แถลงข่าวนปช."สถานการณ์พิเศษ" 23 พ.ย. 56



ทีมข่าว นปช.
23 พฤศจิกายน 2556




วันที่ 23 พ.ย. ที่อิมพีเรียลลาดพร้าว กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นำโดยอ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. และแกนนำนปช.ส่วนกลางอีกหลายท่าน ร่วมกันแถลงข่าว "สถานการณ์พิเศษ"

โดยอ.ธิดา กล่าวว่า กลุ่มนปช.จะชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย. นี้ ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก ตั้งแต่เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป โดยจะใช้สโลแกนการชุมนุมว่า “รัฐถูกประหารโดยศาลรัฐธรรมนูญ” ซึ่งการชุมนุมครั้งนี้เพื่อปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การชุมนุมจะยืดเยื้อตามสถานการณ์ และจะชุมนุมอย่างสงบอยู่ในที่ตั้ง หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับใคร นปช.จะแสดงให้เห็นว่าพลังของคนที่รักประชาธิปไตยยังมีอยู่อีกมาก

อ.ธิดา กล่าวต่อว่า ในวันนี้สถานการณ์บ้านเมืองอยู่ในสภาพที่เข้มข้น ร้อนแรงขึ้นทุกขณะ นปช.ขอเรียกร้องพี่น้องที่อยู่ทางบ้านในฐานะผู้ปกป้องประชาธิปไตยที่กำลังถูกประจานโดยระบอบอำมาตย์ ที่กำลังใช้องค์กรที่ทรงพลัง อ้างตนเองว่ามีอำนาจสูงสุดในประเทศไทย มีอำนาจยิ่งกว่าพระราชอำนาจ และอำนาจประชาชน นี่คือการแสดงอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ในสภาพที่เป็นอยู่นี้เป็นเวลาสำคัญที่เป็นนักต่อสู้ เราไม่มีการจ้างคนมาชุมนุม มาด้วยหัวใจจริงๆ หากไม่สู้ผลจากชัยชนะที่ได้มาทั้งหมดก็จะจบสิ้นไป

“ขอเรียกร้องให้พี่น้องโดยเฉพาะในกทม.และปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงเตรียมเสื้อผ้าให้พร้อม การเตรียมการของนปช.ไม่เหมือนกับการเตรียมการของม็อบนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งเราได้ยินมาว่าทางกรุงเทพมหานครมีการใช้จ่ายเงินเพื่อนำคนมาชุมนุม เราได้ยินว่าวิทยาลัยอาชีวะขู่นักศึกษาว่าถ้าไม่มาชุมนุมจะถูกหักคะแนน อย่าลืมว่าถ้าไม่ได้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกิจการอาชีวศึกษาจะไม่มีอยู่จนทุกวันนี้ เพราะที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่สนับสนุนให้มีอาชีวศึกษา อาจารย์ทั้งหลายที่กำลังเกณฑ์นักเรียนอาชีวะมาร่วมให้รู้ไว้ด้วยว่า พรรคการเมืองนี้เป็นคนประหารอาชีวะหมดทุกโรงเรียน หากมีการเกณฑ์นักศึกษาในทางที่ไม่ถูกต้องนักศึกษาก็มีสิทธิ์ต่อต้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ที่ออกมาพูดอะไรมากมาย และเป็นคนช่วยร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ขอให้กลับไปดูมหาวิทยาลัยของตนเองก่อน เพราะมีอันดับที่ 600 ต่ำกว่าอันดับมหาวิทยาลัยในอาเซียน อยากให้กลับไปแข่งขันในเวทีโลกจะดีกว่า” ประธานนปช. กล่าว

อ.ธิดา กล่าวอีกว่า การออกมาชุมนุมของกลุ่มที่จ้องล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้น ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกครั้งว่า พลังอนุรักษ์นิยมล้าหลัง กับพลังประชาธิปไตยก้าวหน้าสังคมไทยจะเลือกสนับสนุนฝ่ายไหน เพราะขณะนี้หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยกับศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น

“ในวันพรุ่งนี้นปช.ต้องการสื่อสารถึงสังคมไทยทั้งหมด ไม่ใช่สื่อสารด้านเดียวเหมือนอนุรักษ์นิยมล้าหลัง เราจะแสดงตัวตนของผู้พิทักษ์ระบอบประชาธิปไตย ใครก็ตามที่ต้องการระบอบประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเสื้อแดง แต่ขอให้มาชุมนุมกันมากๆ ไม่ได้มาด้วยการจ้าง เราต้องการยืนยันว่ารัฐสภาและรัฐบาลยังดำรงอยู่ไม่ได้ถูกประหารโดยศาลรัฐธรรมนูญ และป.ป.ช.เพราะเราจะพิทักษ์จนถึงที่สุด นปช.ต่อต้านรัฐประหารทุกรูปแบบ แต่ครั้งนี้เป็นการรัฐประหารไม่เงียบเพราะประชาชนรู้ทั้งประเทศ เป็นการรัฐประหารโดยใช้ศาลรัฐธรรมนูญ” อ.ธิดา กล่าว


ด้าน นายจตุพร กล่าวว่า การชุมนุมครั้งนี้นัดหมายอย่างเร่งด่วน หลายคนเป็นห่วงว่า นปช.จะระดมคนได้ทันและมากพอสู้กับม็อบที่ราชดำเนินหรือไม่ แล้วถ้าคนไม่เท่ากัน คนเสื้อแดงเราจะมีความสูญเสียอะไรบ้าง ตนเรียนว่า ต้องนอมรับความเป็นจริงว่านปช.เพิ่งตัดสินใจที่จะมีการนัดหมายการชุมนุม แต่โลกแห่งความจริงคือม็อบที่ราชดำเนินต้องมีจำนวนคนมากกว่านปช. แต่การที่มีคนมากมากก็เพราะไประดมใช้เวลาหลายสัปดาห์ ระดมทุกสิ่งทุกอย่าง และเป็นเหตุให้เราไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะเห็นว่าคนมากกว่าเรา ซึ่งถ้าเราคิดแบบนั้น เราไม่ได้เป็นคนเสื้อแดง เพราะถ้าเหลือเพียงหนึ่งคนเราก็พร้อมที่จะสู้ ตนเรียนว่าเหตุการณ์พฤษภาปี 2535 ภายหลังการถูกการสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า ที่ราชดำเนิน วันที่ 19 พ.ค.เวลา 4 โมงเย็นตนมีพี่น้องและเพื่อนๆประมาณ 20-30 คนที่ประกาศใช้ ม.รามคำแหงเป็นที่มั่นฝ่ายประชาชน ไม่มีแม้กระทั่งเวที เครื่องเสียง มีเก้าอี้และโทรโค่ง 1 ตัว จากคนเป็นสิบกลายเป็นร้อย จากร้อยเป็นพัน จากพันเป็นหมื่น จากหมื่นเป็นแสน และจากแสนเป็นหลายแสน ถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเรามีความมั่นใจว่าได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง

นายจตุพร กล่าวต่อว่า ถ้าเรามีความรู้สึกว่าจะเสียหน้า ในวันแรกเพราะพรรคประชาธิปัตย์คนมากกว่า ปล่อยให้ปู้ยี่ปู้ยำบ้านเมือง วันนี้ก็ประชิดทำเนียบรัฐบาล วันพรุ่งนี้จะกระทำอะไรหลายอย่าง แม้แต่ข่าวการตัดน้ำ ตัดไฟ ปิดการจราจรสอดคล้องกับคำแถลงของป.ป.ช.หลังจากศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยเรื่องการแก้ไขที่มาของส.ว. เพราะวันแรกที่แถลงก็ระบุชัดเจนว่า กระบวนการถอดถอนและดำเนินการกับประธานสภา และสมาชิกรวม 312 คนนั้น ต้องใช้ระยะเวลาในการไต่สวน และคำวินิจฉัยของศาล ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นของการถอดถอน การดำเนินคดีกับส.ส. ซึ่งมีขบวนการต่างๆ มากมาย ถ้าเป็นกระบวนการตามปกติจะใช้เวลาเป็นปีๆ แต่เมื่อวันที่ 22 พ.ย. ป.ป.ช.ก็เปลี่ยนท่าทีใหม่ บอกว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร นัดประธานสภา ผู้แทนราษฎร์ ประธานวุฒิสภา เข้าไต่สวนในวันที่ 26 พ.ย. นี้ ทั้งที่รู้ว่า ในวันนั้นสภาได้บรรจุระเบียบอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่เป็นการเร่ง เพื่อให้ทันการที่นายสุเทพที่ประกาศไว้ว่าจะปิดฉากทุกอย่างภายในสิ้นเดือนพ.ย. นี้

“หากเรารอให้พี่น้องที่เกี่ยวข้าวเสร็จก่อนเราจะไม่เหลือประชาธิปไตย เรามีบทเรียนในปี 53 แล้ว เราเหลืออยู่ไม่กี่คนยังพลิกฟื้นสถานการณ์ต่างๆ ได้  เรามิอาจยอมจำนนให้สุเทพยึดครองประเทศไทย กลายเป็นวีรบุรุษ กลายเป็นผู้มีอำนาจในแผ่นดินประเทศไทยนี้ได้ เพราะฉะนั้นในวันพรุ่งนี้จะอย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าจุดเริ่มต้นในวันพรุ่งนี้ ถ้ามาอย่างพร้อมเพียงเราก็สู้จำนวนกันได้ตั้งแต่วันแรก เพราะเราไม่ได้มีการชุมนุมแบบการเผชิญหน้า แต่ผมเป็นคนมองโลกในความไม่ประมาท เราจะเริ่มต้นในจำนวนที่น้อยกว่า แต่ในวันที่ 25-26 พ.ย. เราจะมีจำนวนคนที่มากกว่า แต่พรรคประชาธิปัตย์จะเริ่มต้นที่คนมากกว่า แล้วค่อยๆ ลดลงๆ แต่ขนาดเราจะเพิ่มขึ้น เพียงแค่เราไม่ยินยอมให้ฆาตกรได้ใช้ความได้เปรียบในการที่จะล้มล้าง ทำลาย ระบอบประชาธิปไตย และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้” นายจตุพร กล่าว
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขามีความคาดหวังว่า ถ้าสามารถจัดการระบบ ตั้งแต่รัฐสภา ยันรัฐบาลได้ภายในสิ้นเดือนนี้ แต่การที่เราเชิญชวนพี่น้องทั้งหลายโดยที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อน แต่สิ่งที่เรามีคือความเป็นรัฐที่ยังเหลืออยู่

ฉะนั้นการต่อสู้ในวันนี้เราไม่ได้เริ่มต้น การนับที่จุดศูนย์แต่จุดที่เรายังมีรัฐ รัฐนี้ยังเป็นรัฐของประชาชน
นายจตุพร กล่าวอีกว่า ถ้าเราไม่ชุมนุมในวันพรุ่งนี้ทิศทางของสังคมจะไปทิศทางเดียว แต่ถ้านปช.ชุมนุมที่ราชมังคลาฯ c9ก็จะเป็นตัวสร้างความสมบูรณ์ถ่วงดุลอำนาจ มิให้ฆาตกรยึดครองในวันพรุ่งนี้ได้ เชื่อว่าในวันต่อๆ ไปการขับเคลื่อนทั้งหมดก็จะอยู่ในมือของคนเสื้อแดง ดังเช่นเดิม

นายจตุพร กล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น เราต่างฝ่ายได้เผชิญชะตากรรม และต้องยอมรับความเป็นจริงว่าก็มีปัญหากันมากมาย ที่ว่า ในจังหวัดเดียวกันเองหรือหลักความคิดนั่นเป็นเวลาปกติ แต่สถานการณ์นี้ มันเป็นทางเลือกว่าระหว่างอภิสิทธิ์ สุเทพ ถ้าเราไม่ออกมาชุมนุมเพื่อยืนยันเอาไว้ วันที่ 12 ธ.ค.เข้าจะรอดในการขึ้นศาล ฉะนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฝนจะตก แดดออกคนจะมีสิบคน ไม่มีปัญหาแต่เราจะต้องยืนยัดลากฆาตกรขึ้นสู่ศาลให้ได้ เพราะฉะนั้นคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาเป็นการปักลิ่มเอาไว้ก่อน ทั้งที่คำวินิจฉัยไม่ว่าอำนาจหน้าที่ (ซึ่งก็ไม่มี) 2 ข้อเท็จจริงที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างในทางเทคนิคนั้น โดยเมื่อวานได้มีโอกาสคุยกับท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา ว่าการยื่นมติ การยื่นร่างพ.ร.บ.การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญในทางธุรการ เมื่อมีการยื่นไปยังสภา ส.ส.ก่อนที่จะมีการบรรจุระเบียบวาระ และก็มีการพิมพ์ทั้งสุดท้ายก็ส่งไปยังสมาชิก ยังสามารถแก้ไขได้ทุกขั้นตอน จนกระทั่งไปพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยและถ้าเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องแก้ไขอีก เมื่อบรรจุแล้วเข้าต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร์หรือรัฐสภาก็ยังขอที่มติที่ประชุม ยังสามารถแก้ได้อีกบนร่างเดิม ความจริงเช่นนี้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่รู้รึ หนึ่งคุณอาจจะทราบหรืออาจจะไม่ทราบ แต่คุณอาจจะให้พยานซึ่งเป็นอดีตประธานสภา หรือพยานซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร์ซึ่งเขาเสนอข้อกฎหมายเข้าไป ว่าการเสนอกฎหมายการแก้ไขกฎหมายนั้น ยังสามารถแก้ไขได้ทั้งหมดในขั้นตอนธุรการ ศาลรัฐธรรมไม่รู้หรือว่านี่เป็นแนวทาง ระเบียบเป็นแนวทางปฏิบัติของทางรัฐสภา

ประเด็นที่สองเรื่องการแปรญัตติ โดยการแปรญัตติต้องแปรด้วยความเจตนาสุจริตแต่นี่คุณแปรเกือบทุกคน แปรทุกคนและก็แปรซ้ำซาก เจตนาเพื่อถ่วงรั้งการแก้รัฐธรรมนูญ ในจำนวนผู้แปรญัตตินั้น ถ้าไม่ได้อภิปรายแปรญัตติแม้แต่คนเดียว ในแต่ละมาตรานั้น อันนั้นถือว่าเป็นการขัดขวางแต่นี่คุณแปรทุกคนและก็แปรซ้ำซากเพื่อถ่วงรั้ง เจตนาไม่สุจริต ประธานสภามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในที่ประชุม คำวินิจฉัยของประธานถือว่าเป็นเด็ดขาด แต่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าคำวินิจฉัยของประธานเด็ดขาดไม่ได้ คำวินิจฉัยที่เด็ดขาดคือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับคุณไปก้าวกายฝ่ายนิติบัญญัติอย่างยับเยิน
ประเด็นข้อที่สาม กดบัตรแทนกัน สภาเขามีข้อบังคับ คณะกรรมาธิการว่าด้วยจริยธรรมต้องมีการตรวจสอบและยื่นต่อไปดยังผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อสอบว่ามีการกระทำความผิดหรือไม่ การกดบัตรแทน ไม่ใช่เรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ซงึ่งตนเองเห็นว่าการกดบัตรแทนเป็นเรื่องที่เลวร้ายในระบบรัฐสภาแต่ไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายเรื่องการแก้ไขร่างซึ่งเป็นกระบวนการปกติซึ่งกฎหมายทุกฉบับก็มีการแก้ไขขั้นตอนในการยื่นทั้งสิ้น บรรจุแล้วก็ยังแก้ได้ โดยมติของที่ประชุม ฉะนั้น

ข้อแรกที่ศาลอธิบายนี้ก็เป็นความเท็จและจงใจ ที่จะทำลายขบวนการนิติบัญญัติ การแปลญัตติที่มีเจตนาไม่สุจริตการกดบัตรแทนก็ถูกยกมาเป็นข้ออ้าง เหมือนกับกรณีแก้เลือกตั้งเมื่อ 2เม.ย.49ที่กกต.ไปออกระเบียบให้หันหลังออกคูหาเลือกตั้งเพราะไม่ต้องการให้ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งไปสบตากับหัวคะแนนผู้มีอิทธิพล ปรากฏว่ามีภาพ 4 ภาพที่ถูกถ่ายซูมเข้าไป ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งดังกล่าวไม่เป็นความลับ เป็นโมฆะ แต่ต้องถามว่าควรจะไปลงโทษใคร ระหว่างผู้ซูมภาพนี่เป็นการลงโทษผลการเลือกตั้ง2เม.ย.49 การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกันเอาเหตุผลทางอารมณ์สร้างความระบาดแล้วไปขมวดปม บอกว่าเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ให้แก้ที่มาของสว. มีเจตนารมณ์ข้อไหน ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราไหนที่ห้ามแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้แต่เพียงมาตราแต่ว่าการเขียนคำวินิจฉัยเหมือนกับการขียนคำสั่งของการรัฐประหารนั้น ซึ่งเราเองก็เห็นว่า แม้ไม่มีการยุบพรรคตัดสิทธิ์แต่ปปช.ก็รับช่วงต่อทันทีและท่วงเปลี่ยนไปในช่วง 2 วันโดยสิ้นเชิง

ประเด็นต่อมาคือว่า กฎหมายที่มีสภาพเป็นโมฆะ ตนเองก็พูดมาตลาดสมัยความจริงวันนี้ สมัยสนช.ตรากฎหมายเองสองร้อยกว่าฉบับแต่องค์ประชุมไม่ถึงครึ่งถึง 177 ฉบับมีร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญโดยรัฐธรรมนูญบังคับว่าเมื่อตราเสร็จแล้วจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน ถ้าเป็นพ.ร.บ.ธรรมดาไม่ต้อง  ปรากฏว่าร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยปปช.และหฎหมายอื่นศาลรัฐธรรมนูญชุดนั้นวินิจฉัยว่าเป็นโมฆะ เพราะองค์ประชุมไม่ครบมีร่างพ.ร.บ.บ้างฉบับธรรมดายื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ในกรณีองค์ประชุมไม่ครบกฎหมายนั้นก็มีสภาพโมฆะ ปรากฏว่าพล.อ.สุรยุทธได้ยื่นกฎหมาย 177 ฉบับองค์ประชุมไม่ถึงครึ่งมีสภาพเป็นโมฆะ ทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพล.อ.สุรยุทธเป็นผู้ลงชื่อสนองพระบรมราชโองการซึ่งต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นกฎหมายทั้ง 177 ฉบับจาก200กว่าฉบับโดยมาคณะรัฐประหารที่มีองค์ประชุมไม่ถึงครึ่ง ตนขอเรียนว่าไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่จะดำเนินการกับพล.อ.สุรยุทธ ที่ทูลเกล้ากฎหมายที่มีสภาพผิดกฎหมายเป็นโมฆะถึง 177 ฉบับ

นายจตุพรกล่าวต่อว่า นายกยิ่งลักษณ์ ที่ทูลกล่าวเสนอกฎหมาย ที่กฎหมายกำหนดต้องทูลเกล้าภายใน 20 วัน ถ้านายกไม่ทูลเกล้า ก็จะผิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้กำลังจะมีการดำเนินคดีกับนายกยิ่งลักษณ์ถ้า 1 ฉบับผิด 177 ฉบับก็ไม่เห็นมีใครทำอะไรได้ เพราะฉะนั้นนี่เป็นกระบวนการที่จะชี้ให้เห็นว่า ความอยุติธรรมมันเต็มไปทั่วในประเทศไทย ตนจึงอยากเชิญชวนพี่น้องทั้งหลายว่า ความขุ่นคล้องหมองใจทั้งหลายว่า เราต้องข้ามพ้นไปให้ได้และตนเชื่อว่า ถ้าพี่น้องคนเสื้อแดงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เราจะไม่มีวันพ่ายแพ้ผู้ใด ให้พี่น้องสบายใจได้ว่า ภาพที่เขาจะมากันเต็มพรุ่งนี้ว่า และก็จะปล่อยกันให้กระแทกฝ่ายเดียว คำว่าม้วนเดียวจบ เขาจะทำได้จึงหรือ ทั้งที่เราออกมากันที่สถานราชมังคลาเพื่อจะบอกกับพวกนั้นว่า ไม่มีวันที่จะม้วนเดียวจบ

เพราะฉะนั้นราชมังคลาจะมีกี่คนอย่างไปสนใจ แต่คนที่มีหัวใจสีแดงเห็นการเข็นฆ่าที่ราชประสงค์ แล้วทนไม่ได้ พรุ่งนี้คุณเป็นคนเสื้อแดง คุณทนเห็นฆาตกรไม่ได้ขอให้คุณไปที่ราชมังคลา ฉะนั้นวันพรุ่งนี่ไม่ว่าพี่น้องจะมีภารกิจอะไร ตนเชื่อว่าว่างภารกิจเอาไว้ก่อน มาร่วมกันสกัดฆาตกรไม่ให้มีอำนาจ และตนได้บอกกับพรรคเพื่อว่าจึงเชื่อมั่นกับคนเสื้อแดง ซึ่งสามารถแยกผิดชอบชั่วดีได้ ซึ่งหน้าที่เราคือไม่ต้องการให้ฆาตกรหยีบบันไดทำเนียบรัฐบาลอีกแล้ว

ฉะนั้นขอฝ่ายไว้กับพี่น้องทุกท่าน แล้วพรุ่งนี้เจอกัน 6 โมงเย็นเราไปนอนร่วมกันที่ราชมังคลาไปค้างคืนที่นั่น ส่วนจะค้างกี่คืนก็ดูที่โรงแรมราชดำเนินว่าค้างกี่คืน ถ้าพวกนั้นนอนต่อ10คืนเราก็ต่ออีก10 คืน เพราะฉะนั้นจะไม่มีการเผชิญหน้า แต่ให้พี่น้องจัดสินใจอย่าอยู่ที่บ้าน อย่าอยู่จนฆาตกรยึดอำนาจได้แล้วจึงออกมา ซึ่งมาตอนนั้นก็สายเกินไปเสียแล้ว โดยวันพรุ่งนี้ออกมากันให้เต็มที่สั่งสอนฆาตกรว่านี่แค่เตรียมตัววันเดียวยังมากขนาดนี้  นายจตุพรกล่าว