"เต้น"แนะ"ธีรยุทธ"หาโอกาสคุยเสื้อแดงรากหญ้า"นพดล"ชี้สะท้อนอคติวิชาการขี้หมูไหล

มติชน 15 ตุลาคม 2556




เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแกนนำเสื้อแดง ตอบโต้กรณีนายธีรยุทธ บุญมี ผอ.สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย กล่าวพาดพิงถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า ความชิงชังต่อ พ.ต.ท.ทักษิณได้บดบังความคิดของนายธีรยุทธ จนไม่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมา แล้วชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งที่แท้จริงของสังคมไทยเกิดจากพัฒนาทางการเมืองของผู้คน จากนั้นมีอำนาจเก่ากลับปฏิเสธการเติบโตของคนระดับร่าง ซึ่งมีช่องทางในสิทธิของตัวเองมากขึ้น ยืนยันว่าปรากฏการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่มวลเหตุของความขัดแย้งแตกแยกทางการเมือง ตรงกันข้ามกลับเป็นผลผลิตของชนชั้นร่าง ที่เข้าถึงศูนย์กลางของอำนาจและประชาชนได้ประโยชน์


นายณัฐวุฒิกล่าวว่า การที่นายธีรยุทธพูดนั้น เป็นการแสดงออกของคนเป็นโรคขี้ทูต หรือมือเท้ากุด เช่น มีการรัฐประหารปี 2549 และตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งเป็นกรณีที่นายธีรยุทธเคยต่อต้านเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่ 7 ปีหลังมานี้นายธีรยุทธกลับงอมืองอเท้าไม่ออกมายืนเคียงข้างประชาชน ไม่มีการประณามการฆ่าประชาชน นายธีรยุทธเป็นไปในลักษณะที่อยู่ในมุมมืดแล้วออกมาวิจารย์ แบบนี้ภาษาอีสานเขาเรียกว่าคางคาก ซึ่งหมายความว่าคางคก โดยจะออกมาพ่นพิษอยู่ตลอดเวลา และเชื่อว่าการออกมาพูดของนายธีรยุทธจะไม่ทำให้สังคมคล้อยตาม


นายณัฐวุฒิกล่าวด้วยว่า นายธีรยุทธไม่เข้าใจประชาชนคนไทยเลย จึงอยากให้นายธีรยุทธหาโอกาสพบปะพูดคุยกับคนเสื้อแดง ไม่จำเป็นต้องเป็นแกนนำ แต่อยากให้พูดคุยกับชาวไร่ชาวนาที่เป็นเสื้อแดง แล้วแลกเปลี่ยนทรรศนะทางการเมือง จะได้รู้ว่าสิ่งที่พูดมานั้นล้าหลังเพียงใด ส่วนที่ระบุว่าหากคนเสื้อแดงรักประชาธิปไตยจริง ทำไมไม่เรียกร้องรัฐบาลให้กระจายอำนาจผู้คนรากหญ้า เรื่องดังกล่าวคนเสื้อแดงวิจารณ์รัฐบาลหลายเรื่อง แต่เพราะมีภารกิจสำคัญคือไม่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกขย้ำด้วยฝูงหมาป่า และอำนาจนอกระบบ ที่ความพยายามโค่นล้มรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา เมื่อใดที่อำนาจนอกระบบปล่อยให้รัฐบาลได้ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อนั้นคนเสื้อแดงก็จะวิจารณ์รัฐบาลได้มากขึ้น



ทางด้านนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายธีรยุทธ บุญมี อดีตแกนนำนักศึกษา 14 ตุลาฯ ออกมาตั้งฉายา พ.ต.ท.ทักษิณ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการกล่าวปาฐกถาครบรอบ 40 ปี 14 ตุลา ว่า น่าเสียดายที่นายธีรยุทธเป็นคน 14 ตุลา ที่ในปี 2516 เป็นนักศึกษาที่มีหัวก้าวหน้า แต่หลัง 40 ปีผ่านไป ความคิดอ่านของนายธีรยุทธได้ถดถอยลงไปมาก แทบจะเทียบกันไม่ได้เลยกับความคิดของเพื่อนร่วมรุ่นอย่างนายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ได้อ่านความเห็นนายธีรยุทธแล้วรู้สึกผิดหวัง ที่เนื้อหาไม่ใช่การวิเคราะห์เชิงวิชาการอย่างรอบด้าน แต่ต้องการเพิ่มเรตติ้งโดยใช้การตั้งฉายาและประดิษฐ์วาทกรรม ซึ่งน่าเสียดายว่าในบั้นปลายชีวิตของนายธีรยุทธน่าจะคิดอะไรที่สร้างสรรค์ เพื่อประชาธิปไตยมากกว่านี้



การที่นายธีรยุทธตั้งฉายาพาดพิง พ.ต.ท.ทักษิณ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์นั้น เป็นการใช้เสรีภาพทางวิชาการโจมตีคนอื่น อย่างหยาบคายและผิดฟอร์มไปมาก สะท้อนให้เห็นถึงความมีอคติ และความไม่เป็นธรรมในจิตใจนายธีรยุทธ ที่มักจะหลับตาและปิดใจในผลงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ การดูหมิ่นดูแคลนนโยบายพรรคฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณว่า เป็นนโยบายประชานิยม ถือว่าเป็นการมองที่ตื้นและฉาบฉวย ถ้าประชานิยมจะทำให้คนจนไม่ตาย เพราะได้ผ่าตัดลิ้นหัวใจจาก 30 บาทรักษาทุกโรค หรือทำให้เด็กในชนบทได้มีโอกาสไปเรียนต่อในต่างประเทศ หรือทำให้คนจนเข้าถึงแหล่งทุนจากโครงการกองทุนหมู่บ้าน ประเทศไทยควรจะมีนโยบายโคตรประชานิยมในทำนองนี้ด้วยซ้ำ นโยบายเหล่านี้ใช้ในการหาเสียงและ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนตั้งรัฐบาลพรรคเดียว และเป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยที่กินได้


นายนพดลกล่าวว่า ส่วนการโจมตีว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์เป็นผู้หญิงที่ชอบแต่งตัวสวยงามและไม่ทำอะไรจริงจัง ฟังแล้วทำให้คิดได้ว่า นายธีรยุทธเป็นคนที่ใจร้ายและใจดำมากที่หัวใจไม่รับรู้ถึงความดีงามของคนอื่นบ้างเลย น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ทุ่มเททำงานและได้ริเริ่มนโยบายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ทำให้คนจนลืมตาอ้าปากได้จากนโยบาย 300 บาท หรือทำให้ลูกหลานเยาวชนที่จบปริญญาตรีได้เงินเดือน 15,000 บาท และผลงานด้านต่างประเทศล่าสุดก็เจรจากับผู้นำจีน จนจีนตกลงซื้อข้าวไทยปีละล้านตัน


"ผมไม่เข้าใจว่าห้องทำงานของนายธีรยุทธ ไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือทีวีที่จะทำให้นายธีรยุทธรับทราบความเป็นไปของโลกบ้างเลยหรือ ในสังคมประชาธิปไตย นายธีรยุทธมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น ถ้าคำสอนเรื่องประชาธิปไตยของนายธีรยุทธมีเนื้อหาที่มีคุณค่า มีหลักคิดที่สร้างสรรค์ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อส่วนร่วม แต่น่าเสียดายที่สิ่งเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยวาทกรรม และการตั้งฉายาที่หยาบคาย นายธีรยุทธเลือกที่จะไม่วิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามพรรคเพื่อไทย ดังนั้น การฟังมุมมองประชาธิปไตยจากนายธีรยุทธ จึงอุปมาอุปไมยเหมือนการ"