โดย ธิดา ถาวรเศรษฐ ....
หลังรัฐประหาร 2534 เราได้คำตอบที่สอดคล้องกับพัฒนาการสังคม ในยุคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ โลกไร้พรมแดน เมื่อกลุ่มคน ที่เรียกว่า ม็อบมือถือ ลุกขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในการขับไล่รัฐบาลทหารเผด็จการที่กำลังจะสืบทอด อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป คนชั้นกลาง คนจนในเมือง นายทุนและคนชั้นสูง อนุรักษ์นิยมจำนวนหนึ่ง ไม่เห็นด้วยกับเผด็จการรัฐประหารในการทำรัฐประหาร 2534 และสืบทอดอำนาจต่อไป
การลุกขึ้นสู้ในเมืองแล้วเลิกไปได้ ด้วยการเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ทำให้คนทั่วไปสบายใจ โล่งอก แต่นี่ย่อมมิใช่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริงแน่นอน
ตอน ลุกขึ้นต่อสู้ ดูดี แต่จบแบบนี้ ย่อมทำให้เผด็จการทหารไม่เข็ดหลาบ ผลเพียงย้ายผู้เกี่ยวข้องเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการทหารบกและทหารที่ทำรัฐประหาร 2534 ก็ร่ำรวยกันมากทั่วหน้า
การลุก ขึ้นสู้ของประชาชนในปี พ.ศ. 2535 เปรียบเหมือนตอนเริ่มต้นของการต่อสู้ของประชาชนในยุคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ที่ ก้าวย่างมาในสังคมไทยเต็มตัว ตั้งแต่ยุครัฐบาลชาติชายชุณหวันที่มีการค้าและการผลิตเพิ่มขึ้นมากมาย รวมทั้งการลงทุนภาคอุตสาหกรรมจากต่างประเทศซึ่งจุดหนักคือญี่ปุ่น ใครๆก็คิดว่า หมดยุคทหารทำรัฐประหารเผด็จการครองประเทศแล้ว
นี่จึงเป็น ความเข้าใจผิดของสังคมไทย สังคมโลกที่มองเห็นแต่เผด็จการทหาร แต่มองไม่เห็นระบอบอำมาตยาธิปไตย ชนชั้นกลางและปัญญาชนไทย จึงติดบ่วงเข้าไปผูกพันกับระบอบอำมาตยาธิปไตย คนที่คิดว่าตนเองก้าวหน้า ทำตัวเป็นปฏิปักษ์เฉพาะเผด็จการทหารและหรือนายทุนเท่านั้น
ถ้าไม่ใช่ เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกับระบอบอำมาตธิปไตยก็เพราะไม่เข้าใจสภาวะแท้จริงของ สังคม เมื่อคิดว่าเป็นทุนนิยมเต็มตัวด้วยภาวะเศรษฐกิจ ก็คิดต่อว่า ผู้ปกครองแท้จริงต้องเป็นนายทุน และขนานนามต่อว่า “ทุนสามานย์” หรือ “ระบอบทักษิณ” นี่เป็นการวิเคราะห์สังคมแบบผิวเผิน ไม่เห็นแก่นแท้ของสังคมไทย จึงสนับสนุนให้ใช้การทำรัฐประหารเพื่อกวาดล้าง ล้มล้างอิทธิพลบทบาทของนายทุนคนเดียว “ทักษิณชินวัตร” นำมาสู่หายนะของประเทศไทย ที่เริ่มต้นด้วยความผิดพลาดในการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการทำรัฐประหารอัน เป็นรูปแบบสูงสุดของการขัดขวางพัฒนาการของสังคมที่จะไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ผลพวงทางการเมือง การปกครอง และส่วนประกอบอื่นๆในโครงสร้างชั้นบนของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมอุดมการณ์ การศึกษา กระบวนการยุติธรรม ตัวบทกฎหมาย จึงกลายเป็น โครงสร้างส่วนบนของระบอบอำมาตยาธิปไตยแท้จริง มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 เขียนรัฐธรรมนูญ 2550 และตั้งองค์กรอิสระรวมทั้งตุลาการรัฐธรรมนูญ ในระบอบอำมาตยาธิปไตยชัดแจ้ง
พูด ง่ายๆคือ ทำให้การเมืองการปกครองเปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบอำมาตยาธิปไตย เต็มที่ เท่าที่กลุ่มอภิสิทธิ์ชน จารีตนิยม จะคิดค้นได้ รวมทั้งการครอบงำทางอุดมการณ์ วัฒนธรรม การศึกษา และทำสิ่งที่เรียกว่า ตุลาการภิวัฒน์ คือซ้ำเติมด้วยการรัฐประหารทางกฎหมายเป็นระลอกๆ ตามด้วยการใช้สื่อและบทบาทนักวิชาการ เคลื่อนไหว สนับสนุน ระบอบอำมาตยาธิปไตยเต็มตัว
การใช้กองกำลังนอกระบบ คือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พรรคการเมืองอนุรักษ์นิยม ประชาธิปัตย์ กองทัพ และกองกำลังประจำการอื่นๆ หน่วยงานความมั่นคงของระบอบอำมาตย์ และเครือข่ายระบอบอำมาตย์ในปริมณฑลต่างๆ จัดการกับพรรคไทยรักไทย และคุณทักษิณชินวัตร นำมาสู่ความถดถอยในเศรษฐกิจ ศักยภาพในการแข่งขันทุกด้าน และความล้าหลังทางองค์ความรู้วิชาการ
เพราะ พวกอนุรักษ์นิยมจะหวาดกลัวเทคโนโลยี่ใหม่ๆ และกลัวการเปิดประเทศเข้าสู่เวทีโลก พวกนี้อยากปิดประเทศ คลั่งชาติ ทำสงครามกับเพื่อนบ้าน เพียงแค่นี้ที่พูดคร่าวๆก็จะจินตนาการได้ว่า รัฐประหาร 20 ครั้งที่ ในร่วม 79 ปีผ่านมาจนบัดนี้ ได้ทำให้ประเทศถอยหลังเพียงใด เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเซีย ที่เคยมีเผด็จการทหารบางยุค แต่ก็เลิกทำรัฐประหารกันหมดแล้ว ต่างเจริญรุ่งเรืองเลยหน้าประเทศไทยทั้งด้านเทคโนโลยี่ รายได้ประเทศและรายได้ประชาชน
พูดง่ายๆก็คือ ประเทศเขาไม่มีระบอบอำมาตยาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ไม่เคยถูกทำลายด้วยจักรวรรดินิยม หรืออำนาจประชาชนอย่างเช่นประเทศอื่นๆ
เผด็จ การทหารไทยจึงเป็นกลไกสำคัญที่ระบอำมาตยาธิปไตยไทย ครอบงำยึดกุมแข็งแกร่ง เพื่อส่งเสริมค้ำจุนกันและกัน ที่แล้วมาเผด็จการทหาร บางกลุ่มเคยถูกทำลาย แต่ระบอบอำมาตยาธิปไตยยังมีบทบาทเข้มแข็งด้วยลักษณะพิเศษของสังคมที่มีการ ปรับตัวของอนุรักษ์นิยมไทยตลอดมา
นอกจากปี 2519 กรณี 6 ตุลาที่อนุรักษ์นิยมไทย หวาดกลัวทฤษฎีโดมิโนของสงครามเย็นแล้ว รัฐประหารปี พ.ศ. 2549 มาจนบัดนี้ จัดว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยไทยออกแรงสุดกำลัง ไม่น่าเชื่อว่า ความหวาดกลัวคุณทักษิณเพียงคนเดียว ทำให้ประเทศไทยต้องถูกทำลายด้วยการจัดการของระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างรุนแรง หนักหน่วงถึงเพียงนี้ เป็นเรื่องน่าอนาถอย่างยิ่งที่คลังสติปัญญาของสังคมไทย มีแต่สิ่งบูดเน่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้
แล้วไม่มีข้อดีบ้างหรือไรนะ ? ผลพวงจากรัฐประหารนี้
มียิ่งใหญ่มากเสียด้วย คือ
1. การเติบโตของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ
2. การสร้างบทเรียนใหม่ของการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมืองการ ปกครองอุดมการณ์ที่ล้าหลัง ไปสู่ โครงสร้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไทยอย่างแท้จริง
บทเรียนใหม่คืออะไร ?
คือบทเรียนการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน และการพยายามใช้พลังสันติวิธีต่อสู้ทางการเมืองเท่านั้น เพื่อบีบบังคับให้กลไกรัฐเผด็จการล้าหลังต้องเผชิญกับมวลชนที่มีจำนวนมาก ขึ้นทุกวันและมีความชอบธรรม ได้ชัยชนะทางการเมืองยิ่งใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ
3. การยกระดับการต่อสู้ของประชาชน ให้ใช้หลักการ และเหตุผล สูงขึ้นไปเรื่อยๆ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ของประชาชนไทยเอง ที่มีความแตกต่างกับการต่อสุ้ของประชาชนในประเทศอื่น และในยุคสมัยที่ต่างกัน
4. การสร้างองค์กรด้านการจัดตั้ง และการนำที่พัฒนาให้เข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ
อัน นี้จึงเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงที่คณะรัฐประหาร 2549 และการทำรัฐประหารรูปแบบอื่นๆซ้ำเติม และสุดยอดคือการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่า ได้สร้างประชาชนที่ก้าวหน้าขึ้นมาจากการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มาจนถึงปัจจุบัน
ระบอบอำมาตย์ไทยยังไม่ยอมจำนนต่อพัฒนาการของ สังคมไทยและประชาชนไทย ดังนั้น ภาระหน้าที่เราจึงต้องดำเนินต่อ เพื่อแก้ปัญหาที่คณะรัฐประหารและระบอบอำมาตย์ไทยทำไว้ ได้แก่รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และผลิตผลของคณะรัฐประหารทั้งปวง และเรายังต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการประชาชนและคนเสื้อแดง เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้เขาปล้นอำนาจประชาชนไทยอีกต่อไป
พอกันทีการรัฐประหารสำหรับประเทศไทย