การนิรโทษกรรมในประเทศไทย อดีตและปัจจุบัน



ทีมข่าว นปช.
27 กรกฎาคม 2556

                                                         
จากบทความอ.ธิดา  ถาวรเศรษฐ "การนิรโทษกรรมในประเทศไทย อดีตและปัจจุบัน" เมื่อ 24 มกราคม 2556                                            

        ในคดีอันเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง  ถ้ายึดเอาการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นหลักกิโลเมตรแรก  เราจะพบว่าพอเริ่มต้นก็มีพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน 2475 ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ทันที  มี 3 มาตรา  ก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยเสียอีก  โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนด โดยมี 3 มาตราที่สำคัญคือ มาตรา 3 บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้น  ไม่ว่าของบุคคลใด ๆ ในคณะราษฎรนี้  หากว่าจะเป็นการละเมิดกฎหมายใด ๆ ก็ดี  ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ปิดสภาผู้แทนราษฎร  มีพระราชกฤษฎีการอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา  ถือเป็นการยึดอำนาจโดยรัฐบาล (รัฐประหารเงียบ)  จากนั้นเมื่อพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา, พันโท หลวงพิบูลสงคราม, นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารเพื่อเปิดสภา (ล้มล้างรัฐประหารเงียบ) เมื่อ 20 มิถุนายน 2476 ก็เสนอพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในการยึดอำนาจเมื่อ 20 มิถุนายน 2476 แก่ตัวท่านเอง  ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรก็ลงมติรับหลักการและอนุมัติให้ประกาศเป็นกฎหมายได้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2476  พร้อมกับเสนอร่างพ.ร.บ.ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาที่ให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476  (การทำรัฐประหารของพระยาพหลพลพยุหเสนาอ้างว่าเพื่อเปิดสภาให้เลือกคณะรัฐมนตรีชุดใหม่  นำรัฐธรรมนูญกลับมาใช้ทุกมาตรา)

คำถามว่า  กรณีพระยามโนปกรณ์นิติธาดากระทำการรัฐประหารเงียบ  หลังจากพระยาพหลพลพยุหเสนายึดอำนาจคืนกลับมามีการทำอะไรบ้าง  ขณะนั้นนักเรียนกฎหมาย 400 คนได้ยื่นเรื่องขอให้พิจารณาโทษพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในการปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญ  แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้มีหนังสือถึงพระยาพหลพลพยุหเสนาว่า “เรื่องแล้วไปแล้ว  อย่าให้มีอะไรกันเลย”

หลังการกลับมาของ ดร.ปรีดี  พนมยงค์เมื่อ 1 ตุลาคม 2476  จากนั้นก็มีกบฏบวรเดช, กบฏนายสิบ กบฏต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีการนิรโทษกรรม  มาจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  ได้ออกพ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ. 2488 โดยผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ควง  อภัยวงค์  นายกรัฐมนตรี  และเวลาติดต่อกันในปีพ.ศ. 2489 ก็ออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่นพ.ศ. 2489 โดยอ.ปรีดี  พนมยงค์เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในฐานะนายกรัฐมนตรี

หลังการกลับมาของ ดร.ปรีดี  พนมยงค์เมื่อ 1 ตุลาคม 2476  จากนั้นก็มีกบฏบวรเดช, กบฏนายสิบ กบฏต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้มีการนิรโทษกรรม  มาจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  ได้ออกพ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ. 2488 โดยผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ควง  อภัยวงค์  นายกรัฐมนตรี  และเวลาติดต่อกันในปีพ.ศ. 2489 ก็ออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่นพ.ศ. 2489 โดยอ.ปรีดี  พนมยงค์เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในฐานะนายกรัฐมนตรี


แต่นับจากพีพ.ศ. 2490 มา  ส่วนมากเป็นการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ทำการรัฐประหารเองเป็น 8 ครั้ง  รวมถึงปีพ.ศ. 2549 ด้วย  และนิรโทษกรรมให้ทหารที่เป็นกบฏ 5 ครั้ง  ปร 2488 (2 ฉบับ), ปี 2520,  ปี 2524, 2528-2531  ที่น่าสนใจคือให้ประชาชนรวม ๆ 7 ครั้ง  ซึ่งก็นับของอ.ปรีดีด้วย 

        ที่น่าสนใจมากคือ
ก.    พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นักเรียน  นิสิต  นักศึกษา  ประชาชน  ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อ 13 ตุลาคม 2516 โดยนายสัญญา  ธรรมศักดิ์ รับสนองพระบรมราชโองการ
ข.   พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ออกเมื่อ 2521 โดยพลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ
ค.   พ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์พ.ศ. 2532  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ พลเอกชาติชาย  ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
ง.     และพ.ร.ก.นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดระหว่างวันที่ 17 พ.ค. ถึง 21 พ.ค. 2535  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ พลเอกสุจินดา  คราประยูร


อันที่จริงการทำนิรโทษกรรมให้ประชาชนรวมมี 7 ฉบับนับตั้งแต่พ.ศ. 2489  นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น รับสนองพระบรมราชโองการโดย ดร.ปรีดี  พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี  และพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499, ในโอกาสครบ พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2502

สำหรับการนิรโทษกรรมแก่กบฏและจลาจลมีรวม 5 ฉบับ  และนิรโทษกรรมแก่คณะรัฐประหารเองรวมปีพ.ศ. 2549 มี 8 ฉบับ  นอกนั้นเป็นเรื่องอื่น ๆ คือ พ.ร.ก. เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช 2475 หรือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม  การจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476 และพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2475 กลับมาใช้พ.ศ. 2494  นั่นเป็นเรื่องในอดีตที่มีการนิรโทษกรรมมามากมาย  แม้จะเป็นรัฐบาลธรรมดาหรือคณะรัฐประหารก็ตาม  แต่หันมาดูสถานการณ์ปัจจุบัน

ปัญหาที่น่าสนใจคือ  คำถามว่าการออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184, 185 หรือไม่  นักการเมือง, นักวิชาการบางท่าน และพวกที่เป็นปฏิปักษ์จะแย้งว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ที่ตีความว่า  เรื่องนี้ไม่เข้ากับความปลอดภัยของประเทศ  ความปลอดภัยสาธารณะ  ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ  และไม่ใช่กรณีฉุกเฉินเร่งด่วน  แต่เราตีความว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน  เป็นเรื่องป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะและความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจ  การเมือง  สังคม  เป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ  ความปลอดภัยสาธารณะ  ตามมาตรา 184 วรรคหนึ่งและวรรคสองที่เป็นเรื่องเร่งด่วน

และถ้าจะคัดค้านตามมาตรา 185 โดยส.ส.หรือ ส.ว. หนึ่งในห้าของแต่ละสภามีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานสภาว่าไม่เป็นไปตามมาตรา 184 ศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยว่าไม่เป็นไปตามมาตรา 184  ก็จะทำให้พ.ร.ก.ไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น  แปลว่าทำให้ผู้ไม่ต้องรับผิดกลายเป็นผู้รับผิด  บางส่วนเข้าคุกเหมือนเดิม  และที่ถูกพิพากษาหรือสวบสวนก็กลับไปสถานะเดิม  เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้คัดค้านและศาลรัฐธรรมนูญ  หน้าที่ของประชาชนและผู้มีจุดยืนฝ่ายประชาชนคือทำในสิ่งถูกต้อง  ไม่เช่นนั้นท่านจะต้องไม่ทำอะไรเลย  เพื่อปลอดภัยจากระบอบอำมาตย์ที่ทำการควบคุมกลไกรัฐและควบคุมฝ่ายบริหาร  ฝ่ายนิติบัญญัติ  รวมทั้งควบคุมประชาชนทุกวิถีทางที่ไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน

คำถามคือที่อยู่กันทุกวันนี้อยู่เพื่อยังประโยชน์ให้ตนเอง,  พรรคพวกระบอบอำมาตย์เท่านั้นเองหรืออย่างไร?  ฝ่ายประชาชนในส่วนนปช.ได้ยื่น
1.   ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญค้างเติ่งอยู่ในรัฐสภา  โดยประชาชนร่วมแสนคนลงชื่อ
2.   ร่างพ.ร.บ.ปรองดองฉบับประชาชน  โดยส.ส.แกนนำเสื้อแดงนำเสนอก็แขวนค้างเติ่ง
3.   ยื่นถอดถอนตุลาการรัฐธรรมนูญ  โดยประชาชนเซ็นชื่อกว่า 5 หมื่นคนไปยังวุฒิสภา  ตอนนี้อยู่ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)  ก็ยังค้างอยู่
4.   ร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษในคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองพ.ศ.2550 ถึงพ.ศ. 2554 เป็นเรื่องล่าสุด

แม้กระทั่งทำจดหมายเปิดผนึกถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตรวจสอบและขอให้อธิบายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความพยายามขององค์กรประชาชนที่ต้องการหาทางออกให้กับประเทศ  ให้อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการเดินหน้าไปได้  ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย  สร้างความสามัคคีของประชาชนไทยทั้งประเทศ  โดยลดความทุกขเวทนาของประชาชนที่ถูกกระทำอันเนื่องจากอคติแห่งการแบ่งแยกเป็นฝ่าย

ถ้าแม้นความพยายามไม่บรรลุผลสำเร็จ  ก็ขอเรียกร้องให้ประชาชนฝ่ายต่าง ๆ ตรวจสอบการกระทำว่าแท้จริงแล้วคนกลุ่มใด?  องค์กรใด? คืออุปสรรคขัดขวางความมั่นคงของประเทศ  ซึ่งเกิดจากความผาสุขของประชาชนทั้งหมด  ไม่ใช่ความมั่นคงที่เป็นความผาสุขของคนกลุ่มเดียว 

ก็ต้องถือเป็นก้าวย่างใหม่ของการต่อสู้ของประชาชนที่จะสามัคคีผนึกกำลังกันยิ่งใหญ่กว่าเดิม  ฝ่ายอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน  จำเป็นต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ประชาชนพึงพอใจที่สามารถเดินหน้าปลดทุกขเวทนาของประชาชน  และนี่เป็นเรื่องทั้งสำคัญและเป็นเรื่องด่วน