ไต่สวนการตาย “ลุงคิม ฐานุทัศน์” เหยื่อกระสุน 14 พ.ค.53 หัวหน้าพนักงานสืบสอบสวน ชี้จาก หัวกระสุน ทิศทางกระสุน เชื่อว่าผู้ตาย เสียชีวิตจากการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ นัดต่อไป 9.00 น. 7 ก.พ.56
6 ก.พ.56 เวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 504 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดไต่สวนชันสูตรพลิกศพ คดีเลขที่ ช.12/2555 ในคดีที่พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง อายุ 55 ปี ที่ถูกยิงเข้าที่หลังด้านซ้าย กระสุนทะลุไขสันหลังและปอดขวา กระสุนไปฝังที่สะบักขวา บาดเจ็บสาหัสและเป็นอัมพาต เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 12.00 - 13.00 น. ของวันที่ 14 พ.ค.ถ3 บริเวณหน้าโรงรับจำนำน่ำเลี้ยง ถนนพระราม 4 บ่อนไก่ ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้นนายฐานุทัศน์ ได้เสียชีวิตในเวลาต่อมาเมื่อ 23 ก.พ. 55 เวลา 22.35 น. ที่ รพ.มเหสักข์
โดยในวันนี้ พ.ต.อ.สืบศักดิ์ พันธุสุระ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 ในฐานะหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีนี้ ได้เบิกความมีความเห็นโดยเชื่อว่าผู้ตายคือ นายฐานุทัศน์ เสียชีวิตจากการปฏิบัติงานของ เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่
พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เบิกความด้วยว่า จากการสอบสวนพยานหลักฐาน 18 ปาก มีพยานใกล้ชิดเห็นเหตุการณ์ ยืนยันเห็นเหตุการณ์ขณะที่ทหารขอคืนพื้นที่ใช้อาวุธปืนมาทางผู้ชุมนุม มีทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้นำมาประกอบไว้ในสำนวนด้วย และจากการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ได้ตรวจพบร่องรอยกระสุนและทิศทางที่มีการยิง ถนนพระราม 4 จากทางแยกวิทยุไปทางบ่อนไก่และทางด่วนทางพิเศษเฉลิมมหานคร จำนวน 61 รอย ซึ่งใน 61 รอย เป็นรอยของกระสุน .223 นิ้ว หรือ 5.56 มม. ที่ให้กับ ปืนเล็กยาวประจำกาย M 653 และรอยกระสุนปืนลูกซอง ซึ่งมีทหารที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณนั้นใช้อยู่ รวมทั้งมีรอยที่ไม่ทราบขนาดด้วย
นอกจากนี้ยังพบรอยกระสุนที่มีทิศทางจากทางด่วนทางพิเศษเฉลิมมหานคร มาทางแยกวิทยุ จำนวน 2 รอย แต่ไม่ทราบขนาดกระสุน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญตรวจเฉพาะบริเวณที่ผู้ตายถูกยิงยังพบรอยกระสุน. 223 จำนวน 15 รอย ซึ่งมีทิศทางจาก ถนนพระราม 4 แยกวิทยุ มายังทางด่วนทางพิเศษเฉลิมมหานคร สอดคล้องกับขณะที่ผู้ตายถูกยิงด้านหลังในขณะที่หันหลังให้กับแนวทหารที่ตั้ง แนวอยู่ที่สะพานไทย – เบลเยียม ดังนั้นจากเหตุผลทั้งหมด ทำให้ พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนและมีความเห็นเชื่อว่าผู้ตายเสียชีวิตจากการปฏิบัติ งานของ เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่
พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เบิกความว่าจากการสอบสวน ได้ความว่าระหว่างวันที่ 12 มี.ค. ถึง 19 พ.ค.53 ได้มีการชุมนุมของกลุ่มประชาชนที่ใช้.ชื่อว่า แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชา หรือ นปช. โดยเริ่มชุมนุมที่บริเวณสะพานผ่านฟ้า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลขณะนั้นยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ แต่รัฐบาลขณะนั้นไม่ยินยอม ผู้ชุมนุมจึงมีการชุมนุมต่อเนื่องและขยายมาที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์
และเมื่อขยายการชุมนุม มาที่ บริเวณสี่แยกราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียง มีผู้ชุมนุมมาจำนวนมากขึ้น รัฐบาลขณะนั้นเห็นว่าน่าจะก่อความวุ่นวานในบ้านเมือง ดังนั้นวันที่ 7 เม.ย.53 นายกรัฐมนตรี คือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ประกาศสถานการฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ใน พื้นที่กรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง และนายกได้ออกคำสั่งพิเศษที่ 1/2553 ตั้ง ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.ขึ้น และแต่งตั้งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และนายกได้มีคำสั่งพิเศษที่ 2/2553 แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบดูแลสถานการณ์ โดยให้ พนักงานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ
จากนั้นวันที่ 13 พ.ค.53 ได้มีประกาศของ ศอฉ. ห้ามการชุมนุมและก่อความวุ่นวาย ยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย มีการห้ามใช้รถยนต์ ตัดสาธารณูปโภค ฯลฯ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ โดยก่อนถึงวันเกิดเหตุมีอนุญาตให้ เจ้าหน้าที่ใช้อาวุธและกระสุนจริงเพื่อป้องกันตัวเองและผู้บริสุทธิ์ ได้ด้วย
จนกระทั้งวันเกิดเหตุวันที่ 14 พ.ค. 53 เวลา 12.00 น เศษ ผู้ตาย พร้อมภรรยาคือนางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง และลูก ออกจากบ้านมาที่ ซอยบ่อนไก่ และยืนรอรถประจำทางที่ป้ายรถโดยสานประจำทาง บริเวณหน้าร้านสะดวกซื้อ เซเว่น-อีเลฟเว่น ติดกับโรงรับจำนำน่ำเลี้ยง ขณะนั้นได้มีเสียงคลายระเบิด นางวรานิษฐ์ ภรรยาผู้ตาย เห็นทหารพร้อมอาวุธปืนยาวตั้งแนวอยู่ที่ บริเวณสะพานไทย-เบลเยี่ยม และมีเสียงปืนดังขึ้นหลายนัด ผู้ตายจึงได้ให้ภรรยาและลูกหลบเข้าร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น แต่ภรรยาผู้ตายได้ตัดสินใจกลับบ้าน
อย่างไรก็ตามผู้ตายก็ยังยืนดูในที่เกิดเหตุต่อ ขณะนั้นทหารที่ประจำการอยู่บริเวณสะพานไทย-เบลเยี่ยม เป็นกองพันทหารม้าที่ 5 รักษาพระองคฯสระบุรี จำนวน 2 กองร้อย 300 นาย มีอาวุธประจำกายปืนเล็กยาว M 653 ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่มีลักษณะคลายกับ M 16 รวมทั้งมีอาวุธปืนลูกซองด้วย จากการสอบปากคำทหารขณะนั้นใช้กระสุนยางและกระสุนซ้อมรบเท่านั้น
พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เบิกความต่อว่ากองกำลังทหารดังกล่าวได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตามคำสั่ง ของ ศอฉ. ให้กระชับพทื้นที่จากแยกวิทยุไปทางบ่อนไก่ และทางด่วนทางพิเศษเฉลิมมหานคร ขณะนั้นผู้ชุมนุมมีหนังสติ๊กและพลุตะไลใช้สำหรับยิงโต้ตอบกับทหาร ซึ้งทหารก็พยายามผลักดันโดยมีการใช้อาวุธปืนยิงข่มขู่ผู้ชุมนุมโดยเล็งมายัง กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณถนนพระราม 4 บ่อนไก่ ขณะผู้ตายหันหลังจะเดินกลับเข้าบ้านก็ถูกยิงเข้าที่หลังด้านซ้ายล้มคว่ำหน้า กระแทกพื้น โดยมีนายเอกสิทธิ์ วงศ์คำมา พยานใกล้ชิดเหตุการณ์ที่เห็นและได้เข้าไปช่วยพยุงผู้ตายพาไปขึ้นรถตู้ ส่ง รพ.กล้วยน้ำไท ขณะนั้น รพ.ได้แจ้งให้นางวรานิษฐ์ ภรรยาผู้ตายทราบ จึงได้เดินทางมาที่ รพ. และได้รักษาที่ รพ.นี้ จนกระทั่ง 4 มิ.ย. 53 ได้มีการย้ายไปที่ รพ มเหสักข์
โดยผลจากการถูกยิงเป็นเหตุให้อัมพาตที่ขาทั้ง 2 ข้าง ระหว่างรักษาตัวที่ รพ มเหสักข์ มีการรักษาตัว ได้มีการเข้าออกระหว่างโรงพยาบาลกับบ้านโดยตลอด แต่ได้เสียชีวิต 23 ก.พ. 55 เวลา 22.35 น. ที่ รพ มเหสักข์ ได้มีการตรวจศพ แพทย์ตรวจศพ ยืนยันพบแผลกดทับทำให้ติดเชื้อได้ สันนิฐานเหตุการณ์ตายจากติดเชื้อในกระแสเลือดและมะเร็งระยะรุกราม รวมทั้งพบหัวกระสุนปืน
พนักงานสิบสวนได้มีการสอบสวนแพทย์รักษาผู้ตายและใบชันสูตรบาดแผล ยืนยันว่าบาดแผลเกิดจากกระสุนที่ยิงเข้าบริเวณหลัง ทะลุไขสันหลังและปอดขวา ไปฝังที่สะบักขวา แพทย์ลงความเห็นทำให้ผู้ตายเป็นอัมพาต จากบาดแผลดังกล่าวทำให้เกิดแผลกดทับและเกิดภาวะติดเชื่อทำให้เสียชีวิต
พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เบิกความว่าคำสั่ง วิทยุของ ศอฉ. ในกระดานเขียนข่าว ตั้งแต่ 15 เม.ย.53 เป็นต้นมา มีการอนุญาตให้ เจ้าหน้าที่ใช้กระสุนจริงได้ตามความจำเป็นเพื่อป้องกันอันตราย ทั้งตัวเองและผู้อื่นได้ ดังนั้นในวันเกิดเหตุก็สามารถใช้กระสุนจริงได้หากมีความจำเป็น
รวมทั้งตามรายงานชันสูตร กระสุนปืนที่พบเป็นตะกั่วหุ้มทองแดง 1 ชิ้น และได้ส่งไปที่กองพิสูจน์หลักฐาน ผลการตรวจยืนยันว่าเป็นหัวกระสุนปืน. 223 นิ้ว
หลังจากนั้นช่วงบ่ายมีพยานเบิกความอีก 4 ปาก ประกอบด้วย นางกังสดาล โรสเรส เจ้าหน้าที่เวชระเบียนหน้าห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท น.ส. วิภาวดี ทะนงค์ พยาบาลห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท ร.ต.อ.สุทิน ซ้อนรัม พนักงานสอบสวน สน.บางรัก และ พ.ต.ท. ยุต ทองอยู่ พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี
นางกัลย์สุดา โรสเรส เบิกความว่าวันที่ 14 พ.ค. 53 เวลา 13.06 น. เจ้าหน้าที่มูลนิธิได้นำตัวนายฐานุทัศน์มาส่งที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่านายฐานุทัศน์เป็นผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้รับบาดเจ็บจาก การถูกยิงจากบ่อนไก่ ขณะที่รับตัวนั้นนายฐานุทัศน์ไม่รู้สึกตัวจึงไม่สามารถถามชื่อเพื่อทำประ วัตินายฐานุทัศน์เจ้าหน้าที่ได้นำบัตรประชาชนนายฐานุทัศน์จากกระเป๋ากางเกงให้
นางกัลย์สุดา เบิกความว่าเธอได้ทำประวัติและนำเวชระเบียนส่งให้ห้องฉุกเฉิน นอกจากนี้ในวันที่ 14 พ.ค.53 ยังมีผู้บาดเจ็บอีกหลายราย และได้รับตัวผู้บาดเจ็บตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย.53 – 19 พ.ค. 53 โดยในช่วงนั้นมีทั้งผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิต ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ส่งตัวนายฐานุทัศน์มานั้นเธอไม่ทราบว่าเป็นใครเนื่องจาก โรงพยาบาลขณะนั้นวุ่นวายมาก มีผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นคนแจ้งญาติของนายฐานุทัศน์และไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ แจ้ง แต่คาดว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่แผนกฉุกเฉินเป็นผู้แจ้ง
ทราบนายฐานุทัศน์ว่าถูกยิงจากการสอบถามนายฐานุทัศน์ และในวันนั้นยังมีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บอีก 7 ราย จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองแต่เธอจำไม่ได้ว่าถูกนำตัวมาจากที่ใดบ้าง โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการถูกยิง ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย เสียชีวิตจากการถูกยิง
น.ส.วิภาวดี ทะนงค์ เบิกความว่า วันที่ 14 พ.ค. 53 เวลา 13.06 น. ขณะนั้นทำหน้าที่พยาบาลในห้องฉุกเฉินมีเจ้าหน้าที่มูลนิธินำนายฐานุทัศน์มา ที่ห้องฉุกเฉิน ตนได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นพบบาดแผลเป็นรูคล้ายกระสุนยิงที่หลังด้านซ้าย มีเลือดออกจากบาดแผล หลังจากนั้นแพทย์ได้เข้ามารับช่วงต่อ จากนั้นได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไทตั้งแต่ 14 พ.ค.- 4 มิ.ย. 53 จึงได้ย้ายไปโรงพยาบาลมเหสักข์ ได้มอบบันทึกผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตให้พนักงานสอบสวน
ร.ต.อ.สุทิน ซ้อนรัม เบิกความว่ามีหน้าที่สืบสวนตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา เขาถูกแต่งตั้งให้เป็นพนักงานสอบสวนของ บก.น. 6 ตามคำสั่งที่ 45/2555 มีหน้าที่ประสานงงานกับพยานที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ 26 ก.พ. 55 นางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคง ได้แจ้งว่านายฐานุทัศน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 55 ที่โรงพยาบาลมเหสักข์ เขาจึงได้ถูกแต่งตั้งเข้ามาทำหน้าที่ และเข้ายังเบิกความว่าสาเหตุการเสียชีวิตจากการถูกกระสุนในเหตุการณีชุมนุม เมื่อ เม.ย.-พ.ค. 53 โดยถูกยิงที่ป้ายรถประจำทางหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี
ร.ต.อ.สุทิน เบิกความว่าเป็นผู้ถอดเทปการสัมภาษณ์นายฐานุทัศน์ก่อนเสียชีวิต ที่สัมภาษณ์โดยนายอุเชนทร์ เชียงเสนและ น.ส. อัจฉรา อิงคามระธร เมื่อวันที่ 21 ก.พ.54 เวลา 14.00 น. เศษ ที่บ้านของนายฐานุทัศน์ และยืนยันว่าคลิปสัมภาษณ์ดังกล่าวซึ่งมีการยื่นเป็นหลักฐานนั้นไม่มีการตัด ต่อ
พ.ต.ท. ยุต ทองอยู่ เบิกความว่า วันที่ 26 มิ.ย. 53 เวลา 18.00 น. เศษ ขณะนั้นเขาเป็นร้อยเวรสอบสวนคดีอาญา นางวรานิษฐ์ อัศวสิริมั่นคงได้มาแจ้งความว่าสามีของเธอถูกยิงบริเวณไขสันหลัง ผ่านปอดขวาและฝังที่สะบักขวาที่ป้ายรถประจำทางหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ติดกับโรงรับจำนำน่ำเลี้ยง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 53 เวลา 12.00 น.เศษ แต่วันนั้นยังไม่ได้มีการลงบันทึกประจำวันไว้เพราะว่ามืดแล้ว อย่างไรก็ตามในวันนั้นได้ไปที่จุดเกิดเหตุกับนางวรานิษฐ์ เพื่อถ่ายรูปและทำแผนที่จุดเกิดเหตุ และได้มีการสอบปากคำด้วย
จากการสอบปากคำได้ความว่านายฐานุทัศน์ก่อนเกิดเหตุเป็นมะเร็งถุง น้ำดีและอยู่ในระหว่างรักษาตัว ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือนายฐานุทัศน์ถูกยิงที่ป้ายรถประจำทางหน้าธนาคาร ไทยพาณิชย์ สาขาลุมพินี ในวันที่ 14 พ.ค. 53 เวลา 12.00น. เศษ ระหว่างรอรถประจำทาง ขณะรออยู่นั้นมีคนขับจักรยานยนต์มาบอกว่าข้างหน้ามีการปะทะ นายฐานุทัศน์ได้ให้ครอบครัวแยกไป ส่วนตัวนายฐานุทัศน์เองซึ่งยังอยู่ที่เดิมได้ถูกยิงล้มลง ต่อจากนั้นในวันที่ 29 มิ.ย. 53 จึงได้มีการลงบันทึกประจำวันไว้ ในข้อหาพยายามฆ่า
พ.ต.ท. ยุต เบิกความต่อว่าได้สอบปากคำนายฐานุทัศน์เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 53 ที่โรงพยาบาลมเหสักข์ในตอนนั้นนายฐานุทัศน์ยังสามารถพูดคุยได้และให้การว่า ตนถูกยิงเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 53 เวลา 12.00 น. ที่ป้ายรถประจำทางหน้าธนาคารไทยพาณิชย์สาขาลุมพินี ได้มีคนขับรถจักรยานยนต์มาบอกว่ามีการปะทะที่สะพานไทย-เบลเยี่ยม ตรงนั้นมีมีทหารอยู่ โดยนายฐานุทัศน์และภรรยาก็เห็นว่ามีทหารอยู่ จากนั้นมีเสียงดังขึ้นแต่ไม่ทราบว่าเสียงอะไร ตัวเขาเกิดอาการชาและได้มีคนนำเขาส่งโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ยิง
ไต่สวนนัดต่อไป 9.00 น. 7 ก.พ.56 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้