Mr.Thierry Viteau เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสฯ ได้กล่าวเปิดงานในงาน "วันชาติฝรั่งเศส" 14 กรกฏาคม 1789 :

ทีมข่าว นปช.
16 กรกฏาคม 2556


เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคมที่ผ่านมา  Mr.Thierry Viteau เอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย ได้กล่าวเปิดงานในงาน "วันชาติฝรั่งเศส" ความว่า ผมมีความตื้นตันใจและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ต้อนรับท่านทั้งหลายในงานฉลองวันที่ 14 กรกฎาคม 2556 ที่เปี่ยมด้วยมิตรไมตรี สำหรับการฉลองวันชาติครั้งแรกของผมที่กรุงเทพผมเลือกที่จะกระชับคำกล่าวโดยเน้นสิ่งที่นำเรามาร่วมกัน ณ ที่นี้ ท่านคงสังเกตเห็นว่ารูปแกะสลักในงานไม่ใช่หอไอเฟลหรือประตูชัยเหมือนเช่นเคยทุกปี แต่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ท่านได้เคยเห็นที่กรุงปารีสและผมยืนยันได้เลยว่าท่านจะไม่ได้เห็นมัน เพราะสิ่งก่อสร้างดังกล่าวไม่มีให้เห็นอีกแล้ว รูปแกะสลักน้ำแข็งเช่นนี้คือรูปจำลองเหมือนจริงของป้อมปราการ "บาสตีย์" ที่ถูกประชาชนชาวปารีสบุกยึดไว้ได้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 การที่ป้อมปราการซึ่งเป็นคุกของรัฐในตอนนั้นเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดการปกครองโดยภาพเบ็ดเสร็จ และเป็นการเริ่มต้นของ "เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ" คำขวัญสามคำนี้เรียบง่าย เป็นพลังสร้างความหวังและอุดมการณ์ในฝรั่งเศส รวมถึงในยุโรปและทั่วโลกและได้กลายเป็นคติพจน์ของสาธารณะรัฐนับแต่นั้นมา

14 กรกฎาคม หมายรวมถึง 14 กรกฎาคม 2333 ด้วยซึ่งเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองสหพันธรัฐ แต่หมายถึงเอกภาพของชาวฝรั่งเศสทั้งมวล เป็นการรวมตัวกันโดยไม่คำนึงถึงเพศ ความเชื่อ เชื้อชาติ หรือสถานะภาพของพวกเขาแต่อย่างใด ถือเป็นการฉลองอยู่ร่วมกัน สมัครสมานสามัคคีโดยแท้
เมื่อพูดถึงการยึด "บาสตีย์" ผมขอเล่นเรื่องหนึ่งซึ่งยังคงมีสีสันและเชื่อมโยงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นี้กับประเทศไทยซึ่งเมื่อนั้นเรียกชื่อ "สยาม" กล่าวคือในพุธศักราช 2228 หรือเกือบหนึ่งศตวรรษก่อนวันที่ 14 กรกฎาคม 2332 คณะราชทูตพระเจ้าหลุยส์ทรงส่งมาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา และได้พระราชทานปืนใหญ่ความยาว 1 ฟุต หล่อด้วยเหล็กกล้า มีลวดลายฝังเงิน 2 กระบอกอันเป็นพระราชบรรณาการของกษัตริย์ฝรั่งเศส และราชทูตรุ่นก่อนซึ่งเป็นรุ่นก่อนของนานแสนนานคณะนี้ของฝรั่งเศส ปืนใหญ่ 2 กระบอกนี้เก็บรักษาไว้ที่คลังของราชสำนักที่ตั้งอยู่ในบริเวณซึ่งปัจจุบันคือ "จตุรัสคองกอร์ด" แต่เป็นว่าในบรรดาอาวุธที่ชาวปารีสรวบรวมได้นั้นมีปืนใหญ่ 2 กระบอกดังกล่าวรวมอยู่ด้วย เป็นไปได้ที่ปืนใหญ่ทั้ง 2 กระบอกนี้มีส่วนร่วมอย่างน่าแปลกใจในการปกป้องปราการ "บาสตีย์" อย่างไรก็ตามยังมีเอกสารยุคนั้นซึ่งมีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำให้เชื่อตามนั้นได้
เรากำลังย้อนประวัติศาสตร์ผมจึงขอปันเวลาท่านสักนิดเพื่อบอกว่านับแต่นี้ไป พวกท่านเดินทางมาทำเนียบเอกอัคราชทูตฝรั่งเศส ท่านจะใช้เส้นทางซอยเจริญกรุงซอย 36 หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า "ถนนแบรสต์" ท่านอาจถามว่าทำไมชื่อ "ถนนแบรสต์" คำตอบง่าย ๆ "แบรสต์" เป็นชื่อเมืองท่าสำคัญของมณฑล "เบรอตาญ" เป็นเมืองที่พระยาโกษาปานราชทูตผู้มีอำจานเต็มในสมเด็จพระนารายณ์ขึ้นบก เพื่อเดินทางไปถึงฝรั่งเศสในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2229 และถนนสายหลักของเมือง "แบรสต์" ซึ่งตั้งอยู่สุดเขตตะวันตกของจังหวัด "ฟินิสแตร์" ก็ได้ชื่อถนน "สยาม" นับตั้งแต่พุทธศักราช 2285 เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้เมื่อเราเดินทางผ่านประวัติศาสตร์ร่วมระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศสในชั่วพริบตาจนมาถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ปีนี้จึงเกิดมีถนนสายหนึ่งตั้งชื่อว่า "ถนนแบรสต์" ที่กรุงเทพ ก็คงจะผิดหวังหากผมไม่เอ่ยถึงความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศสในปัจจุบัน ผมขอบอกสั้น ๆ ว่าความสัมพันธ์ของเราดีเยี่ยม และผมก็ปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศทั้งสองของเรานั้น นอกจากจะมีประวัติศาสตร์ร่วมกันแล้วยังเหมือนกันอีกในหลายด้าน อีกทั้งยังร่วมเป็นสมาชิกสถาบันเดียวกันอันได้แก่องค์กรนานาชาติ กลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส มีชาวฝรั่งเศสกว่า 2 หมื่นคนเลือกที่จะอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผมขอส่งความปรารถนาดีต่อพวกเขาจากใจจริง และในแต่ละปีเพื่อนร่วมชาติของผมกว่า 6 แสนคนเดินทางมาพักผ่อนในช่วงวันหยุดในประเทศอันงดงามแห่งนี้ บริษัทประมาณ 360 แห่ง เปิดทำการและจ้างพนักงานกว่า 5 หมื่นคนที่นี่ ส่วนทางด้านการเมืองในช่วงไม่ถึงปีที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีทั้งสองของเราก็ได้แลกเปลี่ยนกันเยือนประเทศซึ่งกันและกันแล้ว พร้อมกับการลงนามกันหลายฉบับว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการศึกษา การอบรมเชิงวิชาชีพ การพาณิชย์และการทหาร ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของเราตื่นตัว และมีสมาชิกท่านอื่นในรัฐบาลก็ได้เดินทางมาแล้วหรือมีกำหนดจะเดินทางมาเพื่อกระชับความร่วมมือด้วย เห็นได้ชัดว่าผู้ดูแลรับผิดชอบความร่วมมือทั้งที่ปารีสต่างก็ตระหนักถึงสำคัญของการร่วมกันทำงานให้มากยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศทั้งสองของเรา และต่อประชาคมที่ประเทศของเราเข้าร่วม อันได้แก่ประชาคมอาเซียน และประชาคมยุโรปด้วยเช่นกัน

ท้ายนี้ผมของขอบคุณบริษัท "Thales" บริษัท "Essilor" และบริษัท "MSH International" ที่ได้ให้ความอุปถัมภ์การจัดงานเลี้ยงรับรองที่โรงแรม ในค่ำคืนนี้ บริษัททั้ง 3 แห่งได้ดำเนินธุรกิจเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศไทย
ผมเห็นท่านรองนายกรัฐมนตรีอยู่ข้างหน้า ให้ผมขอกราบขอบพระคุณที่ท่านกรุณาให้เกียรติมาร่วมงานในวันนี้
ผมขอขอบคุณท่านผู้มีเกียรติทุกท่านอีกครั้ง ที่มาร่วมแบ่งปันเวลาแห่งมิตรไมตรีกับฝรั่งเศสกันอย่างคับคั่ง ผมขอเชิญท่านพร้อมกันยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี และดื่มถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นฟังเพลงลามาแซแยซ และเมื่อจบเพลงขอเชิญดื่มอวยพรแด่ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ