สมรภูมิ วุฒิสภา จุดประลอง แหลมคม 2 พลังการเมือง

มติชน 17 สิงหาคม 2555 >>>




ชัยชนะที่ นายนิคม ไวยรัชพานิช มีต่อ นายพิเชต สุนทรพิพิธ ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา คือ รูปธรรมแห่งความสลับซับซ้อนของการต่อสู้ทางการเมืองในสังคมประเทศไทย คล้ายกับเป็นชัยชนะของ ส.ว.เลือกตั้ง มีต่อ ส.ว.สรรหา
เป็นเช่นนั้นจริง แต่คำถามก็คือ หากกลุ่มของ นายนิคม ไวยรัชพานิช เดินหน้าต่อสู้กับกลุ่มที่หนุนหลัง นายพิเชต สุนทรพิพิธ อย่างทื่อๆ ตรงไปตรงมา จะสามารถกำชัยด้วยคะแนน 77 ต่อ 69 ได้ละหรือชัยชนะนี้จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการในทางยุทธวิธีเด่นชัดอย่างยิ่งว่า กลุ่มของ นายนิคม ไวยรัชพานิช สรุปบทเรียนจากการชิงชัยในตำแหน่งประธานวุฒิสภาที่ผ่านมา 2 ครั้งครั้งที่ นายประสพสุข บุญเดช ชนะ นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ด้วยคะแนน 78 ต่อ 45 และที่สำคัญคือ ครั้งที่ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ชนะ นายนิคม ไวยรัชพานิช ด้วยคะแนน 91 ต่อ 52 รวดเดียวจบครั้ง ใหม่นี้จึงเสนอกระบวนการต่อสู้ 2 รอบ โดยไม่จำกัดผู้สมัครเพียง 2 คน หากขยายออกไปมากถึง 4 คน และพอถึงรอบ 2 ก็เทคะแนนให้เพื่อพลิกโอกาสที่ 2 มาเป็นที่ 1
77 ต่อ 69 คล้ายกับว่าชัยชนะของ ส.ว.เลือกตั้ง นายนิคม ไวยรัชพานิช ที่มีต่อ ส.ว.สรรหา นายพิเชต สุนทรพิพิธ บ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นแห่งจิตวิญญาณประชาธิปไตย อย่างน้อยก็ภายในวุฒิสภาเป็นเช่นนั้นจริง เพราะว่าคะแนนที่ นายนิคม ไวยรัชพานิช ได้มามากถึง 77 หากไม่ได้จาก ส.ว.สรรหา เข้ามาประกอบส่วนก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ชัยชนะ
ส่วน 1 เป็น ส.ว.สรรหาสายนักธุรกิจ ส่วน 1 เป็น ส.ว.สรรหาสายอดีตนายตำรวจชัย ชนะครั้งนี้ยืนยันอีกครั้งว่า แม้จะกำหนดและสร้างความได้เปรียบเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ระหว่าง ส.ว.สรรหา ซึ่งมาจากอรหันต์ 7 คนอันแนบแน่นอยู่กับขบวนการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 กับ ส.ว.เลือกตั้ง ซึ่งกระจัดกระจาย และบางส่วนก็มีสายสัมพันธ์แนบแน่นอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ แนบแน่นอยู่กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแต่เอกภาพจากการสรรหาก็ใช่ว่าจะดำรงอยู่อย่างเป็นนิรันดร
การ แปรเปลี่ยนภายใน ส.ว.สรรหา จึงเกิดขึ้น การแปรเปลี่ยนภายใน ส.ว.เลือกตั้ง จึงเกิดขึ้น ทำให้ดุลกำลังอันเคยเป็นการครอบงำของ ส.ว.สรรหา ในเบื้องต้นได้เกิดการพลิกผัน แปรเปลี่ยน ย้ายไปอยู่กับอีกฝ่าย
77 ต่อ 69 ต้องยอมรับว่า การสัประยุทธ์โดยมีตำแหน่งประธานวุฒิสภาเป็นเดิมพันครั้งนี้เป็นการสัประยุทธ์ระหว่างกำลังทางการเมือง 2 กลุ่ม
กลุ่ม 1 มีพื้นฐานมาจากขบวนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 เพราะว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ว.สรรหา ผ่านการคัดสรรจากอรหันต์ 7 คน จากฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระกลุ่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของขุมกำลังฝ่ายอนุรักษ์นิยมใหม่ขณะเดียวกัน กลุ่ม 1 มีพื้นฐานมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งดำเนินไปอย่างกระจัดกระจายดังได้กล่าวว่า ส่วนหนึ่งแนบแน่นกับพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนหนึ่งแนบแน่นกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่วนหนึ่งแนบแน่นกับขบวนการรัฐประหารโดยตรงกระนั้น ส่วนใหญ่ก็มาจากเจตจำนงร่วมของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยกลุ่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของขุมกำลังฝ่ายเสรีนิยมใหม่
ชัย ชนะจากการต่อสู้ในวุฒิสภาครั้งนี้จึงเป็นชัยชนะของกลุ่มเสรีนิยมใหม่อันมี ต่อกลุ่มอนุรักษนิยมใหม่ เป็นชัยชนะของพลังใหม่ทางการเมืองที่เหนือกว่าพลังเก่าทางการเมืองอันเคยมี ส่วนร่วมอยู่กับขบวนการรัฐประหาร
พลังใหม่ขยายตัวต้องยอมรับว่าขบวนการรัฐประหารของกลุ่มอนุรักษนิยมใหม่มีรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นเครื่องมือ แต่เครื่องมือนี้ก็มิอาจทำให้กำชัยได้ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2550 และล่าสุดเมื่อปี 2554 และแม้เครื่องมือนี้จะทำให้ยึดกุมอำนาจในวุฒิสภาในเบื้องต้นแต่ก็ค่อยๆ สูญเสียอำนาจเป็นลำดับมา
อำนาจอันไม่เที่ยง