อ.ตุ้ม หวังอนาคตประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อ ICC



ทีมข่าว นปช.
7 ตุลาคม 2555




วานนี้ (6 ต.ค. 55) อ.จารุพรรณ กุลดิลก, อ.สุดสงวน สุธีสร และ อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล ร่วมงาน "สิทธิการป้องกันตนเองของประชาชนกับศาลอาญาระหว่างประเทศ" ณ วิทยาลัยการปกครอง ม.ขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น
อ.สุดสงวน ยืนยันว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน รัฐบาล-ผู้ปกครองประเทศมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกติกาสากล ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) มีอยู่ 30 มาตรา โดยมีหลายมาตราที่น่าสนใจ เช่น
  • มาตรา 3: ประชาชนมีสิทธิที่จะมีชีวิต และเสรีภาพ
  • มาตรา 7: ประชาชนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้รับความคุ้มครองทาง กม. เท่าเทียมกัน 
  • มาตรา 9: การลงโทษ-ขับไล่ออกนอกประเทศตามอำเภอใจไม่สามารถทำได้
  • มาตรา 20: ประชาชนมีสิทธิในการชุมนุม

บารัก โอบามา เคยกล่าวว่า สังคมโลกต้องมีความสงบที่ยั่งยืน ดังนั้นรัฐบาลจึงมีหน้าที่ดูแลสิทธิในการป้องกันตนเองให้กับประชาชน เช่น สิทธิในการป้องกันตัวจากการถูกทำร้าย
รัฐบาลที่ผ่านมาใช้อำนาจจัดการกับประชาชน แทนที่จะปกป้องประชาชน ดังนั้นโอกาสที่ประชาชนจะป้องกันตนเองมีน้อย หรือแทบจะไม่มีเลย
สหประชาชาติได้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อจัดการกับปัญหานี้โดยเฉพาะ โดยรัฐภาคีจะต้องให้สัตยาบันรับรองก่อน เพื่อที่สหประชาชาติจะสามารถเข้าไปจัดการกับปัญหาได้ แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบัน ซึ่งตนเองเห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ จึงคาดหวังให้มีรัฐบาลที่เข้มแข็ง เพื่อที่จะดำเนินการเรื่องนี้ให้สำเร็จ เพื่อที่ได้ปกป้องสิทธิของประชาชนต่อไป