โดย ธิดา ถาวรเศรษฐ ....
แม้นการปราบปรามประชาชนคนเสื้อแดง เมษา - พฤษภา 2553 จะปรากฏผลราวกับว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยไทยได้ชัยชนะ สยบประชาชนที่แข็งข้อทวงคืนอำนาจ
การฆ่าและจับกุมคุมขังประชาชนในปี 2553 มีความละม้ายคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519
แตก ต่างกันที่หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ปัญญาชน นิสิต นักศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปตัดสินใจเข้าเขตป่าเขาเพื่อรวมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย เลือกเดินหนทางต่อสู้ด้วยอาวุธ ในขณะที่หลังการปราบปรามประชาชน 2553 แกนนำและมวลชนเสื้อแดงยืนหยัดสันติวิธีและสนับสนุนวิถีทางรัฐสภา ให้การเลือกตั้งทั่วไปสิ้นสุดลงด้วยความสำเร็จ ล้มพรรคการเมืองเครือข่ายระบอบอำมาตย์ จัดตั้งรัฐบาลด้วยพรรคการเมืองหลักที่มาจากประวัติถูกทำรัฐประหาร โค้มล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไป นี่จึงเป็นชัยชนะขั้นใหม่ที่สำคัญเมื่อเทียบกับชัยชนะจากการเลือกตั้งก่อน หน้านี้ เพราะเป็นชัยชนะที่ได้จากการต่อสู้ของประชาชนบนท้องถนน เสียสละชีวิต บาดเจ็บ ถูกจับกุมคุมขัง บางคนสิ้นเนื้อประดาตัว บ้างต้องหลบหนีจนบัดนี้ จึงเป็นชัยชนะที่ยกระดับจากเดิม หาใช่ชัยชนะจากการเลือกตั้งธรรมดาแบบครั้งก่อน ๆ
เสมือนพ่ายแพ้แต่ที่ แท้ประชาชนเป็นฝ่ายชนะ คนเสื้อแดงพ่ายแพ้ทางการทหาร แต่ชนะทางการเมือง และความชอบธรรม ทำให้สังคมไทย สังคมโลกต้อนรับพรรคเพื่อไทยในฐานะผู้จัดตั้งรัฐบาลอย่างยินดีปรีดา นี่รวมถึงมหาอำนาจหลายประเทศที่มีประวัติศาสตร์ผูกพันผลประโยชน์กับระบอบ อำมาตย์ไทยและกองทัพไทยมายาวนาน
การที่คนเสื้อแดงถูกคุมขังในเรือนจำ ไม่ได้รับการประกันตัวรวมทั้งการถูกพิพากษาลงโทษสูง หรือถูกขังอยู่นานเกินกว่าผลพิพากษาในโทษละเมิด พรก.ฉุกเฉิน ในขณะที่คดีเสื้อสีอื่นผ่านมากว่า 3 ปีแล้วยังไม่คืบหน้า หรือข้อหาพยายามฆ่าก็ไม่ต้องถูกคุมขัง รวมทั้งการถูกจับกุมคุมขังใหม่ คดีก็ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว นี่ย่อมเป็นปรากฏการณ์ที่บ่งถึงความร้อนระอุของความขัดแย้งในสังคมไทยที่จะ ระเบิดออกมาอย่างไร ? ที่ไหน ? และเมื่อไร ? ก็ได้ เราจึงใช้คำพูดสามัญง่าย ๆ ว่า “การเมืองยังไม่นิ่ง”
เหตุการณ์ก่อน 6 ตุลา น่าสนใจที่มีความตึงเครียดภายในแต่ละฝ่ายสูงมาก ฝ่ายเครือข่ายระบอบอำมาตย์ตึงเครียดในระดับสูงสุด อันเนื่องมาจากเกรงการลุกลามขยายตัวของฝ่ายคอมมิวนิสต์และซ้ายไทย อันเนื่องจากชัยชนะการปฏิวัติของประเทศค่ายสังคมนิยมในเอเชีย ได้แก่ จีน เกาหลีเหนือ เวียตนาม กัมพูชา ลาว ชัยชนะของกองทัพปฏิวัติเวียตนาม กัมพูชา ลาว เสมือนหอกทิ่มแทงจุดสำคัญร่างกายของประเทศไทย การฆ่าฟันโหดเหี้ยม สยดสยอง ล้อมปราบ จับกุมคุมขังจึงตามมา ในขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวอึกทึกครึกโครมของปัญญาชนและประชาชนหลังได้ เสรีภาพ และการเปิดกว้างทางการเมือง เนื่องจาก 14 ตุลา 16 ยิ่งทำให้ระบอบอำมาตย์ไทยประหวั่นพรั่นพรึงสูงสุด
ภายในหมู่ประชาชนตอน นั้นก็ได้รับอิทธิพลทางความคิดและผลสำเร็จของประเทศสังคมนิยมมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิวัติวัฒนธรรมของประเทศจีน ทำให้เกิดการเลียนแบบในการเคลื่อนไหวซ้ายจัดในเมือง และในเขตการต่อสู้ด้วยอาวุธ ก็มีความตึงเครียดและเปิดฉากโจมตีสู้รบภายในกลุ่มภายในองค์กรตน เกิดความตึงเครียดสูงเช่นกัน การเกิดเหตุ 6 ตุลา จึงเป็นการระเบิดของแรงปะทะความขัดแย้งที่ต่างฝ่ายต่างมีความตึงเครียดสูง ยิ่งหลัง 6 ตุลา ผลจากการรัฐประหารทำให้การเมืองการปกครองและอุดมการณ์สังคมไทยถอยหลังกลับไป อีกมาก แม้แต่กฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ใช้กันในปัจจุบัน อันเป็นกรณีที่สังคมโลกพากันประณาม ก็มีที่มาจากการปรับปรุงหลัง 6 ตุลา 19 นี่แหละ ความตึงเครียดของฝ่ายประชาชนหลัง 6 ตุลา
และการโจมตีแสดงตนว่า ใครก้าวหน้าไม่ก้าวหน้าจากช่วงหลัง 14 ตุลา 16 มาถึง 6 ตุลา 19 ซึ่งโจมตีรุนแรงจนก่อให้เกิดกระแสซ้ายจัดเกินกว่าความเป็นจริง ก็สร้างความตระหนกตกใจให้แก่กลุ่มคนในระบอบอำมาตย์และหน่วยงานความมั่นคง ผู้เขียนยังรู้สึกว่า บรรยากาศนี้กลับเข้ามาในขบวนการของเราอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบัน เป็นการโจมตีที่มีนัยผลักดันการเคลื่อนไหวของประชาชนให้ไปในทิศทางตามความ คิดของบุคคล และลักษณะอนาธิปไตย
ในขณะที่องค์กรเสื้อแดงพัฒนาจากองค์กร แนวร่วมหลวม ๆ จนเป็นแนวร่วมลักษณะองค์กรที่มีหลักนโยบาย การขับเคลื่อนต้องเป็นไปตามเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ 3 ระยะ นโยบาย 6 ข้อ ยุทธศาสตร์ 2 ขา 2 แขน 5 เขต หนทางต่อสู้สันติวิธี และยุทธวิธีตามหลักการที่มีมติไว้ มีระเบียบวินัย และแนวทางมวลชน การขับเคลื่อนองค์กรใหญ่เช่นนี้จึงมีข้ออ่อนด้อยหลายประการ อาจไม่รวดเร็ว พุ่งทะยานดังหลายคนประสงค์ แต่เราต้องไปด้วยกันให้ได้มากที่สุด กลุ่มใด องค์กรใด จะแยกทำกิจกรรมตามที่ถนัดก็เป็นเรื่องที่ดี ไม่ถือเป็นเรื่องแย่งเอาหน้าเอาตาแต่อย่างใด กลับดีเสียอีก แยกกันทำงานตามทิศทางใหญ่ด้วยกันตามความถนัดและความสมัครใจ
ผู้คนที่มาก หลาย หลายชนชั้น หลายกลุ่มอาชีพในหมู่คนเสื้อแดงที่ถูกกระทำจากระบอบอำมาตย์ต้องช่วยกันดูแล ช่วยเหลือและแบ่งงานกันทำ ทั้งในนามส่วนตัว ในนามกลุ่ม หรือองค์กรอื่นใด ถ้ามีจิตใจมุ่งมั่นที่จะทำเพื่อผลประโยชน์ประชาชน ย่อมเป็นเรื่องดีทั้งสิ้น
คณะกรรมการ นปช. รักษาการมาครบรอบ 1 ปีพอดี ในสถานการณ์ที่ยากลำบากที่ถูกกระทำจากเครือข่ายระบอบอำมาตย์แท้ ๆ ได้กำหนดภาระหน้าที่ไว้ 5 ข้อ ดังเคยปรากฏในบทความก่อน เป็นภาระหน้าที่เฉพาะหน้าในสถานการณ์ยากลำบาก หลังถูกปราบปรามซึ่งยังต้องกระทำต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ในเรื่องการประกันตัว เยียวยา เรียกร้องความยุติธรรม นิติรัฐนิติธรรม การต่อสู้คดี การผลักดันจัดตั้งรัฐบาลประชาชน และการยกระดับการต่อสู้ของประชาชนด้วยองค์ความรู้ ไม่ให้สุ่มเสี่ยงหรือยอมจำนนอย่างไร้หลักการ ทั้งหมดนี้บรรลุจริง ๆ คือผ่านการเลือกตั้ง ผลักดันจัดตั้งรัฐบาลประชาน (ที่ต้องพิสูจน์ต่อไปว่าจะเป็นรัฐบาลของประชาชนจริงหรือไม่) รวมความว่าภาระหน้าที่นี้ยังไม่บรรลุสมบูรณ์ และหลายข้อก็มีความจำกัดขององค์กรเอง ทั้งบุคคลากรและกำลังทรัพย์ เราจึงพร้อมจะให้เกียรติยศแก่ผู้มาช่วยเติมเต็มให้ภาระหน้าที่นี้ได้ผล สมบูรณ์มากขึ้น ดีขึ้น
การเคลื่อนไหวของเราต่อไปข้างหน้าก็จะเป็นไปตาม เป้าหมายยุทธศาสตร์และนโยบายชุดเดิม ที่คณะทำงานกำลังเร่งทำงาน ปรับปรุงบางส่วน บางคำพูดใหม่ เป้าหมายทางยุทธศาสตร์เฉพาะหน้า จากนี้คณะทำงานจึงนำเสนอปรับคือ
1. ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 และผลิตผลของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รวมทั้งกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมทั้งปวง
2. ยุติการรัฐประหารทุกรูปแบบให้หมดจากประเทศไทย
และถ้ายังไม่ลืมนโยบาย 6 ข้อของ นปช. ขอทบทวนความจำเฉพาะข้อ 5, 6
ข้อ 5. ต่อสู้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับประชาชนไทยโดยเสมอหน้า ให้ประเทศไทยเป็น “นิติรัฐที่มีนิติธรรมอย่างแท้จริง” กระบวนการยุติธรรมต้องไม่ถูกแทรกแซง กดดันโดยผู้มีอำนาจและเครือข่ายระบอบอำมาตย์ ต่อไปอาจปรับปรุงข้อนี้เพิ่มเติมเช่นคำว่า “ยึดโยงกับประชาชน” หรืออื่น ๆ ก็ได้
ข้อ 6. ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 และกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่าง ๆ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชนที่เป็นประชาธิปไตย (คณะทำงานปรับจากเดิมที่บ่งเอารัฐธรรมนูญ 2540 กลับมา)
ผู้เขียนเขียนบท ความนี้เพื่อให้ข้อมูลซ้ำอีกแก่พี่น้องเราและประชาชนทั่วไปว่า องค์กร นปช. เป็นองค์กรของประชาชนที่ต้องเดินหน้าด้วยหลักการไม่ใช่ด้วยอารมณ์ โจมตี ด่าทอ โดยไม่คำนึงถึงหลักนโยบายและข้อมูลความจริง อย่าลืมอีกครั้งว่าเราใช้แนวทางมวลชน และบทที่หนึ่งของการต่อสู้ของประชาชนคือ แยกมิตร แยกศัตรูให้ได้