ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ เวลา 09.00น. วันนี้(16 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณาคดี 402 ศาลนัดอ่านคำสั่งชันสูตรพลิกศพคดีหมายเลขดำที่ ช.7/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตบริเวณ ถ.พระราม 4 ในช่วงการขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติการคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2553 เพื่อคำสั่งว่าผู้ตายเป็นใคร ตายที่ไหน เมื่อใด เหตุและพฤติกรรมการตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าระหว่างวัน ที่ 12 มี.ค.-19 พ.ค. 2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งใช้ชื่อว่า กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เพื่อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่นายกรัฐมนตรีปฏิเสธคำร้อง กลุ่ม นปช. จึงมีการชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องโดยมีการขยายพื้นที่ชุมนุมไปยังสี่แยกราชประสงค์ ถ.เพลินจิต ถ.พระราม 1 และถ.พระราม 4 ต่อมาในวันที่ 7 เม.ย. 2553 รัฐบาลพิจารณาเห็นว่า การชุมนุมทางการเมืองดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศจึงได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและอีกหลายพื้นที่ นายกรัฐมนตรีได้ออกคำสั่งพิเศษที่ 1 /2553 จัดตั้ง ศอฉ. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็น ผอ. มีข้ราชการทหาร ตำรวจและพลเรือนเป็นผู้ช่วย และคำสั่งที่พิเศษ 2 / 2553 แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงานหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฏหมายอาญามีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานงฝ่ายปกครองหรือตำรวจและได้มีการออกข้อกำหนดโดยประกาศของ ศอฉ. ห้ามกระทำการต่าง ๆ เพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถปฏิบัติหน้าที่แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2553 ศอฉ. มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานซึ่งมีอาวุธประจำกายได้แก่ปืนกลเล็กเอ็ม 16 เอ็ม 653 และปืนลูกซองเข้าทำการผลักดันกลุ่ม นปช. เพื่อขอคืนพื้นที่ตามแนวถนนพระราม 4 ต่อมาเวลา 14.00-15.00น. ของวันดังกล่าวระหว่างเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เพื่อขอคืนพื้นที่บริเวณสะพานไทย-เบลเยียม ถ.พระราม 4 จากกลุ่ม นปช. ได้ใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมจึงเกิดการปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งพยายามยึดพื้นที่บริเวณใต้สะพานไทย-เบลเยียม โดยกลุ่มผู้ชุมนุมมีการใช้อาวุธปืน ประทัดยักษ์ หนังสติ๊ก และตะไล ยิงมายังฝ่ายเจ้าพนักงาน
ภายหลังเหตุการณ์ชุมนุมสิ้นสุดลงมีการตรวจสอบไปยังรพ.ต่าง ๆ ถึงผู้ได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่ม นปช. พบว่าในวันที่ 14 พ.ค. 2553 ผู้ตายซึ่งไม่ใช่ผู้ชุมนุมถูกยิงบริเวณหน้าท้องได้รับบาดเจ็บสาหัส และถูกส่งไปรักษาที่รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ จากนั้นได้ย้ายมารักษาที่รพ.ตำรวจ แล้วถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2553 โดยแพทย์มีความเห็นว่า เหตุตายเกิดจากติดเชื้อในกระแสเลือด ร่วมกับประวัติถูกยิงช่องท้อง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า เหตุและพฤติกรรมการตายของผู้ตายเป็นอย่างไร เห็นว่า ผู้ร้องมีพยานซึ่งเป็นช่างภาพสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง กำลังปฏิบัติหน้าที่ถ่ายภาพการปะทะกันระหว่างฝ่ายเจ้าพนักงานกับผู้ชุมนุมยืนยันว่า เห็นการยิงตอบโต้กันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าพนักงานเป็นเหตุให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณหน้าสถานีบริการปั๊มน้ำมัน ปตท. และเห็นฝ่ายผู้ชุมนุมมีการใช้พลุและอาวุธปืนยิงตอบโต้ ทางฝ่ายเจ้าพนักงานโดยพยานเป็นคนกลางซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเชื่อว่าพยานเบิกความตามความจริงที่เห็นมา เมื่อรับฟังประกอบความเห็นกับพยานผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุและทำรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุระบุว่า มีรอยกระสุนปืนมีทิศทางการยิงมาจากถ.พระราม 4 ฝั่งแยกวิทยุมุ่งหน้าใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ด่านบ่อนไก่) ซึ่งเป็นฝั่งของเจ้าพนักงานและมีรอยกระสุนที่ถูกยิงมาจากฝั่งใต้ทางด่วนด่านบ่อนไก่มุ่งหน้าแยกวิทยุซึ่งเป็นฝั่งของกลุ่มนปช.
จึงรับฟังได้ว่ามีคนในกลุ่ม นปช.และฝ่ายเจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้กัน ส่วนที่พยานฝ่ายปากผู้ชุมนุมกลุ่มนปช. และพนักงานสอบสวนเบิกความว่าผู้ตายถูกยิงขณะยืนอยู่ที่หน้าปั๊มน้ำมันปตท. ถ.พระราม 4 แต่กลับปรากฏจากรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุว่าหน้าปั๊มน้ำมันปตท. เป็นจุดที่บุคคลอื่นถูกยิงไม่ใช้จุดที่ผู้ตายถูกยิงและเมื่อตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวจากแผ่นบันทึกภาพซึ่งได้บันทึกการสัมภาษณ์ผู้ตาย ผู้ตายก็ไม่ได้ระบุว่าตนเองถูกยิงที่หน้าปั๊มน้ำมันปตท. และยังได้ความจากพยานผู้ตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนว่า หากจะระบุวิถีกระสุนที่ยิงถูกผู้ตายตามหลักวิชาการจะต้องดูตำแหน่งที่ผู้ตายยืน ลักษณะ ท่าทาง และการเคลื่อนไหวท่าทางของผู้ตายขณะถูกยิง ซึ่งในขณะนั้นก็ไม่มีผู้ใดเห็นว่าผู้ตายยืนอยู่ในลักษณะใด แม้ในเอกสารการถอดคำสัมภาษณ์ผู้ตายจะระบุอ้างว่า ผู้ตายพูดว่า “ ถูกยิงจากฝั่งทหาร” แต่เมื่อพิจารณาจากภาพเคลื่อนไหว จากแผ่นบันทึกภาพในช่วงเวลาที่อ้างว่ามีคำพูดเช่นนั้นของผู้ตาย ก็ไม่ปรากฏว่ามีเสียงพูดของผู้ตายด้วยถ้อยคำดังกล่าว
โดยมีเพียงลักษณะของการขยับปากพูดเท่านั้น ซึ่งไม่แน่ชัดว่าลักษณะการขยับปากดังกล่าวเป็นไปตามเอกสารการถอดคำให้สัมภาษณ์หรือไม่ แม้พนักงานสอบสวนเบิกความว่าหัวกระสุนที่ได้จากตัวผู้ตายเป็นขนาด.223 (5.56 มม.) ที่ใช้กับปืนเล็กกลเอ็ม 16 ซึ่งใช้ในราชการทหารแต่ก็ได้ความจากเจ้าพนักงานว่า มีเจ้าพนักงานถูกยิงด้วยหัวกระสุนจริงซึ่งใช้กับอาวุธปืนอาก้าหรืออาวุธปืนเล็กกลเอ็ม 16 เช่นเดียวกัน ซึ่งพยานผู้ตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนก็เบิกความมว่า ลูกกระสุนปืนของกลางในตัวผู้ตายมีลักษณะคล้ายลูกกระสุนปืนที่ยิงถูกเจ้าพนักงาน จึงเชื่อว่า นอกจากฝ่ายเจ้าพนักงานจะใช้อาวุธปืนขนาด .223 (5.56มม.) แล้ว ยังมีบุคคลซึ่งมีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่ม นปช. และใช้กระสุนปืนขนาด. 223 (5.56มม.) ยิงตอบโต้กับฝ่ายเจ้าพนักงานด้วย
สำหรับผลการตรวจพิสูจน์ของพยานผู้เชี่ยวชาญที่ระบุว่ากระสุนปืน .223 (5.56มม.) ของกลางไม่ได้ยิงออกมาจากอาวุธปืนเล็กกลเอ็ม 16 จำนวน 40 กระบอกของเจ้าพนักงาน แม้พยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความว่าอาวุธปืนของกลางสามารถเปลี่ยนลำกล้องได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่า ก่อนเจ้าพนักงานจะส่งอาวุธปืนของกลางมาตรวจพิสูจน์ได้มีการเปลี่ยนลำกล้องปืนใหม่แต่อย่างใด จากข้อเท็จจริงดังกล่าวที่ได้วินิจฉัยมานั้น จึงฟังได้ว่าผู้ตายถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด . 223 (5.56มม. ) โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ตายถูกยิงจากฝ่ายใดและใครเป็นผู้กระทำ
จึงมีคำสั่งว่า ผู้ตายคือนายบุญมี เริ่มสุข ถึงแก่ความตายที่รพ.ตำรวจ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2553 เหตุและพฤติการณ์แห่งการตายสืบเนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับประวัติถูกยิงที่ช่องท้องด้วยกระสุนปืนขนาด .223 (5.56มม.) ขณะอยู่ที่บริเวณถ.พระราม 4 แขวงปทุมธานี เขตปทุมวัน กรุงเทพ โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการฟังคำสั่งวันนี้มีนางนันทพร เริ่มสุข อายุ 68 ปี ภรรยาของนายบุญมี นางณัฐภัสสร เติมวิจิตร อายุ 46 ปี นางวรรณศิริ สารการ อายุ 42 ปี และน.ส. พรพิมล เริ่มสุข อายุ 39 ปี บุตรสาวมาร่วมฟังการพิจารณาด้วย.
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าระหว่างวัน ที่ 12 มี.ค.-19 พ.ค. 2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งใช้ชื่อว่า กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เพื่อเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่นายกรัฐมนตรีปฏิเสธคำร้อง กลุ่ม นปช. จึงมีการชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องโดยมีการขยายพื้นที่ชุมนุมไปยังสี่แยกราชประสงค์ ถ.เพลินจิต ถ.พระราม 1 และถ.พระราม 4 ต่อมาในวันที่ 7 เม.ย. 2553 รัฐบาลพิจารณาเห็นว่า การชุมนุมทางการเมืองดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศจึงได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครและอีกหลายพื้นที่ นายกรัฐมนตรีได้ออกคำสั่งพิเศษที่ 1 /2553 จัดตั้ง ศอฉ. โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้นเป็น ผอ. มีข้ราชการทหาร ตำรวจและพลเรือนเป็นผู้ช่วย และคำสั่งที่พิเศษ 2 / 2553 แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงานหัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฏหมายอาญามีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานงฝ่ายปกครองหรือตำรวจและได้มีการออกข้อกำหนดโดยประกาศของ ศอฉ. ห้ามกระทำการต่าง ๆ เพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถปฏิบัติหน้าที่แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2553 ศอฉ. มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานซึ่งมีอาวุธประจำกายได้แก่ปืนกลเล็กเอ็ม 16 เอ็ม 653 และปืนลูกซองเข้าทำการผลักดันกลุ่ม นปช. เพื่อขอคืนพื้นที่ตามแนวถนนพระราม 4 ต่อมาเวลา 14.00-15.00น. ของวันดังกล่าวระหว่างเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เพื่อขอคืนพื้นที่บริเวณสะพานไทย-เบลเยียม ถ.พระราม 4 จากกลุ่ม นปช. ได้ใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมจึงเกิดการปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งพยายามยึดพื้นที่บริเวณใต้สะพานไทย-เบลเยียม โดยกลุ่มผู้ชุมนุมมีการใช้อาวุธปืน ประทัดยักษ์ หนังสติ๊ก และตะไล ยิงมายังฝ่ายเจ้าพนักงาน
ภายหลังเหตุการณ์ชุมนุมสิ้นสุดลงมีการตรวจสอบไปยังรพ.ต่าง ๆ ถึงผู้ได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่ม นปช. พบว่าในวันที่ 14 พ.ค. 2553 ผู้ตายซึ่งไม่ใช่ผู้ชุมนุมถูกยิงบริเวณหน้าท้องได้รับบาดเจ็บสาหัส และถูกส่งไปรักษาที่รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ จากนั้นได้ย้ายมารักษาที่รพ.ตำรวจ แล้วถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2553 โดยแพทย์มีความเห็นว่า เหตุตายเกิดจากติดเชื้อในกระแสเลือด ร่วมกับประวัติถูกยิงช่องท้อง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า เหตุและพฤติกรรมการตายของผู้ตายเป็นอย่างไร เห็นว่า ผู้ร้องมีพยานซึ่งเป็นช่างภาพสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่ง กำลังปฏิบัติหน้าที่ถ่ายภาพการปะทะกันระหว่างฝ่ายเจ้าพนักงานกับผู้ชุมนุมยืนยันว่า เห็นการยิงตอบโต้กันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าพนักงานเป็นเหตุให้กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณหน้าสถานีบริการปั๊มน้ำมัน ปตท. และเห็นฝ่ายผู้ชุมนุมมีการใช้พลุและอาวุธปืนยิงตอบโต้ ทางฝ่ายเจ้าพนักงานโดยพยานเป็นคนกลางซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเชื่อว่าพยานเบิกความตามความจริงที่เห็นมา เมื่อรับฟังประกอบความเห็นกับพยานผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุและทำรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุระบุว่า มีรอยกระสุนปืนมีทิศทางการยิงมาจากถ.พระราม 4 ฝั่งแยกวิทยุมุ่งหน้าใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ด่านบ่อนไก่) ซึ่งเป็นฝั่งของเจ้าพนักงานและมีรอยกระสุนที่ถูกยิงมาจากฝั่งใต้ทางด่วนด่านบ่อนไก่มุ่งหน้าแยกวิทยุซึ่งเป็นฝั่งของกลุ่มนปช.
จึงรับฟังได้ว่ามีคนในกลุ่ม นปช.และฝ่ายเจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้กัน ส่วนที่พยานฝ่ายปากผู้ชุมนุมกลุ่มนปช. และพนักงานสอบสวนเบิกความว่าผู้ตายถูกยิงขณะยืนอยู่ที่หน้าปั๊มน้ำมันปตท. ถ.พระราม 4 แต่กลับปรากฏจากรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุว่าหน้าปั๊มน้ำมันปตท. เป็นจุดที่บุคคลอื่นถูกยิงไม่ใช้จุดที่ผู้ตายถูกยิงและเมื่อตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวจากแผ่นบันทึกภาพซึ่งได้บันทึกการสัมภาษณ์ผู้ตาย ผู้ตายก็ไม่ได้ระบุว่าตนเองถูกยิงที่หน้าปั๊มน้ำมันปตท. และยังได้ความจากพยานผู้ตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนว่า หากจะระบุวิถีกระสุนที่ยิงถูกผู้ตายตามหลักวิชาการจะต้องดูตำแหน่งที่ผู้ตายยืน ลักษณะ ท่าทาง และการเคลื่อนไหวท่าทางของผู้ตายขณะถูกยิง ซึ่งในขณะนั้นก็ไม่มีผู้ใดเห็นว่าผู้ตายยืนอยู่ในลักษณะใด แม้ในเอกสารการถอดคำสัมภาษณ์ผู้ตายจะระบุอ้างว่า ผู้ตายพูดว่า “ ถูกยิงจากฝั่งทหาร” แต่เมื่อพิจารณาจากภาพเคลื่อนไหว จากแผ่นบันทึกภาพในช่วงเวลาที่อ้างว่ามีคำพูดเช่นนั้นของผู้ตาย ก็ไม่ปรากฏว่ามีเสียงพูดของผู้ตายด้วยถ้อยคำดังกล่าว
โดยมีเพียงลักษณะของการขยับปากพูดเท่านั้น ซึ่งไม่แน่ชัดว่าลักษณะการขยับปากดังกล่าวเป็นไปตามเอกสารการถอดคำให้สัมภาษณ์หรือไม่ แม้พนักงานสอบสวนเบิกความว่าหัวกระสุนที่ได้จากตัวผู้ตายเป็นขนาด.223 (5.56 มม.) ที่ใช้กับปืนเล็กกลเอ็ม 16 ซึ่งใช้ในราชการทหารแต่ก็ได้ความจากเจ้าพนักงานว่า มีเจ้าพนักงานถูกยิงด้วยหัวกระสุนจริงซึ่งใช้กับอาวุธปืนอาก้าหรืออาวุธปืนเล็กกลเอ็ม 16 เช่นเดียวกัน ซึ่งพยานผู้ตรวจอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนก็เบิกความมว่า ลูกกระสุนปืนของกลางในตัวผู้ตายมีลักษณะคล้ายลูกกระสุนปืนที่ยิงถูกเจ้าพนักงาน จึงเชื่อว่า นอกจากฝ่ายเจ้าพนักงานจะใช้อาวุธปืนขนาด .223 (5.56มม.) แล้ว ยังมีบุคคลซึ่งมีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่ม นปช. และใช้กระสุนปืนขนาด. 223 (5.56มม.) ยิงตอบโต้กับฝ่ายเจ้าพนักงานด้วย
สำหรับผลการตรวจพิสูจน์ของพยานผู้เชี่ยวชาญที่ระบุว่ากระสุนปืน .223 (5.56มม.) ของกลางไม่ได้ยิงออกมาจากอาวุธปืนเล็กกลเอ็ม 16 จำนวน 40 กระบอกของเจ้าพนักงาน แม้พยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความว่าอาวุธปืนของกลางสามารถเปลี่ยนลำกล้องได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่า ก่อนเจ้าพนักงานจะส่งอาวุธปืนของกลางมาตรวจพิสูจน์ได้มีการเปลี่ยนลำกล้องปืนใหม่แต่อย่างใด จากข้อเท็จจริงดังกล่าวที่ได้วินิจฉัยมานั้น จึงฟังได้ว่าผู้ตายถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาด . 223 (5.56มม. ) โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ตายถูกยิงจากฝ่ายใดและใครเป็นผู้กระทำ
จึงมีคำสั่งว่า ผู้ตายคือนายบุญมี เริ่มสุข ถึงแก่ความตายที่รพ.ตำรวจ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพ เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2553 เหตุและพฤติการณ์แห่งการตายสืบเนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือดร่วมกับประวัติถูกยิงที่ช่องท้องด้วยกระสุนปืนขนาด .223 (5.56มม.) ขณะอยู่ที่บริเวณถ.พระราม 4 แขวงปทุมธานี เขตปทุมวัน กรุงเทพ โดยยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการฟังคำสั่งวันนี้มีนางนันทพร เริ่มสุข อายุ 68 ปี ภรรยาของนายบุญมี นางณัฐภัสสร เติมวิจิตร อายุ 46 ปี นางวรรณศิริ สารการ อายุ 42 ปี และน.ส. พรพิมล เริ่มสุข อายุ 39 ปี บุตรสาวมาร่วมฟังการพิจารณาด้วย.