นปช.แดงทั้งแผ่นดินพบปะหารือภาคเอกชน 7 องค์กร (ชมคลิป)



ทีมข่าว นปช.
18 ธันวาคม 2556






วันนี้  (18 ธ.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการณ์แห่งชาติ (นปช.) นำโดย ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. คุณจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ และแกนนำ นปช. นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. และแกนนำนปช.ส่วนกลางอีกหลายท่าน ได้ร่วมหารือกับภาคเอกชน 7 องค์กร ประกอบด้วย สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์สภาธุรกิจตลาดหุ้นไทย และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาหาทางออกของประเทศไทย


ชมคลิป









โดยคุณณัฐวุฒิ กล่าวว่า วันนี้การเมืองไทยจะเดินสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557 หรือจะเป็นสภาประชาชน การอธิบายแนวคิดของ 2 เส้นทางนี้ ไม่มีใครปฏิเสธการเลือกตั้ง อีกฝ่ายบอกปฏิรูปก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง ส่วนอีกฝ่ายให้เลือกตั้งก่อนแล้วจึงไปปฏิรูป แต่สิ่งที่เห็นตรงกันคือบ้านนี้ เมืองนี้ ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปในทางโครงสร้างหรือกลไกต่างๆ ที่ยังไม่สนองตอบต่อสังคมให้ดีขึ้นหรือดีกว่า เราไม่มีทางเลือกเป็นการปกครองระบอบอื่น เพราะเราตกลงตั้งแต่ 24 มิ.ย. 2475 ว่าจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ทั้งนี้ใครจะยกเลิกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง สมมุติว่ายกเลิกได้ คำถามที่ใหญ่กว่านี้คือรัฐธรรมนูญมาตรา 108 บัญญัติว่าเมื่อมีการยุบสภาต้องบัญญัติให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 45-60 วัน ภายในบทบัญญัตินี้ไม่สามารถเลื่อนออกไปได้เกิน 60 วัน และไม่เคยปรากฏว่ามีการยกเลิกมาก่อน  ซึ่งปี 2549 เกิดรัฐประหารขึ้นก่อน จึงเลือกตั้งในวันที่ 15 ต.ค.ไม่ได้จะเอาความชอบธรรมใดในรัฐนี้ไปเลือกใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ตามที่คนส่วนหนึ่งต้องการ



คุณณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาฯ กปปส. กำลังรณรงค์อยู่ ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่นี้ ถ้าเห็นด้วยเขาจะตั้งสภาประชาชน 400 คน โดย 300 คนตั้งจากสาขาอาชีพต่างๆ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแน่นอน อีก 100 คน มาจากแกนนำกปปส. ตั้งขึ้นมาจากผู้ทรงคณวุฒิ แต่ด้านไหนอย่างไรไม่มีใครทราบ เมื่อมีสภาประชาชนแล้ว และต้องมีการแต่งตั้งนายกฯขึ้นมาอีกคน และให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ลาออกจากนายกฯ รักษาการ คนไทยทั้งประเทศต้องยินยอมให้นายสุเทพใช้อำนาจอธิปไตยแทนตัวเองในการตั้งนายกฯ ตั้งสภาประชาชนขึ้นมา โดยคาดว่าจะใช้เวลา 1ปีครึ่งปฏิรูปทุกอย่างให้สำเร็จแล้วจึงค่อยเลือกตั้ง ความหมายปฏิรูปก่อนเลือกตั้งจึงเทียบเท่ากับรัฐประหาร โดยการเอาอำนาจให้คนกลุ่มเดียวตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศ นายสุเทพจะเป็นรัฏฐาธิปัตย์แน่นอน

คุณณัฐวุฒิ ยังกล่าวอีกว่า ในขณะที่การเลือกตั้งตามกติกานั้น เรามาร่วมหารือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเวลา 2 เดือนจากนี้ คงไม่ได้พิมพ์เขียว แต่ได้กรอบใหญ่ว่ามีเรื่องใดบ้างและให้พรรคการเมืองที่จะลงเลือกตั้งลงสัตยาบรรณว่าจะแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งยังเป็นการรักษากติกาเอาไว้อยู่ สภาประชาชนเคยเกิดขึ้นแล้ว หลังการรัฐประหาร 2549 คือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มี พล. อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรี แต่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในประเทศได้หรือไม่ ดังนั้นสภาประชาชนของนายสุเทพ จึงไม่มีหลักประกันอะไรที่จะทำให้การปฏิรูปสำเร็จ และถ้าคนออกมาต่อต้านจะทำอย่างไร เกิดวิกฤติแน่นอน วันนี้ต่างประเทศกำลังจับตามองเราอยู่ ถ้าเราช่วยกัน ทำให้กระบวนการประชาธิปไตยเดินไปได้จะสง่างามมาก ถ้าไม่มีการเลือกตั้งความเชื่อมั่นก็ไม่เหลือ โอกาสของภาคเศรษฐกิจก็จะประสบความลำบากมาก

พวกตนไม่เห็นด้วยกับนายสุเทพ พวกผมก็มีประชาชนที่เห็นกับพวกผมจำนวนไม่น้อย แต่ไม่เรียกมวลมหาประชาชนเหมือนนายสุเทพ พูดตรง ๆ รัฐบาลที่พวกผมเลือกตั้งมา มีคนบาดเจ็บล้มตาย พวกผมติดคุก 9 เดือน กว่าจะยุบสภาและมีการเลือกตั้งวันนี้ก็มีความพยายามให้เกิดรัฐประหาร ผมยอมรับรัฐประหารไม่ได้ จะเอาผมไปฆ่าไปแกงที่ไหนก็ได้ แต่ยืนยันว่าวันนี้พวกผมจะยังไม่ออกมา แต่ถ้านายสุเทพล้มเลือกตั้งผมมาแน่  ไม่ทราบว่ามีกี่มวลแต่จะเอาทุกมวลที่มีมาเอาอำนาจประชาชนคืน ถึงวันนั้นพวกท่านอย่ารังเกียจผม ที่จะมาเดินใน กทม.บ้าง มาอยู่ตามสี่แยกบ้าง ผมต้องการแค่หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงในการเลือกตั้งฝากหัวใจคนจนไว้กับนักธุรกิจทั้งหลายด้วย ไม่ได้หวังให้ท่านช่วยรัฐบาล แต่ให้รักษาอำนาจอธิปไตยของคนในประเทศนี้ไว้แต่ท่านไปล้มโอกาสของคนทั้งประเทศที่จะใช้สิทธิ์เลือกตั้งไม่ได้ ผมหอบเอาหัวใจคนยากคนจนมาพึ่งท่าน อยากให้เราเจอกัน วันนี้ไม่อยากให้เจอกันในวันที่ผมพาคนมาจำนวนมาก

ขณะด้านที่คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาท่องเที่ยว กล่าวว่า ตนมาจากภาคท่องเที่ยวและเป็นคนไทยคนหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมา 7-8 ปี ทุกคนปวดร้าวหมด ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น อยากถาม นปช.ว่าอะไรจะทำให้เราอยู่ในสังคมด้วยความเห็นที่แตกต่างได้ ตนอยากเห็นความถาวรของรอยยิ้มคนไทย เพราะเกิดมา 50 ปีไม่เคยเป็นอย่างนี้




ซึ่งทางอ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช.ได้กล่าวชี้แจงว่า ประการแรก ต้องดูแลไม่ให้เกิดความรุนแรงโดยการระดมให้ประชาชนสองฝ่ายเกลียดชังกัน ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่น่ากลัวคือมีการทำให้ประชาชนเกลียดชังกัน เราไม่อยากเห็นประเทศไทยเป็นเหมือนประเทศรวันดาที่ประชาชนเกลียดชังและลุกขึ้นมาฆ่าฟันกัน โดยนปช. พยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ประชาชนเกิดความเกลียดชัง แต่ตอนนี้ใกล้แล้วที่ประชาชนจะเกลียดกัน เช่นมีการบอกว่าเห็นคนของรัฐบาลอยู่ที่ไหนให้เป่านกหวีดไล่ หรือให้โห่ไล่ ซึ่งในที่สุดจะพัฒนาสู่การทำร้ายกัน โดย นปช. เลือกที่จะให้พี่น้องถอดเสื้อแดงทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการถูกทำร้าย และเพื่อให้ความเป็นอันเดียวพี่น้องไทยคนอื่น

ประเด็นที่ 2 ที่ต้องทำจากนั้นคือต้องดำเนินการทุกอย่างตามกระบวนการของกฎหมายและครรลองขอประชาธิปไตยไม่เช่นนั้นจะไปสู่การเกินจราจลอย่างแน่นอน  ซึ่งการทำตามกฎหมายนี้ถือว่ารัฐบาลทำได้ดีในระดับหนึ่ง แต่รัฐบาลก็ต้องคำนึงถึงเสียงของคนส่วนใหญ่ด้วยเพราะตอนนี้ไม่ได้มีเพียงมวลมหาประชาชน แต่มีคนอีก 60 กว่าล้านคนที่จับตาดูเรื่องนี้อยู่ การจะเอาคนจำนวนหลักแสนคนมาเรียกร้องนี้ต้อเรียกว่าเผด็จการเสียงข้างที่มาทำให้ธุรกิจเสียหายหมดแล้วใครจะรับผิดชอบ และ

ประเด็นที่3  ทหารควรรักษาความสงบด้วยการไม่รัฐประหาร แม้จะมีใครเรียกร้องให้รัฐประหารก็ตาม

นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. กล่าวเสริมว่า ที่ประเทศไทยพัฒนาสู้ประเทศอื่น อย่างญี่ปุ่นและสิงคโปร์ไม่ได้ทั้งที่พื้นฐานประเทศดีมาก เพราะประเทศไทยมีรัฐประหารไม่สิ้นสุดเท่าที่นับได้ตอนนี้คือ 25 ครั้ง เฉลี่ย3 ปีต่อครั้ง ซึ่งถ้าไม่เกิดเหตุแบบนี้ และมีการพัฒนาดีๆ ประเทศไทยสามารถแซงหน้าสิงคโปร์ได้ด้วยซ้ำ

โดยอยากให้เอกชนแสดงท่าทีของความเป็นเจ้าของประเทศด้วยการส่งเสียงโดยไม่ต้องกลัวสูญเสียความเป็นกลางว่าอย่าให้มีรัฐประหารในประเทศไทยอีก

อีกข้อหนึ่งคือ ประเทศต้องเดินตามหลักนิติรัฐอย่างแท้จริงและต้องปฏิบัติจนเกิดความศักดิ์สิทธิ์ เพราะที่ผ่านมามีแต่พูดว่าหลักนิติรัฐแต่ไม่ปฏิบัติให้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในความเป็นจริงประชาชนไม่มีทางเห็นตรงกันอยู่แล้ว แต่มีอย่างเดียวที่จะทำให้อยู่ร่วมกันได้คือต้องมีกฎกติกา จึงอยากให้เอกชนส่งเสียงในเรื่องนี้ด้วยคือ สังคมต้องมีกฎกติกาขอให้ทุกคนเคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกข้อ

“ท่านเกลียดยิ่งลักษณ์ได้ แต่จะให้ยิ่งลักษณ์ออกก็ต้องเป็นไปตามกติกา ไม่ใช่ให้เป็นไปตามอำเภอใจ มันมีหลายวิธีที่จะไปสู่การปฏิรูป เช่น กำหนดระบอบที่จะบรรลุและจัดการเลือกตั้งให้ประชาชนตัดสิน ประชาชนทุกคนเกิดมากเท่าเทียมกัน

ไม่ใช่คุณเกิดมาแล้วมาชี้ทิศประเทศอยากให้ธุรกิจช่วยส่งเสียงว่าสังคม ต้องมีกติกาขอให้ทุกคนเคารพกติกา รัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกข้อ”น.พ.เหวง กล่าว