของประชาชนเพื่อเป้าหมายให้ได้นิติรัฐนิติธรรมที่แท้จริง และความยุติธรรมโดยเสมอหน้า
คุณ ทักษิณ เป็นเพียงตัวแทนที่มีพลังที่สุดของประชาชนที่ถูกกระทำ เป็นเหยื่อของสถานการณ์ ที่เรียกร้องความเห็นใจจากประชาชนได้มากที่สุด