เปิดคำพิพากษาศาลโลก กรณี "ปราสาทพระวิหาร" ระบุข้อพิพาทมีความสัมพันธ์ใน 3 แง่



เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานจากพระราชวังสันติภาพ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับไทยเวลา 16.00 น.)


ผู้พิพากษา นายปีเตอร์ ทอมก้า ประธานองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกขึ้นนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษา เริ่มด้วยการแสดงความเสียใจต่อผู้นำไทย ในกรณีสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นต่อด้วยคำพิพากษา มีเนื้อหาโดยสรุป ดังต่อไปนี้


ศาลสรุปว่า ข้อพิพาทมีความสัมพันธ์ใน 3 แง่ 1.มีข้อพิพาทว่า คำพิพากษาปี 1962 นั้น ได้ตัดสินหรือไม่ได้ตัดสินว่ามีข้อผูกพันเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่ภาคผนวก 1 ให้เป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่  2.จะมีความสัมพันธ์ในกรณีพิพาท แง่ความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณดินแดนกัมพูชาในบทปฏิบัติที่ 2 ของคำพิพากษาปี 1962  ศาลได้พูดว่าเป็นผลที่ตามมาจากข้อบทปฏิบัติที่ 1 ยืนยันว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา และ 3.ข้อพิพาทเรื่องพันธะกรณีของไทย เรื่องการถอนกำลังทหาร เป็นไปตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 โดยคำนึงถึงความเห็นที่ต่างกัน


ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องตีความข้อบทปฏิบัติการที่ 2 และผลของกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 ภายในขอบเขตนี้ กัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องของกัมพูชา ด้วยเหตุข้างต้น ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของสองฝ่าย เรื่องในมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีขอบเขตอำนาจในการตีความ คำพิพากษาปี 1962 จึงรับคำร้องไว้พิจารณา" ผู้พิพากษา กล่าว


ไทยได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของคู่ความ เมื่อเดือนมิถุนายน 1962 และช่วงที่มีการอ่านคำพิพาษาเดือนธันวาคม 2008 ไทยได้กล่าวว่าพฤิตกรรมดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำพิพากษา แต่ไม่ได้มีส่วนผูกพันคู่ความการตีความซึ่งอาจกระทบต่อพฤติกรรมต่อๆไป อาจดูได้จากสนธิสัญญากรุงเวียนนา คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล หรือการวินิจฉัยว่าศาลพิจารณาอะไร ไม่ได้อยู่ที่ความเข้าใจของคู่ความ และขอบเขตและความหมายนั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของคู่ความในภายหลังในการตีความนั้น ศาลจะไม่เข้าไปพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ในประเด็นนั้น ศาลเห็นว่าคำพิพากษาเมื่อปี 1962 (พ.ศ.2505) นั้นมีลักษณะ 3 ประการที่เห็นได้ชัด


1.ศาลพิจารณาว่าเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเกี่ยวกับที่ตั้งปราสาทและศาลไม่ได้มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 ได้ดูคำคัดค้านเบื้องต้นว่า กรณีนี้เป็นประเด็นเรื่องเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเรื่องการกำหนดเขตแดน เพราะฉะนั้น เรื่องข้อ 1 และ 2 ของกัมพูชานั้น ศาลจะรับพิจารณาไว้เท่าที่เป็นเหตุและไม่ถือว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ศาลต้องชี้ขาดในข้อบทปฏิบัติการ โดยไม่มีการกล่าวถึงแผนที่ภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ในข้อบทปฏิบัติการ ไม่มีการแนบแผนที่คำพิพากษา และศาลไม่ได้กล่าวถึงความยุ่งยากในการใช้ แผนที่ภาคผนวก1 ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างนั้น มีความสำคัญในเรื่องเขตแดน


ประการที่ 2 แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเหตุผลหลักในการพิพากษา เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของคดี และพิจารณาผลความเกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญา ศาลเห็นว่า ประเด็นหลักคือคู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดนอันเป็นผลของคณะกรรมการปักปันเขตแดน บริเวณปราสาทพระวิหาร และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเข้าไปเยี่ยมชม โดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสให้การต้อนรับ ศาลเห็นว่า เหมือนเป็นการยอมรับโดยทางอ้อมของสยามในอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร รวมทั้งพฤติกรรมอื่นๆ ของไทยในเวลาต่อมา ถือว่าเป็นการยืนยันของไทยในการยอมรับเส้นแบ่งเขตแดน ในภาคผนวก 1


โดยไทยในปี 1908 (พ.ศ.2451) และ1909 (พ.ศ.2452) ได้ยอมรับว่าแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นผลของคณะกรรมการปักปัน และยอมรับว่าเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา การยอมรับของคู่ความสองฝ่าย ทำให้แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา จึงเห็นได้ว่า การตีความสนธิสัญญาจะต้องชี้ขาดว่า แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นแผนที่ในพื้นที่ขัดแย้ง


3.ศาลได้มีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น เป็นบริเวณที่เล็กมาก ปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า พื้นที่พิพาทเป็นพื้นที่ที่เล็กมาก และในถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีความขัดแย้งกัน ในปี 1962 คำพิพากษาได้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่พิพาทกันเป็นพื้นที่ที่เล็กมาก หลังการพิจารณาคดี ศาลได้อธิบายบริเวณนั้นด้วย ว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในด้านตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ทางทั่วไปถือว่าเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศ คือทางใต้ของกัมพูชาทางใต้และทางเหนือของไทย


ส่วนแผนที่ภาคผนวก 1 ได้วางเขตแดน ศาลก็ได้บอกว่าจะพิจารณาเฉพาะบริเวณนี้เท่านั้นตามคำพิพากษา 1962 ศาลจึงได้ดูข้อบทปฏิบัติการ วรรค 2 และ 3 เป็นผลสืบเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1 จึงเห็นว่า ข้อบทปฏิบัติการทั้งสามต้องอ่านเป็นข้อบทปฏิบัติการเดียวกัน ไม่สามารถดูคำใดคำหนึ่งเพื่อตีความได้


ศาลเห็นว่า ข้อบทปฏิบัติการข้อ 1 นั้นชัดเจน วรรคดังกล่าวศาลเห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยกัมพูชา แต่คงมีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาที่ขอบเขต เมื่อพิจารณาข้อ 2 และ 3 ข้อพิพาททั้งสองขัดกันที่ข้อ 2


แต่ข้อ 2 พูดถึงเพียงว่าไทยจะต้องถอนเจ้าหน้าที่ ไม่ได้พูดถึงดินแดนของกัมพูชาและไม่ได้กล่าวว่า การถอนจะต้องถอนไป ณ ที่ใด ข้อบทปฏิบัติการได้พูดถึงเขตแดนแค่บริเวณปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง ศาลไม่ได้กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอนกำลังออกไปที่ใดบ้าง บอกแต่ว่าเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในที่นั้น


ข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ระบุว่า ไทยต้องถอนทหาร และเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ในปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง ศาลจึงเห็นว่าจะต้องเริ่มโดยดูจากหลักฐานพยานปี 1962 เกี่ยวกับสถานที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยประจำอยู่ พยานหลักฐานเดียวที่มีคือ ที่ไทยนำเสนอซึ่งได้มีการเยี่ยมชมเมื่อ 1961 ระหว่างการพิจารณาคดีในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานผู้เชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายามอยู่ 1 คนและตำรวจ มีการตั้งแคมป์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท และไม่ไกลก็มีบ้านพักอยู่ มีสถานีตำรวจนั้น ทางทนายฝ่ายไทยอ้างว่า อยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อยู่เหนือของเส้นสันปันน้ำ ระหว่างการพิจารณาคดีปี 1962 กัมพูชาได้นำเสนอข้อต่อสู้อีกข้อว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน"


ผู้พิพากษาศาลโลก กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพิจารณาเส้นสันปันน้ำบริเวณปราสาทพระวิหาร การอ้างถึงสันปันน้ำ โดยทนายไทยนั้นเป็นสำคัญ เพราะอ้างว่าการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกับที่กัมพูชาเสนอ เพราะฉะนั้นการที่มีสถานีตำรวจไทยตั้งอยู่เหนือเส้นสันปันน้้ำ ที่เป็นไปตามมติ ครม. ของไทย ที่ไทยบอกว่าอยู่นอกบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เมื่อไทยถูกบอกว่าให้ถอนทหาร บริเวณปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆที่ประจำการ ตามคำเบิกความของไทยในคดีนั้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยประจำการบริเวณอื่นแต่อย่างใด บริเวณปราสาทพระวิหารควรจะยาวไปถึง สถานที่หรือที่ตั้งมั่นของตำรวจในขณะนั้น เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่าเป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศไทยได้


ศาลได้เน้นย้ำบริเวณปราสาทว่า ปราสาทตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น คือทางตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกเฉียงใต้ของหน้าผาฝั่งกัมพูชา และด้านเหนือกับตะวันตกเฉียงเหนือเป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้ เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาทพระวิหารได้เพราะฉะนั้นตามความเข้าใจเบื้องต้นบริเวณปราสาทพระวิหาร ศาลเห็นว่า เขตแดนของกัมพูชาทางเหนือนั้น ไม่เกินเส้นแบ่งของแผนที่ภาคผนวก 1 ศาสตราจารย์ฟรีดริช แอคเคอร์มานน์ ไม่ได้ให้ระบุระยะทางที่ชัดเจน แต่ตามพยานหลักฐานมีความชัดเจนว่าด่านตำรวจอยู่ในระยะที่ไม่ไกลมากทางใต้และอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นที่ภาคผนวก 1


"ดังนั้น ศาลพิจารณาพื้นที่ที่จำกัด ทั้งตะวันออกเฉียงเหนือและทางเหนือตามเหตุผล ถือว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา ศาลเห็นว่าพื้นที่ตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ควรขยายให้ครอบคลุมชะง่อนผา เพื่อนำมาใช้แทนที่ส่วนที่ได้มีการเลือกโดยมติ ครม.1962 ในข้อพิจารณาของกัมพูชาทางศาลไม่ได้สามารถทำคำจำกัดความ เกี่ยวกับคำว่า "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" ว่าครอบคลุมนอกจากชะง่อนผาและภูมะเขือ ซึ่งศาลถือว่าไม่ได้เป็นการตีความที่ถูกต้องตามข้อ 1 ภูมะเขือในแผนที่นั้นเป็นพื้นที่ส่วนที่ต่างหากออกไป จากแผนที่ปี 1961 หรือแผนที่ซึ่งเป็นเอกสารแนบ


ข้อ 2 มีข้อพิจารณาในการพิจารณาปี 1961 ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ถือว่า ภูมะเขือ อยู่ภายในปราสาทพระวิหารในการพิจารณาข้อพิพาท ดังนั้น อดีตผู้ว่าการจังหวัดของกัมพูชา ถือว่าพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของอีกจังหวัด แต่ถือว่าภูมะเขือเป็นจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกัมพูชา ขณะเดียวกันจังหวัดนี้ก็เล็กเกินกว่าที่ครอบคลุมพระวิหาร และภูมะเขือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่สำคัญที่ศาลจะต้องพิจารณา


ข้อ 3 ไม่ได้มีหลักฐานในการนำเสนอต่อศาลว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ไทยหรือกำลังทหารอื่นๆ ของไทย อยู่บริเวณนั้น รวมถึงบริเวณพื้นที่ภูมะเขือซึ่งทำให้ไทยต้องถอนทหารออกจากบริเวณนั้น"


ท้ายสุด การที่กัมพูชาต้องการให้ตีความแผนที่ภาคผนวก 1 เกี่ยวกับเส้นสันปันน้ำของไทยนั้น ศาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกำหนดว่าสันปันน้ำอยู่ที่ใด จึงเป็นไปไม่ได้ว่าศาลได้พิจาณาเรื่องสันปันน้ำ บอกไม่ได้ว่า อาณาบริเวณใดเป็นของปราสาทพระวิหาร ในปี 1962 ศาลไม่ได้พิจารณาบริเวณที่กว้างขวางมาก และไม่ได้กำหนดบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เพื่อให้เข้าใจว่าจะต้องครอบคลุมจากชะง่อนผาของพระวิหาร แต่คำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าบริเวณภูมะเขืออยู่ในไทย เพราะศาลไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้


ด้วยเหตุผลของการพิจารณา 1962 ตามที่ได้มีการร้องขอในกระบวนการพิจาณาของศาล ได้พิจารณาบริเวณปราสาทพระวิหารด้านตะวันออก, ใต้ และตะวันตกฉียงใต้ ได้มีชะง่อนผา และปี 1962 สองฝ่ายได้ตกลงกันว่าพื้นที่นั้นอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาและพื้นที่ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงหนือ ซึ่งมีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่า และแยกปราสาทพระวิหารออกจากภูมะเขือ ก่อนที่จะลาดลงสู่พื้นที่ราบของกัมพูชา ดังนั้นศาลจึงพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่และคำพิพากษาปี 1962 ไม่ได้พิจารณาว่าภูมะเขืออยู่ในไทยหรือกัมพูชา


ดังนั้น ชะง่อนหน้าผา และภูมะเขือ จะเริ่มที่จะยกสูงขึ้นจากพื้นราบนั้น ก็เป็นเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 โดยเส้นนั้น จะสูงขึ้นไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือและตามคำพิพากษา 1962 ได้มีการกำหนดให้ไทย ถอนกำลังออกจากบริเวณนั้น โดยต้องถอนทั้งหมด ศาลเข้าใจเรื่องที่ไทยระบุถึงการถ่ายโอนแผนที่เพื่อกำหนดพื้นที่เจาะจงตามเรื่องของวรรคดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ ข้อพิจารณาอีกประการคือในปี 1962 ศาลไม่ได้กำหนดจะตีความคำพิพากษา การที่เราจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม พันธกรณีดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจึงไม่สามารถหาทางออกแต่ฝ่ายเดียวได้


คำพิพากษาปี 1962 ต้องมีการพิจารณาอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เรื่องวรรค 2 ศาลพิจารณา เรื่องความสัมพันธ์ของวรรคนี้ กับข้อบทปฏิบัติการ ขณะที่ข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ไม่ได้มีการพิจราณา แต่สามารถทำให้เข้าใจได้ในข้อบทปฏิบัติอื่นๆ ในคำตัดสินของศาล เรื่องขอบเขตข้อพิพาท เป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ดังนั้น ศาลจึงได้ตัดสินใจข้อปฏิบัติการที่ 1 ว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชาและไทย จึงมีพันธะถอนกำลังทหารและอื่นๆ ออกจากพื้นที่ของเขมร ในแถบของพระวิหาร และข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ทำให้เกิดพันธะกรณีที่ครอบคุลมพื้นที่ขยาย เกินกว่าขอบเขตของปราสาทพระวิหารเอง ข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ถือว่า เป็นพื้นที่ของกัมพูชาและคำบรรยายนี้ศาลถือว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยปริยาย จากข้อบทปฏิบัติการที่ 3


สำหรับเรื่องอธิปไตยเหนือพื้นที่ขึ้นอยู่กับอันนี้ พื้นที่ที่ศาลเกี่ยวข้องด้วย ในคดีแรกเป็นพื้นที่มีขนาดเล็กและชัดเจน ทางเหนือก็เห็นได้ชัด สถานการณ์นี้ ศาลเห็นว่า "บริเวณอธิปไตยของกัมพูชา อยู่พื้นที่เล็กๆ เป็นผลจากสิ่งที่ได้พูดถึงในวรรคแรก และลักษณะข้อพิพาทปี 1962 และลักษณะวิธีการในการเสนอคำให้การสองฝ่าย เพราะฉะนั้น เรื่องอธิปไตยที่ศาลได้พิจารณาทั้งที่พูดถึงวรรคแรกและวรรคที่ 3 ศาลมีข้อพิจารณาสรุปว่า พื้นที่ในวรรค 1 และ 3 เป็นพื้นที่เดียวกัน ดังนั้น ปราสาทพระวิหาร อยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา เป็นการอ้างถึงววรรค 2 และ 3 ที่พูดถึงบริเวณปราสาทพระวิหาร ตามที่ได้มีการร้องขอให้พิจารณาในครั้งนี้ ดังนั้นศาลจึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเส้นแบ่งแยกไทยและกัมพูชา


ศาลสรุปว่า ชะง่อนผาในแผนที่ภาคผนวก 1 อยู่ภายใต้อธิปไตยกัมพูชา เป็นประเด็นข้อพิพาท 1962 เป็นประเด็นหัวใจของข้อขัดแย้งนี้ นอกจากนี้ ศาลไม่ได้พิจารณาว่าพันธะกรณีที่เกิดขึ้นในข้อบทปฏิบัติการที่ 2 เป็นสิ่งที่ไทยต้องดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ไทยได้รับว่าไทยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ต้องเคารพบูรณาการ ของกัมพูชา หมายความว่า ครอบคลุมพื้นที่ของอธิปไตยกัมพูชา หลังการแก้ปัญหาอธิปไตยแล้ว ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการตามพันธะกรณี และเคารพบูรณาการของสองประเทศ และมีหน้าที่แก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างกันด้วยิวิธีการอื่น


ด้วยหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ เป็นเรื่องชัดเจนที่คำฟ้องทั้งสองฝ่ายปี 1952 และ 1962 ปราสาทพระวิหารถือว่าเป็นวัตถุโบราณสำหรับทั้งสองฝ่าย ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว ศาลเห็นว่าภายใต้การทำงานของทั้งสองฝ่าย ไทยและกัมพูชาต้องคุยกันเอง หารือกันเอง โดยมียูเนสโกควบคุม ในฐานะที่เป็นมรดกโลก แต่ละรัฐมีพันธะกรณีที่ต้องดูแลและปกป้องมรดกโลกชิ้นนี้ไว้ ภายใต้บริบทเหล่านี้ศาลต้องการเน้นว่า การเข้าถึงปราสาทพระวิหารต้องเข้าถึงจากทางกัมพูชาด้วยเช่นกัน


สรุป วรรค 1 กัมพูชามีอธิปไตยเหนือทั้งชะง่อนผาที่ระบุไว้ในปี 1962 ไทยจึงมีพันธะต้องถอนกำลังหทรหารทั้งหมดบริเวณนั้น"


"ด้วยเหตุนี้ ศาลมีมติเอกฉันท์ 2 ประการดังนี้ คือ 1.ด้วยอำนาจตามมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ทำให้การขอตีความของกัมพูชานั้น สิ่งเหล่านี้ ศาลมีอำนาจรับคำร้อง 2.โดยมติเอกฉันท์ ศาลขอประกาศว่า ผลจากการพิจารณาคำขอตีความคำพิพากษา ณ วันที่ 15 มิถุนายน 1962 ตามที่วินิจฉัยไว้ในความในย่อหน้า 98 ของคำพิพากษาใหม่นี้วินิฉัยได้ว่า กัมพูชามีอธิปไตยทั้งหมดเหนือชะง่อนผาที่ตั้งปราสาทพระวิหาร อันยังผลให้ไทยมีพันธะต้องถอนกำลังออกจากเขตแดนตรงนั้นทั้งกำลังทหารและตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รักษาการอื่นๆ หรือ ผู้ดูแลรักษา ออกไปพ้นจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวนั้น" ผู้พิพากษาศาลโลก กล่าว

ที่มา มติชน