บทเพิ่มเติมกรณีความรับผิดทางอาชญากรรมของนายอภิสิทธิ์

RobertAmsterdam 5 พฤศจิกายน 2555 >>>


31 ตุลาคม 2555
ฯพณฯ ฟาทู เบนซูดา
อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ
PO Box 19519
2500 CM
กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์

เรื่อง: OTP-297/10; แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ, คำร้องต่ออัยกาศาลอาญาระหว่างประเทศร้องขอให้สอบสวนสถานการณ์ในราชอาณาจักรไทยกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ, ยื่นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 บทเพิ่มเติมกรณีความรับผิดชอบทางอาชญาของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมของไอซีซี


เรียนท่านอัยการ:

เอกสารฉบับนี้เป็นเป็นบทเพิ่มเติมของคำร้องขอให้สอบสวนสถานการณ์ในราชอาณาจักรไทยกรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและยื่นต่อสำนักงานอัยการ (“โอทีพี”) ของศาลอาญาระหว่างประเทศ (“ไอซีซี”) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 โดยสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พาร์ทเนอร์ในนามของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
ในการสื่อสารกับโอทีพีครั้งที่แล้ว ผู้ร้องระบุว่าหลักฐานของการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในประเทศไทยเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี 2553 เพียงพอที่จะสนับสนุนว่าอาชญากรรมต้องสงสัยเข้าองค์ประกอบของธรรมนูญกรุงโรมและนโยบายของโอทีพีในการเปิดการตรวจสอบเบื้องต้น แม้คำร้องที่ยื่นก่อนหน้านี้จะกล่าวถึงการมีอยู่ของอาชญากรรมและอำนาจพิจารณาคดีเหนือตัวบุคคลต่ออดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เอกสารฉบับนี้เสนอข้อมูลที่ครอบคลุมมากกว่าเกี่ยวกับกรณี ความรับผิดชอบทางอาชญาต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติของการสังหาร การกระทำอันไร้มนุษยธรรมอื่น และการคุมขัง และการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรงภายใต้มาตรา 25 และ 28 ของธรรมนูญกรุงโรม
ตามที่อธิบายในเอกสารฉบับนี้ รายงานการสอบสวนที่เป็นอิสระซึ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ เอกสารรัฐบาลที่รั่วออกมาและรายงานข่าวอธิบายรายละเอียดคำให้การโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการปราบปรามประชนต่อเจ้าหน้าผู้บังคับใช้กฎหมายทำให้เห็นหลักฐานที่ยืนยันว่า:

  • อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนและอนุมัติการปฎิบัติการทางทหารต่อกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง อดีตโฆษกของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ให้การว่าทุกสิ่งที่ศอฉ.ทำเป็นไปตามคำสั่งของรัฐบาล ซึ่งมีนโยบายว่าศอฉ.คือเครื่องมือในการลงมือปฏิบัติ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์รับรู้ว่าคำสั่งที่เข้าอนุมัติได้ถูกส่งต่อไปยังเจ้าหน้าที่ในระดับต่างๆในการปฎิบัติการทางทหารต่อกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง เขาจึงต้องรับผิดต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ก่อโดยเจ้าหน้าที่รัฐตามคำสั่งเหล่านั้น
  • เอกสารลับของรัฐบาลระบุว่ากฎการใช้กำลังภายใต้การปราบปรามประชาชนของทหารในวันที่ 10 เมษายน 2553 เกิดขึ้นอย่างชัดเจนว่าคำสั่งเหล่านี้ออกโดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรี กฎการใช้กำลังอนุญาติให้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงใช้กำลังร้ายแรงถึงชีวิตต่อพลเรือนไม่ว่าจะมีอาวุธหรือไม่ก็ตาม “เพื่อป้องกันทรัพย์สิน”  และชีวิตของเจ้าหน้าที่หรือประชาชนทั่วไป
  • หลังจากการปราบปรามประชาชนที่ล้มเหลวครั้งแรกมีการแก้ไขกฎการใช้กำลังโดย ศอฉ. ในวันที่ 18 เมษายน 2553 ซึ่งได้ขยายอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการใช้วิธีการร้ายแรงถึงชีวิตเพื่อปกป้อง “ผู้อื่น ทรัพย์สินราชการ และทรัพย์เอกชนที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ” กฎการใช้กำลังที่ได้รับการแก้ไขอนุมัติให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้กระสุนจริงต่อ
    1) บุคคลใดก็ตามถืออาวุธและบุกสถานที่ห้ามเข้า เป็นภัยต่อบุคคลอื่นหรือเตรียมใช้อาวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่หรือประชาชน
    2) พลเรือนที่ไม่มีอาวุธเคลื่อนไหวในฝูงชนกลุ่มใหญ่และบุกเข้าไปในสถานที่ห้ามเข้าและเห็นว่าเป็น “อันตราย” โดยทั่วไป
    3) บุคคลที่ต่อต้านการจับกุมหรือปฏิเสธไม่ให้เจ้าหน้าที่ค้นตัว
    กฎการใช้กำลังที่ได้รับการแก้ไขยังอนุมัติการใช่พลซุ่มยิงซึ่งสามารถเล็งยิงกลุ่มคนติดอาวุธที่ปะปนอยู่ในฝูงชน “ผู้บริสุทธ์” และให้มีการเข้าไปช่วยเหลือทางพยาบาลต่อผู้บาดเจ็บ “ตามหลักการของสิทธิมนุษยชน” หลังจากเจ้าหน้าที่รัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เท่านั้น เนื่องจากกฎการใช้กำลังที่ได้รับการแก้ไขถูกอนุมัติหนึ่งเดือนก่อนหน้าการปราบปรามประชาชนในวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์รับรู้ถึงแผนการที่เขาอนุมัติเมื่อเขาสั่งให้มีการเริ่มต้นปฎิบัติการทางการทหารในวันที่ 12 พฤษภาคม 2553
  • ยอดผู้เสียชีวิตบาดเจ็บที่สูงซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือนมือเปล่าเกิดจากนโยบายซึ่งอนุมัติโดยนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดยเฉพาะภายใต้กฎการใช้กำลังที่ได้รับการแก้ไข เจ้าหน้าที่รัฐได้รับอนุญาติให้ยิงประชาชนที่โยนก้อนหิน ยิงหนังสติ๊ก ทำลายทรัพย์สิน หรือขัดขวางการปฏิบัติงานของทหาร  กองทัพไทยยังยอมรับเองว่าทหารใช้กระสุนจริงเกือบ 200,000 นัดในการปราบปรามประชาชนเดือนเมษายนและพฤษภาคม รวมถึงกระสุนสำหรับพลซุ่มยิง 500 นัดด้วย แม้ว่าคนที่ถูกสังหารจะดูไม่มีภัยต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชนทั่วไป กฎการใช้กำลังที่รัฐบาลอนุมัติสร้างความชอบด้วยกฎหมาย ให้กับการใช้กำลังร้ายแรงถึงชีวิตและสิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการสูญเสียชีวิตอย่างหนักคือการปราบปราบประชาชนครั้งที่สองที่มีการประกาศเขตใช้กระสุนจริง (ได้รับอนุมัติอย่างชัดแจ้งในคำสั่งลับ ศอฉ.) การบังคับใช้กฎที่อนุญาติให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาพยาบาลหลังจากสถานการณ์อยู่ในความควบคุมแล้วเท่านั้น และความล้มเหลวของรัฐบาลในการระบุอย่างชัดเจนถึงความต่างของความชอบอละไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อาวุธร้ายแรง
  • เมื่อเผชิญหน้ากับเรื่องรายงานการสังหารประชาชนโดยไม่เลือกของกองทัพ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ล้มเหลวที่จะใช้อำนาจของเขาในฐานะผู้นำระงับหรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการใหม่ไปในทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ในขณะที่การปราบปรามประชาชนครั้งที่สองในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 นายอภิสิทธิ์แจ้งต่อประชาชนว่าการสูญเสียที่เกิดจากการปฏิบัติการของทหารยอมรับได้เพราะทำไปเพื่อความยุติธรรม และปฏิเสธที่จะหยุดการปฏิบัติการ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2010 นายอภิสิทธิ์ยังปฏิเสธข้อเสนอหยุดรบที่เสนอโดยกลุ่มของวุฒิสมาชิกที่เป็นตัวกลางเจรจากับแกนนำเสื้อแดง และส่งผลให้ผู้เสียชีวิตมากขึ้น 12 รายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 รวม 6 รายที่ถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่วัดปทุมวนารามวัดซึ่งถูกกำหนดโดยรัฐบาลเป็นเขตปลอดภัย
  • สุดท้ายนี้อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติการคุมขังและการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรงโดยรับรู้และผ่านทางอนุมัตินโยบายของศอฉ.ซึ่งอนุญาตให้มีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายและบังคับให้ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนให้หายสาบสูญหลังจากการชุมนุมสิ้นสุดลง

บทบาทในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ตอนเริ่มต้นในวันที่ 12 มีนาคม 2553 คน “เสื้อแดง” หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ในการตอบโต้การชุมนุม กองทัพไทยภายใต้การนำและเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสมาชิกรัฐบาลสังหารพลเรือนอย่างน้อย 83 ราย และทำร้ายประชาชนราว 2,000 คนในการปราบปรามประชาชนสองครั้งในวันที่ 10 เมษษายน 2553 และ 13-19 พฤษภาคม 2553 เหยื่อยังรวมถึงนักข่าวที่บันทึกเหตุการณ์และอาสาพยาบาลที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บด้วย
คำร้องเริ่มแรกต้องการที่จะจัดตั้ง “มูลเหตุพื้นฐานอันสมเหตุสมผลที่เชื่อว่า”การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติหลายกรรมตามคำยามในมาตรา 7 ของธรรมนูญไอซีซีเกิดขึ้นก่อน ระหว่างและหลังจากการปราบปรามผู้ชุมนุมเสื้อแดงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2553 โดยรัฐบาลไทยชุดก่อนและกองทัพไทย เอกสารฉบับนี้เน้นย้ำเรื่องการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติประเภทการสังหารและการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอื่น การกระทำที่รุนแรงของกองทัพไทยที่สังหารพลเรือนอย่างน้อย 83 รายและทำร้ายประชาชนราว 2,000 คนเป็นส่วนหนึ่งของการทำร้ายพลเรือนที่ “เป็นวงกว้างและเป็นระบบ” ผ่านทางนโยบายรัฐอนุมัติโดยผู้นำระดับสูงในรัฐบาล โดยรวมถึงอาชญากรรมต่อมนุษยชาติประเภทการประเภทการคุมขังตามอำเภอใจและการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรง
กองทัพเป็นกลุ่มที่ใช้กำลังทำร้ายประชาชนภายใต้การสั่งการของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสมาชิก ศอฉ. ศอฉ. ก่อตั้งโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีหลังจากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ในวันที่ 7 เมษายน 2553 มีเป้าหมายเพื่อการทำงานที่สอดคล้องกับการตอบโต้ของรัฐบาลต่อการชุมนุมคนเสื้อแดง ศอฉ. รวมถึงผู้นำของกองทัพทุกฝ่ายและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายซึ่งนำโดยรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ คำสั่งลายลักษณ์อักษรที่ส่งต่อให้ผู้บังคับบัญชาการในระดับต่างๆระหว่างการปราบปรามประชาชนลงนามโดยนาสุเทพในฐานะผู้อำนายการ ศอฉ.
แม้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบทั้งทางกฎหมายและศีลธรรมในการออกคำสั่งหรือการบังคับบัญชาของ ศอฉ. ตามมาตรา 6 ของ พรก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นมาตราที่จัดตั้ง ศอฉ. ระบุว่า “อำนาจและหน้าที่” ของ ศอฉ. จำกัดเพียงแค่การ “กำกับและตรวจสอบ” สถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อเป้าหมายของการแนะนำนายกรัฐมนตรีในการใช้วิธีการอันเหมาะสม ในขณะที่ พรก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีจ่ายอำนาจให้กับผู้อื่นในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อบัญญัติใดเลยที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศมีอำนาจน้อยลงในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ดังนั้น ศอฉ. จึงทำงานภายใต้ความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีและมีอำนาจเท่าที่ได้รับจากนายกรัฐมนตรีเท่านั้น นอกจากนี้ ศอฉ. ยังประชุมกันในอาคารหลังเดิมซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของกรมทหารราบที่ 11 ในกรุงเทพฯซึ่งเป็นที่ที่นายอภิสิทธิ์พักอาศัยด้วยเหตุผลทางความปลอดภัยในระหว่างการชุมนุมคนเสื้อแดง มีการรายงานอย่างกว้างขวางในสื่อว่านายอภิสิทธิ์ได้เข้าร่วมการประชุมของ ศอฉ. เป็นประจำทั้งก่อนและหลังการปราบปรามประชาชน หลักฐานยังแสดงให้เห็นว่าอดีตนายกรัฐมนตรีเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนและอนุมัติการปฏิบัติการทางการทหารต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดง ในเดือนพฤศจิการยน 2554 อดีตโฆษก ศอฉ. พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ให้การว่ากองทัพทำการโดยการอนุมัติของ ศอฉ. ตามคำสั่งที่ออกโดยนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนาจการ ศอฉ.
ในกรณีของการปราบปรามประชาชนครั้งแรกในวันที่ 10 เมษษยน 2553 คำสั่งลับที่ ศอฉ. สั่งกองทัพให้ “ขอพื้นที่คืน” ในสถานที่ชุมนุมในสะพานผ่านฟ้า และจัดตั้งกฎการใช้กำลังในการปฏิบัติการซึ่งกล่าวอย่างชัดเจนว่าคำสั่งออกโดยความต้องการของนายกรัฐมนตรี ในกรณีของการปราบปรามประชาชนครั้งครั้งที่สองวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2553 นายอภิสิทธิ์ได้สั่งการโดยตรงที่ประชุม ศอฉ. ในวันที่ 12 พฤษภาคม ตามรายงานของการปฎิบัติการเขียนโดยกองทัพไทยและภายหลังตีพิมพ์ในวารสารทางการทหาร แผนการในการปราบปรามประชาชนเดือนพฤษภาคมซึ่งรวมถึงกฎการใช้กำลังที่ได้รับการแก้ไขและคำสั่งอนุมัติการใช้พลซุ่มยิงทำโดยศอฉ.ในวันที่ 18 เมษายน 2553 เกือบหนึ่งเดือนก่อนหน้าการปราบปรามประชาชน ดังนั้น เมื่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์สั่งให้สลายการชุมนุมวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 เขารับรู้ถึงแผนการการปฏิบัติงานที่เขาได้อนุมัติ ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 นายอภิสิทธิ์ได้พูดต่อสาธารณชนว่า “ในขั้นนี้ รัฐมีอำนาจชอบธรรมที่จะทำทุกอย่างที่จำเป็นในการนำมาซึ่งความปลอดภัยและความปกติสุข”
เอกสารลับที่รั่วออกมาตามคำอ้างข้างบน ระบุถึงคำสั่งและกฎการใช้กำลังของการปราบปรามประชาชนทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นว่ายอกผู้บาดเจ็บเสียชีวิตจำนวนมากซึ่งเป็นประชาชนมือเปล่าเกิดโดยตรงจากนโยบายออกแบบโดย ศอฉ. และอนุมัติโดยอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ กฎการใช้กำลังออกโดย ศอฉ. ก่อนหน้าการปฏิบัติการวันที่ 10 เมษายน 2553 ระบุถึงสภาวะแวดล้อมที่ทหารสามารถใช้กระสุนจริงได้ว่า

3.2 การใช้อาวุธ:
   3.2.1 อนุญาติให้ทหารใช้อาวุธในการป้องกันตยเองและรักษาความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินประชาชน
   3.2.2 การใช้อาวุธตาม 3.2.1 ต้องเป็นการดำเนินการเพื่อ:
      3.2.2.1 เจ้าหน้าที่พบการกระทำผิดซึ่งหน้า โดยเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองและประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ไม่ให้รับอันตราย
      3.2.2.2 เป็นการป้องกันภัยอันตรายที่ใกล้จะถึงและและเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่หรือประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่
   3.2.3 หากจำเป็นต้องใช้อาวุธ จำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นดังนี้:
      3.2.3.1 ขั้นที่ 1: ต้องแจ้งเตือนด้วยวาจาเพื่อให้ผู้ก่อเหตุหยุดกระทำการดังกล่าว
      3.2.3.2 ขั้นที่ 2: การยิงเตือนขึ้นฟ้าหรือเป็นการยิงเตือนในทิศทางที่ปลอดภัย
      3.2.3.3 ขั้นที่ 3: ใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและสมควรแก่เหตุ

กฎการใช้กำลังที่ได้รับการแก้ไขซึ่งขยายขอบเขตของประเภทสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่สามารถใช้กระสุนจริงได้ได้รับการอนุมัติโดยศอฉงเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2553 เอกสารระบุว่าการมีอยู่ของกองกำลังติดอาวุธในผู้ชุมนุมสร้างความชอบธรรมให้ขยายขอบเขตของสถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่สามารถใช้กำลังเพื่อปกป้อง “คนอื่น ทรัพย์สินราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของรัฐได้” และ “ให้มีการช่วยเหลือทางพยาบาลต่อผู้ก่อเหตุได้ตามหลักสิทธิมนุษย์ชนหลังจากที่สถานการณ์ควบคุมได้แล้ว” โดยเฉพาะ กฎที่อนุญาติเจ้าหน้าที่รัฐยิงใครก็ตามที่เพิกเฉยต่อคำสั่งห้ามเข้าในบางพื้นที่ เป็นอันตรายต่อผู้อื่นหรือเตรียมใช้อำวุธทำร้ายเจ้าหน้าที่หรือประชาชนทั่วไป และทางเลือกสุดท้ายคือ แม้เจ้าหน้าสามารถใช้ “ปืนสั้นหรือไรเฟิล” ยิงประชาชนมือเปล่าได้ในกรณีที่มีฝูงชนกลุ่มใหญ่เคลือ่นกำลังเข้าหาเจ้าหน้าที่ เพิกเฉยต่อคำสั่งห้ามเข้าในบางพื้นที่ซึ่งอาจสร้างสถานการณ์อันตราย เจ้าหน้าที่สามารถใช้กระสุนปืนจริงต่อ “ผู้ต้องสงสัย” ที่ต่อต้านการจับกุมหรือไม่ให้เจ้าหน้าที่ค้นตัว ท้ายนี้ คำสั่งที่อนุมัติให้ใช้ “พลแม่นปืน” หรือพลซุ่มยิงในที่สูงโดยพวกเขาสามารถใช้กระสุนปืนจริงต่อผู้ที่มีอาวุธซึ่งปะปนอยู่ในฝูงชน “ผู้บริสุทธิ์” ซึ่งเจ้าหน้าที่คนอื่นไม่สามารถยิงได้
กฎเหล่านี้เป็นการละเมิดมาตราฐานที่ระบุในสหประชาชาติ “หลักการพื้นฐานของการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย” แม้ในเหตุการณ์การรวมตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและความรุนแรง หลักการพื้นฐานบัญญัติว่ารัฐบาลต้องทำตามเงื่อนไขในกฎข้อ 9 ดังนี้
   "9. เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องไม่ใช้อาวุธปืนจะไม่ต่อบุคคลยกเว้นในกรณีการป้องกันตัวเองหรือป้องกันของผู้อื่นภัยคุกคามของการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอย่างอันใหล้จะถึงเพื่อป้องกันการกระทำผิดของอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามที่ร้ายแรงถึงชีวิต เพื่อจับกุมบุคคลที่เป็นภัยและต่อต้านอำนาจของเจ้าหน้าที่ หรือเพื่อป้องกันหรือหลบหนีของเบุคคลนั้น และเมื่อวิธีรุนแรงที่น้อยกว่าไม่เพียงพอที่จะที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นี้ ในกรณีที่ การใช้อาวุธร้ายแรงถึงชีวิตโดยเจตนาสามารถทำได้เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงในกรณีที่ต้องการปกป้องชีวิต"
กฎของ ศอฉ. ในการปราบปรามประชาชนทั้งสองครั้งนั้นเกินขอบเขตของการอนุมัติการใช้อาวุธร้ายในแนวทางที่ “เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงในกรณีที่ต้องการปกป้องชีวิต” บางที่สิ่งสำคัญในการปราบปรามประชาชนทั้งสองครั้งคือ เจ้าหน้าที่สามารถใช้กระสุนจริงเพื่อ “ปกป้องทรัพย์สิน” ในการปฏิบัติคือหมายถึงหากพบเห็นใครก็ตามเผารถยนต์ ขว้างก้อนหิน และวัตถุอื่น  ยิงหนังสติ๊กและทำลายทรัพย์สินก็เป็นเป้าหมายที่ชอบธรรมสำหรับการใช้อาวุธร้ายแรง นอกจากนี้ ในกรณีการปราบปรามประชาชนวันที่ 13-19 พฤษภาคม พลเรือนมือเปล่าปะปนในฝูงชนและฝ่าฝืน และมองว่าเป็นภัย “ทั่วไป” คือเป้าหมายที่ชอบธรรมในการใช้กระสุนจริง ในขณะที่กฎการใช้กำลังกำหนดให้กองกำลังไม่ให้เล็งอาวุธไปยัง “อวัยวะสำคัญ” ไม่ได้ทำให้นโยบายมีความชอบด้วนกฎหมายหรือเป็นไปได้ว่านโยบายอาจส่งผลให้มียอดพลเรือนมือเปล่าเสียชีวิตบาดเจ็บเยอะอยู่ดีเพราะพลเรือนกลายเป็นเป้าของกระสุนจริง
คำสั่งดังกล่าวของ ศอฉ. ได้รับการยืนยันในคำให้การของ “พยานปากที่ 22” ซึ่งเป็นคำให้การส่วนหนึ่งจากเจ้าหน้าที่ทหารในระดับสูงบันทึกโดยผู้ร้องและระบุไว้ใน “คำร้องเพื่อขอให้มีการสอบสวนสถานการณ์ในราชอาราจักรไทย” ยื่นต่ออัยการในวันที่ 31 มกราคม 2554 กว่าหนึ่งปีก่อนที่คำสังลับจะรั่วออกมาสู่สื่อมวลชน พยานปากที่ 22 กล่าวว่าตามนโยบายที่เป็นทางกการออกโดย ศอฉ. และอนุมัติโดยอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก่อนการปราบปรามประชาชนในวันที่ 13-19 พฤษภาคม:
   "คำสั่งของพวกเขาคือให้ยิงใครก็ตามที่ต้องสงสัยว่ามีอาวุธ และพวกเขาไม่ต้องค้นหาแน่ชัดว่าคนนั้นมีอาวุธจริงๆหรือไม่ คำสั่งการปฏิบัติงานก่อนล่วงหน้าบอกชัดแจ้งว่าใครก็ตามที่ถือหนังสติ๊กถือว่ามีอาวุธและเป็นอันตราย กองทัพยังถูกสั่งให้ยิงการ์ดเสื้อแดงหากพบเห็นไม่ว่าจะมีอาวุธหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น กองทัพจึงปรากฎว่ากองทัพได้รับอนุญาติให้ยิงใครก็ได้ที่พวกเขาต้องการ"
พยานปากที่ 22 ยังให้การเกี่ยวกับนโยบายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรในการปราบปรามประชาชนทั้งสองครั้งซึ่งระบุให้สังหารแกนนำเสื้อแดงและใช้พลซุ่มยิงเพื่อยุยงอารมณ์ฝูงชนให้ก่อความรุนแรง ซึ่งจะให้ข้ออ้างกองทัพในการยิงผู้ชุมนุม นอกจากนี้ ในกรณีการปราบปรามประชาชนวันที่ 13-19 พฤษภาคม พยานปากที่ 22 กล่าวว่ากองทัพได้รับคำสั่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรให้ยิงทุกอย่างที่เคลื่อนไหวในเขตที่เรียกว่า “เขตใช้กระสุนจริง” รวมไปถึงไม่ให้มีการเคลื่อนศพออกจากที่เกิดเหตุและขัดขวางไม่ให้นักข่าวบันทึกกิจกรรมอาชญากรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ตามที่พยานปากที่ 22 ระบุอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอนุมัติทุกส่วนของนโยบาย ในขณะที่ลักษณะการมีอยู่และความเที่ยงตรงของนโยบายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นทางการยังคงต้องรอการยืนยันจากการสอบสวนแบบเต็มขั้น แต่ความถูกต้องของคำให้การพยานเรื่องนโยบายรัฐบาลที่เป็นทางการซึ่งเหมือนรายละเอียดกฎการใช้กำลังออกโดย ศอฉ. สร้างความน่าเชื่อถือให้กับคำให้การที่เกี่ยวกับนโยบายที่ไม่เป็นทางการ
แน่นอนว่าไม่เพียงแต่กฎการใช้กำลังที่ออกแบบมาเพื่อการปราบปรามประชาชนทั้งสองครั้งจะให้ใบอนุญาติสั่งฆ่าผู้ชุมนุมที่เพียงแค่ทำลายทรัพย์สินเท่านั้น ข้อเท็จจริงคือรัฐบาลยังใช้มาตราการที่ออกแบบมาเพื่อทำร้ายและทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของผู้ชุมนุมมากขึ้น ในกรณีของการปราบปรามประชาชนวันที่ 10 เมษายน ศูนย์ข้อมูลประชาชน (ศปช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระได้กล่าวโทษรัฐบาลที่สลายการชุมนุมในเวลากลางคืนและยังล้มเหลวที่จะแจ้งให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับกฎหารใช้กำลังที่จะนำมาใช้อย่างเหมาะสม ตรงข้ามกับเอกสารลับที่ระบุข้างบน คำประกาศต่อสาธารณชนของ ศอฉ. ย้ำว่าทหารเพียงแค่ได้รับอนุญาติให้ยิงกระสุนจริงขึ้นฟ้าเพื่อข่มขวัญผู้ชุมนุมเท่านั้น ในกรณีของการปราบปรามประชาชนวันที่ 13-19 พฤษภาคม ศปช. ชี้ว่ากฎการใช้กำลังของ ศอฉ. ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะการประกาศเขตใช้กระสุนจริง (อนุญาติในคำสังลับ ศอฉ. อย่างชัดเจน) รวมถึงการบังคับใช้กฎที่เพียงแค่อนุญาติให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาพยาบาลหลังจากที่สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุมแล้วเท่านั้น ศปช. ยังได้กล่าวโทษกฎการใช้กำลังว่าไม่มีมาตราการให้การแยกระหว่างเป้าที่ชอบธรรม (“ผู้ก่อการร้าย”) และผู้ชุมนุมทั่วไป โดยระบุว่าผลของการละเลยนี้ทำให้ “มีแต่พลเรือนมือเปล่า นักข่าวและอาสาพยาบาลเท่านั้นที่ถูกสังหาร”
แม้กองทัพยังยอมรับเองว่ายิงกระสุนจริงเกือบ 200,000 นัดในการปราบปรามประชาชนเดือนเมษายนและพฤษภาคม รวมถึงกระสุนพลซุ่มยิง 500 นัด ไม่มีหลักฐานที่ปรากฎว่ากลุ่มคนที่ถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่มีอาวุธหรือเป็นภัยต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชนทั่วไป
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับรายงานการสังหารโดยกองเจ้าหน้าที่รัฐ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ล้มเหลวที่จะยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการให้สอดคล้องกับมาตราฐานสากล เวลา 21.15 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 หลังจากที่มีประชาชนหลายสิบรายถูกสังหารในการปราบปรามประชาชนซึ่งถูกอนุมัติในหลายวันก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ประกาศต่อสาธารณชนในทีวีเขาไม่มีแผนการที่จะหยุดการกระทำดังกล่าว:
   "ผมต้องการย้ำกับพี่น้องว่ามีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องใช้อาวุธ เพราะรัฐไม่สามารถอนุญาติให้ประเทศตกอยู่ในสถานการณ์ที่อาชญากรวามารถเข้ามายึดกรุงเทพฯ เราไม่สามารถยอมให้กลุ่มที่ไม่พอใจกับรัฐบาลจัดตั้งกลุ่มทำร้ายเจ้าหน้าที่ ประชาชนและหลายสถาบันได้ เราจะพยายามต่อไปโดยไม่ถอยเพื่อจะนำหลักนิติธรรมกลับมาสู่ประเทศ ดังนั้นแม้จะมีการสูญเสีย พวกเขาต้องยอมรับ เพรานี้คือแนวทางเดียวที่เราจะสามารถบรรลุความยุติธรรมได้"
เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ล้มเหลวที่จะยับยั้งการปฏิบัติการหรือแก้ไข้กฎการใช้กำลังแม้ต้องเผชิญกับรายงานยอดผู้เสียชีวิจำนวนมากซึ่งเป็นพลเรือนและยังมีการยิงทั้งนักข่าวและอาสาพยาบาลด้วย ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 นายอภิสิทธิ์ยังปฏิเสธข้อเสนอหยุดยิงที่เสนอโดยกลุ่ม ส.ว. ที่เป็นคนกลางเจรจากับแกนนำเสื้อแดง จึงส่งผลให้ผู้เสียชีวิตมากขึ้น 12 รายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 รวม 6 รายที่ถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่วัดปทุมวนารามวัดซึ่งถูกกำหนดโดยรัฐบาลเป็นเขตปลอดภัย
อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ยังเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติของการและการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรง หลังจากการปราบปรามประชาชนในเดือนพฤษภาคมปี 2553 คนหลายร้อยคนถูกต้อนโดยอำนาจเผด็จการของรัฐบาลไทยที่ได้รับจากการประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินเอง รายงานหลักขององค์กรฮิวแมนไรท์วอซซ์ตีพิมพ์ปี 2554 รวบรวมหลักฐานที่กลุ่มคนที่ถูกคุมขังหลังจากการชุมนุมคนเสื้อแดงนั้นระบุว่าเป็นการ “ลิดรอนเสรีภาพโดยมิชอบด้วยกฎหมาย” และเมื่อพรก.ฉุกเฉินไม่ยกเว้นรัฐบาลจากพันธกรณีที่จะรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานที่บัญญัติในไอซีซีพีอาร์ องค์กรฮิวแมนไรท์วอซซ์ประณามการคุมขังตามอำเภอใจหลายกรณีในค่ายทหารจังหวัดปราจีนบุรี กาญจนบุรี สระบุรี ราชบุรีและปทุมธานี โดยอธิบายว่าเป็นการกระทำไม่ต่างจาก “การอุ้มฆ่า” ซึ่งเป็นการระทำที่ละเมิดกฎหมาย
นอกเหนือจากกรณีที่แกนนำคนสำคัญเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่หลังจากการสลายการชุมุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 19 พฤษภาคม แล้ว ศอฉ. ยังได้ปิดบังข้อมูลเกี่ยวกับการกักขังผู้ชุมนุมเสื้อแดงในระดับรองลงมาที่ถูกกักขังโดยถูกแจ้งหรือไม่ถูกแจ้งข้อกล่าวหาเป็นเวลาหลายเดือน ศอฉ. ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลต่อญาติพี่น้องของคนส่วนใหญ่เหล่านั้นว่าถูกกักขังไว้ที่ไหนในตลอดระยะเวลาการกักขังในค่ายทหาร ซึ่งละเมิดต่อมาตรา 12 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่รายงานการจับกุมและกักขังผู้ต้องสงสัยต่อศาล และต้องฝากรายงานไว้ ณ ที่ทำงานของตน เพื่อเปิดโอกาสให้ญาติของคนที่ถูกกักขังเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดระยะเวลาการกักขังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิเสธว่าไม่ได้กักขังบุคคลนั้น หรือล้มเหลวที่จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมหรือสถานที่อยู่ของบุคคลดังกล่าว ถือว่ารัฐบาลกระทำการอุ้มฆ่าซึ่งละเมิดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
องค์กรฮิวแมนไรท์วอซซ์ยังรวบรวมคำให้การของพยานซึ่งเป็นผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ถูกกักขัง คำให้การของพยานยืนยันว่าเจ้าหน้าที่รัฐห้ามมิให้ผู้ถูกกักขังติดต่อสมาชิกในครอบครัว รายงานสรุปว่า:
   "การรวบรวมข้อมูลก่อนหน้านี้ของฮิวแมนไรท์วอซซ์ในประเทศไทยพบว่า อันตรายจากการถูกทำร้ายเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก หากบุคคลถูกคุมขังในสถานที่ที่ไม่เป็นทางการ ไม่สามารถติดต่อกับบุคคลภายนอกได้อย่างสิ้นเชิง ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร (ซึ่งขาดการฝึกฝนและประสบการณ์ในการบังคับใช้กฎหมายพลเรือน) และไม่สามารถพูดคุยกับที่ปรึกษาทางกฎหมาย หรือไม่ได้รับความคุ้มครองจากทางตุลาการหรือจากหน่วยงานราชการที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันพวกเขาจากการถูกทรมานหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ความกังวลเหล่านี้เป็นความกังวลที่มีต่อสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภายใต้ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินถูกบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2548 เพื่อปราบกบฏแบ่งแยกดินแดน การสอบสวนอันครอบคลุมขององค์กรฮิวแมนไรท์วอซซ์ในกรณีของภายใต้ เผยให้เห็นหลายกรณีที่เกี่ยวกับการทารุณอย่างร้ายแรงซึ่งกระทำต่อผู้ที่ถูกกักขังโดยเจ้าหน้าที่หน่วยรักษาความปลอดภัย รวมถึงการเสียชีวิตในระหว่างการกักขัง ทรมาน และการอุ้มฆ่า
การใช้สถานที่ที่ไม่เป็นทางการคุมขังผู้ชุมนุมได้รับการอนุมัติโดย ศอฉ. อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์รับรู้อย่างเต็มที่ถึงการมีอยู่ของนโยบายนี้ เพราะการคุมขังที่มิชอบด้วยกฎหมายนี้บันทึกโดยองค์กรฮิวแมนไรท์วอซซ์ระบุว่าดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนหลังจากการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง มันเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่จะสั่งแก้ไขนโยบายที่ส่งผลให้เกิดการคุมขังที่มิชอบด้วยกฎหมาย ข้อเท็จจริงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในกรณีของแสดงให้เห็นว่านายอภิสิทธิ์เห็นด้วยกับนโยบายนี้ หรืออย่างน้อยที่สุเขาไม่ได้ทำอะไรที่จะยับยั้งอาชญากรรมเลย
คำให้การของพยานปากที่ 20 และคำให้การของพยานปากที่ 22 ที่รวบรวมไว้ในคำร้องเบื้องต้น “คำร้องเพื่อขอให้มีการสอบสวนสถานการณ์ในราชอาราจักรไทย” ยื่นต่ออัยการในวันที่ 31 มกราคม 2554 นำเสนอหลักฐานเพิ่มเติมของคำอนุมัตินโยบายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของนายอภิสิทธิ์ซึ่งส่งผลทำให้มีการคุมขังผู้ชุมนุมหลายร้อยคนรวมถึงแกนนำด้วย ตามคำให้การคำให้การของพยานปากที่ 20 ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายซึ่งรับรู้ข้อเท็จจริงว่ารัฐบาลมีนโยบายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรให้ทำลายหลักฐานของการก่ออาชญากรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ และสร้างหลังฐานใส่ร้ายแกนนำเสื้อแดง ซึ่งหลายคนถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายเพราะแรงจูงใจทางการเมือง และถูกคุมขังไม่ได้รับอนุญาติให้ประกันตัวเป็นเวลา 9 เดือนหลังจากการสลายการชุมนุม พยานปากที่ 22 ได้ให้การคล้ายกันึงความมีอยู่ของนโยบายรัฐบาลที่อนุมัติโดยอดีตนายกรัฐมนตรอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในการสร้าง “หลักฐานที่ออกแบบมาเพื่อกล่าวหาคนเสื้อแดง” และ “ใส่ร้ายว่าคนเสื้อแดงต้อรับผิดชอบกับความรุนแรง”พยานปากที่ 22 ระบุว่านโยบานรวมถึงการวางระเบิดและการก่อความรุนแรงอื่นทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลยืดการใช้พรก.ฉุกเฉินหลายเดือนหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรง และให้อำนาจรัฐบาลในการคุมขังประชาชนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ความรับผิดชอบทางอาญาของนายอภิสิทธิ์ภายใต้ธรรมนูญกรุงโรม

หลังฐานข้างบนชี้ให้เห็นว่าอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องรับผิดชอบทางอาญาในการกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติประเภทการสังหาร การกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอื่น การคุมขังและการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรงภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมซึ่งบัญญัตเรื่องการรับผิดชอบของบุคคลทางอาญา (มาตรา 25) และความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา (มาตรา 28)
มาตรา 25 (3) ของธรรมนูญกรุงโรมระบุถึงสภาวะแวดล้อมซึ่ง “บุคคลต้องรับผิดชอบและรับผิดทางกฎหมายโดยถูกลงโทษในอาชญากรรมภายใต้เขตอำนาจพิจารณาคดีของศาล” มีบทบัญญัติสี่บทที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้หากพูดถึงเรื่องความรับผิดชอบทางอาญาของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ในฐานะผู้กระทำความผิดหลักมาตรา25 (3) (a) และ (b) และประกอบมาตรา25 (3) (c) และ (d)
หากพิจารณาถึงความสัมพันธ์อย่างหลวมโดยตรงระหว่างนโยบายออกโดย ศอฉ. และการก่อความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำร้ายประชาชน รวมถึงการรับรู้ถึงนโยบายและการอนุมัติปฎิบัติการทางการทหารตามนโยบายนั้นของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ นายอภิสิทธิ์ต้องรับผิดฐานผู้กระทำความผิดหลักในอาชญากรรมประเภทการสังหารและการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอื่น นโยบายทางการของรัฐบาลซึ่งอนุมัติโดยนายอภิสิทธิ์ ตามที่ยืนยันในเอกสารลับของ ศอฉ. ที่อธิบายไปข้างบนอนุญาตอย่างชัดเจนให้เจ้าหน้าที่รัฐยิงพงเรือนไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอาวุธหรือไม่ก็ตาม รวมถึงบุคคลที่เป็นภัยต่อทรัพย์สินหรือเพิกเฉยต่อคำสั่งห้ามเข้าพื้นที่ นายอภิสิทธิ์ยังต้องรับผิดฐานผู้กระทำความผิดหลักในอาชญากรรมประเภทการคุมขังและการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรง หลักฐานด้านบนแสดงอย่างเฉพาะเจาะจงว่านายอภิสิทธิ์เป็น “ผู้กระทำความผิดทางอ้อม” คือเป็นคนที่ใช้ผู้ดำเนินการ (ผู้กระทำความผิดโดยตรง) เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดทางอาญา และดังนั้นจึงเป็นการก่ออาชญากรรม “ผ่านทางบุคคลอื่น” ภายใต้มาตรา25 (3) (a) ของธรรมนูญกรุงโรม นายอภิสิทธิ์ยังต้องรับผิดผู้กระทำความผิดอันดับแรกภายใต้มาตรา25 (3) (b) ของธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งเขาใช้อำนาจในฐานะผู้นำประเทศในการสั่งให้มีการกระทำอาชญากรรมซึ่งเกิดขึ้น
นอกจากนี้อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะยังต้อรับผิดชอบต่ออาชญากรรมการสังหาร การกระทำอันไร้มนุษยธรรมอื่น และการคุมขัง และการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรงในเดือนเมษายนและพฤษภาคมปี 2553 ด้วยตามมาตรา 25 (3) (c) และ (d) ของธรรมนูญโรม การสนับสนุนของอย่างมากต่ออาชญากรรมผ่านทางคำสั่ง การอนุมัติ และคำแถลงการณ์ โดยรับรู้ว่าการกระทำของเขาจะช่วยเหลือการกระทำอาชญากรรม นายอภิสิทธิ์ต้องรับผิดฐานเป็นผู้ “สนับสนุน ให้กำลังใจหรืออีกนัยหนึ่งคือช่วยเหลือ” เป็นอาชญากรรมภายใต้มาตรา 25 (3) (c) การส่งเสริมอาชญากรรมโดยเจตนา ด้วยเป้าหมายส่งเสริมกิจกรรมทางอาชญากรรม หรือวัตถุประสงค์ของคณะรัฐบาลและผู้บังคับบัญชาการทหารที่นายอภิสิทธิ์เป็นประธาน หรือล่วงรู้เจตนาของคณะดังกล่าว “การกระทำด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน” เพื่อปราบปรามผู้ชุมนพลเรือนมือเปล่าด้วยความรุนแรงและมิชอบด้วยกฎหมาย และลิดรอนสิทธิทางร่างกายของผู้ชุมนุมหลายร้อยคนโดยมิชอบ เขาต้องรับผิดภายใต้มาตรา 25 (3) (d)
นอกเหนือจากความรับผิดทางอาญาส่วนบุคคลแล้ว ยังมีความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชาด้วย “ความรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชา” ลงโทษการละเลยที่จะกระทำการ: ผู้บังคับบัญชาอาจต้องรับผิดชอบทางอาญาภายใต้หลักการที่ว่า แม้จะรับรู้ถึงอาชญากรรมที่ก่อโดยผู้ใต้บังคับบัญชา แต่เขากลับล้มเหลวอย่างน่าตำหนิในการปฏิบัติหน้าที่ของเขาที่จะป้องกันการกระทำดังกล่าวและลงโทษคนที่ก่ออาชญากรรม มาตรา 28 ของธรรมนูญโดรมแยกระหว่างประเภทหลักของกลุ่มผู้บังคับบัญชาและสายสัมพันธ์ของพวกเขา คือ ผู้บังคับบัญชากองทัพหรือผู้คล้ายผู้บังคับบัญชากองทัพ และพลเรือนถือเป็นตำแหน่งในอำนาจการสั่งการทางนิตินัยหรือทางพฤตินัย
ตามคำแถงการณ์ต่อสาธารณชนที่เขากล่าวในระหว่างการปราบปรามประชาชนโดยกองทัพเดือนพฤษภาคม ปี 2553 ที่เขาแจ้งต่อประชาชนว่าความสูญเสียใดที่เกิดจากการปฎิบัติการของกองทัพยอมรับได้เพราะประโยชน์แห่ง “ความยุติธรรม” อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์รู้หรือมีเหตุผลที่จะต้องรู้ถึงการกระทำการสังหารหรือการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอื่นซึ่งเกิดขึ้นหรือกำลังจพเกิดขึ้น โดยเฉพาะพิจาณาจากตวามรับรู้ของเขาเรื่องกฎการใช้กำลังในการปฏิบัติการ เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ล้มเหลวที่จะใช้วิธีการที่สมเหตุสมผลด้วยความรับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพในการยับยั้งหรือยุติการกระทำอาชญากรรม หรือชะลอปฏิบัติการหรือแก้ไขกฎการใช้กำลัง เขาต้องรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชาภายใต้มาตรา 28 ไม่ว่าเขาจะกระทำการในฐานะผู้บัญชาการกองทัพอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ภายใต้มาตรา 28 (b) หรือทั้งสองอย่างเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการสอบสวนให้กระจ่างแจ้งในการตรวจสอบเบื้องต้นหรือโดยการสอบสวนแบบเต็มขั้น นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังต้องรับผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชาภายใต้มาตรา 28 กรณีอาชญากรรมของการคุมขังและการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรงเนื่องจากล้มเหลวที่จะใช้วิธีการภายใต้ความรับผิดชอบของเขาในการยุติการคุมขังอันมิชอบด้วยกฎหมายในเวลาอันเหมาะสม
การมีความผิดทางอาชญกรรมทุกประเภทต้องมี mens rea หรือเจตนาทางอาญา ซึ่งนิยามในมาตรา 30 ของธรรมนูญกรุงโรม ตามหลักกฎหมายของไอซีซีมาตรา 30 ของธรรมนูญกรุงโรมระบุถึงเจตนาสองประเภทคือ เจตนาประสงค์ต่อผล ซึ่งเป็นเจตนาขั้นแรกและเจตนาโดยเล็งเห็นผล ซึ่งเป็นเจตนาขั้นที่ 2 (การกระทำเกิดด้วยความรับรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นอย่างน้อยเกิดจากการกระทำดังกล่าว)
ตามหลักฐานที่อธิบายในเอกสารนี้ คำสั่งอนุมัติการปฏิบัติการทางการทหารของนายอภิสิทธิ์และความรับรู้เรื่องการทำร้ายประชาชนอนุมัติโดยนโยบายซึ่งการปราบปรามประชาชนเกิดทำให้เห็นว่าอย่างน้อยที่สุดมีการกระทำโดยมีเจตนาโดยเล็งเห็นผล นั้นคือการกระทำของการอนุมัติการปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นด้วยความรับรู้ว่าอาชญากรรมการสังหารและการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอื่นก่อโดยเจ้าหน้าที่รัฐส่งผลให้เกิดการกระทำดังล่าว นอกจากนี้ ความล้มเหลวของนายอภิสิทธิ์ในการใช้อำนาจในฐานะผู้บังคับบัญชาในการยับยั้งหรือแก้ไขนโยบายที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติยังเกิดจากการตัดสินใจอย่างมีสติด้วยการรับรู้ว่าอาจมีการกระทำอาชญากรรมเกิดขึ้นอีกครั้ง คำแถลงการณ์ของนายอภิสิทธิ์ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 แสดงให้เห็นว่าอดีตนายกรัฐมนตรีเชื่ออย่างแท้จริงว่าการกระทำอาชญากรรมเหล่านั้นมีความชอบธรรมในการสนับสนุนความเชื่ออันแปลกประหลาดของเขาเรื่อง “ความยุติธรรม” และ “หลักนิติธรรม” คำกล่าวที่คล้ายกันของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ในการสร้างความชอบธรรมให้กับการคุมขังที่มิชอบด้วยกฎหมายและการบังคับให้หายสาปสูญที่กระทำต่อผู้ชุมนุมหลายร้อนคนแม้หลังจากมีการสลายการชุมนุมแล้ว

การปฎิเสธไม่ยอมรับผิดชอบทางอาญาของนายอภิสิทธิ์

นับตั้งแต่การสลายการชุมุนมของคนเสื้อแดงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์มีท่าทีที่ต่างออกไปในกรณีเรื่องความสูญเสียชีวิตของประชาชนที่เกิดจากการปราบปรามประชาชน หลังจากมีการเปิดเผยปฏิบัติการทางการทหาร นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวว่ารัฐมีความชอบธรรมที่จะทำอะไรก็ได้ในการนำ “ความปกติสุข” กลับมาสู่สังคมและการสูญเสียชีวิตแม้เป็นเรื่องที่น่าเสียใจ แต่ต้องยอมรับเพราะเป็นเรื่องจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมาย นับตั้งแต่การปราบปรามประชาชน นายอภิสิทธิ์ได้เปลี่ยนท่าที และพูดถึงข้อเท็จจริงสองประเด็นเมื่อถูกสอบสวนหรือถูกสื่อมวลชนซักถาม ประเด็นแรก นายอภิสิทธิ์ระบุว่าการปฏิบัติการสลายการชุมุนมกระทำโดยหลักการของนโยบายอันสอดคล้องกับมาตราฐานสากล ประเด็นที่สอง นายอภิสิทธิ์ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของ ศอฉ. ในขณะเดียวกันก็ปกป้องคำสั่งศอฉ.ว่ามีความชอบด้วยกฎหมายและเหมาะสม อดีตนายกรัฐมนตรียืนกรานว่าไม่ต้องรับผิดต่อการร่างหรืออนุมัติคำสั่งเหล่านั้น และบางครั้งก็อ้างว่าไม่ทราบลายละเอียดในคำสั่ง
ข้ออ้างสองประเด็นไม่มีมูลเพราะหลักฐานที่นำเสนอในเอกสารฉบับนี้ โดยเฉพาะอดีตนายกรัฐมนตรีอาจไม่ได้เข้าประชุมกับ ศอฉ. ทุกครั้งที่มีการพูดคุยเรื่องรายละเอียดการปฏิบัติการทางการทหาร อย่างไรก็ตาม หลักฐานแสดงให้เห็นว่าเขาเกี่ยวข้องกับการจัดทำนโยบายทั่วไปและรับรู้ถึงเรื่องกฎการใช้กำลังซึ่งออกแบบมาเพื่อทำให้นโยบายนั้นสมบูรณ์ เมื่อเขาอนุมัติการปฏิบัติการทางการทหารล่วงหน้า นอกจากนี้ในฐานะนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ยังมีอำนาจที่จะยับยั้งการปฏิบัติการทางการทหารที่กำลังดำเนินอยู่ โดยเฉพาะเมื่อเห็นหลักฐานของการสังหารประชาชนมือเปล่าโดยไม่เลือกและเป็นวงกว้าง รวมถึงสั่งการให้ศอฉ.แก้ไขกฎการใช้กำลังเสียใหม่ ข้อเท็จจริงคือ ภายใต้กฎหมายไทย ศอฉ. ทำตามความเห็นชอบขอบนายกรัฐมนตรี และ ศอฉ. มีหน้าที่เป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาเรื่องการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และใช้อำนาจเท่าที่ได้รับจากนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ดังนั้น นอกเหนือจากการมีอยู่ของหลักฐานยืนยันว่านายอภิสิทธิ์เกี่ยวข้องกับ ศอฉ. และรับรู้เกี่ยวกับกระบวนการ ความแตกต่างระหว่างกิจกรรมทำโดย ศอฉ. และนายกรัฐมนตรีคือเป้าหมายทางกฎหมายและศีลธรรมนั้นไม่เป็นความจริง
ยอดผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมากโดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประท้วงมือเปล่าไม่สอดคล้องกับการยืนยันว่าทหารทำหน้าที่ในการให้สอดคล้องกับนโยบายที่ชอบด้วยกฎหมายในการปฏิบัติตามของ "มาตรฐานสากล"ที่บัญญัติในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ไอซีซีพีอาร์)  "หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย." ของสหประชาชาติ แน่นอนที่ระบุในเอกสารฉบับนี้ กฎการใช้กำลังของศอฉ อนุญาติให้เจ้าหน้ารัฐใช้กำลังร้ายแรงในหลายสถานกาณ์ที่กว้างกว่าหลักการที่ระบุใน “กฎพื้นฐาน” ของสหประชาชาติซึ่งอนุญาติให้ใช้กำลังร้ายแรงเมื่อ “ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะต้องป้องกันชีวิตเท่านั้น” ข้อเท็จจริงคือ กฎการใช้กำลังกว้างมากในการอนุมัติการกระทำที่รุนแรงต่อพลเรือนซึ่งเข้าองค์ประกอบของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอื่น เมื่อพิจารณาถึงความเกี่ยวข้องของนายอภิสิทธิ์ในนโยบายซึ่งทำให้เกิดการก่ออาชญกรรม ความรับรู้ของเขาในเรื่องกฎการใช้กำลัง และคำสั่งอนุมัติการปฏิบัติการทางหทาร รวมถึงความล้มเหลวในการใช้อำนาจในฐานะผู้บังคับบัญชาการเพื่อยับยั้งหรือยุติการสังหารพลเรือน เขาต้องรับผิดทางอาญาและทางกฎหมายและถูกลงโทษในไอซีซี

บทสรุป

คำร้องไอซีซีก่อนหน้านี้นำเสนอหลักฐานสนับสนุนข้อโต้แย้งที่ว่า:
1) อาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามมาตรา 7 ของธรรมนูญกรุงโรมก่อขึ้นในประเทศไทยเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553
2) อาชญกรรมต้องสงสัยเข้าลักษณะเรื่องการรับพิจารณาคดีของไอซีซีตามมาตรา 17 ด้วยเหตุผลเรื่องหลักเสริมอำนาจศาลและความร้ายแรงแห่งอาชญากรรม ในเรื่องของระดับ ลักษณะ การกระทำการ และผลกระทบของอาชญากรรม
3) อาชญกรรมต้องสงสัยอยู่ภายใต้อำนาจพิจารณาคดีของศาล เพราะเข้าองค์ประกอบของอำนาจพิจารณาคดีเรื่องลักษณะของอาชญากรรม (อาชญากรรมต้องเข้าประเภทของอาชญากรรมที่กล่าวในมาตรา 5 และนิยามในมาตรา 6,7 และ 8 ของธรรมนูญแห่งกรุงโรม)
อำนาจการพิจารณาคดีกรณีเงือนไขของระยะเวลา (อาชญากรรมของเขาเข้าองค์ประกอบเรื่องระยะเวลาของมาตรา 11 ของธรรมนูญกรุงโรม) และในประเด็นหลัง มีหลักฐานมากพอที่ยืนยันข้อเท็จจริงว่าอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นพลเมืองอังกฤษและเป็นพลเมืองอังกฤษในเวลาที่อาชญากรรมเกิดขึ้น ทำให้นายอภิสิทธิ์ต้องถูกดำเนินคดีและลงโทษโดยไอซีซี ตามหลักการเบื้องต้นที่ผู้ร้องขอต่อโอทีพีให้เปิดการตรวจสอบเบื้องต้นในกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดในประเทศไทยโดยอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553
ในคำร้องนี้ ผู้ร้องนำเสนอหลักฐานเพิ่มเติมที่ระบุถึงความรับผิดชอบทางอาญาของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ภายใต้มาตรา 25 และ 28 ของธรรมนูญกรุงโรม โดยเป็นเอกสารคำสั่งที่รั่วออกมาและออกโดย ศอฉ. ในขณะนั้น เป็นไปได้ที่จะต้องสรุปว่าอาชญากรรมการสังหารและการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอื่นก่อระหว่างการปราบปรามประชาชนปี 2553 รวมถึงอาชญากรรมการคุมขังและการลิดรอนเสรีภาพทางด้านร่างกายอย่างร้ายแรงส่งผลโดยตรงจากนโยบายรัฐอนุมัติโดยผู้นำสูงสุดของรัฐบาลไทย นายอภิสิทธิ์รับรู้นโยบายนั้นและเป็นไปได้ว่าจะทราบว่าจะเกิดผลอะไรบ้างเมื่อเขาอนุมัติการปฏิบัติการทางการทหารและหลังจากนั้นปฏิเสธที่จะยับยั้งการปฏิบัติการแม้จะเห็นหลังฐานของการสังหารอย่างเป็นวงกว้างแล้ว แน่นอนว่านายอภิสิทธิ์ในเวลานั้นมองว่าการสังหารและการทำร้ายที่เกิดจากนโยบายนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และด้วยเหตุนี้ นายอภิสิทธิ์จึงต้องรับผิดทางอาญาทั้งเป็นผู้กระทำความผิดหลักและผู้สนับสนุน และมีความผิดชอบในฐานะผู้บังคับบัญชาการด้วย ดังนั้นด้วยความเคารพ ผู้ร้องจึงร้องขออีกครั้งให้โอทีพีประกาศต่อสาธาณชนและเปิดการตรวจสอบเบื้องต้นกรณีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี 2553