เล่าเรื่องเมื่อยังเยาว์ (ตอนที่ 2):น.พ.เหวง โตจิราการ

Facebook น.พ.เหวง โตจิราการ


เล่าเรื่องเมื่อยังเยาว์(2)
ปีที่สองในคณะวิทยาศาสตร์ม.มหิดล
ในปีที่สอง ผมได้เข้าร่วมในชมรมปาฐกถาและโต้วาทีของ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการโต้วาที ระหว่างคณะและระหว่างมหาวิทยาลัยสองครั้ง

พลีคลินิคคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
เมื่อข้ามฟากมาเรียน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ก็ต้องเริ่มเรียนวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เรียกว่า พลีคลินิก แต่ก็ยังใช้สถานศึกษา ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
เพื่อนที่ เลือกเรียนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลก็ต้องข้ามฟากไปเรียนที่โรงพยาบาลศิริราช
พี่ๆชั้นปี5 ปี6 ก็ข้ามฝั่งมาชวนทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพแพทย์โดยตรง คือเข้าร่วมกิจกรรมกับ ศูนย์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย(ศนพท.) ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักศึกษาแพทย์หลายสถาบัน เช่น คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลเชียงใหม่ เป็นต้น มีการออกวารสาร ศูนย์นิสิตนักศึกษาแพทย์สัมพันธ์ มี พี่สุรเกียรติ พี่ยงยศเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ
ต่อมา ก็มีการจัดกิจกรรมของ ศนพท.ที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียนโดยตรง กล่าวคือเชื่อมโยงกับ COMMUNITY MEDICINE
ในคราวนั้น เนื่องจาก เห็นพ้องต้องกันว่า นอกจากจะเป็นการเชื่อมโยงการเรียนการศึกษากับชีวิตจริงแล้ว ยังเป็นการให้บริการประชาชนด้วย แทนที่จะเอาแต่เรียนเพียงอย่างเดียว
จึงเลือกเอา สลัมคลองเตยเป็นเป้าหมายในการทำกิจกรรม
เมื่อเป็นอย่างนี้ แพทย์ศาสตร์รามาธิบดี และแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์จะต้องรับงานหนักหน่อย เพราะศิริราช และเชียงใหม่อยู่ห่างไกลมากและแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเข้ามามีส่วนร่วมโดยไม่ให้เสียการเรียน
ผมจึงได้รับมอบหมายให้ดูแลครอบครัวในสลัมคลองเตยโดย ดำเนินการจัดการแยกเอาพื้นที่เป็นโซน หรือตรอกซอยถนนแคบในนั้นเป็นเขตรับผิดชอบ
ต้องไปดูแลสุขภาพทั่วไป วัดความดัน เก็บข้อมูลเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น วัณโรค โรคติดต่ออื่นๆ การได้รับวัคซีนของเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา สุขอนามัยประจำครอบครัว หรือแต่ละคน
ในปี 2514 การเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาทั่วไป เริ่มเข้มข้นมากยิ่งขึ้น จอมพลถนอมปฏิวัติตนเอง ห้ามเชิญบุคคลนอกมหาวิทยาลัยเข้ามาอภิปรายหรือแสดงปาฐกถา เริ่มมีหนังสือพิมพ์ รายวันฉบับละบาทของมหาวิทยาลัยต่างๆ ผมเป็นเอเย่นในการนำมาขายในคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลในตอนนั้น ผมเริ่มเชิญบุคคลภายนอกมาอภิปรายปัญหาสังคมและการเมืองในไทยระยะนั้นอยู่เนืองๆ ภายหลังถูกห้าม ผมจำได้ว่า อาจารย์ทางสังคมวิทยา ท่านขอพบผม แต่ผมไม่ได้ไปพบท่าน (จำไม่ได้ว่าเพราะอะไร)

ตอนปลายปีที่ 4 พี่เป้งและเพื่อนร่วมรุ่นของพี่เป้งที่รามาธิบดี จบอินเทอร์น ต้องการจะบวช ที่สวนโมกข์ จึงให้ผมเป็นผู้ประสานงาน เพราะผมไปสวนโมกข์เกือบจะทุกปิดภาคการศึกษา
ผมยินดีมาก และประสานกับท่านอาจารย์ปัญญานันทะภิกขุ เพื่อทำการการบวชของคณะใหญ่ และได้มีโอกาสร่วมเป็นพระนวกกับพี่น้องจำนวน(12?)รูปในปลายปีน2514
บวชอยู่กว่าเดือน อาจารย์พุทธทาสได้บรรยายธรรมเป็นตำราเล่มใหญ่ “เตกิจฉกธรรม หรือพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นแพทย์ของสัตว์โลกทั้งมวล”
พวกเรานับเป็น กลุ่มนักศึกษา ที่ไปบวชและปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์เป็นกลุ่มที่สอง ถัดจาก ชมรมพุทธจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่บวชก่อนพวกเราหนึ่งปี
พี่ๆทุกคน ศึกษาและปฏิบัติธรรมได้อย่างเข้มงวดกวดขันมาก ประทับใจผมมาก นอกจากนี้พี่ๆทุกคน ยังเรียนหนังสือเก่งมากด้วย ผมยังตรึงตราในความทรงจำจนเท่าทุกวันนี้เลย ว่าเป็น คนที่เรียนหนังสือเก่งทุกคน เป็นคนตั้งใจบวช ตั้งใจปฏิบัติธรรมจริงทุกคน ผมโชคดีมากที่ได้มีโอกาส เป็นพระสงฆ์ร่วมรุ่นกับพี่ๆทุกท่านครับ