Facebook นพ.เหวง โตจิราการ 9 พฤศจิกายน 2555 >>>
คำถาม คำตอบ 4 ข้อ เรื่อง การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) เฉพาะกรณีเมษา-พฤษภา 53
1. การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี เฉพาะเหตุการณ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 53 จะเป็นเหตุกระทบสถาบันหรือไม่ ??
ไม่กระทบเลยครับ ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เพราะการประกาศยอมรับอำนาจศาลไอซีซีดังกล่าว ต้องระบุอาชญกรรมเฉพาะนะครับ ในคราวนี้เราก็ระบุเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 เท่านั้นครับ ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับทางสถาบันแม้แต่น้อยเลยครับ จึงไม่ต้องกังวลใจว่าจะมีอะไรไปกระทบสถาบันเป็นอันขาด
2. การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซีเฉพาะเหตุการณ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะเป็นเหตุให้ ฝ่ายตรงข้ามส่งเรื่อง “ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ กรือเซะ ตากใบ”เอาโทษนายกทักษิณชินวัตรหรือไม่ ?
ไม่กระทบกระเทือนแต่อย่างไรครับ เพราะกรณี ”ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ เป็นวาทกรรมโกหกของพรรคฝ่ายค้านเท่านั้น” ครับ ไม่ใช่เรื่องนโยบาย นายกทักษิณชินวัตร ท่านไม่ได้เกี่ยวข้อง ท่านไม่ได้ออกคำสั่ง อีกทั้งไม่ใช่เป็นการกระทำอย่างกว้างขวางอย่างเป็นระบบเพื่อการฆ่าทำลายล้าง ทั้งหมด ไม่ได้เข้าองค์ประกอบของธรรมนูญกรุงโรมทั้งสี่ข้อเลยครับ คือ
1. อาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์
2. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
3. อาชญากรรมสงคราม
4. อาชญากรรมรุกราน
นอกจากนี้่ ในกรณีฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ ได้มีการส่งเรื่องสู่ศาลสถิตยุติธรรมไทยไปแล้วกว่า 40 สำนวน และศาลได้ทะยอยมีคำพิพากษาออกมาแล้ว ส่วนกรือเซะและตากใบศาลไทยก็มีคำพิพากษาออกมาแล้ว ด้งนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศไม่สามารถ รับทั้งสามเรื่องได้ครับ
ดังนั้นการประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซีไม่ได้มีผลเสียต่อนายกทักษิณชินวัตร ในเรื่อง “ฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ กรือเซะ ตากใบ” เลยครับไม่มีอะไรน่าห่วง
ที่จริง รอง นรม. รมต.ต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เคยประกาศให้พรรคประชาธิปัตย์ส่งเรื่องมาให้ท่าน ท่านยินดีที่จะนำเรื่องส่งต่อไปยังไอซีซี ด้วยซ้ำ ท่านยังย้ำเลยว่า “แล้วคอยดูว่า ไอซีซี จะว่าอย่างไร”
3. การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี เฉพาะเหตุการณ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 53 เป็นกรณีตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่ ?
ไม่เข้าเลยครับ เพราะเป็นการแสดงเจตนาแต่เพียงฝ่ายเดียว จึงไม่ใช่สนธิสัญญา จึงไม่เข้ามาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะสนธิสัญญาต้องเป็นเรื่องที่ มีสองฝ่าย สองฝ่ายได้ประชุมตกลงกัน แล้วมีความเห็นร่วมเป็นข้อตกลงจากการประชุม แล้วก็ต้องมีการลงนามในสนธิสัญญาทั้งสองฝ่าย
แต่นี่เป็นการแสดงเจตนาแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่มีการพบปะสองฝ่าย ไม่มีการประชุมร่วม ไม่มีการตกลง ไม่มีความเห็นร่วมกันเป็นข้อตกลง ไม่มีการลงนามในสนธิสัญญา จึงไม่ใช่สนธิสัญญา
ในเรื่องนี้ ศาลยุติธรรมโลกเคยมีคำพิพากษา ในเรื่อง “Fisheries Declration”ที่เกิดข้อพิพาทระหว่าง “สเปญและคานาดา” ว่า การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่าประเทศแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่เป็นสนธิสัญญา ดังนั้นย่อมใช้ได้กับ ศาลอาญาระหว่างประเทศเช่นกัน
นอกจากนี้ยังลงลึกถึงขั้นว่า หากการประกาศแต่เพียงฝ่ายเดียวแล้วก่อให้พันธกรณีที่ต้องทำตามกฏหมาย คณะกรรมาธิการว่าด้วยกฏหมายของสหประชาชาติก็ได้มีบทบัญญัติเอาไว้ใน “Guiding Principle about unilateral declaration” ว่า การก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฏหมายไม่ถือว่าเป็นสนธิสัญญา
หลักนิติธรรมย่อมเป็นหลักเดียวกันทั่วโลก ดังนั้น กรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญไทย จะวินิจฉัยผิดไปจากศาลโลกได้หรือไม่ ? หากวินิจฉัยผิดไปจากหลักการที่วางโดยศาลโลกศาลรัฐธรรมนูญไทยใช้หลักการทางกฏหมายอะไร อย่างไร ???
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ กฏหมายของโลก หรือธรรมนูญกรุงโรมนั้น ผู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ในแก่นของกฏหมายและนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องแม้จะนำมาประกอบกับข้อเท็จจริงของไทยก็ตาม ใครจะทำได้ดีกว่ากัน ???
4. การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซีเฉพาะเหตุการณ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 53 จะเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของไทยหรือไม่ ??
เรื่องนี้ นาง Fatou Bensouda ได้ตอบชัดว่า “การประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี ไม่ได้บ่งชี้ว่า ประเทศที่ประกาศยอมรับนั้น ไม่สามารถดำเนินกระบวนกการยุติธรรมภายในของตนได้”
ไอซีซี มีบทบาทเพียงเสริมศาลภายในประเทศเท่านั้น กระบวนการยุติธรรมของไอซีซี จะเข้ามาดำเนินการ ได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่า “กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศไม่สามารถ (unable) ดำเนินการ หรือ
ไม่สมัครใจ (unwilling) ที่จะดำเนินการ หรือไม่ได้ดำเนินการอย่างแท้จริง (ingenuine) เท่านั้น"
Fatou Bensouda ยังกล่าวว่า นี่เป็นเพียงการตรวสอบเบื้องต้นเท่านั้น ว่าไอซีซีจะมีอำนาจพิจารณากรณีนี้หรือไม่ และยังบอกว่า ประเทศที่ประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซี อาจถอนคำประกาศในภายหลังได้
เพราะไม่ใช่สนธิสัญญาแต่เป็นการประกาศแต่เพียงฝ่ายเดียว
ทั้งหมดล้วนยืนยันว่าไม่ได้มีผลเสียหายอะไรต่อประเทศไทย ประชาชนไทย หรือต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ชินวัตรแม้แต่น้อย
แม้ฝ่ายตรงข้ามไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญไทย ก็ไม่รู้ว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยจะไปวินิจฉัยว่าเป็นสนธิสัญญาได้อย่างไร
ตรงข้าม กลับเป็นประโยชน์กับประเทศไทยและประชาชนไทยอย่างใหญ่หลวง เพราะเพียงประกาศยอมรับเขตอำนาจไอซีซีเฉพาะกรณีเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 53 แต่เพียงฝ่ายเดียว
จะทำให้พวกที่ทำรัฐประหาร ต้องเล็งเห็นชตากรรมของพวกเขาว่า พวกเขาจะต้องเดินทางขึ้นสู่ศาลไอซีซีอย่างแน่นอน
หรือพวกที่คิด จะสังหารประชาชนสองมือเปล่าด้วยกำลังทหารติดอาวุธสงครามอีกก็ต้องรับชตากรรมในการขึ้นศาลไอซีซีเช่นกัน ดู พอลพต เฮงสัมริน เขียว สัมพันธ์ ของเขมรแดงเป็นตัวอย่างก็แล้วกัน