ทีมข่าว นปช.
27 ธันวาคม 2555
“สรุปการทำงานตามภาระหน้าที่ของนปช.ที่กำหนดไว้ในปี 2555”
ธิดา ถาวรเศรษฐ 26 ธันวาคม 2555
1.
การรณรงค์เพื่อให้ปล่อยตัวมวลชนเสื้อแดงและผู้ถูกจับกุมคุมขังโดยมิชอบให้ได้รับการประกันตัวเพื่อดำเนินคดีอย่างรัฐที่มีนิติธรรม
ข้อนี้ด้วยความร่วมมือของรัฐบาล สามารถประกันตัวไปได้เหลืออยู่หลักสี่ 22 คน กรณี 112
อีกจำนวนหนึ่ง
แต่เนื่องจากเกือบทั้งหมดขอยุติคดีเพื่อรับพระราชทานอภัยโทษ
จึงได้ประสานกับหน่วยงานกรมราชทัณฑ์อำนวยความสะดวกให้การขอพระราชทางอภัยโทษเป็นไปโดยไม่ชักช้า ที่สำคัญคือขอที่คุมขังเฉพาะผู้ต้องหาทางการเมืองที่คดียังไม่ยุติให้สะดวกในการเยี่ยมและสามารถดูแลได้สะดวกขึ้น กลุ่มทนายจึงมีชุดขอประกันตัว ชุดต่อสู้คดี
และชุดฟ้องร้องอภิสิทธิ์ สุเทพและเจ้าหน้าที่รัฐ ทำความจริงให้ปรากฏ ขณะนี้เรายังมีคนร่วม 30
กว่าคนที่ยังถูกคุมขัง
บางคนถูกตัดสินหนักถึงกว่า 30 ปี เราจึงพิจารณาขอให้คณะรัฐมนตรีออกพรก.นิรโทษกรรมประชาชนทุกสีเสื้อที่ถูกคดีอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง
เพราะยากที่จะช่วยพี่น้องประชาชนที่ถูกดำเนินคดีโดยกระบวนการยุติธรรมปกติได้
แม้จะได้ช่วยประกันตัวออกมามากมาย แต่คดีพี่น้องเราในศาลก็มีมากที่น่าห่วงใย
ภาระนี้นปช.ทำได้บางส่วนด้วยข้อจำกัดเรื่องงบประมาณและบุคลากร ปัจจุบันกลายเป็นบทบาทรัฐบาล ทางพรรคเพื่อไทย และคณะบุคคลที่ได้รับงานจากคุณทักษิณ ชินวัตร
และเป็นการทำงานอิสระของกลุ่มต่าง ๆ
ซึ่งหมายรวมถึงนปช.ด้วย
แต่การเรียกร้องรัฐบาลให้เยียวยาผู้เสียชีวิต 10 ล้าน
ก็เป็นการเริ่มต้นที่ได้รับการตอบสนองจากภาครัฐเป็น 7.5
ล้านก็อยู่ในวิสัยที่รับได้
ขณะนี้ต้องเปิดรับดูแลการเยียวยาที่ยังทำได้ไม่ครอบคลุมเพียงพอ เพราะขีดจำกัดของการเบิกจ่ายงบประมาณและการทำงานในระบบราชการ
นปช.จึงต้องรับเรื่องร้องทุกข์การเยียวยาโดยประสานกับกรรมาธิการและส.ส.ในรัฐสภา
การจัดทนายและทรัพย์สินในการประกันตัวและต่อสู้คดีต้องอาศัยคณะทนายที่รับผิดชอบถึงที่สุด
ได้พยายามให้มีทนายคนละชุดกันคือทนายจากสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยมาช่วยประกันตัว โดยเตรียมตั้งแต่ปลายปี 2554 และได้มาดำเนินงานในปี
2555 เพราะนปช.ขาดแคลนทุนทรัพย์
จำต้องให้กระทรวงยุติธรรมโดยกรมคุ้มครองสิทธิสนับสนุนงบประมาณในการประกันตัว
จึงได้ประกันตัวออกไปอีกจำนวนหนึ่งในปีที่ผ่านมา
เราได้เรียกพยาน
จัดหาพยานและทนายเสริมงานฝ่ายสอบสวนเพื่อฟ้องร้องเอาผิดผู้สั่งการปราบปรามประชาชนดังขณะนี้เริ่มได้ผล ด้วยความร่วมมือจากทนายคณะอื่นของพรรคเพื่อไทยและส.ส.
ตลอดจนผู้สนับสนุนด้านข้อมูล ทำให้คดีต่าง ๆ เริ่มดำเนินไป ศาลไต่สวนตามมาตรา 150
แล้วมีคำสั่งให้ดำเนินคดีในฐานะผู้สั่งการก่อให้เกิดการตาย และกำลังจะเพิ่มคดีข้อหาพยายามฆ่าสำหรับผู้บาดเจ็บ ภาระหน้าที่นี้ยังต้องทำอยู่ เรียกร้องให้ผู้บาดเจ็บมาพบ DSI และประจักษ์พยานเพิ่มเติมทั้งกรณีตาย บาดเจ็บ
เราได้ทำเอกสารค้านคอป.
ในการรายงานผลการปราบปรามประชาชนที่พูดถึงชายชุดดำโดยคำบอกเล่าจากทหารอย่างเลื่อนลอย บิดเบือน
อคติ
โดยทำเอกสารทั้งภาษาไทยและต่างประเทศคัดค้านรายงานคอป. พร้อมแนะนำเอกสารที่น่าเชื่อถือมากกว่าคือศปช.
ศูนย์ข้อมูลประชาชนเพื่อความยุติธรรม
เราได้จัดการแถลงข่าวเพื่อสื่อสารกับประชาชนคนเสื้อแดง จัดรายการโทรทัศน์ เช่น ชูธง,
เหลียวหลังแลไปข้างหน้า, รายการใน ASIA UPDATE, MV5 ของแกนนำนปช.
เพื่อแจ้งข่าวสารข้อมูลทำความเข้าใจชี้แจงในสถานการณ์ต่าง ๆ
และได้จัดโรงเรียนผู้ปฏิบัติงานนปช.ระดับต้นได้ถึงเวลานี้
7 โรงเรียน มีผู้เข้าเรียนโดยตรงประมาณ 3
หมื่นคน และเรียนผ่านหน้าจอโทรทัศน์อีกรวมนับแสนคน
ถือเป็นจุดเด่นของนปช.แดงทั้งแผ่นดินในการทำโรงเรียนการเมืองที่ผู้เรียนประสงค์เข้าเรียนมากกว่าที่สามารถจัดได้ในทุกที่ ซึ่งในปีใหม่ก็ต้องทำต่อไปในโรงเรียนที่ภาคใต้และกทม.อีกครั้งหนึ่ง
จากนั้นจึงต้องพิจารณาว่าจะจัดในจังหวัดสำคัญที่มีความเรียกร้องต้องการของมวลชนและแกนนำสูง
ก่อนที่จะเข้าสู่หลักสูตรโรงเรียนการเมืองระดับกลางและระดับสูงต่อไป
การจัดการปราศรัย เสวนา
และการอภิปรายก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ยกระดับการต่อสู้ของประชาชนให้ได้คุณภาพสูงควบคู่กับปริมาณที่เพิ่มขึ้น
ภาระหน้าที่ในการทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดำรงอยู่โดยไม่ถูกจัดการด้วยวิธีการนอกระบบ เช่นความพยายามสร้างมวลชนเพื่อล้มรัฐบาล หรือการทำรับประหารใด ๆ นั้น
องค์กรประชาชนคนเสื้อแดงมีบทบาทสำคัญในการค้ำยันรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมิให้ถูกกำจัดโดยเครือข่ายระบอบอำมาตย์ที่พยายามทำทุกทาง ดังจะเห็นได้จากความพยายามก่อการชุมนุมโดยกลุ่มสนธิ ลิ้มทองกุลเมื่อมีพรบ.ปรองดองเข้าสภา และกลุ่มองค์กรพิทักษ์สยามของพลเอกบุญเลิศ
แก้วประสิทธิ์เพื่อจัดการรัฐบาลยิ่งลักษณ์และแช่แข็งนักการเมือง พรรคการเมือง
แช่แข็งประเทศไทย
กลุ่มเหล่านี้เมื่อเทียบกับคนเสื้อแดงภายใต้การนำของนปช.แตกต่างกันทั้งปริมาณและคุณภาพของมวลชนและการนำ ที่เรานำด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยและเรียกหาความยุติธรรม
ดังนั้นบทบาทเสื้อแดงและนปช.ในฐานะองค์กรของคนเสื้อแดงจึงสำคัญยิ่งในการเดินหน้าให้ได้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ก็น่าเป็นกังวลบ้างที่มีความพยายามจัดตั้งองค์กรซ้อนขึ้นมาจากกลุ่มคนเสื้อแดงด้วยกันหวังแบ่งแยกและทำลาย ซึ่งเขาไม่รู้หรอกว่านี่เป็นการทำลายองค์กรนำมวลชนที่นำด้วยหลักการ แนวทางนโยบาย
และการนำรวมหมู่
การพยายามบิดเบือน
ใส่ไคล้ว่าแกนนำร่ำรวยหรือเป็นลัทธิพรรคพวก ไม่สนับสนุนแกนนำภาคอิสานเป็นต้น
เป็นข้ออ้างเพื่อแยกมวลชนภาคอิสานไปจากมวลชนเสื้อแดงทั่วประเทศ ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยเวลา เรื่องราวที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียน
เพราะการต่อสู้กับเครือข่ายระบอบอำมาตย์ยังดำเนินไปเข้มข้นในสถานการณ์ใหม่ ความเข้มแข็งของการจัดตั้งองค์กรนำส่วนกลาง
องค์กรนำส่วนภูมิภาคจึงจำเป็นเพื่อพัฒนาองค์กรและการนำที่สามารถเป็นกำลังหลักในการปะทะกับเครือข่ายระบอบอำมาตย์ที่มีแนวรบหลายแนว
6.
ผลักดันให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชนโดยสสร.จากการเลือกตั้งโดยตรง.
-
เราได้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 ฉบับประชาชน ตรวจสอบได้มากกว่า 70,000 ชื่อ
-
ได้ยื่นถอดถอนตุลาการรัฐธรรมนูญที่รับเรื่องโดยตรงไม่ผ่านอัยการสูงสุดตามมาตรา 68
เพื่อคัดค้านการโหวตร่างแก้ไข 291 วาระสาม
นี่เป็นความพยายามในระบบรัฐสภาในฐานะองค์กรประชาชนเพื่อผลักดันให้ได้มีสสร.จากการเลือกตั้งโดยตรงเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการแก้ไขมาตรา
291
เช่นเดียวกับวิถีทางร่างรัฐธรรมนูญ
2540 โดยแก้ไขมาตรา 211 แต่เครือข่ายอำมาตย์ได้วางหมากกลให้ใช้ประชามติรับรัฐธรรมนูญ
2550 เพื่ออ้างความชอบธรรมทั้ง ๆ
มาจากการดำเนินงานหลังการทำรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญประชาชนไปแล้ว หมากกลที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550
ไม่ต้องการให้แก้ใหม่ง่าย ๆ ดังคำหลอกลวง
ดังจะเห็นบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 291
ไม่ได้ให้มีการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
และบทบัญญัติมาตรา 165
เกี่ยวกับการทำประชามติก็ไม่ต้องการให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเขียนล่วงหน้าประเด็นห้ามให้ประโยชน์แก่บุคคลและคณะบุคคล
เหลืออย่างเดียวประโยคนี้ไม่เขียนชื่อทักษิณ ชินวัตรไว้เท่านั้น (ละไว้ในฐานเข้าใจ)
จึงมีข้อโต้แย้งผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญถ้ารัฐบาลไปทำประชามติเพื่อหาข้อยุติ แต่อย่างไรก็ตามหลักการไม่แทรกแซงอำนาจ 3
ฝ่ายยังสำคัญยิ่ง
ดังนั้นไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลในการดำเนินการวิธีการแก้ไขในรัฐธรรมนูญ แต่เป็นหน้าที่ของรัฐสภาเท่านั้น
หลุมพรางเหล่านี้ล้วนแสดงถึงเจตจำนงของระบอบอำมาตย์ที่รักษารัฐธรรมนูญ 2550
ไว้คู่กับชีวิตระบอบอำมาตย์ในขณะที่มาตรา 165
วางหมากกลไว้หลายชั้นที่พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มอนุรักษ์นิยมทั้งหลายสามารถยื่นฟ้องร้องคัดค้านไปยังศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลอื่น ๆ ได้ในประเด็นผิดกฎหมายผิดรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
กระบวนการเดินไปด้วยการทำประชามติหรือเดินหน้าโหวตวาระสามก็อาจถูกฟ้องร้องได้ทั้งสิ้น จึงสมควรที่ฝ่ายประชาธิปไตยต้องพิจารณาข้อดี
ข้อเสียและความน่าจะเป็นทุกขั้นตอนอย่างละเอียดถี่ถ้วน แต่ความเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดคือการทำให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ ต้องการสร้างความชอบธรรมว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสสร.ด้วยกลเม็ดแยบยลที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
2550
และวางบุคคลในองค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรมขั้นตอนต่าง ๆ ถ้าแม้นว่าเอาผลประชามติมาหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้
จะทำให้ขบวนการประชาธิปไตยหมดความชอบธรรมในการต่อสู้อีกต่อไป
ยังมีการทำงานทางการเมืองในเชิงรุกเช่น
1.
การดำเนินงานเพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีบทบาทในการตรวจสอบความจริงในการสลายการชุมนุมด้วยการปราบปรามเข่นฆ่าประชาชน
จนกระทั่งอัยการสูงสุดของศาลอาญาระหว่างประเทศ นักวิชาการ
ผู้เชี่ยวชาญได้มาพบรัฐมนตรีต่างประเทศและคณะผู้เชี่ยวชาญกฎหมายไทย ตลอดจนการพยายามให้ข้อมูลทั้งที่ ICC
และในประเทศไทยเพื่อรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณีเมษา-พฤษภา 53
2.
การผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
2550 ให้ได้รัฐธรรมนูญใหม่ของประชาชน
ทั้งดำเนินการในระบบรัฐสภาและนอกรัฐสภาในเวทีประชาชนทุกเวที
เพื่อเรียกร้องตามนโยบายและเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของนปช.
3.
การดำเนินคดีกับผู้สั่งการปราบปรามประชาชนทั้งคดีก่อให้เกิดการตายและพยายามฆ่า เพราะภาระหน้าที่เรามีทั้งแก้ปัญหาอันเกิดจากการรัฐประหารที่ผ่านมา และป้องกันรัฐประหารใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ และรักษาชัยชนะของประชาชนไม่ให้ถูกทำลาย จึงต้องดำเนินงานเชิงรุกทางการเมืองควบคู่กันไป
4.
การพยายามจัดตั้งองค์กรให้แข็งแกร่งด้วยโครงสร้างการนำรวมหมู่ ใช้ประชาธิปไตยรวมศูนย์เสริมสร้างวินัยด้วยจิตสำนึกและดำเนินไปด้วยหลักการ แนวทาง
นโยบาย และใช้องค์ความรู้ สติ
ปัญญา
พยายามให้มีคณะนำในทุกจังหวัดเพื่อนำไปสู่คณะนำระดับภาคและระดับประเทศ
1. ยืนยันจุดยืนในการเรียกร้องให้รัฐสภาลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระสาม
เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชนเพื่อประชาชน
2. ยืนยันและเรียกร้องให้รัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามประกาศรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณีการปราบปรามประชาชนเดือนเมษายน-พฤษภาคม
2553
3. เรียกร้องคณะรัฐมนตรีออกพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้แก่ประชาชนที่เป็นผู้ต้องหาและนักโทษการเมือง
โดยยกเว้นแกนนำแต่ละฝ่ายและผู้สั่งการเข่นฆ่าประชาชน
ซึ่งจะได้เป็นจุดยืนและทิศทางในการต่อสู้ในปี 2556 ต่อไป