"หมอเหวง" รำลึกถึงคุณชุมพล ศิลปอาชา



ทีมข่าว นปช.
22 มกราคม 2556


Facebook Page นพ.เหวง โตจิราการ

เพื่อนๆครับ เพื่อเป็นการรำลึกถึง คุณชุมพล ศิลปะอาชาที่เสียชีวิตไปเมื่อสองวันที่ผ่านมา(21มกราคม2556) ผมขอเล่าบางเรื่องที่ ผมเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับคุณชุมพล ศิลปอาชา เรื่องเริ่มที่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ35 จบลง เรืออากาศตรีฉลาดวรฉัตรเรียกร้องให้ ยกเลิกรัฐธรรมนูญ(รสช) (ซึ่งก็คือรธน.ของคณะรัฐประหารคล้ายๆกับรัฐธรรมนูญ คมช.ในยุคนี้นั่นแหละ ) แล้วให้สภาผู้แทนราษฎรซึ่งถือว่าเป็นผู้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเป็นผู้ร่างกันใหม่

รัฐบาลในสมัยนั้นคือประชาธิปัตย์ โดยคุณชวนหลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ยืนกระต่ายขาเดียวว่า “ทำไม่ได้ เพราะมีรัฐธรรมนูญฉบับ34(ของรสช.)ใช้บังคับอยู่ ในรธน.34มีมาตราบังคับเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว (ห้ามยกร่างใหม่เหมือนกับม.291ของ รธน.50ไม่ผิดเลยครับ) จนทำให้มีการชุมนุมใหญ่โตที่หน้ารัฐสภา

พวกผมในตอนนั้น เป็นสมาพันธ์ประชาธิปไตยได้ ค้นคว้าประวัติศาสตร์รธน.ดู
ก็พบว่าในสมัย 2489 อ.ปรีดีได้ เป็นต้นแบบดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกันนี้แล้ว คือมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับอยู่ ซึ่งบังคับไม่ให้มีการยกร่างกันใหม่
แต่อ.ปรีดี ก็สามารถ ดำเนินการให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาเป็นรัฐธรรมนูญ2489 ได้ ซึ่งถือกันว่าเป็นรธน.ฉบับที่ค่อนข้างดีฉบับหนึ่งของไทย (ตอนหลังถูกแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญใต้ตุ่มของพวกยึดอำนาจรัฐประหารคณะของผิน ชุณหวัน)
โดยอ.ปรีดีได้ตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเขาเรียกกันว่า คณะกรรมการ7ร.
คือคณะกรรมการรวบรวมเรียบเรียงเพื่อยกร่างเป็นรัฐธรรมนูญ
ผมกับศาสตราจารย์นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์ จึงได้ไปพบ นายกฯชวน เพื่ออธิบายให้ฟังว่า สามารถทำได้ โดยไปพบที่บ้านซอยหมอเหล็งผมจำได้ว่าตั้งแต่เวลาประมาณเที่ยงคืนจนสองนาฬิกาวันใหม่
นายกฯชวน ยอมรับในความเป็นจริง จึงบอกให้ผมกับอ.สันต์ช่วยไปอธิบายให้คณะกรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ฟังในตอนเช้า ที่จริงผมกับอ.สันต์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องไปทำเช่นนั้น เพราะไม่ได้เป็นลูกพรรคปชป.ไม่ได้เป็นข้าราชการทั้งการเมืองหรือประจำ เป็นประชาชนธรรมดา

แต่ด้วยความเป็นห่วงว่า การชุมนุมของประชาชนเริ่มองศาเดือดมากขึ้นทุกที อาจจะนำไปสู่การรัฐประหารอีกก็ได้ ก็เลยยอมไปอธิบายให้กรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ฟังใน ตอนเช้าประมาณ10.00น.ซึ่ง รองนายกฯบัญญัติบรรทัดฐานในตอนนั้นก็รับปากต่อหน้าสื่อจำนวนมากว่า จะจัดให้มีการตั้งคณะกรรมการ7ร.เพื่อยกร่างรธน.ใหม่ แต่ตกตอนบ่ายประมาณ16.00น.รองนายกฯบัญญัติก็โทรมาหาผมเพราะโทรหาอ.สันต์ไม่ได้ บอกว่า ที่ประชุมพรรคปชป.ปฏิเสธไม่เห็นด้วยกับการตั้งกรรมการ7ร.และหันไปตั้งกรรมการชุดพัฒนาการเมืองอ.ประเวศแทน
ก็เป็นอันว่าเรื่องการยกร่างรธน.ใหม่ของสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันสูญสลายไป

ผลทางการเมืองสำคัญภายหลังจากที่ รองนายกฯบัญญัติประกาศรับว่ายินดีตั้งกรรมการ7ร. ในตอนเช้า ก็คือการชุมนุมของประชาชนก็ประกาศสลายตัวทันที แล้วปชป.ก็กลับมาปฎิเสธในตอนบ่ายแล้วอ้างว่าเป็นมติพรรคปชป.ดังกล่าว ต่อมาสังคมได้อภิปรายปัญหานี้กันอย่างกว้างขวาง ก็เลยมีข้อเสนอให้ แก้ไขมาตรา211 เพื่อให้มีสสร.ขึ้นมายกร่างรธน.ใหม่ (คล้ายๆกับที่เราต้องการแก้มาตรา291เพื่อให้ปชช.เลือกสสร.โดยตรง) ประจวบกับมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้เกิดการยุบสภา เนื่องจากกรณีสปก.4-01ปชป.ไปออกโฉนดให้กับเศรษฐีที่เป็นพวกตนเอง (ที่ศาลได้พิพากษาแล้วว่าเป็นความผิด ) รัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องพ้นไป

ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งนี้เองที่ พรรคชาติไทยได้ ประกาศนโยบาย แก้มาตรา211เพื่อให้มีสสร.ขึ้นมายกร่างรธน.ใหม่ ประชาชนก็เลยเลือกพรรคชาติไทยเข้ามาเป็นเสียงข้างมาก จัดตั้งรัฐบาลได้นายกฯบรรหาร ศิลปอาชารักษาสัญญาประชาคม ในการแก้ม.211เพื่อให้มีสสร.ยกร่างรธน.ใหม่
จึงมอบหมายให้ คุณชุมพล ศิลปอาชาเป็นผู้รับผิดชอบในการตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ดำเนินการยกร่างแก้ไขมาตรา211
ผมกับอ.สันต์ หัตถีรัตน์ได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานด้วย จนสำเร็จเป็นการแก้ไขม.211ของรธน.34 และนำไปสู่การสมัครรับเลือกกันเองเป็นสสร.ของผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆและรัฐสภานำไปสู่การคลอดรธน.2540ในที่สุด

ดังนั้นหากไม่มี รัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชาที่รักษาสัญญาประชาคมในวันนั้น และ
หากไม่มีคุณชุมพล ศิลปอาชามาเป็นหัวหน้าคณะในวันนั้น
ก็อาจจะไม่มีการแก้ม.211และอาจจะไม่มีรธน.2540ที่ทำให้ประชาชนได้รู้จักระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอำนาจเลือกรัฐบาลที่สามารถทำงานตามที่สัญญาเอาไว้ตอนที่ีมีการเลือกตั้งครับ

ผมเรียกคุณชุมพล ศิลปอาชา ว่าพี่ชุมพล ศิลปอาชา ขอให้ดวงวิญญาณของพี่ไปสู่สัมปรายภพ ไปสู่สุคติที่ดีงามนะครับพี่