'ณัฐวุฒิ' ขึ้นศาลคดีผู้ค้าราชปรารภฟ้องเรียกเงิน 7 ล้านแกนนำ นปช.

กรุงเทพธุรกิจ 16 สิงหาคม 2555 >>>


"ณัฐวุฒิ" ขึ้นศาลแพ่งเบิกความคดีผู้ค้าราชปรารภ ฟ้องเรียกเงิน 7 ล้านแกนนำ นปช.-หน่วยงานรัฐ
ศาลนัด สืบพยานจำเลย คดีหมายเลขดำที่ 1742/2554 ที่นางนุชทิพย์ บรรจงศิลป์ ผู้ค้าย่านราชปรารภ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี (ยกฟ้องไปแล้วตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539), นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง (ยกฟ้องไปแล้วตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539), กองทัพบก, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ยกฟ้องไปแล้วตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539), กรุงเทพมหานคร, นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะแกนนำ นปช.,นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แนวร่วม นปช. เป็นจำเลยที่ 1-10 ในความผิดเรื่องละเมิด เรียกร้องค่าเสียหาย 7 ล้านบาทเศษพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
สืบเนื่องจากกรณีวันที่ 19 พ.ค. 53 ที่มีการชุมนุมของกลุ่มนปช.ที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงจำนวน มากมาปักหลักชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ซึ่งรัฐบาลขณะนั้นได้ประกาศขอคืนที่โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าสลายการ ชุมนุม จนเป็นเหตุให้กลุ่มผู้ค้าในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับความเสียหาย
โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ จำเลย เดินทางมาเบิกความเป็นพยาน ระบุว่า การชุมนุมของ นปช. เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ซึ่งตั้งรัฐบาลในค่ายทหารประกาศยุบสภาช่วงระยะเวลาระหว่างการชุมนุมรัฐบาลใน ขณะนั้นมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และมีการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทหารสลายการชุมนุมจนมีเจ้าหน้าที่ทหาร และประชาชนล้มตาย โดยการชุมนุมมีเจ้าหน้าที่ทหารทำให้ผู้เข้าร่วมการชุมนุมไม่สามารถเข้า ออกบริเวณพื้นที่การชุมนุมได้ ดังนั้นการควบคุมพื้นที่จึงขึ้นอยู่กับการกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่ทหารทั้ง หมด ขณะที่เมื่อเจ้าหน้าที่ประกาศเคอร์ฟิวส์ไม่นานแกนนำได้มีมติ และประกาศยกเลิกการชุมนุมและมอบตัวโดยผู้ที่ดูแลกำกับพื้นที่หลังจากแกนนำ มอบตัวก็คือเจ้าหน้าที่ทหาร
นายณัฐวุฒิ ยังเบิกความด้วยว่า ส่วนตัวแล้วตนไม่รู้จักโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายและเห็นว่าการเรียกร้องค่า เสียหายเป็นสิทธิของโจทก์ที่สามารถกระทำได้แต่ผู้รับผิดชอบควรจะเป็นรัฐบาล ของนายอภิสิทธิ์ซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้น เพราะตนและพรรคพวกที่เป็นแกนนำโดนควบคุมตัวก่อนที่จะเกิดเหตุเพลิงไหม้และ กรณีที่มีการเกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณนอกเหนือพื้นที่การชุมนุมบริเวณแยกราช ปารถนั้น พยานไม่สามารถรับรู้ได้เพราะการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างลำบากและ ไม่อยู่ในความควบคุมของตนและแกนนำ ขณะที่มีการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยจากกลุ่ม นปช.นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อาศัยอยู่ต่างประเทศตลอดและไม่ถือว่าเป็นแกนนำ และการลงมติของแกนนำนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มีแค่การวีดีลิงค์ให้กำลังใจผู้เรียกร้องประชาธิปไตยไม่เคยมีคำสั่งให้เผาบ้านเมือง
นายณัฐวุฒิ  ยังได้ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าเบิกความด้วยว่า เหตุการณ์เพลิงไหม้หลายจุด ที่ย่านราชประสงค์ นั้นเชื่อว่ามีคนสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเพื่อให้เกิดความชอบธรรมในการเข้าสลาย การชุมนุมกลุ่ม นปช.
ส่วนกรณีที่ศาลแพ่ง ให้ยกคำร้องในส่วนของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นั้น ตนไม่ขอออกความเห็น แต่ขณะนี้คดีสั่งปราบปรามผู้ชุมนุมกลุ่มนปช.นั้นมีความคืบหน้าไปมาก เชื่อว่าเมื่อคดีถึงที่สุดและความจริงปรากฎ ผู้ที่สั่งการก็คงจะหลีกหนีความรับผิดชอบดังกล่าวไม่ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากคดีนี้แล้ว ยังมีกลุ่มนักธุรกิจผู้ค้าย่านราชประสงค์ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลแพ่ง คดีหมายเลขดำที่ 1762/2554 และ 1768/2554 อีก 2 สำนวน เรียกค่าเสียหายรวมกว่า 300 ล้านบาท