ถอดบทเรียน 3 กูรูระดับโลกแก้ปัญหาปรองดอง จากเวที “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์”

มติชน 2 กันยายน 2556

2 ก.ย. 2556  ที่โรงแรมพลาซ่าแอธินี มีงานปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ Uniting for the future : Learning from each other′s experiences หรือ “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์ ”



งานดังกล่าวมีวิทยากรระดับโลกมาร่วมบรรยาย ถ่ายทอดประสบการณ์ เช่น นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรี สหราชอาณาจักร ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการยุติความรุนแรงในไอร์แลนด์เหนือ ด้วยการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงสันติภาพจนนำไปสู่การหยุดยิงและยุติความรุนแรงที่สืบเนื่องกันมากว่า 30 ปีได้ในที่สุด

นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ เมื่อปี 2551 และเป็นผู้มีส่วนสำคัญในกระบวนการเจรจาสันติภาพในโคโซโว ผู้ก่อตั้งและประธาน Crisis Management Initiative (CMI) ที่เน้นการแก้ข้อพิพาททางสันติวิธี และเป็นหัวหน้าคณะไกล่เกลี่ยในกระบวนการสันติภาพระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียและกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของอาเจะห์ (Free Aceh Movement)

และนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ที่ปรึกษาอาวุโสของ Centre for Humanitarian Dialogue หรือ HDC ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยนางพริซิลลา เฮย์เนอร์ผ่านงานด้านยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านในหลายประเทศทั่วโลกและยังเป็นที่ปรึกษาให้กับสหประชาชาติทางด้านสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญชาวไทยที่ได้รับเชิญเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้วย

"มติชนออนไลน์"ถอดคำบรรยายปาฐกถาจาก 3 วิทยากรระดับโลก หวังว่าเวทีนี้จะเป็นจุดเริ่ม และต่อยอดสนับสนุนให้เกิดการปรองดองขึ้นในประเทศไทยต่อไป



โทนี่ แบลร์
อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ




ผมมาที่นี่เพราะได้รับเชิญ ไม่ได้รับเงิน แต่มา เพราะเชื่อเรื่องกระบวนการสมานฉันท์และการปรองดอง ซึ่งเป็นความท้าทายที่ใหญ่แต่คุ้มค่าที่จะเข้ามามีส่วนด้วย

ปัญหาของไทยที่สุดแล้วจะแก้ไขได้ด้วยคนไทยเท่านั้น ไม่ใช่คนข้างนอก สิ่งที่ผมพูดวันนี้เป็นการแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยมีหลักการ 5 ประการที่ได้เรียนรู้จากการมีส่วนร่วมกับขบวนการปรองดองสมานฉันท์ในหลายปีที่ผ่านมา

ประการแรก การสมานฉันท์จะเกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่ามันเป็นการแบ่งปันโอกาสมากกว่าที่จะแบ่งแยกกัน แน่นอนว่าจะมีสถานการณ์ที่เรามีความไม่พอใจ มีประเด็นที่เถียงกันเรื่องการปรองดอง แต่บริบทของการทำงานเพื่อสร้างการปรองดองจะเป็นเรื่องความรู้สึกและการแบ่งปันโอกาสที่มีความสำคัญกับผู้คน มากกว่าที่จะมาไม่พอใจกับสิ่งที่เกิดในอดีต

ประเทศไทยมีศักยภาพมาก มีเศรษฐกิจที่เติบโต และเป็นผู้นำเรื่องต่างๆ อาทิ การท่องเที่ยว มีประชากร 67 ล้านคน มีความรุ่มรวยทางประวัติศาสตร์ มีความท้าทายเรื่องการพัฒนาในชนบทและเรื่องสุขอนามัย แต่เรามีความปรารถนาที่จะก้าวไปถึงการพัฒนาอีกขึ้นหนึ่ง เราจะไปถึงจุดที่เราต้องการได้ก็ด้วยการผนึกกำลังในการแบ่งปันโอกาสและทำให้เกิดความรู้สึกว่าเราต้องการจะก้าวไปถึงจุดนั้น

ในไอร์แลนด์เหนือการปรองดองเกิดขึ้นได้เมื่อคนตระหนักว่าไอร์แลนด์เหนือและไอร์แลนด์ใต้สามารถทำงานร่วมกันได้ เมื่อคนรู้สึกว่ามีโอกาสมากมาย เราจึงจะต้องสมานฉันท์ปรองดองเพื่อจะได้มีแนวทางในการนำพาประเทศไปข้างหน้า ในอิสราเอลและปาเลสไตน์ แม้เราจะมีบริบทในการเจรจาสันติภาพมากแต่ขณะนี้ความรู้สึกเช่นนี้ของคนยังไม่เกิด เพราะผู้คนต้องรู้สึกอย่างแรงกล้าถึงอนาคตแทนที่จะไม่พอใจกับสิ่งที่ผ่านมาในอดีต

ประการที่สอง ในการสร้างความปรองดองสิ่งที่เราพูดกันคือเรื่องความขัดแย้งที่ทำให้ต้องมีการปรองดองกัน สิ่งที่ผมเรียนรู้คือเราสามารถนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์ไตร่ตรองได้แต่ไม่ควรตัดสินว่าจะนำมาซึ่งความพอใจของทุกฝ่ายได้ เราต้องยอมรับว่าอย่างไรก็ตามจะมีสองฝ่ายในการอธิบายถึงอดีตที่ผ่านมาซึ่งเราไม่สามารถข้ามพ้นไปได้ แต่เราตรวจตราอดีตในลักษณะที่จะทำให้เราสามารถเดินไปสู่อนาคตได้ด้วย

สิ่งที่ยากที่สุดคือการยอมรับเรื่องความไม่พอใจที่จะสกัดกั้นไม่ให้เราก้าวไปสู่อนาคต โดยเฉพาะเรื่องการปล่อยนักโทษ เพราะมันย่อมมีสองฝ่าย กรณีไอร์แลนด์เหนือ ด้านหนึ่งมองว่าไออาร์เอเป็นผู้ก่อการร้ายที่เข่นฆ่าผู้บรสุทธิ์ ขณะที่อีกด้านมองว่าคนเหล่านี้ต่อสู้เพื่อปลดแอก ความปรองดองสมานฉันท์ไม่ใช่การเปลี่ยนความคิดในอดีตที่ประสบมา แต่สิ่งที่จะเปลี่ยนคือการเปลี่ยนแปลงความคิดที่จะมุ่งไปสู่อนาคต

ข้อตกลงสันติภาพในไอร์แลนด์เหนือที่เกิดขึ้นในสมัยผมเป็นนายกรัฐมนตรี หนึ่งในนั้นคือการปล่อยตัวนักโทษไออาร์เอ ถ้าเรามองจากมุมของคนเป็นเหยื่อของการก่อการร้าย คนเหล่านี้คือผู้รับผิดชอบกับการสูญเสียคนในครอบครัวที่เรารัก แต่วันนี้พวกเขากลับมาเดินบนท้องถนน แน่นอนว่าเราย่อมรู้สึกโกรธแค้น โศกเศร้า และยากจะหลุดพ้นไปได้ ผมมีโอกาสได้พบกับครอบครัวของผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์เหล่านี้ แต่สิ่งที่เขาพูดกับผมซึ่งทำให้ผมสะเทือนใจคือ เราต้องเดินหน้าต่อไปเพราะไม่อยากเห็นเหตุการณ์และความสูญเสียเหล่านี้เกิดขึ้นอีก

ถ้ามองสถานการณ์ในไทยจากการศึกษารายงานต่างๆ ก็จะเห็นประเด็นที่คล้ายคลึงกัน เราสามารถมองทุกอย่างตามความจริงที่เกิดขึ้น ความโศกเศร้ายังมีอยู่ ภารกิจปรองดองไม่ใช่ให้ลบล้างมันแต่ให้ก้าวข้ามมันไปเพื่อไปทำสิ่งอื่่น

ประการต่อมา หากเป็นไปไม่ได้ที่จะลบล้างความอยุติธรรมในอดีตเพื่อก่อให้เกิดความปรองดอง เราก็ต้องทำให้เกิดกรอบในการทำงานต่อไปได้ สิ่งที่เกิดในอดีตนั้นผู้คนต้องถกเถียงกันต่อไป รวมถึงใครจะต้องรับผิดชอบ แต่เราสามารตั้งกรอบการทำงานในอนาคตที่เห็นว่ายุติธรรมและสามารถทำให้เราทำงานต่อไปได้ รากฐานของความขัดแย้งก็สามารถนำมาพูดคุยได้ แม้จะเป็นเรื่องยากแต่เป็นเรื่องที่เราจะต้องทำ

กรณีไอร์แลนด์ถ้าไม่มีการเจราจากู้ดไฟร์เดย์เราก็จะทำอะไรไม่ได้เลย เพราะการเจรจานี้ ทำให้เรามีกรอบในการทำงานต่อไป สาระของการเจรจาคือเป็นการปรองดองในระดับหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับ เราต้องยอมในบางเรื่องเพราะคนส่วนใหญ่ควรมีสิทธิ แต่ถ้าใช้เสียงส่วนใหญ่ก็อาจไม่เกิดสันติภาพขึ้นได้เลย เราจึงต้องสร้างกรอบขึ้นเพื่อให้มีการแบ่งปันอำนาจในไอร์แลนด์เหนือโดยที่ทำให้คนไม่รู้สึกว่าเขาถูกปิดกั้นจากการแบ่งปันการปกครอง ไทยมีกรอบอยู่แล้วแต่หากไม่สามารถลงรายละเอียดเพิ่มเติมได้ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นวิธีที่จะสร้างสันติสุขได้คือรับว่าเรามีความขัดแย้งในอดีต แต่ก็มีกรอบที่จะทำให้มันเดินหน้าต่อไปได้

มันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญหรือใครมายึดอำนาจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นแค่ผิวเพราะลึกลงไปมันจะมีรากของความขัดแยัง แต่การปรองดองจะเกิดได้เมื่อเราพูดถึงเหตุผลที่ลึกลงไปเหล่านี้ซึ่งจะทำได้จริงเมื่อมีกรอบที่จะก้าวต่อไป โดยพูดถึงปัญหาที่หยั่งรากลึกเหล่านี้ในแง่ความยุติธรรมเพื่อสร้างความปรองดอง เราต้องทำให้เขาเห็นว่าอนาตตมีทางไป

สี่ หลักการที่สำคัญยิ่งคือประชาธิปไตยที่แท้จริงเท่านั้นจึงจะใช้งานได้ แต่ละประเทศแม้จะเป็นประเทศเดียวแต่ก็มีการแบ่งแยกแตกต่างอยู่ภายใน มีพรรคการเมือง ชนชั้น ศาสนา เชื้อชาติ และสีผิว ในไทยการแบ่งแยกมีมากมายแต่ก็เป็นเรื่องปกติคล้ายคลึงที่ทุกประเทศก็มี เพียงแต่สถานการณ์มีความพิเศษไม่เหมือนกัน ประชาธิปไตยทั่วโลกมีมากมาย แต่มีสองสามอย่างที่สำคัญสำหรับประชาธิปไตยที่แท้จริงนั่นคือ ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การลงคะแนนเลือกตั้งเท่านั้น แต่เป็นวิถีแห่งความคิดที่ว่าไม่ใช่แค่คนส่วนใหญ่ที่มีอำนาจ หรือผู้ชนะจะได้ทุกอย่าง ทำให้คนกลุ่มน้อยรู้สึกว่าถูกกีดกัน ในความคิดของผม ประชาธิปไตยไม่ใช่การยึดครองโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ต้องมีพื้นที่แบ่งปันที่ทุกคนจะสามารถทำงานร่วมกันได้ มีพื้นที่ให้คนกลุ่มใหญ่ทำงานร่วมกันคนกลุ่มน้อยเพื่อแบ่งปันคุณค่าหรือค่านิยมบางอย่างร่วมกัน เพราะประชาธิปไตยเป็นเรื่องของแนวคิด ไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง

ที่สำค้ญคือต้องมีหลักนิติธรรมซึ่งต้องดำเนินไปโดยไม่มีความโน้มเอียง ซึ่งไม่ใช่แค่รัฐบาลหรือศาล หลักนิติธรรมยังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำหรับผู้ที่จะเข้ามาลงทุน ต้องสามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้ กระบวนการตุลากรที่เป็นอิสระก็มีความสำคัญ

เมื่อผมเป็นนายกรัฐมนตรี ผมนำกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้ามา ทำให้เป็นครั้งแรกที่ศาลสูงสามารถคว่ำมติของรัฐบาลได้หากเห็นว่าขัดแย้งกับหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเดิมอังกฤษไม่มีเรื่องเช่นนี้ แต่สิ่งนี้เป็นการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล บางครั้งนายกรัฐมนตรีเสนอกฎหมายที่เห็นว่ามีความสำคัญ แต่ศาลก็สามารถยกเลิกได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องน่าขัดใจ แต่เมื่อเราให้สิทธิเขาแล้วเราก็ต้องยอมรับ แต่สิ่งเหล่านี้จะทำได้ต่อเมื่อความยุติธรรมต้องเป็นอิสระ ไม่มีการแทรกแซงใดๆ ทั้งสิ้น เพราะการเป็นอิสระและปราศจากอคติจึงเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง ผมชื่อว่าประชาธิปไตยที่ีแท้สังคมแบบพหุและต้องขับเคลื่อนด้วยหลักนิติธรรม เราจึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างชัดเจน

ห้า การปรองดองจะทำได้ง่ายขึ้นถ้าการเมืองของประเทศนั้นๆ รัฐบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และจัดการปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้ เพราะรัฐบาลคือความคาดหวังของประชาชนและมีหน้าที่ดูแลประชาชนของตน
บทเรียนหนึ่งในการดูแลประชาชน คือการยื่นมือออกไปสู่กลุ่มที่แตกต่าง การปรองดองจะง่ายขึ้นถ้ารัฐบาลทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ประชาชน ให้เขารู้สึกว่าชีวิตของเขาดีขึ้น รู้สึกว่ากระบวนการสันติภาพจะนำสิ่งที่ดีีมาสู่ตนเอง ถ้าเขาไม่รู้สึกเช่นนั้นเขาก็จะไม่อยากวางความแตกต่างและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น

เป็นเรื่องท้าทายมากสำหรับรัฐบาลว่าจะหลุดพ้นจากนโยบายที่วางไว้ได้อย่างไร ถ้าต้องการการสร้างสิ่งที่ดีขึ้นและสามารถก้าวข้ามผ่านการแบ่งแยกโดยนโยบายของพรรคการเมืองไปได้ ก็จะทำให้เราสามารถทำสิ่งที่ดีขึ้นสำหรับอนาคต

บทเรียนของผมจากการทำงานที่ผ่านมาคือกระบวนการนี้ไม่ง่าย เราจะเจอความแตกต่างมากมายจนเหมือนไม่สามารถจะสร้างความปรอดองได้เลย สิ่งสำคัญสำหรับปรองดองสมานฉันท์คืออย่ายอมแพ้ แม้มันจะดูยากแค่ไหน หรือช่องว่างจะดูกว้างแต่ไหน เพราะมันเป็นอนาคตของประเทศ มันเป็นเรื่องจำเป็นและะคุ้มค่า

ทุกประสบการณ์ที่ผมเคยทำมาในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ผู้นำต้องนำแต่ประชาชนต้องมีส่วนร่วมและก้าวตามหลัง การปรองดองที่ปราศจากการสนับสนุนจากประชาชนจะก้าวไปไม่ได้ มันเป็นโอกาสที่จะแบ่งปันร่วมกันและเป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่งถ้าเราไม่ก้าวไปสู่โอกาสนั้น

แม้จะแตกต่างกันมากแต่หากสามารถทำงานร่วมกันได้ ประโยชน์มหาศาลจะตกอยู่กับประชาชน
...............



นายมาร์ตี อาร์ติซารี
อดีตประธานาธิบดี ฟินแลนด์
เจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพ เมื่อปี 2551

ก่อนจะเริ่มขอกล่าวว่า จากการนำเสนอของแบลร์ ประทับใจอย่างมาก ในการทำกระบวนการไอร์แลนด์เหนือ เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะเห็นกระบวนการเหล่านี้สำเร็จราบรื่น ถ้าปราศจากแบลร์ คงไม่เห็นไอร์แลนด์เหนือเป็นอย่างดนี้ ภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมด้วย ถ้าปราศาจากควาเมป็นผู้นำ เราคงไม่สำเร็จ

ท่านผู้ฟัง ผมโชคดีที่มาจากประเทศที่มีควาสงบ เกือบ 70 ปี แล้ว และไม่มีสงคราม ไม่มีอะไรที่มาขัดแย้งการดำรงชีวิตของเรา ความสงบบางครั้งก็น่าเบื่อหน่าย แต่สังคมเราก็สงบ ปลบอดภัย แต่สงครามโลก 1 ฟินแลนด์อยู่ใต้รัสเซีย และตอนรัสเซียแยกออกมา ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้น และมีประเทศต่างๆ ก่อให้เกิดความขัดแย้งด้านของ ประชากร กลายเป็นสงครามกลางเมือง ทำให้คนของเราเสียชีวิต 37,000 คน ฟินแลนด์ สงครามกลางเมือง

แม้ว่าเรื่อง แต่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นไม่ใช่เหตุผลอันเดียว ความเศร้า เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง หลังสงครามกลางเมือง คือสิ่งที่เราต้องการคือ ... หลังการจบสิ้นสงครามการเมือง ฝ่ายเสื้อแดงแพ้สงครามกลางเมือง ได้เป็นรบ ได้เปลี่ยนแปลงในการที่จะยอมรับ ไม่รีรอ หลักนิติธรรม หลัก ปชต. สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งสถานภาพปกติของประเทศชาติของเรา เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา ที่ฟินแลนด์ได้มีความเป็นอยู่เทียบเท่ากับประเทศต่างๆ ในอียู ก่อนหน้านี้เหมือนยากจน เป็นเกษตรกรมม การใช้ชีวิตการเมืองเป็นเรื่องของสอดคล้องกัน เปรียบเหมือนการร้อยสังคมอย่างสงบสุข

แผลลึกของสงครามกลางเมืองที่ทิ้งไว้ ต้องใช้เวลาในการรักษา ถึงแม้ 10 ปีที่ผ่านมา จะมีการพูดคุยกัน มีการพูดคุยถึงสงครามครั้งนั้น เราพูดคุยกัน และการพูดเรื่องปรองดอง การยอมรับอดีตเป็นเรื่องยาก แต่เป็นไปได้

สิ่งที่เราได้เรียรรู้จากการทำงานของผมในเรื่องของการทำงานในสังคมที่เปราะบาง ผมพูดถึงกระบวนการ 3 ลักษณะ นามิเบีย อาเจะห์ และโคโซโว

แม้กระบวนการเกิดในสถานการณ์ ต่างกัน ทวีปต่างกัน แต่ควาทมท้ายทายในเชิงปรองดองเหมือนกัน ผมเริ่มทำในนามิเบีย 2521 เราได้เห็นว่าความท้าทายในเชิงการเมืองนั้นมากเหลือเกิน มีความแตกต่าง เช่นเชิงการเมือง เรื่องการถือครองที่ดิน เรื่องกระบวนการที่จะเดินหน้าเสรี สิ่งต่างๆ เหล่านี้มจนึถมีมติยูเอ็น 435 1978 นำมาซึ่งการสงบ และหยุดการรบราฆ่าฟัน นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วปะรเทศ

แต่หลังการปรองดอง 10 ปี หยุดรบกัน และเกิดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมาได้ เราพูดได้ว่า จะง่ายกว่าไหมถ้าเราเริ่มทำตามที่เราวางแผนไว้ กรณีนามิเบีย มีประวัติศาสตร์ของควาไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันสูงมาก ผู้นำจะทำอย่างไรให้เสริมร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันเรื่องนี้ไม่สามารถให้ใครรับผิดชอบได้ แต่ความรับผิดชอบในอนาคตนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนและผู้นำนามิเบียนั้นๆ กระบวนการเพื่อนำมาซึ่งการจัดตั้งกรรมการอิสระ เป็นสมาชิกสภาส 72 คนที่ทำงานร่วมกัน อย่างรับผิดชอบ ในการจัดตั้งระบบ ที่มีหลายฝ่ายมีส่วนร่วม เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นแรงส่ง ขณะนั้น ประชากรเป็นผู้สูญเสีย ทำให้เรื่องกรอบรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เฉพาะผู้คนในที่นั้น ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นเรื่องสิทธิมนุษชน เป็นเรื่องเลือกตั้ง เรื่องของการที่จะได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนบ้าน ตอนนี้ นามิเบียเป็นประเทศเสรี มีการเคารพซึ่งกันและกัน มีระบบประชาธิปไตย รับมือกับเรื่องต่างๆ สิ่งที่ผมดีใจคือเรื่องหลักธรรมาภิบาลที่ดีในนามิเบีย

จากดัชนี นามิเบีย อยู่ในอันดับ 6 ของ แอฟริกา โมฮัมหมัด อิบราฮิม ฟาวเดชั่น โดยมีเงื่อนไข 4 ประการ หลักนิติธรรม การเข้ามีส่วนร่วมสิทธิมนุษขชน ร่วมพัฒนา ศก. และการพัฒนอย่างยั่งยืน จะเห็นคว่ามีความแตกต่างกันในสังคม นามิเบียทำได้ดีทีเดียวเมื่อเทียบกับประเทศข้างเคียง แต่โดยแท้จริงอยากใช้วิธีการเช่นเดียวกัน กับการประเมินผลของประเทศในอียู ซึ่งจะทำให้เกิดการเปรียบเทียบที่น่าสนใจทีเดียว ละตินอเมริกา อเมริาเหนือ

ส่วนเรื่องอาเจะห์ของอินโดฯนั้น มีความแตกต่าง แต่ก็คล้ายคลึง ผมเข้าไปเมื่อปี 2004 ช่วงที่อาเจะห์ประสบปัญหาสึนามิมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี 2005 รัฐบาลใหม่ของอินโดนีเซีย ได้พบหารือกับผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวอาเจะห์ที่เฮลซิงกิตั้งแต่แรก ถูกห้อมล้อมโดยคนที่รู้ว่ามีความสามารถที่จะหยุดความโศกของคนอาเจะห์ได้ คนเหล่ารู้ว่าคนที่รับผิดชอบด้านการเมืองและผู้นำเป็นอย่างไร เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งรัฐมนตรียุติธรรมของอินโดนีเซียในเวลานั้นเป็นผู้เสนอ

ที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือการเคารพต่อทุกฝ่าย สิ่งแรกที่ผมแนะนำคือ การบอกทุกฝ่ายว่า แต่ละพรรคไม่สามารถไปบอกคนอื่นว่าตัวเองชนะ ทุกประเด็น จะบอกออกไปต่อเมื่อมีการตกลงกันแล้ว เป็นข้อตกลงที่มีการตีพิมพ์แล้ว เป็นเรื่องของการสร้างสันติ เหมือนบททดสอบว่าจะยอมทำตามเราหรือเปล่า ทั้งสองฝ่ายต้องการจิรงๆ จึงเกิดขึ้นได้ บทเรียนจากอาเจะห์คือ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตาม สัญญาก็ไม่เกิดขึ้นได้ ทั้งสองฝ่ายต้องเข้าใจ ผมได้ทำให้สองฝ่ายเข้าใจว่า จะเกิดความปรองดอง ก็ต้องทำตามสัญญา เขาต้องการหาคำตอบอย่างแท้จริงกันทั้งสองฝ่าย บอกว่า เราทุกคนมีความรับผิดชอบในสังคมที่เปราะบางนี้

ความยุติธรรมต่างๆ เกิดขึ้นได้ แมื่อแต่ละฝ่ายต้องการอย่างแท้จริง

เรื่องโคโซโว ภาคภูมิใจมาก เพราะมีการออกกฎหมายแล้ว รวมทั้ง รัฐธรรมนูญใหม่ รวมทั้งสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ชุมชนต่างๆ ผมยินดีที่มีการตั้งศาลรรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งปกป้อง รัฐของโคโซโว กรณีของโคโซโวก็เช่นเดียวกับนามิเบียและอาเจะห์ การที่จะเดินทางสู่สันติภาพ ต้องมีการสูญเสียมากมาย มีคนสูญเสีย 13,000 คน กระบวนการสันติภาพได้มีความสงบเกิดขึ้นแล้ว แต่ปัญหาสำคัยที่เผชิญอยู่ คือ การที่จะรักษาความสงบตั้งแต่ระดับรากฐาน เวลาพูดกันในการเมืองหรือในสภาพูดได้ แต่ภายนอกเมื่อพูดกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ในอดีตจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำร้ายประเทศ ต้องทำให้เห็นว่าการปรองดองไม่ใช่การลืมอดีต โคโซโว ทำให้เห็นว่าการปรองดองต้องทำให้เกิดจากการมีเพื่อน มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน สำคัญที่สุด คอป.ของไทย เสนอแนะแล้วว่า ผลลัพธ์ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการ แต่ที่ต้องการเป็นกระบวนการสร้างความไว้วางใจ คือให้เครื่องมือแก่ประชาชน ผู้นำในรัฐบาลต้องให้อำนาจทั้งกลุ่มใหญ่และเล็กเพื่อผลักดันประเทศไปถูกต้องได้ ประเทศใดจะไว้วางใจ ต้องเปิดกว้างให้ทุกคนเข้ามาร่วม ความปรองดองสมานฉันท์ต้อง ปชช. การปรองดองระดับชาติต้องได้รับการสนับสนุน ทั้งทางการเมือง

สังคมมีความขัดแย้งมาเป็นร้อยปี ต้องสนใจ นำไปใช้กับกลุ่มชุมชนต่างๆ เตอนแรกต้องมีการให้การศึกษาที่ดี สุขภาวะที่ดีต่อประชากร เป็นเรื่องสำคัญในศตวรรษที่ 20 ต้องดูแล เกี่ยวกับ เรื่องความจำเป็นของสังคม เราอาจเล่าเรื่องที่ต่างกันในอดีต ยอมรับในความแตกต่าง ต้องมีการสานเสวนาอย่างชัดเจน เพื่อให้ก้าวไปได้ เราต้องหาวิธีคิด เหมือนตอนโซเวียตล่มสลาย เราต้องให้ความรู้กับครูหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาใช้ จะเขียนประวัติศาสตร์ให้ยอมรับได้อย่างไร ต้องมีการสร้างอนาคตร่วมกัน

ผมใช้ประสบการณ์ของผม เล่าเรื่องอดีต เน้นการปฏิบัติ ไม่ได้บอกว่าแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ฟินแลนด์  ยังมีปัญหา เศรษฐกิจ ค่อนข้างมาก มีงบประมาณในการสร้างอนาคต หาเงินมาอย่างเพียงพอยังเป็นปัญหา เรื่องการว่างง่าน เราต้องลดการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องเปราะบาง ผู้นำรบ จะต้องมีความมุ่งมั่นในการทำงาน ผมมั่นใจว่าเราจะหาคำตอบได้เหมือนอดีต เราจะแก้ปัยหาได้ แสดงให้เห็นว่าปัญหาในบ้านไม่สามารถแบ่งแยกประเทศได้ การปรองดองสามารถเกิดขึ้นได้ประสบความสำเร็จ
--------------


พริซิลลา เฮย์เนอร์
ที่ปรึกษาศูนย์เสวนาเพื่อมนุษยธรรม(เอชดีซี)



รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมบนเวทีกับผู้มีเกียรติทั้งสอง ขอเริ่ม อ.ฐิตินันท์ และอีกหลายท่านทำงานอย่างประทับใจ จัดการประชุมอย่างนี้ น่าสนใจที่เรามีเรื่องหัวข้อที่สามารถพูดกันได้ หมายความว่าเรามีอิสระในการพูด เราพูดเรื่องการปรองดองเหมือนกัน หวังว่า คงมีส่วนให้ หลังการพูดไปแล้วทั้งสองท่าน

ดิฉัน มีความชื่นชมอย่างวิทยากรบอกแล้วว่ามาไทยหลายครั้งมาทำงานร่วมกับ คอป.ของไทย ทุกครั้งที่มา ก็เรียกว่ารู้สึกถึงความรุ่มรวยของการเข้ามามีส่วนร่วม ในเรื่องของความท้าทายต่างๆ ที่ไทยเผชิญอยู่ ความท้าทายอยู่ในหลายประเทศ ไทยก็ทำได้อย่างดีที่ตระหนักถึงความท้าทายที่เผชิญอยู่

เป็นจริงที่ว่าดิฉันทำงานในระยะเปลี่ยนผ่านของหลายประเทศ ความยุติธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ทำในเชิงนโยบายหลายอย่าง เรื่องรับมือของการปรองดอง ไม่ว่าจะเป็นบริบทใดก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ยาวิเศษ ไม่สามารถแก้ปัญหาฉับพลัน ไม่สามารถคิดนอกกรอบ เห็นด้วยว่า มติมาจากประเทศของเขา ไม่สามารถมาจากข้างนอก อาจยกตัวอย่างได้ แต่เราเป็นคนนอก ไม่สามารถเข้าใจเหมือนคนในประเทศ

คอป. สามารถให้ในเรื่องการเตรียมการให้การเยียวยาผู้เสียหาย ซึ่งสำคัญ แต่ไม่พอ แต่มีการจัดทำหลายอย่าง แต่การให้ คอป. ทำสิ่งต่างๆ เหมือนความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่าน แต่ต้องคิดให้ไกลกว่านั้น

เรื่องของความสมานฉันท์ ปรองดอง เรื่องของการระบุ จัดทำภาครัฐ เรื่องของการสมานฉันท์ผ่านมาหลายปี จากรัฐบาลก่อนหน้านี้ มีความเห็นพ้องกันว่าต้องมีความพยายามมากกว่านี้ ในเรื่องของความปรองดอง แต่ที่ดิฉันไม่กระจ่างก็คือ อะไรคือความปรองดอง เวลาพูดพูดเรื่องเดียวกันหรือไม่ เวทีการปรองดอง จากประสบการณ์ คำว่าปรองดอง บางครั้งอาจหมายถึงสิ่งที่ต่างกันเมื่อคนต่างกัน บางครั้งเราอาจไม่ตระหนักในการใช้คำ บางครั้งประเทศตึงเครียดทางการเมือง เราก็เอามาใช้

แต่กระจ่างหรือเปล่าว่า ปรองดองในเชิงปฏิบัติคืออะไร มีเรื่องวิสัยทัศน์ที่ต่างกันในอนาคต

ขอแสวงหา ในที่นี้ เรื่องสัญญาณการเตือน การใช้คำปรองดองในวัตถุประสงค์ที่ผิด มาใช้ในคะยั้นคะยอ แต่ขณะเดียวกันมีความหมายเชิงบวกด้วย ความผิดอย่างหนึ่งคือ หาความปรองดองเพื่ออภัย ทำสิ่งที่ผิดให้ยกเลิกหมด ซึ่งไม่ใช่ ซึ่งเป็นเรื่องทำให้มีการนิรโทษกรรมกับผู้ที่ทำเรื่องเหี้ยมโหดในอดีต เกิดกับอาร์เจนตินามาแล้ว มีการออก กม.นิรโทษกรรม โดยใช้ข้อว่าสิ่งเหล่านี้สำคัญเพื่อความปรองดอง แต่คนอาร์เจนตินาปฏิเสธการปรองดอง กลายเป็นคำลบ เพราะจะโยงไปถึง กม.นิรโทษกรรม บางครั้งผู้สูญเสียไม่ยอมรับ ดิฉันไม่เห็นด้วยกับการใช้คำปรองดองไปในลักษณะนั้น

การใช้คำว่าปรองดอง เพื่อคะยั้นคะยอหรือข่มขู่ เริ่มต้นก็ล้มเหลวแล้ว เมื่อไม่กี่สัปดาห์นี้ ที่อียิปต์หลังทหารยึดอำนาจแล้ว และปิดปากผู้ที่ล้มประธานาธิบดี เราก็ได้เห็นการประท้วงยึดกรุงไคโร มีบางขณะที่ทางทหารจะยึดเมือง โดยอ้างว่าฝ่ายตรงข้ามมีเวลา 48 ชม. ในการเข้าร่วมขบวนการปรองดอง ถือเป็นการคุกคามข่มขู่จากรัฐบาล

เรื่องที่จะทำการปรองดองที่ไม่แจ่มชัดนั้น อาจมีกรณี ที่อ้างถึงความสำเร็จในบั้นปลายก็เป็นเรื่องที่ผิด คืออ้างเอาการผ่านพ้นความแตกต่างด้วยการนำเอาสิ่งต่างๆ มาปกปิดความคิดที่แตกต่างกัน เช่น รวันดา เมื่อ 20 ปีที่แล้ว รัฐบาลใหม่ ออกมาแบนเอกสารต่างๆ ถ้าไม่สามารถระบุได้ว่ามาจากกลุ่มไหน ของพวกฮูตู ทุตซี่ ที่้เป็นกลุ่มใหญ่ในรวันดา เรื่องของการระบุชาติพันธุ์ไม่ใช่เรื่องเชื้อชาติอย่างเดียว เป็นเรื่องการดูว่าอะไรเป็นแก่นแท้จริงของปัญหาที่ขัดแย้ง การปกปิดเรื่องความแตกต่างนั้นคืออะไรกัน

ความท้าทายต่างๆ ที่ตามมา เรื่องของการปรองดอง ไม่ใช่ลืม บังคับ ปกปิด คำคำนี้ หมายความว่า จะเป็นการปรองดองรูปไหน ถ้าต้องการไปให้ถึง ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือการหันมาเน้นเรื่องกระบวนการที่เป็นไปได้ คือ ไม่ใช่สิ่งที่จะก้าวไปให้ถึง แต่เป็นเรื่องของเส้นทางเดินที่จะเดินต่อไปตามเส้นทางนี้ เดินไปด้วยความคิดริเริ่ม ความคิดสร้างสรรค์ เจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งขึ้นกับบริบทของแต่ละประเทศ ไม่สามารนำเข้าจากประเทศอื่นใดได้

ดังนั้นโครงการการปรองดอง ตัวอย่างเช่นในไลบีเรีย คณะกรรมการได้ให้การแนะนำโครงการ เรื่องการใช้คนพื้นเมือง ในชุมชน ในติมอร์ตะวันออกใช้ผู้สูงอายุในชุมชน หลังมีความรุนแรงเกิดขึน ทำให้นำมาซึ่งการขออภัย การชดใช้ การทำงานให้แก่ชุมชน ผ่านทางผู้สูงอายุในชุมชน เป็นกระบวนการที่น่าสนใจ

ในแอฟริกาใต้ ของแมนเดลา เหมือน คอป. เผยให้เห็นข้อเท็จจริงที่เจ็บปวด ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ในการต่อต้านการท้าทาย

หลายปี เรื่องการประชาพิจารณ์ เรื่องน่าแปลกใจคือ บุคคลที่ยอมรับผิด และมีกำลังในการที่ออกมาขอโทษ สิ่งต่างๆ ว่ามีส่วนร่วมในอดีต กลับมามีความแข็งแกร่งมากขึ้น ในรูปจขของบุคคลที่ยังปฏิเสธ และไม่แข็งแกร่งพอที่จะรับผิดในอดีต คนเหล่าจะถูกปัดออกไปข้างๆ ในเวทีการเมืองของแอฟริกาใต้

เรามีอะไร ที่จะจัดนโยบายในการเดินทางมาสู่การปรองดอง อันแรก คือทิศทางไม่ได้ชี้ไปทางการเมืองทางใดทางหนึ่ง ถ้ามีวาระซ่อนเร้น เป็นไปไม่ได้ ดิฉันเห็นว่าการปรองดองไม่ใช่การไปหลอกฝ่ายตรงข้ามว่า จะต้องเห็นความต้องการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นความผิดที่เห็นบ่อยครั้ง

จากหลายๆ ประเทศที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ยากที่จะสำเร็จ เป้าประสงค์คือการสร้างความสำเร็จ จุดยืนร่วมกัน เวลาผ่านไป  การปรองดองเร่งไม่ได้ นอกจากนั้นเมื่อเริ่มแล้ว กระบวนการจำต้องมีการดูแลด้วยความเคารพ เอาใจใส่ ต้องมีการสื่อสาร มีการรับฟัง เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบของผลประโยชน์ของชาติ ข้ามฝ่ายผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง

ดิฉันไม่ได้เน้นว่ากระบวนการนิรโทษไม่สำคัญ แต่กระบวนการนิรโทษหรือการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจก็มีความสำคัญพอๆ กัน คอป.ได้เสนอหลายอย่างในไทย และดิฉันคิดว่า ควรมองว่าข้อเสนอของเขามีอะไร สิ่งที่เห็นส่วนหนึ่งคือ สถาบันพระปกเกล้า รายงานของประชาชน เราควรดูว่าเราจะทำอะไรต่อไป

ก่อนจบ ขอพูดเรื่องนิรโทษกรรม ที่ยกเช่น อาร์เจนตินามีคนสนใจเรื่องนี้ในไทย ประเด็นนี้อาจมีความผิดพลาดถ้าตีความแคบไปว่า ไปใช้แนวทางด้านสากลมากเกินไป เพราะอาจจะไม่สามารถนำไปใช้ได้ในบริบทท้องถิ่น หลักนิรโทษฯควรมีการเคารพผู้ที่ประสบเคราะห์ไม่ควรมองว่าเป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง ควรมีการเสวนา สร้างแนวทางนิรโทษฯ ดูกระบวนการนิรโทษฯ จะทำอย่างไร แม้จะมีการยกโทษให้อาชญากรรมบางอย่าง แต่ไม่ควรลบกระบวนการเพื่อให้ความจริงออกมา แม้จะมีการนิรโทษฯ แต่ก็ควรศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้น ในกระบวนการระดับชาติก็อาจมีการกระทำบางอย่างที่อาจจะได้รับการนิรโทษ รวมทั้งมีบางกรณีที่เป็นญาติหรือผู้เกี่ยวข้องกับการที่บุคคลเหล่านี้ถ กทำร้าย ควรมีการทำงานระดับนานาชาติ

คิดว่าหลักการที่พูดมาจะทำได้ เป็นการเน้นเรื่องการปรองดอง กรอบที่พูดมา ควรจะมีหลักการของประชาธิปไตยรองรับอยู่ ต้องมีพื้นที่ในแง่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่พูดมีข้อน่าสนใจคือ ขณะนี้เรากำลังหาผลประโยชน์ของชาติร่วมกัน แต่ละพรรคการเมืองมีมุมมองที่ต่างๆ ไป เราควรปล่อยให้มีการเสวนา เคารพที่จะแตกต่างกัน ให้พื้นที่ที่จะคุยกัน เพื่อล็อบบี้ เพื่อถก เพื่อธรรมาภิบาลที่ดี

"ในความขัดแย้งทางการเมือง ต้องยอมรับกันว่า จะให้ประเทศที่มีประชาธิปไตยเป็นหัวใจเป็นเครื่องนำทาง เป็นภาพรวมวิสัยทัศน์ที่ควรนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ของปะระเทศชาติเป็นหลัก"

.............