"เฉลิม" จัดหนักอัดศาล รธน. อีกรอบ ถาม 7 ตุลาการเป็นเจ้าของประเทศหรือ เเนะศาลอย่าดึงดัน เเถมยังยุรัฐสภาอย่าทำตามเพราะเป็นเเค่คำสั่งไม่ใช่คำวินิจฉัยของศาลที่ ผูกพันทุกองค์กร ชงขุนค้อนให้คิดหากรัฐสภาเปิดหารือในเรื่องนี้เพื่อให้ ปชช. เข้าใจ รับรองศาลถอยเเน่
วันที่ 6 มิ.ย. 55 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมด่วนในช่วงเวลาเดียวกันว่าตนไม่ทราบแต่มีการแจ้งมา ว่านายกฯเชิญให้ไปประชุม แต่คงไม่ใช่เรื่องการเมือง คงจะเป็นเรื่องทั่วไปเพราะปกติตนไม่ได้ได้พบนายกฯ เจอเพียงในที่ประชุม ครม. นายกฯไปตรวจราชการตนก็ไม่ได้ไป เพราะตนทำงานตามที่นายกฯมอบหมาย แต่อาจเป็นเรื่องการประดับยศดาบตำรวจที่ได้รับการเลื่อนยศเป็น ร.ต.ต. ในช่วงเย็นวันนี้ที่สโมสรตำรวจ นายกฯอาจสอบถามรายละเอียด
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคเพื่อไทยยืนยันเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไปแม้ว่าจะเป็นการขัดคำสั่ง ให้ระงับการดำเนินการในเรื่องนี้จากศาลรัฐธรรมนูญ รองนายกฯกล่าวว่าโดยหลักการแล้วการที่ศาลรัฐธรรมนูญกระทำแบบนี้สังคมรับไม่ ได้ เพราะพรรคเพื่อไทยปราศรัยและวิงวอนประชาชนมาตลอดว่าขอให้เลือกให้ขาดไม่ อย่างนั้นจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ ผลเลือกตั้งก็ออกมาแบบที่เห็น และเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยบอกว่าหากชนะจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมทั้งออกกฎหมายปรองดองแห่งชาติ เป็นการบอกมาตั้งแต่สามปีที่แล้ว ตนได้บอกอีกว่าหากต้องการให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯอีกครั้งก็เลือกพรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ๆพรรคเพื่อไทยจะล้มล้างการปกครองได้อย่างไร เขียนไว้ชัดแล้ว
หากแปลความเข้าข้างว่ามีเหตุตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรกก็ต้องดำเนินการตามวรรคสอง ผู้ร้องทั้งหมดต้องร้องเรียนที่อัยการสูงสุด และวันที่ 7 มิ.ย. นี้ทราบว่าอัยการจะประชุม ตนหวังว่าอัยการจะเป็นที่พึ่งของสังคมได้และไม่ต้องคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญผิด หรือถูกแต่ควรฟันธงว่าผู้ร้องเรียนเรื่องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ต้องเป็นอัยการสูงสุดเท่านั้นบ้านเมืองจะดีขึ้น บางคนไปไกลว่านำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเกี่ยวข้อง มันคนละเรื่อง ส่วนการที่นายวสันต์ สร้อยวิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการแบบนี้เป็นการคานอำนาจ รัฐสภา รัฐสภาโลกไหนที่มีการคานอำนาจ พูดจาสิ่งใดต้องรับผิดชอบและพรรคเพื่อไทยต้องทำหน้าที่ต่อไป
ถามว่า หากเป็นแบบนี้รัฐบาลจะเดินหน้าเรียกประชุมเพื่อลงมติในวาระที่สามหรือไม่ รองนายกฯกล่าวว่า อยู่ที่ประธานรัฐสภาเพราะมันไม่เกี่ยวและเลยจากรัฐบาลไปแล้ว รัฐบาลเสนอวาระนี้ต่อรัฐสภา โดยมีการรับหลักการในวาระแรก จากนั้นแต่งตั้ง กมธ.วิสามัญ ถัดมาก็เป็นวาระที่สอง เมื่อผ่านมาแล้วก็ต้องลงมติในวาระที่สามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา291 (5)
เมื่อถามว่าหากเดินหน้าต่อไปแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส.ส. ที่ลงมติอาจเกิดปัญหาขึ้น จะรับมือเช่นใด รองนายกฯกล่าวว่า ทำไม่ได้ง่ายๆอย่างที่คิดเพราะบ้านเมืองนี้ศักดิ์สิทธิ์ ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ คนที่คิดไม่ดีไม่งามนั้นมันไม่ง่ายอย่างพลิกฝ่ามือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีเก้าท่าน มติออกมา 7 ต่อ 1 เพราะหนึ่งท่านลาประชุม แล้วจะไปทำสิ่งที่รุ่มร่าม ทำอะไรลงไปนั้นควรเกรงใจประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศบ้าง ยืนยันว่าตนต่อสู้และไม่เห็นด้วยกับระบบศาลคู่เพราะตรวจสอบควบคุมไม่ได้ ไม่เหมือนระบบของศาลยุติธรรมที่พึ่งได้ อย่างนี้มันไม่ยุติธรรม ทางนั้นเรียนกฎหมายเหมือนตนแต่ไม่มีใครเก่งกว่าใครหรอกแต่ควรยึดหลักการไว้
"ควรกลับไปดูช่วงยกร่างรัฐธรรมนูญเพราะมาตรา 68 นี้เจตนารมณ์ชัดว่าอัยการสูงสูงต้องเป็นผู้ยื่นรวมทั้งเว็บไซต์ของศาลรัฐ ธรรมนูญก็ระบุแบบนี้ แต่วันนี้ไปทำอะไรมาถึงทำแบบนี้ คำว่า ”และ” ในภาษากฎหมายคือกระทำทั้งสองอย่าง หากคำว่า ”หรือ” นั้นจะเป็นการให้เลือกดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในสองช่องทาง ตรงนี้ ดร.หยุด แสงอุทัย สอนไว้” รองนายกฯ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีรายงานว่าศาลรัฐธรรมนูญระบุว่ากังวลกับการแก้รัฐธรรมนูญูในคราวนี้เพราะจะ เป็นการล้มล้างการปกครอง รองนายกฯกล่าวว่าคิดอะไรอยู่ จะล้มล้างอย่างไร รัฐสภาไม่เกี่ยวเลยเพราะการยกร่างรัฐธรรมนูญอยู่ที่สสร.และยังไม่รู้เลยว่า สสร. เป็นใคร จะยกร่างแบบใดนั้นยังไม่ทราบ รวมทั้งต้องสอบถามความเห็นจากประชาชนทั้งประเทศหลังยกร่างเสร็จสิ้น หากพูดแบบนั้นแปลว่าดูถูกประชาชนและการกระทำที่ผิดฝาผิดตัวนั้นประชาชนไม่ เอาด้วย เมื่อไม่เอาด้วยรัฐธรรมนูญก็ไม่ผ่าน
“แล้วจะกังวลอะไรมากมาย เก้าท่านนี้เป็นเจ้าของประเทศหรือ เออ ! ไม่ใช่ว่าจู่ๆฝ่ายสภาดำเนินการได้เอง มันไม่ใช่แบบนั้น และอย่าวิตกจริต ย้ำว่าไม่แตะต้องหมวดพระมหากษัตริย์ถามว่าท่านทั้งหลายจงรักภักดีแล้วพวกผม ไม่จงรักภักดีหรือ เออ ! คิดอะไรอยู่” รองนายกฯ ระบุ
เมื่อถามว่าระบบตุลาการภิวัตน์กลับมาอีกครั้ง รัฐบาลจะตั้งรับแบบใดเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ รองนายกฯกล่าวว่ารัฐบาลเรียกร้องประชาชนให้ปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นและไว้วางใจจึงควรช่วยรัฐบาลเพราะรัฐบาลไม่ได้ กระทำสิ่งใดที่ผิด รู้ได้อย่างไรว่าจะล้มล้างและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ถามว่าแก้รัฐธรรมนูญจะล้มล้างอย่างไร สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปะอาชาและรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ก็เคยแก้รัฐธรรมนูญกันมาแล้ว มันล้มล้างหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญไปไกลไป ตนชอบพอกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายท่าน เช่นนายจรัล ภักดีธนากุล นายบุญส่ง ไข่เกษ แต่นายวสันต์นั้นเคยรู้จักไกลๆสมัยที่ตนเป็น รมว.ยุติธรรม
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้นำโปสเตอร์คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญและร่างพรบ.ปรองดอง แห่งชาติมาติดตั้งไว้ทั่วไปแล้ว รองนายกฯกล่าวว่า คนแพ้ในรัฐสภาก็เล่นนอกสภา เลือกตั้งครั้งหน้าอาจเหลือ ส.ส .แค่แปดสิบคนหากยังเล่นแบบนี้ต่อไป ตนยืนยันตลอดว่าหากต้องการแบบนี้ต้องเลือก ส.ส.เพื่อไทย ให้ขาด หากไม่ต้องการก็ไปเลือกสองพรรคข้างต้นแล้วจะได้นายเนวิน ชิดชอบ เป็นครูใหญ่ ตนพูดชัดทุกเวทีและผลการเลือกตั้งออกมาแบบนี้ ขอกราบเรียนศาลรัฐธรรมนูญว่าพวกท่านกับตนนั้นยังมีไมตรีต่อกันว่างานนี้ไป ไม่รอดเพราะไม่มีใครเอาด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ประชาชนคงจะแย่หากการเมืองเล่นกันแรงแบบนี้ รองนายกฯกล่าวว่า ไม่แรง ตนบอกตำรวจไปแล้วว่าอย่าใช้กำลังและอาวุธเด็ดขาด แก๊สน้ำตาต้องใช้วิธีกลิ้ง ห้ามยิง ต้องแก้ไขการชุมนุมแบบละมุนละม่อม ตนอธิบายเรื่องการฝึกปราบจราจลของอังกฤษให้ตำรวจทราบแล้วและถ่ายทอดสดทาง สื่อมวลชนให้เห็นพฤติการณ์ของตำรวจและผู้ชุมนุมว่าเป็นเช่นใด เมื่อถามว่าเห็นด้วยกับพรรคเพื่อไทยที่จะผลักดันให้ลงมติในวาระที่สามเลย หรือไม่ รองนายกฯกล่าวว่า รัฐธรรมนูญระบุไว้อย่างนี้ว่าต้องดำเนินการหลังพ้นจากวาระที่สอง 15 วัน ถามว่าใครอยากให้บ้านเมืองวุ่นวายในช่วงเป็นรัฐบาล ส่วนจะรอไปอีกนิดในเรื่องนี้ได้หรือไม่ ตนไม่อยากไปชี้แนะประธานรัฐสภาและควรไปถามกันเองเพราะตนพ้นหน้าที่นี้แล้ว หากมีการขอคำปรึกษาว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญชอบหรือไม่ ตนบอกไปว่าขอเวลาหนึ่งชั่วโมง เพราะมันไม่ใช่คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาที่จะผูกพันทุกองค์กรและทุกหน่วยงาน กรณีนี้เป็นคำสั่งและไปสั่งแบบนี้ทำไมอัยการสูงสุดจึงยังไม่ส่งเรื่องไปให้
เมื่อถามว่า อาจมีการสอบถามเรื่องนี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รองนายกฯกล่าวว่าอย่าพูดแทนประธานรัฐสภาเพราะเดี๋ยวโดนดุ ย้ำอีกครั้งว่าศาลรัฐธรรมนูญส่งหนังสือถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและประธาน รัฐสภานั้นเป็นเพียงคำสั่งไม่ใช่คำวินิจฉัย
ส่วนที่รัฐสภาจะทำอะไรกับคำสั่งนี้ได้บ้าง รองนายกฯกล่าวว่า ”รัฐสภาก็ไม่ต้องเชื่อสิเพราะมีสิทธิเนื่องจากไม่ผูกพัน เพราะยังไม่ได้พิจารณาเลยว่า รายละเอียดและข้อเท็จจริงเป็นเช่นใด แต่กรณีในบางพรรคที่ยกข้อกฎหมายหน้าตาเฉย มันไม่ใช่สองมาตรฐาน เพราะมันเป็นมาตรฐานเดียวแล้ว”
เมื่อถามว่า นักการเมืองนำกฎหมายมาเล่นเกมเพื่อเข้าข้างตัวเองมากไปหรือไม่ รองนายกฯกล่าวว่า พวกตนไม่ใช่แบบนั้น แต่พวกที่ทำใจไม่ได้สิ นสพ. เขียนไว้ดีนะอันธพาลเสียงข้างน้อย แต่ไม่รู้ว่าใคร เมื่อถามว่าความหวังที่มีอัยการสูงสุดเป็นเช่นใดในกรณีนี้ รองนายกฯกล่าวว่านักกฎหมายจะคิดอย่างอื่นไม่ได้และมีจิตวิญญาณตามที่เรียน กฎหมายกันมา กรณีนี้ต้องอัยการสูงสุดเป็นผู้เสนอเท่านั้น ขอถามว่าศาลรัฐธรรมนูญทำให้เกิดข้อโต้แย้งทำไม เพราะผู้ร้องควรไปยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก หากเข้าเกณฑ์ก็ดำเนินการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการตามวรรคสามคือยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง รอไม่ได้หรือ ใจร้อนทำไม โปรดรอเถอะ ยืนยันตอนนี้ยังไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขั้นตอนในตอนนี้คือดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อให้มี สสร. และเมื่อยกร่างแล้วต้องถามประชาชนว่ารับหรือไม่
“ถามว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีเก้าท่าน หนึ่งท่านไม่เห็นด้วยและลาไปหนึ่งท่าน เจ็ดท่านจะอยู่เหนือความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศนั้นงานนี้มันสำเร็จ หรอกอย่ามาตุลาการภิวัตน์บ่อยเลย”รองนายกฯระบุ
ต่อข้อถามที่ว่า โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดระบุว่าศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการเองได้ รองนายกฯกล่าวว่า ต้องอ่านให้ละเอียด เพราะอัยการยังไม่ได้พิจารณาเนื้อหาสาระข้อเท็จจริง ตอนนี้อัยการขอรายละเอียดจากรัฐสภา และคงไม่พูดว่าใครผิดหรือถูกและคงพูดว่าหากจะยื่นเรื่องนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นอัยการสูงสุด นักกฎหมายต้องทำแบบนี้และตนหวังว่าจะเป็นแบบนี้
“ไม่นำเรื่องนี้ไปหารือกับนายกฯหรอกเพราะไม่เกี่ยวกับรัฐบาลแล้ว ต้องท่านขุนค้อน (นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์)”รองนายกฯระบุและว่า ขั้นตอนการดำเนินการเรื่องนี้ต่อไปนั้น หากตนพูดผ่านสื่อมวลชนนั้นกระทำได้หมายความว่านายสมศักดิ์ลองหยิบประเด็นนี้ ขึ้นมาหารือในรัฐสภาและสมาชิกมีความเห็นแบบใด แบบนี้ประชาชนจะเข้าใจ หากประชาชนเข้าใจตนคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญคงจะถอย