ประชาไท 2 สิงหาคม 2555 >>>
เริ่มเมื่อเดือนมิถุนายน 2552 คนงานตัดเย็บชุดชั้นใน Triumph ถูกบริษัทเลิกจ้างด้วยจำนวนครึ่งหนึ่งของคนงานในโรงงานเกือบ 2000 คน ในขณะที่ฉันเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ และพ่วงด้วยตำแหน่งที่ปรึกษาด้วยหน้าที่การงานทำให้ฉันได้ เข้าร่วมชุมนุมกับคนงานที่ข้างโรงงานที่ นิคมอุตสาหกรรมเมืองใหม่บางพลี
ด้วยข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานมีต่อบริษัทบอดี้ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ตอนนั้นก็คือให้รับคนงานกลับเข้าทำงานโดยไม่มีเงื่อนไข และปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้างที่ทำไว้กับสหภาพแรงงานคือ ต้องปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาค ต้องจ่ายค่าชดเชยที่มากกว่ากฎหมายกำหนด และสุดท้ายบริษัทในฐานะบรรษัทข้ามชาติต้องยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณทางการค้า
การเลิกจ้างครั้งนี้คนงานแบ่งเป็นสองกลุ่มคือผู้ที่ถูกเลิกจ้างกับไม่ถูกเลิกจ้างและในจำนวนผู้ไม่ถูกเลิกจ้างคือประธานสหภาพแรงงานรวมอยู่ด้วย การชุมนุมประท้วงทุกรูปแบบ และการประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผนในการเจรจาคนงานเริ่มไม่เห็นประธานสหภาพแรงงานเข้าร่วม
ข่าวลือต่างๆเข้ามาไม่ขาดสายเกี่ยวกับประธานสหภาพแรงงาน ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องรับผลประโยชน์ต่างๆนาๆ สิ่งที่ฉันทำได้ตอนนั้นคือเรียกร้องให้ทุกคนหยุดพูดและไม่เชื่อเพราะเชื่อว่านี่คือขบวนการทำลายสหภาพแรงงานจากบริษัทฯ และสุดท้ายมีการลงรายมือชื่อของสมาชิกสหภาพแรงงาน เข้าชื่อกันเรียกร้องให้เปิดประชุมวิสามัญด้วยหัวข้อไม่ไว้วางใจประธานสหภาพแรงงงาน ในวันที่ 18 กันยายน 2552 และผลการประชุมก็เป็นไปตามที่คนงานต้องการ มติที่ประชุมปลดประธานสหภาพแรงงานและปลดจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานและแต่งตั้งประธานใหม่
ในวันที่ 26 กันยายน 2552 มีหมายเรียกให้ฉัน เข้าพบพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจบางเสาธง ด้วยข้อหาหมิ่นประมาทโดยการกระจายเสียงอดีตประธานสหภาพแรงงาน ในชั้นสอบสวนฉันปฎิเสธทันทีเพราะไม่เคยพูดในสิ่งที่ถูกล่าวหา และเชื่อว่านี่คือการทำลายสหภาพแรงงานโดยใช้คนงานด้วยกันเป็นเครื่องมือ และที่สุดอัยการก็มีความเห็นสั่งฟ้อง สองกรรมต่างวาระ ในขณะที่พวกเราคนงานยังชุมนุมกันอยู่ที่กระทรวงแรงงงาน และได้มีอาจารสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์จุฬาฯใช้ตำแหน่งอาจารย์ประกันตัวในวงเงิน 100,000 บาท และมีเงินสดอีก 10,000 บาท และได้มีการปล่อยตัวชั่วคราว
ประมาณปี2554 เริ่มมีการสืบพยาน ฝ่ายโจทย์มีพยาน 5 ปาก พอสรุปได้ว่า โจทย์โดยผู้เสียหายไม่เคยได้ยินการหมิ่นด้วยตัวเองแต่มีเพื่อร่วมงานมาเล่าให้ฟัง และเพื่อนร่วมงานเป็นสมาชิกสหภาพที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้างมาได้ยินในขณะที่ฉันใช้โทรโข่งกล่าวคำหมิ่นประมาทและพยานได้ยินก็เดินหนีไปขึ้นรถกลับบ้าน
พยานที่สองเป็นพนักงานขับรถได้ยินฉันหมิ่นโจทย์ผู้เสียหายในวันที่ที่มีการประชุมใหญ่วิสามัญสหภาพแรงงานวันที่ 18 กันยายน 2552 บอกว่าฉันหมิ่นโจทย์ด้วยเครื่องเสียง และเขาไม่เคยรู้จักฉันมาก่อนเลยรีบไปถาม รปภ. ว่าใครเป็นคนพูด รปภ. ตอบว่าคือฉันเป็นคนพูด
เมื่อ รปภ. มาให้การบอกว่าไม่รู้จักฉันไม่เคยเห็นหน้าและไม่รู้ว่าใครพูดแต่ได้ยินว่ามีการกล่าวหมิ่นโจทย์จริง
ฝ่ายฉันใช้พยานฉันเอง ประธานสหภาพแรงงาน ปัจจุบันและไม่ได้ถูกเลิกจ้าง อดีตเลขาธิการสหภาพแรงงาน เหรัญญิกสหภาพแรงงาน และพยานวัตถุคือซีดีวีดีโอบันทึกการประชุมใหญ่วิสามัญ และภาพถ่ายสถานที่ต่างๆ
พอสรุปประเด็นสู้ว่าฉันไม่เคยพูดและเรื่องข่าวลือแบบนี้เกิดขึ้นกับประธานทุกคนจนถึงคนปัจจุบัน และถ้าเกิดเรื่องแบบนี้สหภาพแรงงานมีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะฉันเป็นเจ้าหน้าที่สหภาพแรงงาน ประธานไม่เคยนำเรื่องเข้าที่ประชุม และสหภาพแรงงานไม่เคยใช้โทรโข่งในการกล่าวปราศรัย การจะใช้เครื่องเสียงเลขาธิการสหภาพจะเป็นคนจัดคิว และไม่เคยมีใครเคยได้ยินฉันการกล่าวหมิ่นประมาท และในวันที่ 18 กันยายน 2552 มีการบันทึกวีดีโอจึงให้ส่งเป็นพยานวัตถุ และวันนี้วันที่ 1 สิงหาคม 2552 ใช้เวลาทั้งหมดไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ เกือบสามปี
วันนี้ศาลนัดอ่านคำพิพากษาสรุปได้ว่า ให้ลงโทษฉันในฐานะจำเลยจำคุก 4 เดือนโทษจำคุกรอลงอาญาไว้ 2 ปี และให้รายงานตัว 1 ปี บริการสาธารณะ 12 ชม. และเสียค่าปรับ 80000 บาท
วีดีโอที่เรายื่นเชื่อถือไม่ได้ และก่อนศาลอ่านคำพิพากษาเล็กน้อยหน้าบัลลังค์เชิญทนายเข้าไปบอกว่าขอร้องอย่าให้มีการแจกเอกสารหน้าศาล ทนายบอกว่าไม่มีและไม่เคยทำ หน้าบัลลังค์บอกว่าจำได้ว่าฉันเคยร่วมทำ
ในขณะที่ศาลอ่านคำพิพากษาฉันยืนขึ้น ผู้พิพากษาตั้งใจอ่านคำพิพากษาโดยไม่สบตากันเลยและเมื่ออ่านจบก็ลงบัลลังค์ไปทันที และตำรวจศาลก็ถามฉันว่ามีเงินค่าปรับหรือเปล่า น้องจาก Try Arm รีบบอกว่ามีเงินสดเดี๋ยวไปเสียค่าปรับ ขั้นตอนก็คือเมื่อเสียค่าปรับแล้วเอาใบเสร็จมาให้ตำรวจและฉันจะถึงจะได้รับอิสรภาพ และจากนั้นฉันต้องไปทำประวัติที่สำนักงานคุมประพฤติ ความวุ่นวายเกิดขึ้นเล็กน้อยเมือพวกเราเตรียมเงินไปแค่ 50,000 บาท อีก 30,000 บาทก็หาเอากันตรงนั้นก็ได้ครบก็ไปจ่ายค่าปรับ “น้องคนหนึ่งผู้ต้องหาคดีจำหน่ายยาไอซ์บอกว่าค่าปรับพี่แพงกว่าค้ายาอีกนะ” และได้ถามน้องว่าในคุกลำบากหรือเปล่า น้องบอกว่าก้ไม่หรอกถ้าเรามีเงินก็สบาย เช้ามาก็เข้าโรงงานทำหัวไฟแช็ค ลำบากตอนนอนกะอาบน้ำ ที่นอนน้อย น้ำก็แย่งกันอาบ
เริ่มกระบวนการรายงานตัวที่คุมประพฤติ ถือป้ายหมายเลขถ่ายรูป (เลยถึงถึงภาพคนที่ถ่ายรูปในค่ายกักกันในเขมรแดง) และขึ้นไปกรอกประวัติ เจ้าหน้าที่บอกว่ารีบหน่อยนะเดี๋ยวเขาจะรีบไปถวายเทียน
มีคำถามทั่วไปพ่อแม่ชื่ออะไรพักที่ไหน แต่ที่ไม่ทั่วไปคือ คุณยอมรับคำตัดสินว่าอย่างไร เช่นจะปรับปรุงตัว ไม่สนใจ ส่วนฉันตอบว่าเชื่อว่าตนเองบริสุทธิ์ ถามนิสัยก็ตอบไปว่าชอบช่วยเหลือผู้อื่น ร่าเริง แจ่มใส ใจดี รักเด็ก รักสัตว์ รักธรรมชาติ 555
ถามหาความสามารถพิเศษเลยเขียนไป"พูดในที่สาธารณะ" ก็พิเศษแล้วแค่นี้ แล้วก็เย็บผ้า อันนี้โม้เต็มที่ว่าเคยอบรมอะไรมาบ้าง และงานอดิเรกยามว่างก็อ่านหนังสือและไปฟังเสวนา ลืมบอกว่าชอบเล่นเฟชบุคด้วย
คราวนี้เจ้าหน้าที่ก็ขอทำแผนที่บ้านปัจจุบัน และให้สมุดนัดมา 1 เล่ม และวันที่ 4 กันยายน 2555 จะมีปฐมนิเทศพร้อมเพื่อนร่วมรุ่น มีทั้งขับรถประมาท หลายประเภท และวันนั้นเราจะเลือกงานบริการสังคมกันถ้าบริจาคเลือดก็ได้ 6 ชม. ใครมีความรู้สูงๆ ก็อาจจะได้ทำเอกสาร ใครความรู้น้อยๆก็ทำความสะอาดวัด (งานนี้กวาดสิ่งชั่วร้ายออกหมดวัดแน่ๆ)
อีกเรื่องให้ใส่ชื่อบุคคลที่เรารู้จักเช่นผู้นำศาสนา ผู้ใหญ่บ้าน ผู้หรับผู้ใหญ่ ก็เลยใส่ชื่อ อาจารย์เวียงรัฐ เนติโพธ์ (เผื่อเขาเห็นนามสกุลจะแอบหมั่นไส้เราบ้าง)
จบกระบวนการคุมประพฤติ ส่วนการอุทธรณ์ก็คงให้ทนายดำเนินการต่อมีทนายเสาวลักษ์ โพธ์งาม เป็นทนายความคดีนี้
ขอบคุณสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย สื่อ นักวิชาการ เพื่อนๆเสื้อแดง เพื่อนในเฟชบุค เพื่อนในโลกจริง เพื่อนในโลกออนไลน์ และที่สำคัญเพื่อนในกลุ่มคนงาน Try Arm
กระบวนการยุติธรรมไทยต้องปฎิรูป การสืบค้นความจริงต้องทำให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะมีผู้บริสุทธิ์อีกมากมายที่อยู่ในคุก
"ฉันเชื่อมั่นในสิทธิการรวมตัว ถ้าวันนี้ไม่ยืนหยัดการรวมตัวมี Try Arm ฉันคงติดคุก "