ศาลโลกรับตีความตามคำร้องกัมพูชา ยึดคำพิพากษาปี 2505

ศาลโลก : มติเอกฉันท์ การขอตีความคดีของกัมพูชานั้นสิ่งเหล่านี้ศาลมีอำนาจรับฟ้อง โดยมติเอกฉันท์แถลงว่าโดยการตีความว่าคำพิพากษาวันที่ 15 มิ.ย. 2505 วินิจฉัยว่า กัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมดของปราสาทพระวิหาร และโดยผล ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีต้องถอนจากเขตแดนดังกล่าวทั้งกำลังทหาร ตำรวจ ผู้เฝ้ายามที่ประจำการในดินแดนดังกล่าว

ทั้งสองฝ่ายจำต้องมีวิธีแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างกันด้วยวิธีอื่น กัมพูชากับไทย ต้องหารือกันอง ภายใต้การดูแลให้เป็นมรดกโลกของยูเนสโก

ทั้งนี้ ก่อนนี้กระทรวงการต่างประเทศวิเคราะห์ 4 แนวทางคำพิพากษา คือ

1. ศาลไม่มีอำนาจตีความ หรือหากศาลเห็นว่ามีอำนาจก็ไม่เห็นว่าจำเป็นต้องตีความ

2. ศาลตัดสินว่า ขอบเขต "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" เป็นไปตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งเป็นไปตามข้อต่อสู้ของกัมพูชา หรือใกล้เคียง

3. ศาลตัดสินว่า ขอบเขต "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" เป็นไปตามเส้นมติคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อปี 2505 ซึ่งเป็นไปตามข้อต่อสู้ของไทย หรือใกล้เคียง

4. ศาลตัดสินกลาง ๆ โดยกำหนดหลักการที่ศาลเห็นสมควรเพื่อให้ ทั้งสองฝ่ายไปเจรจากันต่อไปตามกฎกติการะหว่างประเทศนั้น คำตัดสินของศาลโลกไม่สามารถอุทธรณ์ได้ และมีผลผูกพันทั้งไทยและกัมพูชาในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ


updated: 11 พ.ย. 2556 เวลา 16:59:34 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์