สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: "เพื่อไทย คง "ถอย" เรื่อง รธน."

ประชาไท 7 มิถุนายน 2555 >>>


เช้าวันนี้ (7 มิ.ย. 55) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้โพสต์แสดงความเห็นในเฟซบุค ตั้งสถานะเผยแพร่สาธารณะ ต่อกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภาชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และคาดการณ์การตอบโต้ของพรรคเพื่อไทย โดยเชื่อว่าพรรคเพื่อไทย "จะถอย" โดยมีรายละเอียดดังนี้

อันนี้ ต้องเช็คกันเองอีกที หรือ เช็คจาก นสพ.ไทยด้วยนะครับ ผมอ่านเอาจาก Bangkok Post เช้านี้ (ในฉบับพิมพ์ ทำเป็น "ล้อมกรอบ" หน้าแรก)
http://www.bangkokpost.com/news/politics/296893/pheu-thai-plans-charter-vote
โดยสรุป มี 2 เรื่องที่น่าสนใจ

(1) เรื่องในสภา "แหล่งข่าว" ในพรรคเพื่อไทย บอกว่า พรรคได้ตกลงกำหนดตัว สส.20 คน นำโดยคุณเฉลิม ให้อภิปรายวิพากษ์คำวินิจฉัยของศาล

หลังอภิปรายแล้ว จะเสนอญัตติว่า ให้สภาลงมติ คัดค้านคำสั่งศาล
ที่น่าสังเกตคือ ดูเหมือนว่า ตาม "แผน" ของ เพื่อไทย (ถ้า "แหล่งข่าว" นี้ถูกต้อง) จะไม่ถึงกับมีการดันให้มีการลงมติ วาระ 3 แก้ รธน.นะ (ตามหมายกำหนดการประชุมสภา ก็ไม่มีวาระนี้ มีแต่วาระ "รับทราบ" คำสังศาล เท่านั้น)
ดังนั้น ในทีสุด ผมกำลังสังหรณ์ว่า เพื่อไทย คงไม่ "ชน" กับศาลจริงๆ คือ คงไม่มีการให้มีการลงมติ วาระ 3 แต่จะแค่ให้ มี มติ คัดค้าน คำสังศาลเฉยๆ แต่ตัว วาระ 3 คงไม่ได้ทำตอนนี้
ซึ่งเอาเข้าจริง ถ้าเพียงแค่ "สภามีมติคัดค้านคำสั่งศาล" (แต่ไม่ได้ลงมติ วาระ 3 จริงๆ) ก็จะไม่มีผลทางกฎหมาย หรือการเมืองอะไรนัก เพราะ "มติ" ที่่ว่า ถ้าผลักให้มีลงจริง ก็ไม่มีผลอะไรต่อศาล เหมือนกัน และการดำเนินการ "ไต่สวน" ของศาล ก็อาจจะดำเนินต่อไปได้ตามปกติ
ผมเดาว่า นี่อาจจะเป็นอะไรที่ เพื่อไทย คิดว่า ทำเฉพาะหน้า แล้วรอดูสถานการณ์ต่อ หรือ รอตัดสินใจต่อ ก็ได้ (คือเรื่อง วาระ 3 จริงๆ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเอายังไง)

(2) เรื่องการชุมนุมนอกสภา

เมื่อวาน ผมเขียนทำนองแสดงความห่วงใย ว่า การชุมนุมนอกสภา ของ นปช. จะ ".....ต้องระมัดระวังเหมือนกัน ไม่ให้การชุมนุม ออกมาในลักษณะที่ อีกฝ่าย (รวมทั้งการ "นำเสนอ" ที่ออกมาทาง "สื่อ") สามารถนำไปสร้างภาพด้านลบ ("ม็อบ กดดัน ศาล" ฯลฯ) แล้วทำให้ประเด็นความได้เปรียบทางกฎหมายของเรา "เบลอ" ได้...."
Bangkok Post อ้าง คำของคุณวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ ว่า ตกลง นปช. จะ "ลดระดับ" การชุมนุม เป็นเพียงวันนี้ ถึงตอนเที่ยงเท่านั้น (ไม่มีพรุ่งนี้)
ถ้าเรื่องนี้จริง ผมก็ว่า ดีเหมือนกัน เพราะจริงๆ ตัวสำคัญในเรื่องนี้จริงๆ ต้องอยู่ที่ ส.ส. ในสภา อยู่แล้ว
ปัญหาใหญ่ ยังคงอยู่ที่ ใน สภา ว่า เพื่อไทย ตกลงจะเอาถึงระดับไหนกันแน่
อย่างที่เขียนข้างต้น ผมสงสัยว่า ในขั้้นนี้ เพื่อไทย คงไม่ "ชน" จริงๆ คือ คงไม่ดันให้มีการลงมติ วาระ 3 จริงๆ แค่ลงมติ "คัดค้านคำสังศาล"
ถ้าเป็นเช่นนี้จริง และทางฝ่าย ศาล เอง เนืองจากไม่มีกำหนดว่า ต้องทำการไต่สวนเรื่องคำร้อง ตาม ม.68 เมื่อไร เผลอๆ เรืองนี้ ก็จะ "ดีเลย์" ออกไปเรื่อยๆ ซึงผลลงเอย ก็จะเหมือนกับที่พันธมิตร ต้องการ คือ ไม่มีการแก้ 291 และการตั้ง สสร.

ผมกำลังสังหรณ์ว่า ในที่สุด เรื่อง รธน. "เพื่อไทย" คงลงเอย เหมือนเรื่อง พรบ.ปรองดอง คือ จะ "ถอย"
คือคงจะมีการเสนอญัตติให้สภา "ลงมติคัดค้านคำสังศาล" แต่คงไม่ทำอะไรกับ วาระ 3 รธน. ไม่วาวันพรุ่งนี้ หรือสัปดาห์หน้า แล้วสภา ก็คงปิดประชุมไป จนกว่า สิงหาคม
ซึ่งถ้ามองโดยรวม ฝ่ายพันธมิตร+ปชป. ก็เรียกว่าประสบความสำเร็จ ในการ ดีเลย์ เรื่อง รธน. ออกไป (เช่นเดียวกับเรื่อง พรบ.ปรองดอง)
จากที่ผม "เดา" หรือ คาดการณ์ในกระทู้ข้างล่างว่า เพื่อไทย คง "ถอย" เรื่อง รธน. คือ จะไม่ดันการลงมติวาระ 3 รธน. แล้วปิดสมัยประชุม ไปจนกว่าสิงหาคม
บางท่าน ก็แสดงความเห็นว่า ต้องทำเช่นนี้อยู่แล้ว เพราะถ้า "ชน" ลงมติ วาระ 3 จะถูกยุบพรรค อะไร
เรื่องยุบพรรค ความจริง ผมว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ที่จะเป็นเรื่องใหญ่มากกว่า คือ ถ้ามีการลงมติ วาระ 3 จริงๆ แล้วจะเกิดภาวะ Constitutional Crisis ที่ยังนึกไม่ออกว่า จะทำยังไงต่อ
แต่ผมยังเห็นว่า น่า "ชน" เรื่องลงมติ วาระ 3 เพราะผมคิดว่า ถึงเวลา ปชป. จะต้องเป็นฝ่าย "วอคเอ๊าท์" ทำให้การลงมตินั้น ทำไม่ได้
ทีเคยเขียนไปแล้ว่ว่า เพื่อไทย ควร go ahead ท้าทายคำสังศาล (ไม่ใช่แค่ให้สภาลงมติ ไม่เห็นด้วย อย่างที่วางแผนจะทำกันพรุ่งนี้)
แล้วให้ ปชป. เป็นฝ่าย "เดิน" next move ทำให้สภาล่มเอง

ผมเสียดาย ที่มีประเด็นหนึงใน แถลงการณ์นิติราษฎร์ ที่ เพือไทย หรือคนที่คัดค้าน ศาล ไม่มีใครนำไป ชู ต่อเท่าไรนะ
คือ ประเด็นที่ว่า จริงๆแล้ว การผ่าน แก้ ม.291 ของรัฐสภา จะถือเป็น "การกระทำของบุคคลหรือพรรคการเมือง" ตาม ม.68 ไม่ได้ ต้องถือเป็นการกระทำของ สภา ซึงสภา ไมใช่ "บุคคลหรือพรรคการเมือง"
คือ การที่ แก้ 291 ผ่านมาถึงวาระ 3 นี้ และต่อให้ เพือไทย และ สภา go ahead ให้มีการลงมติ ผ่าน วาระ 3 นะ
และแม้ว่า ปชป. จะเป็นฝ่ายลงคะแนนไม่เห็นด้วยมาในวาระ 1 และ 2 และอาจจะลง ไม่เห็นด้วย ในวาระ 3 ด้วย (ผมคิดว่า เขาคง วอคเอ๊าท์ ไม่ให้มีการลงมติเลยมากกว่า)
ก็จะถือว่า เป็นการกระทำของ เพือไทย ไม่ได้
ต้องถือเป็นการกระทำร่วมกัน หรือ collective responsibility ของสภาทั้งหมด (รวมทั้งของ ปชป ทีลงมติไม่เห็นด้วย) ซึง ศาล ไมมีอำนาจมาควบคุม
นี่เป็นเหตุผลประกอบอีกอัน ที่ผมยืนยันว่า เพือไทย ต้องดันให้มีการลงมติ วาระ 3 ไมใช่แค่ ดันให้สภามีมติ "ไม่เห็นด้วยกับศาล" อย่างที่เตรียมไว้พรุ่งนี้เท่านั้น

จากที่เขียนมาหลายอัน เช้านี้
ผมสรุปว่า ผมคิดว่า งานนี้ เมือ่ถึง สัปดาห์หน้า ที่จะมีการปิดสมัยประชุมสภา
จะลงเอยที่ พันธมิตร+ปชป. เป็นฝ่าย "ชนะ" ในครั้งนี้ ทั้งเรือ่ง พรบ.ปรองดอง และ เรื่อง แก้ รธน. วาระ 3
และ เพื่อไทย+นปช เป็นฝ่าย "ถอย"
อันนี้ เป็นอะไรที่จริงๆ ผมก็เขียนไว้ตังแต่หลายวันก่อน ทีว่า จะต้อง "ทำใจเผื่อ" ล่วงหน้าว่า มันจะออกมาแบบนี้
และทีสำคัญ ผมจึงมองว่า ผ่านงานนี้ไป ทักษิณ-เพื่อไทย-นปช จะต้อง rethink ยุทธศาสตร์การเมือง ใหม่ทั้งหมด
อีกอันที่ผมอยากทิ้งท้ายไว้คือ ผมเห็นว่า สิ่งที่เกิดขึั้นในไม่กี่สัปดาห์นี้ เป็นเรื่องยืนยันว่า บรรดาท่านที่ชอบหลับหูหลับตา ดีเฟนด์ สิ่งที่ แกนนำ ทักษิณ-เพือ่ไทย-นปช ทำ แล้วก็ด่า คนทีวิจารณ์นั้น
เป็นการกระทำที่ไม่ถูกหรอก
ทักษิณ-เพือไทย-นปช ไมใช่เทวดา ที่วิจารณ์ไม่ได้ ที่ไม่มีวันทำผิด และทีสำคัญ พวกเขา มีทั้งในแง่ "ผลประโยชน์" ทั้งในแง่สถานะ ที่อยู่ในอำนาจ เป็นส่วนหนึงของ "โครงสร้างอำนาจ" ร่วมกันกับบรรดา "อีลึต" ทั้งหลายอยู่
วิธีคิด การตัดสินใจ และการกระทำ ของพวกเขา ไมใช่ว่า จะมาจากหลักการหรืออุดมการณ์ เพื่อประชาธิปไตย เพื่อคนตัวเล็กตัวน้อย เสมอไป

พูดถึงการ rethink ยุทธศาสตร์การเมือง ใหม่
ผมเห็นว่า หลังงานนี้ คือหลังจาก เพื่อไทย คง "ถอย" เรื่อง รธน.วาระ 3 (คือ คงไม่มีการดันให้สภาลงมติ รธน. แค่ให้สภาลงมติ เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับคำสังศาล ซึงก็ไม่มีผลอะไรทางกฎหมาย) เช่นเดียวกับที่ถอย เรื่อง พรบ.ปรองดองมา
แกนนำ ทักษิณ-เพื่อไทย-นปช. น่าจะพิจารณาอย่างซีเรียส ทีจะ "ดรอป" คำขวัญเรื่อง "ปรองดอง" ไปเสียเลย
หาทาง เสนออะไรในทำนอง "ปฏิรูปประเทศไทย เป็นประชาธิปไตย" อะไรประเภทนี้ ขึ้นมาเป็นประเด็นใจกลางแทน มากกว่า
คือ จริงๆ แล้ว ไอเดีย "ปรองดอง" ทั้งในแง่คำขวัญ ในแง่ยุทธศาสตร์ ที่กำหนด ("ทอดไมตรี" ฯลฯ) เป็นอะไรที่ ไมมีความหมาย และ misleading (ไม่ตรงความจริง) และ ไม่ถูกในหลักการหลายอย่างแต่ต้น อยู่แล้ว