ประกาศ
ประกาศ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน
รับชมการถ่ายทอดสดจาก ถ.อักษะ
Broadcast live streaming video on Ustream
ประมวลภาพ นปช. "รวมพลปราบกบฏ" ถนนอักษะ 10 พ.ค. 2557
รับชมการถ่ายทอดสดจาก ถ.อักษะ
Broadcast live streaming video on Ustream
ประมวลภาพ นปช. "รวมพลปราบกบฏ" ถนนอักษะ 10 พ.ค. 2557
ศาลแพ่งสั่งไม่คุ้มครองชั่วคราว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ระบุยังไม่มีเหตุการณ์สลายการชุมนุม
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 31 มกราคม ที่ห้องพิจารณาคดี 712 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 275/2557 ที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำ กปปส. เวทีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ปฏิบัติหน้าที่ รมว.แรงงาน ในฐานะ ผอ.ศรส. และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. ในฐานะรอง ผอ.ศรส. จำเลยที่ 1-3 ในข้อหาละเมิด เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม พร้อมขอศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อขอคุ้มครองชั่วคราว
เมื่อถึงเวลานัดนายถาวร พร้อมด้วยทนายความเดินทางมาศาล ส่วนจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนยื่นคำร้องคัดค้านอำนาจศาลแพ่งว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และศาลแพ่งไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ซึ่งศาลได้รับไว้พิจารณาและนัดฟังคำสั่งในวันที่ 6 ก.พ.นี้
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำร้องโจทก์ที่อ้างเหตุในการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยขอให้ศาลมีคำสั่งอ้างมิให้มีการดำเนินการตามประกาศหรือข้อกำหนด 12 ข้อ ประกอบด้วย
1.ห้ามจำเลยทั้งสาม ใช้หรือสั่งเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใช้กำลังหรืออาวุธเข้าสลายการชุมนุมของโจทก์และประชาชน
2.ห้ามจำเลยทั้งสามมีคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์หรือวัตถุอื่นใดที่ใช้ในการชุมนุมของโจทก์
3.ห้ามจำเลยทั้งสามออกคำสั่งตรวจค้น รื้อถอน หรือทำลายอาคารสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งกีดขวางของโจทก์
4.ห้ามจำเลยทั้งสามสั่งการให้การซื้อขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภคฯ ที่อาจใช้ในการชุมนุมของโจทก์ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
5.ห้ามจำเลยทั้งสาม สั่งการห้ามกระทำการที่เป็นการปิดการจราจร เส้นทางคมนาคม หรือกระทำการที่ไม่อาจใช้เส้นทางได้ตามปกติ ในทุกเขตพื้นที่ ที่โจทก์ใช้ในการชุมนุม
6.ห้ามจำเลยทั้งสามประกาศ กำหนดพื้นที่ที่ห้ามการชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
7.ห้ามจำเลยทั้งสามสั่งการห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะหรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม ที่ใช้ในการชุมนุม
8.ห้ามสั่งโจทก์ใช้อาคารหรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ
9.ห้ามจำเลยทั้งสามสั่งให้โจทก์และประชาชนที่ร่วมกันชุมนุมออกจากพื้นที่การชุมนุม หรือออกคำสั่งห้ามไม่ให้เข้าไปในพื้นที่การชุมนุม
10.ห้ามจำเลยทั้งสามใช้หรือสั่งเจ้าหน้าที่ให้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของโจทก์
11.อนุญาตให้โจทก์และประชาชนทั่วไปใช้หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีการประกาศกำหนดได้
12.อนุญาตให้โจทก์ใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะ หรือจอดยานพาหนะในพื้นที่ที่มีการประกาศกำหนดได้
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำขอของโจทก์ตามข้อ 1,3 และ 5-12 นั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจพิเศษบางประการสำหรับบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินรวมถึงการออกประกาศและข้อกำหนดต่างๆ เท่าที่มีเหตุจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลกระทำการหรือร่วมมือกระทำการใดที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง หรือ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการระงับเหตุการณ์ร้ายแรงนั้น แต่การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารไม่ได้ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องความเสียหายจากทางราชการ
หากการใช้อำนาจของรัฐเป็นการใช้อำนาจโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติและเกินสมควรแก่เหตุ หรือเกินกว่ากรณีจำเป็น ตามมาตรา 17 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ อีกทั้งการดำเนินตามกฎหมายฉบับนี้จะต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63
แม้โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามออกประกาศและมีข้อกำหนดรวมถึงมีการประชุมวางแผนจัดเตรียมกำลัง เจ้าพนักงานตำรวจชุดกองร้อยปราบจลาจล 16,000 นาย เพื่อใช้ในการสลายการชุมนุมของโจทก์และประชาชนก็ตาม แต่เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งว่า
ขณะที่โจทก์กับพวกได้ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิ์ จำเลยทั้งสามได้สั่งการหรือดำเนินการใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะมีการใช้กำลังเข้าสลายโจทก์และประชาชนที่มาร่วมชุมนุม ข้อเท็จจริงที่ได้ฟังจากการไต่สวนจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอ ที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราว ก่อนพิพากษาตามคำขอของโจทก์มาใช้
ส่วนคำขอของโจทก์ตามข้อ 2 และ 4 นั้น เมื่อได้ฟังจากการไต่สวน โจทก์และประชาชนใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีเหตุผลมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ถือเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับความคุ้มครอง การที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใดๆ ที่จะกระทบหรือขัดขวางการชุมนุมโดยสงบแล้ว ย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของโจทก์ การออกประกาศตามมาตรา 11 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ในส่วนที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งยึดหรืออายัดสินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์หรือวัตถุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าจะใช้สิ่งนั้น เพื่อสนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน และสั่งการให้ซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อความไม่สงบหรือก่อการร้าย ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ซึ่งมีผลบังคับรวมถึงโจทก์และผู้ชุมนุมนั้นด้วย กรณีดังกล่าวจึงกระทบต่อการดำรงชีวิตของโจทก์และประชาชนโดยปกติสุข
ซึ่งโจทก์มีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาฯ สมช. เบิกความว่า การออกประกาศของจำเลยทั้งสาม เพื่อที่จะจำกัดหรือควบคุม โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ชุมนุมเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการของจำเลยทั้งสาม เป็นการมุ่งเน้นที่จะจำกัด หรือควบคุมการใช้สิทธิของโจทก์และผู้ชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ ฉะนั้นจึงมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยทั้งสามดำเนินการตามคำร้องโจทก์ในข้อ 2 และข้อ 4 ดังกล่าว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ส่วนประกาศและข้อกำหนดอื่นๆ ให้จำเลยทั้งสามกระทำการไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งต้องปฏิบัติตามประกาศและข้อกำหนดนั้น
นายถาวร กล่าวภายหลังว่า จากที่ตนได้ยื่นให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว 12 ข้อ ศาลได้อนุญาต 2 ข้อ คือ ห้ามไม่ให้สั่งยึดหรืออายัด สินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัตถุอื่นใดเพื่อใช้ในการชุมนุม และห้ามสั่งการให้การซื้อ ขาย ใช้วัตถุดังกล่าว ต้องรายงานหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อน
แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมากกว่าคำสั่งคุ้มครอง 2 ข้อที่กล่าวมานั้น คือศาลได้มีคำสั่งให้จำเลยทั้ง 3 กระทำการไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฎิบัติ ไม่สมควรแก่เหตุ หรือกระทำการไม่เกินกว่าเหตุจำเป็น ศาลยังได้มีการกล่าวถึงคำวินิจฉัยครั้งนี้่ว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ศาลจึงรับคำร้องไว้พิจารณาในกรณีขอเพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลเองก็ควรที่จะรับฟังคำสั่งศาล และไม่เลือกปฏิบัติแม้ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อแดงก็ตาม
ส่วนกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม ได้ส่งตัวแทนมายื่นคำร้องต่อศาล โดยระบุว่าศาลแพ่งไม่มีอำนาจที่จะรับคำร้องของฝ่ายตนไว้รับพิจารณา ซึ่งตนมองว่าเป็นการถ่วงเวลา เพราะศาลแพ่งเองก็มั่นใจอยู่แล้วว่ามีอำนาจในการพิจารณา และยังบอกให้จำเลยทั้ง 3 เดินทางมาฟังคำสั่งด้วย ตนพอใจในคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง และคงจะไม่ยื่นอุทธรณ์ในกรณีที่ไม่คุ้มครองชั่วความในการห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุมแต่อย่างใด ซึ่งในวันนัดชี้สองสถานก็จะต่อสู้ต่อไปเพื่อให้เพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉินให้ได้
“ฝากถึงจำเลยทั้ง 3 ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลแพ่งอย่างเคร่งครัด และต้องไม่เลือกปฏิบัติ เช่น คนเสื้อแดงชุมนุม ทางรัฐบาลก็ต้องนำ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปใช้เหมือนกันด้วย ถ้ารัฐบาลสั่งเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุมก็เท่ากับกระทำการโดยไม่สุจริต และถือว่าผิดคำสั่งของศาล” นายถาวรกล่าว
ที่มา มติชน