'จาตุรนต์' ระบุรัฐประหารอาจเกิดขึ้นอีก เหตุมีคนให้ท้ายสร้างความชอบธรรม

ไทยรัฐ 30 สิงหาคม 2555 >>>




"จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เผย 80 ปีที่ผ่านมายังไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะกองทัพเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ ระบุยิ่งเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งอายุสั้น ชี้รัฐประหารยังไม่หมดเพราะยังมีคนคอยให้ท้าย...

เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวบรรยายพิเศษเส้นทางประชาธิปไตยไทยในอนาคต ว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน เราอยู่ตรงไหนแล้ว เราจะก้าวสู่อนาคตอย่างไรจึงหนีไม่พ้นที่จะพูดถึงอดีตบ้าง แล้วเราจึงจะมองไปข้างหน้าอย่างไร เป็นโอกาสดีที่จะพูดถึงสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นมา 80 ปีนี้ ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าดูจากคนที่ไปรวบรวมว่ามีนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ หรือพลเรือนที่เกี่ยวข้องมาเท่าไหร่ 50 ปีคือมาจากกองทัพ และ 30 ปีคือมาจากกองทัพ แม้ในช่วง 30 ที่นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งก็ยังมีเนื้อหาที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ก็มีบางส่วนที่มีเนื้อหาตัดถอน ส.ส. มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็มี ส.ส. มาจากการแต่งตั้งทั้งสภาฯ
ขณะเดียวกัน ก็มีการกำหนดว่า ส.ว. มาจากการแต่งตั้งสามารถกำหนดได้ เพราะนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่สามารถทำงานหรือลงมติร่วมได้ การปกครองที่ผ่านมา 80 ปีมีช่วงที่เป็นประชาธิปไตยเพียงสั้น เป็นประชาธิปไตยมากระยะเวลาก็ยิ่งสั้นมาก บางช่วงเรียกว่าครึ่งใบ บางคนก็เรียกว่าเสี้ยวเดียว อันนี้ก็คือเรื่องที่ผ่านมา ประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลานมาครั้งแล้วครั้งเล่า ในขณะที่เราบอกว่าบ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เราก็พบหลายแง่มุมในการพัฒนาประชาธิปไตยมาเหมือนกัน เช่น เรื่องการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลานานมาก
นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า จากการเอานโยบายมาแข่งกัน ปัญหาว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ คนคิดว่าไม่น่ามีอีกแล้ว แต่คนก็คิดผิด หลังจากปฏิวัติมา สิ่งที่เป็นปัญหาของประชาธิปไตยคือ ความเสี่ยงที่จะถอยหลังไปกับเรื่องแบบนี้อยู่ ระบบของประเทศไทยยังมีเรื่องแบบนี้ ถ้าเราเรียนรู้ประวัติศาสตร์มา 80 ปี เราจะไม่กล้าพูดว่าจะไม่เกิดขึ้นเลย เราจะมีนักวิชาการที่จะอธิบายความชอบธรรมให้สิ่งเหล่านี้ ถ้ายังเป็นแบบนี้จะบอกได้ไงว่าจะไม่มีรัฐประหารอยู่ การรัฐประหารจะไม่มีอยู่ถ้าไม่มีระบบรองรับ ในเรื่องความคิดความเชื่อ ต้องก้าวไปในเรื่องไม่ยอมรัฐประหาร แต่ในขณะนี้ยังไม่ใช่ ความเข้าใจของประชานเปลี่ยนไปที่นอกเหนือจากเรื่องพฤติกรรมของผู้ลงคะแนนเสียงในเรื่องความคิดความเชื่อของประชาชนที่เปลี่ยนไป ที่พร้อมจะออกมาบอกว่าการกระทำใดที่เป็นเรื่องของสองมาตรฐาน