13 กรกฏาคม 2556
คลิปฉาวที่ฮือฮาตามสื่อต่าง ๆ ก็ยังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันไม่จบสิ้น
ยิ่งมีประเด็นปัญหาทางการเมืองก็มีการเชื่อมโยงขยายความออกไปตามแต่ที่จะ
วิเคราะห์กันของแต่ละฝ่าย แม้ว่าเสียงในคลิปจะยืนยันว่าเป็นเสียงจริง
แต่ก็มีการโต้ว่าเป็นการตัดต่อเสียงในบางช่วง
ซึ่งก็คงต้องรอการพิสูจน์ว่าตัดต่อจริงหรือไม่จริง ที่แน่ ๆ
ก็คือเรื่องที่เป็นปัญหาการเมืองระหว่างรัฐบาลกับกองทัพคงจะต้องมีการลากยาว
ต่อไปเรื่อย ๆ ให้สมประโยชน์ของฝ่ายที่ต้องการให้เกิดปัญหาขึ้นมา
เพราะฉะนั้นการแสดงจุดยืนต่อปัญหาคลิปอื้อฉาวดังกล่าวของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
จะต้องทำให้ประชาชนได้เห็นชัดเจน
เป็นธรรมดาทางการเมืองที่จะต้องมีกลุ่มที่รักชอบรัฐบาล กับผู้ที่เกลียดรัฐบาลก็ต้องพยายามต่อต้านล้มล้างรัฐบาลในทุกวิถีทาง แต่ที่ประชาชนส่วนใหญ่แปลกใจก็คือมีกลุ่มประชาชนบางกลุ่มที่ไม่อยากล้ม รัฐบาลตามวิถีทางของประชาธิปไตย พยายามเรียกร้องให้ทหารออกมาปฏิวัติเพื่อล้มรัฐบาลที่กลุ่มตนเองไม่ชอบ ซึ่งจะเป็นการเรียกร้องที่ถูกต้องหรือไม่ทุกคนสามารถใช้วิจารณญาณคิดได้ว่า เป็นเรื่องผิดหรือถูก เพราะการปฏิวัติมิใช่เป็นการแก้ไขปัญหาได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนอย่างการปฏิวัติที่ประเทศอียิปต์มีให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าทำให้บ้าน เมืองและการเมืองสงบจริงหรือ
เห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้กล่าวถึงเรื่องที่มีบางกลุ่มเรียกร้องให้ทหารปฏิวัติ โดยอ้างเหตุจากคลิปฉาวว่า “อย่านำทหารมาแก้ปัญหาทุกเรื่อง ที่บอกว่าอยากให้ทหารออกมา ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้น ความรุนแรงเกิดขึ้นแน่นอน แล้วจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่เกิดประโยชน์ที่เราจะล้มทุกอย่างในขณะนี้ เพราะยังมีทางแก้ไขปัญหา ยังไม่ถึงจุดสุดท้ายที่จะตายกันทั้งประเทศ ดังนั้นต้องดึงกลับมาและแก้ไขทีละเรื่อง ทุกอย่างต้องเป็นกฎหมาย กองทัพมีวินัย ไม่สามารถทำตามใจชอบ ทำตามอารมณ์หรือความอยากไม่ได้” ซึ่งเป็นคำพูดที่แสดงจุดยืนประชาธิปไตยของผู้นำทหารที่สื่อถึงประชาชนได้รับ รู้
อย่างไรก็ดีสภาพการเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกัน เงื่อนไขทางการเมืองที่จะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดเหตุความรุนแรงขึ้นมานั้นมี หลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งตัวของนักการเมืองเองก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้บ้านเมืองสงบหรือ วุ่นวายได้ ถ้าผู้ที่เล่นการเมืองเคารพในกฎกติกาของประชาธิปไตยและมีจุดยืนแสดงความรับ ผิดชอบทางการเมืองสูงไม่ดื้อดึงดันมากเกินไป อะไรที่ถอยมาบ้างได้ก็ต้องยอมถอยเพื่อประเทศชาติส่วนรวม เมื่อปัญหาการเมืองแก้ไขด้วยการเมืองได้อย่างต่อเนื่องที่ทำให้บ้านเมืองสงบ การเรียกร้องให้มีการปฏิวัติจากกลุ่มใดก็ตามก็เหมือนต้องการให้ประเทศชาติ ตายกันทั้งหมด.
เป็นธรรมดาทางการเมืองที่จะต้องมีกลุ่มที่รักชอบรัฐบาล กับผู้ที่เกลียดรัฐบาลก็ต้องพยายามต่อต้านล้มล้างรัฐบาลในทุกวิถีทาง แต่ที่ประชาชนส่วนใหญ่แปลกใจก็คือมีกลุ่มประชาชนบางกลุ่มที่ไม่อยากล้ม รัฐบาลตามวิถีทางของประชาธิปไตย พยายามเรียกร้องให้ทหารออกมาปฏิวัติเพื่อล้มรัฐบาลที่กลุ่มตนเองไม่ชอบ ซึ่งจะเป็นการเรียกร้องที่ถูกต้องหรือไม่ทุกคนสามารถใช้วิจารณญาณคิดได้ว่า เป็นเรื่องผิดหรือถูก เพราะการปฏิวัติมิใช่เป็นการแก้ไขปัญหาได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนอย่างการปฏิวัติที่ประเทศอียิปต์มีให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าทำให้บ้าน เมืองและการเมืองสงบจริงหรือ
เห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้กล่าวถึงเรื่องที่มีบางกลุ่มเรียกร้องให้ทหารปฏิวัติ โดยอ้างเหตุจากคลิปฉาวว่า “อย่านำทหารมาแก้ปัญหาทุกเรื่อง ที่บอกว่าอยากให้ทหารออกมา ถามว่าจะเกิดอะไรขึ้น ความรุนแรงเกิดขึ้นแน่นอน แล้วจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่เกิดประโยชน์ที่เราจะล้มทุกอย่างในขณะนี้ เพราะยังมีทางแก้ไขปัญหา ยังไม่ถึงจุดสุดท้ายที่จะตายกันทั้งประเทศ ดังนั้นต้องดึงกลับมาและแก้ไขทีละเรื่อง ทุกอย่างต้องเป็นกฎหมาย กองทัพมีวินัย ไม่สามารถทำตามใจชอบ ทำตามอารมณ์หรือความอยากไม่ได้” ซึ่งเป็นคำพูดที่แสดงจุดยืนประชาธิปไตยของผู้นำทหารที่สื่อถึงประชาชนได้รับ รู้
อย่างไรก็ดีสภาพการเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกัน เงื่อนไขทางการเมืองที่จะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดเหตุความรุนแรงขึ้นมานั้นมี หลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รวมทั้งตัวของนักการเมืองเองก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้บ้านเมืองสงบหรือ วุ่นวายได้ ถ้าผู้ที่เล่นการเมืองเคารพในกฎกติกาของประชาธิปไตยและมีจุดยืนแสดงความรับ ผิดชอบทางการเมืองสูงไม่ดื้อดึงดันมากเกินไป อะไรที่ถอยมาบ้างได้ก็ต้องยอมถอยเพื่อประเทศชาติส่วนรวม เมื่อปัญหาการเมืองแก้ไขด้วยการเมืองได้อย่างต่อเนื่องที่ทำให้บ้านเมืองสงบ การเรียกร้องให้มีการปฏิวัติจากกลุ่มใดก็ตามก็เหมือนต้องการให้ประเทศชาติ ตายกันทั้งหมด.