มีภาพที่เปรียบเทียบให้เห็นความรู้สึกและท่าทีที่ตรงข้ามกันอย่างยิ่งระหว่าง กองทัพกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในกรณีคดี 98 ศพ ที่เสียชีวิตจากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553
พลันที่มีผู้นำ หนังสือคำสั่ง ศอฉ. ที่ กห.1407.55 (สยก.) ลงวันที่ 17 เม.ย. 2553 เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ.ก่อนที่นายสุเทพจะลงนามอนุมัติในวันที่ 18 เม.ย. 2553 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก และอดีตโฆษก ศอฉ.ก็ออกแถลงในนามกองทัพโดยฉับพลันว่า เอกสารดังกล่าวเป็นฉบับจริง เนื้อหาในรายละเอียดทั้งหมดไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นการแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัตินั้นมีมาตรการตามหลักสากล จากเบาไปหาหนัก
ไฉนท่าทีของกองทัพต่อกรณีข้างต้นจึง "ฉับพลันทันที" เป็นอย่างยิ่งก็ต้องพิจารณาลงไปในเนื้อหาของคำสั่งดังกล่าว โดย เฉพาะใจความสำคัญในข้อ 2.5 ที่ระบุว่า ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ ที่ ศอฉ.กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้
แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจน อาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้นอกจากนี้ หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบังฯลฯหน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้สอด คล้องกับบทความในวารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553 เรื่อง "เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร : กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง"ที่สรุปผลการปฏิบัติในการสลายการชุมนุมของประชาชนในเดือนพฤษภาคม 2553 ภาพยิ่งเด่นชัดเด่นชัดว่านโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันผู้ชุมนุมเป็นนโยบายกระชับวงล้อมเพื่อ "ยุติการชุมนุม" ไม่ใช่เพื่อ "เปิดการเจรจา" เอกสาร ดังกล่าวยังยืนยันว่า มีการใช้พลแม่นปืนหรือ "หน่วยสไนเปอร์" เป็นหน่วยแรกในการเข้าสลาย โดยยึดพื้นที่สูงใกล้เคียงการชุมนุมเป็นที่ตั้งระบุว่า"แผนยุทธการครั้งนี้เป็นการวางแผนการปฏิบัติการรบเต็มรูปแบบ เหมือนการทำสงครามรบในเมือง ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล"มีการพูดถึงการสั่งการให้ใช้ "กระสุนจริง" ซึ่ง"ทำให้ทหารที่สูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน มีจิตใจรุกรบมากขึ้น" ท่าทีของฝ่ายทหารที่พยายาม "ลดกระแส" การรื้อฟื้นคดีหรือการใช้ "พลแม่นปืน" เป็นเครื่องมือในการสลายการชุมนุมของประชาชน
ตรง กันข้ามกับจุดยืนที่สนับสนุนการใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชนของรัฐบาล จากของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่สะท้อนผ่านรายงานจำนวน 80 หน้า ที่สรุปเหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนออกเป็น 9 กรณี และ ชี้ชัดๆ ฟันธงลงไปเลยว่า ปฏิบัติการเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 ราย ไปจนถึงการสลายการชุมนุมระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553รัฐบาลก็ไม่ผิดเพราะเมื่อประชาชนชุมนุมด้วยความไม่สงบรัฐบาลจึงสามารถใช้อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548ขณะที่กรณีสะเทือนความรู้สึกคนทั่วไปมามากที่สุดเรื่องหนึ่งอย่างกรณี 6 ศพในวัดปทุมวนารามกลับถูกสรุปไว้อย่างคลุมเครือว่า "อาจจะ" เป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ต้องดำเนินการสอบสวนต่อไปจุดยืนที่ "แข็งกร้าว" ยิ่งกว่าทหารอาชีพทั้งหลายในกองทัพของกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ น่าสนใจ-น่าตกใจ-น่ากังวลใจ