จดหมายเปิดผนึกจาก โรเบิร์ท อัมสเตอร์ดัม ถึง รมต.ต่างประเทศ เรื่องการรับเขตอำนาจศาลโลก

ทีมข่าว นปช.

28 พฤศจิกายน 2555




ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โรเบิร์ท อัมสเตอร์ดัม ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรับรองเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศในการพิจารณาคดีสังหารประชาชนในปี 2553 โดยเร็ว โดยมีเนื้อความในจดหมายดังต่อไปนี้

.................


27 พฤศจิกายน 2555

เรียน ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

ในขณะนี้ รัฐบาลกำลังพิจารณาว่าจะแถลงคำประกาศยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ในกรณีอาชญากรรมมนุษยชาติที่เกิดในปี 2553 หรือไม่ มีความพยายามที่จะยับยั้งมิให้รัฐบาลแถลงคำประกาศภายใต้มาตรา 12.3 ของรัฐธรรมนูญไอซีซี โดยนักกฎหมายไทยบางคนโต้แย้งว่าคำประกาศคือ “สนธิสัญญา” ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากพระมหากษัตริย์และรัฐสภาภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญปี 2550

ข้อโต้แย้งของพวกเขาเป็นเรื่องไร้สาระ ซึ่งไม่รับการยอมรับจากอัยการไอซีซีฟาทู เบนซูดา เมื่อไม่นานมานี้อัยการได้เข้าพบกับรัฐบาลไทยในกรุงเทพฯ รัฐบาลถามว่าคำประกาศภายใต้มาตรา 12.3 ของรัฐธรรมนูญไอซีซีเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ อัยการตอบชัดเจนว่าคำประกาศมาตรา 12.3 มิใช่สนธิสัญญา

คำตอบของอัยการถูกต้องชัดเจน ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หลักการสำคัญของสนธิสัญญาคือข้อตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย ในทางตรงข้าม คำประกาศมาตรา 12.3คือคำแถลงฝ่ายเดียวโดยรัฐบาล จึงไม่จำเป็นหรือต้องได้รับความเห็นพ้องจากไอซีซี แต่การแถลงคำประกาศคือการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐบาลทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างหาก ภายใต้รัฐธรรมนูญไอซีซี คำประกาศมีผลทางกฎหมายเมื่อรัฐบาลยื่นคำร้องต่อไอซีซี และไม่จำเป็นต้องได้รับการตอบรับจากไอซีซี โดยเพียงแค่รัฐบาลลงนามเท่านั้น โดยมีเอกสารเพียงอย่างเดียวคือคำประกาศของรัฐบาล และไม่จำเป็นต้องมีลายมือชื่อตอบกลับจากไอซีซี

ข้อโต้แย้งของอัยการเบนซูดายังได้รับการยืนยันจากกรณีก่อนหน้านี้ เมื่อประเทศไอโวรีโคสต์แถลงคำประกาศมาตรา 12.3 โดยยอมรับอำนาจพิจาณาคดีของไอซีซีต่อกรณี 3 สถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่างวาระ โดยไม่จำเป็นต้องยึดถือตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญภายในประเทศว่าด้วยการยอมรับสนธิสัญญา การยื่นคำร้องเป็นการประกาศฝ่ายเดียวและลงนามโดยรัฐมนตรี คำประการศฝ่ายเดียวนี้ให้อำนาจพิจารณาคดีต่อไอซีซีในการพิจารณาสถานการณ์เฉพาะในประเทศนั้น (ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้การพิจารณาของไอซีซี)

สรุปคือ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ คำประกาศฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นสนธิสัญญา แต่นักกฎหมายไทยบางคนโต้แย้งว่า “สนธิสัญญา” มีคำนิยามที่ต่างออกไปภายใต้กฎหมายไทย นี่คือความดันทุรังอย่างเต็มที่ของพวกเขา สนธิสัญญาวางระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่สามารถที่จะมีคำนิยามอย่างหนึ่งในประเทศหนึ่ง และมีคำนิยามอีกอย่างในอีกประเทศอื่น ทั้งนี้เพราะทุกประเทศต้องพึ่งพาสนธิสัญญา จึงต้องมีคำนิยามเหมือนกันทุกที่ ดังนั้น “สนธิสัญญา” จึงถูกนิยามโดยกฎหมายระหว่างประเทศ

และภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ คำนิยามของสนธิสัญญาคือข้อตกลงจากสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย ไม่ใช่คำประกาศฝ่ายเดียวโดยคณะรัฐบาลหนึ่ง อย่างคำประกาศยอมรับอำนาจพิจาณาคดีของไอซีซีต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในปี 2553 ตามมาตรา 12.3


ด้วยความเคารพอย่างสูง


โรเบิร์ท อัมสเตอร์ดัม
ทนายความแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ณ​ ศาลอาญาระหว่าประเทศ

.................