ทีมข่าว นปช.
23 มิถุนายน 2555
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ออกรายการเหลียวหลังแลไปข้างหน้าเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2555
อ.ธิดา กล่าวว่า หลังการรัฐประหาร 2549 ประชาชนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายที่สนับสนุนรัฐประหาร และฝ่ายที่ถูกกระทำจากรัฐประหาร เย้ยไม่ว่าเลือกตั้งกี่ครั้งฝ่ายที่ถูกกระทำจากรัฐประหารก็ชนะเลือกตั้งทุกครั้ง
อ.ธิดา เผยว่า พรรคของฝ่ายที่ถูกกระทำจากรัฐประหารมีนโยบายแก้ไข รธน. แต่ถูก ปชป. ขัดขวาง ชี้อำมาตย์ต้องการทำลายเวทีรัฐสภาแล้วจึงให้องค์กรอิสระต่างๆเล่นงานต่อ
อ.ธิดา จวกอำมาตย์ที่พยายามฟ้องร้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในคดีการปล่อยกู้ของ ธ.กรุงไทย แต่กลับเพิกเฉยต่อการฟ้องร้อง สนธิ ลิ้มทองกุล ในคดีที่สร้างหนี้เสียจำนวนมากให้กับ ธ.กรุงไทย
อ.ธิดา กล่าวว่า คนเสื้อแดงพยายามสร้าง รธน. ที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง แต่อำมาตย์ไม่ยอมให้แก้ไข รธน. ลั่นการปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ความจริงต้องปรากฎก่อน
อ.ธิดา กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีไต่สวนการเสียชีวิตของประชาชนจากเหตุการณ์ปี 2553 แฉคดีการเสียชีวิตของประชาชนในวัดปทุมวนาราม แม้แต่ตำรวจยังยอมรับว่าเป็นฝีมือของทหาร-ตำรวจ
อ.ธิดา อัดทหารที่พยายามแก้ตัวว่า ปืน-กระสุนถูกปล้นไปก่อนเกิดเหตุการณ์เพียงไม่กี่วัน จวกทหารพูดความจริงที่ไม่ครบถ้วน ยัน พ.อ.ร่มเกล้า ธุรธรรม เสียชีวิตจากกระสุนปืน M67 ไม่ใช่ M79
อ.ธิดา ร้องขอทหารออกมาชี้แจ้งถึงการหายไปของปืน และค่าใช้จ่ายในการสลายการชุมนุม ยันคนเสื้อแดงคืนปืน-กระสุนให้กับทหารทั้งหมด
อ.ธิดา กล่าวย้อนอดีตถึง ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างรุนแรง ชี้ถือเป็นปกติในยุคนั้นที่มีการใช้ถ้อยคำลักษณะนี้
อ.ธิดา กล่าวย้อนอดีตอีกว่า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นรายได้หลักของประเทศไทยมาจาก "เงินรัชชูปการ" (เงินที่ไพร่เสียให้กับรัฐเพื่อไม่ต้องถูกเกณฑ์ใช้แรงงานให้กับรัฐ) และรายได้ภาษีจากสินค้านำเข้า-ส่งออกต่างประเทศ (หลังจากยกเลิกการผูกขาดการค้าโดยสนธิสัญญาเบาว์ริง)
อ.ธิดา เผยว่า ในสมัย ร.3 มีการเก็บภาษีต่างๆตามแบบที่ชาวจีนแนะนำเพิ่มชดเชยรายได้ แต่เงินรัชชูปการยังคงจัดเก็บอยู่จนถึงสมัย ร.7 ระบุคณะราษฎรอ้างเรื่องปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในการปฏิวัติ
อ.ธิดา กล่าวว่า ปี 2482 มีการเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อฉลองการที่ อ.ปรีดี พนมยงค์ สามารถแก้ไขสนธิสัญญาที่สยามเสียเปรียบให้กับต่างประเทศได้หลายฉบับ
อ.ธิดา กล่าวย้อนอดีตว่า ประเทศต่างๆที่ต้องการแก้ไขสัญญาจะใช้วิธีแลกเปลี่ยนด้วยเมือง แต่ อ.ปรีดี ใช้วิธีเจรจา โดยอ้างเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อ.ธิดา เผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ถือว่าได้รับเอกราชทางการเมือง เนื่องจากประเทศไทยยังถูกควบคุมนโยบายจากประเทศขนาดใหญ่ ชี้หากกระบวนการยุติธรรมยังไม่เป็นนิติรัฐอาจเกิดปัญหากับธุรกิจข้ามชาติในอนาคต
อ.ธิดา อัดทหารที่ปฏิเสธการสังหารประชาชนปี 2553 โดยอ้างว่า ปืน-กระสุนถูกปล้นไป ชี้หากเป็นชายชาติทหารควรกล้ายอมรับความจริง
อ.ธิดา เผยว่า อ.ปรีดี พลาดท่าจากการเขียนนโยบายเศรษฐกิจซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" ระบุอาคารศาลฎีกา (สนามหลวง) เป็นสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎรซึ่งมีเสา 6 ต้นอันเป็นสัญลักษณ์ของหลัก 6 ประการของคณะราษฎร
อ.ธิดา ชี้ว่า 1 ในเสาทั้ง 6 ต้นคือ "ความเสมอภาค" ซึ่งนำมาสู่ความยุติธรรม ยันคณะราษฎรไม่มีเจตนาแย่งชิงราชสมบัติ แต่ต้องการระบอบการปกครองที่กษัตริย์อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองเท่านั้น
อ.ธิดา ระบุว่า สาเหตุที่ ร.7 ทรงยอมสละอำนาจโดยง่ายนั้นเป็นเพราะพระองค์มิได้ทรงมีอำนาจอย่างแท้จริง เพราะอำนาจเกือบทั้งหมดอยู่ที่ "อภิรัฐมนตรี" เผยต่อมาจึงมี รธน. ถาวรฉบับแรกในวันที่ 10 ธ.ค. ปีเดียวกัน
อ.ธิดา เผยว่า รธน. ฉบับ 24 มิ.ย. 2475 กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร และกำหนดบุคคล/คณะบุคคลเป็นผู้ปกครองคือ กษัตริย์, สภาผู้แทนราษฎร, คณะกรรมการราษฎร และศาล
(รับชมรายการย้อนหลัง: สถานี นปช.)