ไม่ว่าจะคดีใด คดีการเมืองหรือไม่การเมือง มาตรฐานการสอบสวนจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน คดี 98 ศพเข้าใกล้ความจริงทุกขณะ ทั้งกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งสำนวนการชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงระหว่างสลายการชุมนุมปี 2553 จำนวน 22 สำนวน มายังกอง บช.น. ซึ่งล่าสุดได้สรุปสำนวนเสร็จแล้ว 19 สำนวน รวมถึงประเด็นหน่วยสไนเปอร์ซุ่มยิงประชาชน ที่จะมุ่งสอบสวนคดีพยายามฆ่าในส่วนของผู้บาดเจ็บ 2 พันกว่าคน ทั้ง หมดนี้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอกำลังสอบสวนผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความยุติธรรมปรากฏโดยเร็ว โดยมี พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ เป็นหัวหน้าชุดคดี 98 ศพ
พ.ต.อ.ประเวศน์ ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ามาทำหน้าที่ครั้งนี้ พร้อมหลักในการทำงานดังต่อไปนี้
ขอโอนย้ายจากตำรวจมาดีเอสไอ ผมเป็นตำรวจมาทั้งชีวิต อยู่โรงพักมาตลอด บางครั้งอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการสอบสวน กระบวนการยุติธรรม เลยคิดว่าหน่วยใหม่ องค์กรใหม่ น่าจะง่ายต่อการเปลี่ยนแปลง โดย เราอาจเข้าไปผลักดันให้มีอะไรใหม่ๆ นอกเหนือจากกฎเกณฑ์เดิมๆ ของกรมตำรวจ แต่ตอนนั้นไม่ได้คาดหวังอะไร เพราะยังไม่แน่ใจว่ากรมนี้จะตั้งสำเร็จหรือไม่
หลังโอนย้ายแล้วรับตำแหน่งใด
ตำแหน่งแรก คือ ผอ.ส่วนคดีทรัพย์สินทางปัญญา 3 รับผิดชอบคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด มาอยู่ไม่นานก็เกิดเหตุปล้นปืนในค่ายทหาร จ.นราธิวาส ในเดือน มิ.ย. 47 ผมและตำรวจที่โอนย้ายมาได้รับคำสั่งจาก พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ อธิบดีดีเอสไอคนแรก ให้ลงไปช่วยสืบสวนสอบสวน ผมเป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีนี้ สามารถตรวจยึดอาวุธปืนที่ปล้นไปได้จำนวนหนึ่ง
ปีเกิดรัฐประหาร เปลี่ยนตัวอธิบดีจาก พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ มาเป็นนายสุนัย มโนมัยอุดม ขณะนั้นมีการร้องเรียนว่าคนที่ลงไปปฏิบัติงานภาคใต้เบิกค่าที่พักเป็นเท็จ ผมและพวกถูกเรียกตัวกลับ พร้อมตั้งกรรมการสอบวินัย ถูกพักราชการ 2 เดือน
ต่อมามีการถอนคำสั่งโดยยังไม่ทันสอบเพราะพิสูจน์แล้วไม่มีมูล ผมจึงทำเรื่องกลับมาและถูกส่งไปตำแหน่ง ผอ.ส่วนสำนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ ก่อนย้ายไปเป็น ผอ.สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา และขึ้นผบ.สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา อยู่ในตำแหน่ง 2 ปี ย้ายไปเป็นผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 1 โดยสลับตำแหน่งกับ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ กระทั่งปีི ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองอธิบดีดีเอสไอ จนถึงปัจจุบัน
รับผิดชอบสำนักคดีใดบ้าง
สำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา สำนักคดีอาญาระหว่างประเทศ สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ และกลุ่มงานเครือข่ายพันธมิตรฯเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ฯ และงานด้านวินัย ส่วนคดีที่ได้รับมอบหมายขณะนี้จากนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ประกอบด้วย คดีหมิ่นสถาบันทั้งหมด คดีก่อการร้าย คดีการเสียชีวิต 98 ศพปี คดีบุกรุกที่ดินเขาแพง จ.สุราษฎร์ธานี และคดีรถบีอาร์ที กทม.
คดีที่ทำแล้วรู้สึกภาคภูมิใจที่สุด
เป็นคดีสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับความมั่นคงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถดำเนินคดีกับสมาชิกที่ร่วมขบวนการก่อการร้ายในพื้นที่ได้ทั้งหมด เป็น คดีแรกที่เราดำเนินคดีในลักษณะเป็นขบวนการใหญ่ โดยใช้ความเป็นสมาชิกเครือข่ายผู้ก่อเหตุมาเชื่อมโยงกัน จนทำให้ศาลเชื่อว่ามีขบวนการก่อการร้ายจริง จึงสั่งประหารชีวิตสมาชิกในกลุ่มทั้งหมด ถือเป็นกรณีแรกที่ เราปรับวิธีการสืบสวนสอบสวนใหม่ เช่นเดียวกับคดีการสืบสวนสอบสวน 8 อุสตาซหรือกลุ่ม บีอาร์เอ็น ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่ภาคใต้ซึ่งสามารถจับกุม ได้หมด แต่พอเกิดปฏิวัติปี ผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการประกันตัวและหนีหมด ตอนหลังผู้ที่ได้ประกันตัวไปก็มาปะทะกับตำรวจ ทหาร สุดท้ายก็ถูกยิงตาย 1 ราย คือนายแวยูโซะ ดือราแม
ซึ่งเป็นการยืนยันได้ว่าไม่ได้จับผิดตัว ไม่ได้กลั่นแกล้ง หรือเอาพยานหลักฐานเท็จมาดำเนินคดี
เป็นหัวหน้าชุดคดี 98 ศพ ยึดหลักใดในการทำงาน
ผมทำงานสืบสวนสอบสวนมาตลอดชีวิต เห็นรูปแบบการทำงาน ก็มาพิจารณาปรับปรุงหาแนวทางการสอบสวนให้เป็นมาตรฐาน เน้นหลักสิทธิมนุษยชน กฎหมายที่เป็นธรรม และหน้าที่ของดีเอสไอที่ต้องให้ความยุติธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาทุกคน ฉะนั้น ไม่ว่าจะคดีใด คดีการเมืองหรือไม่การเมือง มาตรฐานการสอบสวนจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผมกำหนดให้พนักงานสอบสวนทุกคนยึดหลักการทำคดีทุกเรื่องไว้ 3 ข้อ คือ
1. ต้องมีการกระทำเกิดขึ้นก่อน
2. การกระทำผิดนั้นต้องมีความผิดทางกฎหมาย และกฎหมายต้องระบุว่ามีความผิด หากไม่มี 2 สิ่งนี้ทำไม่ได้ และ
3. ต้องพิสูจน์หาพยานหลักฐานว่า ผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทำผิดให้ชัดเจน
หากยึดหลัก 3 ข้อแล้วยังไม่สามารถสืบหาหลักฐานเอาผิดกับผู้กล่าวหาได้ ก็ยกประโยชน์ให้จำเลยไป หลายคดีมีนักการเมืองเกี่ยวข้องหนักใจหรือไม่
หากยึดหลัก 3 ข้อ ไม่ว่าใครจะมากดดันเราไม่ได้ หลักฐานไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ถึงเวลาก็ต้องถูกตรวจสอบ ผมถึงให้ผู้ถูกกล่าวหานำสิ่งที่คิดว่าจะหักล้างกับข้อกล่าวหามาแสดง และจะไม่ออกหมายจับหรือเรียกคนมาแจ้งข้อกล่าวหา ถ้ายังไม่ได้เรียกผู้ถูกกล่าวหานั้นมาสอบถาม หรือส่งหลักฐานมาแก้ข้อกล่าวหาเสียก่อน หากไม่ยอมมาชี้แจง คงต้องใช้พยานหลักฐานที่มีอยู่ในมือ แต่หากเขามาพบแล้วไม่มีหลักฐานมายืนยัน หรือชี้แจงตามที่ถูกกล่าวหาได้ ก็ให้เอาการบ้านกลับไปทำ ให้ไปหาหลักฐานมาแก้ตัวใหม่ หากฟังขึ้นก็ให้โอกาสเขาโดยว่าไปตามพยานหลักฐาน
ปัจจัยที่คดีต่างๆ พุ่งมาลงที่ดีเอสไอ
ดีเอสไอเป็นหน่วยงานใหม่ มีบทบาทเรื่องการเมืองสูง จึงเป็นที่จับตา กฎหมายเรายังเปิดกว้างให้ดำเนินคดีไปถึงคนที่อยู่เบื้องหลัง คนที่มีอิทธิพล ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นนักการเมือง หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ ประกอบ กับกระบวนการทำงานมีพนักงานอัยการเข้าร่วมด้วย เกิดความโปร่งใสได้ระดับหนึ่ง จึงเป็นที่ไว้วางใจ เวลานี้ยังไม่มีจุดที่ทำให้องค์กรเสียหาย พอใจกับงานดีเอสไอขณะนี้หรือยัง เรา เพิ่งสร้างมาตรฐานการสอบสวนใหญ่เป็นแนวเดียวกันทั้งกรม จุดเริ่มต้นคือหลักวิธีคิดที่ผมบอกไป องค์ประกอบ 3 ข้อที่ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวได้แก้ข้อกล่าวหา หากเราให้โอกาส 2 ข้างเท่ากัน เขาก็คิดว่าได้รับความเป็นธรรม อีกอย่างวิธีสอบปากคำที่อาจถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน การข่มขู่ ของเราไม่มีเด็ดขาด สถานที่เราก็ไม่อำนวยให้ทำแบบนี้ด้วย การ สอบสวนคดีใหญ่ๆ ก็ทำในรูปองค์คณะ อย่างคดี 98 ศพ มีอัยการ ตำรวจ ดีเอสไอ ร่วมกัน 3 ฝ่าย จึงค่อนข้างมั่นใจว่าเราทำด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ ตรวจสอบได้
อุดมคติในการปฏิบัติหน้าที่
ผมยึดหลักนี้มาตลอดว่า 'ปล่อยคนทำผิด 10 คน ยังดีกว่าเอาคนบริสุทธิ์เข้าคุก 1 คน' บุคคลต้นแบบในการทำงาน มีหลายท่าน สมัยผมเป็นรองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สน.บางซื่อ ก็มี พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย ท่านให้แนวทางและสอนหลายอย่าง ทั้งด้านการสืบสวน การวางตัว และเรื่องส่วนตัว และพล.ต.อ.ประยูร โกมารกุล ณ นคร ตอนนั้นท่านเป็นรอง ผบก.นครบาลเหนือ ให้หลักคิดการวางตัวให้น่านับถือ รวมถึง พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ พล.ต.ท.โสภณ วาราชนนท์ พล.ต.ท.ธนู หอมหวล และที่ขาดไม่ได้ เป็นพี่เลี้ยงมาตลอดคือ พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ ผมเป็นลูกน้องท่านมาตั้งแต่ สน.บางซื่อ พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข นรต.รุ่น 34 และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ม.เกษตร ศาสตร์ ปี 2524 เป็นรองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สน.บางซื่อ
ย้ายไปหลายโรงพัก ก่อนเป็นสารวัตรสอบสวน สารวัตรสืบสวน และเป็นรอง ผกก.ป้องกันปราบปรามกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ปี 2540 รอง ผกก.สืบสวนสอบสวน สภ.อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เริ่มงานสอบสวนอย่างจริงจังปี 2544 ขึ้น ผกก.สภ.อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ขณะนั้นทราบว่าดีเอสไอที่ตั้งขึ้นมาใหม่ เปิดรับสมัครพนักงานสอบสวน จึงมาเขียนใบสมัครทิ้งไว้ ผ่านไปเกือบ 3 ปีจึงเรียกตัวมาทำงาน และทำเรื่องขอโอนย้ายในปี 2547