จับตาศาลรัฐธรรมนูญ


29 พฤษภาคม 2556

บทบรรณาธิการ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรวมคำร้อง 4 คำร้อง ที่ขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 68 ว่า

เป็นการตัดสิทธิบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 หรือไม่ ไว้พิจารณาวินิจฉัยในคราวเดียวกัน

โดยเบื้องต้นตุลาการนัดประชุมเวลา 09.30 น. วันที่ 29 พฤษภาคม เพื่อประชุมอีกครั้งว่ากรณีดังกล่าวจำเป็นต้องออกนั่งบัลลังก์เพื่อไต่สวนฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้องหรือไม่ หรือจะพิจารณาคำร้องและมีคำวินิจฉัยได้ทันทีโดยไม่ต้องไต่สวน

อันมีผู้คาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอยู่ 3 ทางด้วยกันคือยกคำร้องทั้งหมด รับพิจารณาต่อ

หรือวินิจฉัยได้ทันทีว่าการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญผิดกฎหมาย และยุบพรรค การเมืองที่เกี่ยวข้อง

โดยก่อนหน้านี้มีผู้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 และมาตรา 237

กรณีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กับพวกรวม 312 คน กระทำการที่ส่อไปในทางการทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

โดยการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการตัดสิทธิของบุคคลในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือไม่

ซึ่งมีผู้ยื่นคำร้องรวม 4 คำร้อง คือ 1.คำร้องของนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา 2.คำร้องของนายบวร ยสินทร กับคณะ 3.คำร้องของนายวรินทร์ เทียมจรัส

และ 4.คำร้องของพลเอกสมเจตน์ บุญถนอม

ล่าสุดยังมีตัวแทนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เข้ายื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญด้วยข้อกล่าวหาเดียวกัน

การวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใน วันนี้ ในอีกด้านหนึ่งจึงเป็นทั้งปัจจัยและภาพสะท้อนบรรยากาศของการเมืองไทย ว่าจะเดินต่อไปอย่างไร

และการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่ทวีความแหลมคมขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่ผ่านมา จะเดินไปสู่จุดใด

ในฐานะองค์กรผู้มีหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญให้ถูกต้อง ขณะเดียวกันในข้อเท็จจริงก็เป็นองค์กร ที่ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งใน"คู่ขัดแย้ง?ของการเมืองปัจจุบัน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพึงตระหนัก ถึงผลการตัดสินใจของตนเองให้ดี