10 กรกฏาคม 2556
อันเนื่องมาจาก “กรณีมิตซูโอะ” และ “เณรคำ”
โดย นพ.เหวง โตจิราการ
เรื่องทางพุทธศาสนาที่กำลังโด่งดังในขณะนี้(มิย.-กค.56.) เห็นจะไม่มีอะไรเกินไปกว่า “เรื่องพระมิตซูโอะคเวสโก สึกและแต่งงานกับไฮโซสาวในภายหลัง” และเรื่อง “เณรคำ ครอบครองเครื่องบินเจ๊ตส่วนตัวราคาหลายร้อยล้าน พกดอลล่านับล้านในย่าม มีคฤหาสน์หลังโตพร้อมตู้นิรภัยขนาดยักษ์ มีข้อสงสัยว่า มีเมีย8ลูก4 เกี่ยวข้องกับยาเสพติด มีคดีฆ่าคนตายติดตัวฯลฯ”
ความรู้สึกแรกที่เกิดกับคนทั่วไป ก็คือความสลดสังเวชใจ และก็ขยายไปเป็นความเสื่อมศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา กระทั่งนำไปสู่ความคิดเห็นถึงความเสื่อมสลายของพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป
ในความเห็นของผู้เขียน พิจารณากรณีที่เกิดขึ้น ในลักษณะที่ “ต้องแปรวิกฤตให้เป็นโอกาส”
สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวง มหาเถระสมาคม หรือ สำนักพระพุทธศาสนา ก็คงต้องตั้งปุจฉา และค้นหาวิสัจนา ให้ได้ว่า “ทำไม จึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ? และจะหาทางป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร?”ตามหลักอริยสัจจสี่ ของพุทธเจ้า
ผู้เขียนเอง ระลึก ถึง คำสอนของสมเด็นสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ ตรัสเอาไว้เมือสองพันห้าร้อยกว่าปีที่ผ่านมาแล้ว เมื่อมีผู้ทูลถามในเรื่องความเสื่อมของพุทธศาสนาของพระองค์ ที่สอนว่า “พุทธบริษัทสี่ กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของพระพุทธศาสนา” ยังความอัศจรรย์ใจให้แก่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง ในครั้งแรกที่ได้รับรู้ธรรมะข้อนี้ของพุทธองค์ เพราะคำตอบของปุถุชนทั่วไป ก็มักจะกล่าวอ้างถึงศัตรูของพุทธศาสนาจะเป็นผู้ที่ทำลายพุทธศาสนาในอนาคตกาล อันไกลโพ้น
นับแต่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ความเป็นจริงทั้งหลายล้วนยืนยัน “สัจจธรรม ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ทั้งสิ้น”
ในระยะใกล้ของประเทศไทยเรา พระนิกร พระยันตระ พระอิสระมุนี พระภาวนา เณรแอ และอีกหลายคน ล้วนทำความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนาไม่มากก็น้อยทั้งสิ้น แต่ผลกระทบก็จางหายไปภายในเวลาไม่นานนัก
ที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า ไม่ควรจะเร่งดำเนินการปฏิรูปพุทธศาสนาเพราะเมื่อเวลาผ่านไปเรื่องก็จะจางหายไปกับสายลม
แต่กลับเป็นเรื่องที่รีบด่วน และจำเป็นที่จะทำการปฎิรูป ในระหว่างนี้ที่เกิดเรื่องอันไม่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของ “เณรคำ”
ส่วนกรณีของ มิตซูโอะ นั้นถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของท่านที่จะตัดสินใจดำเนินชีวิตเช่นนั้น และประเมินว่าในช่วงที่เป็นพระภิกษุท่านก็ได้ทำความดีให้แก่พุทธศาสนาไว้ไม่ ใช่น้อย
สำนักพระพุทธศาสนา รวมไปถึง มหาเถรสมาคม สมควรอย่างยิ่งที่จะกระตือรืนร้นในการ ดำเนินการ สังคยนากฏระเบียบ การดูแลและวิธีปฏิบัติต่างๆที่จะป้องกันแก้ไขไม่ให้สิ่งที่ไม่เหมาะกับพุทธ ศาสนาดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต
อย่างไรก็ดี ตราบเท่าที่ ในโลกนี้ ยังคงมีมนุษย์อาศัยอยู่
“อวิชชา”ก็ยังคงควบคู่สิงสถิตอยู่กับมนุษยไปตราบเท่านั้น
เมื่อมี “อวิชชา” ก็ยังต้องมี “ทุกข์” มนุษย์ก็ต้องดิ้นรน “ดับทุกข์ และหาทางดับทุกข์” อย่างแน่นอน
เช่นนี้แล้ว “พุทธธรรม คำสอนของพุทธเจ้า” ก็ยังคงสถิตอยู่คู่กับชาวโลกไปอย่างไม่มีวันสูญหายไปไหน เพราะ พุทธเจ้า “ท่านไม่ได้สอนอย่างอื่น นอกไปจาก ทุกข์ กับการดับทุกข์”เท่านั้น
หน้าที่ของพุทธบริษัทที่แท้จริง (ไม่ใช่ว่าเป็นพุทธบริษัท สักว่ากรอกในใบเกิดหรือบัตรประชาชน หรือสักว่าพูดเล่นโก้ๆ) ต้องยึดกุม แก่นแท้ของพุทธธรรม และนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อทั่วทั้งโลกไปในคราวเดียวกัน
นอกจากนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านยังตรัสไว้อีกว่า “ไม่ว่า ตถาคตจะเกิดขึ้นมาในโลกนี้หรือไม่ ธรรมก็มีอยู่ของมันเอง พระองค์ทรงค้นพบ และนำมาเทศนาสั่งสอนเพื่อให้เป็นประโยชน์กับชาวโลกเท่านั้นเอง”
ความรู้สึกแรกที่เกิดกับคนทั่วไป ก็คือความสลดสังเวชใจ และก็ขยายไปเป็นความเสื่อมศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา กระทั่งนำไปสู่ความคิดเห็นถึงความเสื่อมสลายของพุทธศาสนาด้วยซ้ำไป
ในความเห็นของผู้เขียน พิจารณากรณีที่เกิดขึ้น ในลักษณะที่ “ต้องแปรวิกฤตให้เป็นโอกาส”
สำหรับผู้ที่อยู่ในแวดวง มหาเถระสมาคม หรือ สำนักพระพุทธศาสนา ก็คงต้องตั้งปุจฉา และค้นหาวิสัจนา ให้ได้ว่า “ทำไม จึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ? และจะหาทางป้องกันและแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร?”ตามหลักอริยสัจจสี่ ของพุทธเจ้า
ผู้เขียนเอง ระลึก ถึง คำสอนของสมเด็นสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ ตรัสเอาไว้เมือสองพันห้าร้อยกว่าปีที่ผ่านมาแล้ว เมื่อมีผู้ทูลถามในเรื่องความเสื่อมของพุทธศาสนาของพระองค์ ที่สอนว่า “พุทธบริษัทสี่ กล่าวคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะเป็นเหตุแห่งความเสื่อมของพระพุทธศาสนา” ยังความอัศจรรย์ใจให้แก่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง ในครั้งแรกที่ได้รับรู้ธรรมะข้อนี้ของพุทธองค์ เพราะคำตอบของปุถุชนทั่วไป ก็มักจะกล่าวอ้างถึงศัตรูของพุทธศาสนาจะเป็นผู้ที่ทำลายพุทธศาสนาในอนาคตกาล อันไกลโพ้น
นับแต่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ความเป็นจริงทั้งหลายล้วนยืนยัน “สัจจธรรม ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ทั้งสิ้น”
ในระยะใกล้ของประเทศไทยเรา พระนิกร พระยันตระ พระอิสระมุนี พระภาวนา เณรแอ และอีกหลายคน ล้วนทำความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนาไม่มากก็น้อยทั้งสิ้น แต่ผลกระทบก็จางหายไปภายในเวลาไม่นานนัก
ที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่า ไม่ควรจะเร่งดำเนินการปฏิรูปพุทธศาสนาเพราะเมื่อเวลาผ่านไปเรื่องก็จะจางหายไปกับสายลม
แต่กลับเป็นเรื่องที่รีบด่วน และจำเป็นที่จะทำการปฎิรูป ในระหว่างนี้ที่เกิดเรื่องอันไม่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีของ “เณรคำ”
ส่วนกรณีของ มิตซูโอะ นั้นถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของท่านที่จะตัดสินใจดำเนินชีวิตเช่นนั้น และประเมินว่าในช่วงที่เป็นพระภิกษุท่านก็ได้ทำความดีให้แก่พุทธศาสนาไว้ไม่ ใช่น้อย
สำนักพระพุทธศาสนา รวมไปถึง มหาเถรสมาคม สมควรอย่างยิ่งที่จะกระตือรืนร้นในการ ดำเนินการ สังคยนากฏระเบียบ การดูแลและวิธีปฏิบัติต่างๆที่จะป้องกันแก้ไขไม่ให้สิ่งที่ไม่เหมาะกับพุทธ ศาสนาดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต
อย่างไรก็ดี ตราบเท่าที่ ในโลกนี้ ยังคงมีมนุษย์อาศัยอยู่
“อวิชชา”ก็ยังคงควบคู่สิงสถิตอยู่กับมนุษยไปตราบเท่านั้น
เมื่อมี “อวิชชา” ก็ยังต้องมี “ทุกข์” มนุษย์ก็ต้องดิ้นรน “ดับทุกข์ และหาทางดับทุกข์” อย่างแน่นอน
เช่นนี้แล้ว “พุทธธรรม คำสอนของพุทธเจ้า” ก็ยังคงสถิตอยู่คู่กับชาวโลกไปอย่างไม่มีวันสูญหายไปไหน เพราะ พุทธเจ้า “ท่านไม่ได้สอนอย่างอื่น นอกไปจาก ทุกข์ กับการดับทุกข์”เท่านั้น
หน้าที่ของพุทธบริษัทที่แท้จริง (ไม่ใช่ว่าเป็นพุทธบริษัท สักว่ากรอกในใบเกิดหรือบัตรประชาชน หรือสักว่าพูดเล่นโก้ๆ) ต้องยึดกุม แก่นแท้ของพุทธธรรม และนำมาใช้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและต่อทั่วทั้งโลกไปในคราวเดียวกัน
นอกจากนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านยังตรัสไว้อีกว่า “ไม่ว่า ตถาคตจะเกิดขึ้นมาในโลกนี้หรือไม่ ธรรมก็มีอยู่ของมันเอง พระองค์ทรงค้นพบ และนำมาเทศนาสั่งสอนเพื่อให้เป็นประโยชน์กับชาวโลกเท่านั้นเอง”