ไทยอีนิวส์ 20 กันยายน 2555 >>>
ศ.ดร.คณิต ณ นคร เป็น ประธานกรรมการอิสระตรวจสอบ และค้นหาความจริง เพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ “คอป” (พร้อมรายงาน 300 หน้า) เป็นคณบดี คณะนิติศาสตร์ ม. ธุรกิจบัณฑิตย์ เป็น อดีตอัยการสูงสุด เป็น อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 เป็น อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย คนแรก
ศ.ดร.คณิต ณ นคร มีข้อผิดพลาดมหันต์ และขาดความรอบรู้ทาง ปวศการเมืองไทย กัยความรู้เกี่ยวกับ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ โดยมีข้อเสนอแนะแนบท้าย ไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าจะเป็นบุคคลที่ถูกเรียกว่า “สเตทแมน” (Stateman) หรือรัฐบุรุษได้ ต้องรู้จักคำว่าเสียสละ
พร้อมหยิบยกกรณีของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มาเล่าให้ฟัง ถึงการเสียสละเพื่อส่วนรวม โดยทำงานเพื่อประเทศ และประชาชนคนไทย แต่ไม่เดินทางกลับไทย เพียงเพราะหวังให้บ้านเมืองสงบสุข
ศ.ดร.คณิต ณ นคร มิได้ศึกษา หรือตระหนักว่า ในฐานะนักการเมืองไทย ฯพณฯ ปรีดี ได้พยายามกลับเมืองไทย หลายต่อหลายครั้ง และครั้งหนึ่งได้กลับมาทำ “ขบวนการประชาธิปใตย 26 กุมภาพันธุ์ 2492/1951” คือ ยึดอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่ล้มเหลว ถูกปราบปรามหนัก ด้วยอาวุธสงคราม ขบวนการนั้น จึงถูกเรียกว่า “กบฎวังหลวง”
ความพยายามยึดอำนาจครั้งนั้น ฯพณฯ ปรีดี ได้รับความร่วมมือจาก อดึตเสรีไทย (บางส่วน) อาจารย์นักศึกษา มธก (บางส่วน) และ นายทหารเรือ (บางส่วน)
ผู้ก่อการฯ ถูกปราบปรามหนัก ฯพณฯ ปรีดี ต้องหลบซ่อนอยู่ในบ้านแถวฝั่งธน เป็นเวลา 6 เดือน จนกระทั่งหลบหนีออกไปได้ และไม่สามารถกลับมาเมืองไทยได้อีกเลย นี่เป็นการหนีออกครั้งที่สอง
ครั้งแรก คือ หลัง “รัฐประหาร 2490/1947” (นำโดยผิน ชุนหะวัน) ข้อมูลการหลบหนีนี้ นักวิชาการ ผู้คน และเวป จำนวนไม่น้อย จำสับสนว่าเป็นเรื่องเดียวกัน (ดังนั้น ควรระมัดระวังข้อมูล)
ความล้มเหลวครั้งนี้ สมาชิกของเสรีไทย อดีตผู้นำ นักการเมือง “คณะราษฎร” ปีกเสรีนิยม บางคนถูกฆ่า ยิงทิ้ง เช่น ทองอินทร์ ภูริพัฒน์, จำลอง ดาวเรือง, ถวิล อุดล, ทองเปลว ชลภูมิ, เตียง ศิริบันธ,์ โผน อินทรทัต, ทวี ตะเวทิกุล, ฯลฯ นี่เป็นการปิดบทบาทฝ่ายเสรีนิยม ฝ่ายนักการเมืองพลเรือน ไปนานแสนนาน (นี่ยังไม่นับ ช่วง ปวศ การเมือง ของการผงาดขึ้นมาของระบอบสฤษดิ์/ถนอม/ประภาส ตลอดจนการฟื้นฟู และสถาปนาพระราชอำนาจนำ ของรัชกาลปัจจุบัน ครับ)
หมายเหตุ
ความพยายามของชนชั้นนำ อีลีต ผู้ดี ไฮโซ ทีีจะสร้าง “วาทกรรมการเมือง” ว่าด้วยเรื่องของ “เทพ ธรรมะ คนดี คนมีศีลธรรม” ทำให้การศึกษา ปวศ การเมือง วิชารัฐศาสตร์ วิชานิติศาสตร์ ฯลฯ กลายเป็นเรื่องของ ความเชื่อ อุดมการณ์ มากกว่าเรื่องของวิชาการ เรื่องของความรู้ เรื่องของสติปัญญา ตามแนวทางที่ว่า “นตถิปัญญา สมาอาภา” หรือ “แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี”