มติชน 4 กันยายน 2555 >>>
วันที่ 3 ต.ค. นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ว่า ทางศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มีโครงการ กระบวนการถกแถลงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกระบวนการถกแถลงรัฐธรรม ถ้ามีการเลือก สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ควรมีเลือกตั้ง 200 คน หรือมีมากมีน้อยตามสัดส่วนประชากร ประชากรมาก ส.ส.ร. ก็มาก ประชากรน้อยก็มี ส.ส.ร. น้อย แต่ไม่ได้รับความเห็นพ้องจากกรรมาธิการของรัฐสภาในเรื่องของเนื้อหาการแก้ไขบางประเด็น ทั้งนี้ ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. มีข้อเสนออยู่ 2 ทางเลือก คือทางเลือกที่ 1 แบบไม่่เป็นทางการ คือ การให้รัฐสถาแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและยกร่างรัฐธรรมนูญ (กกร.) หรือการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และเสนอรัฐสภาตามมาตรา 291 หรือพิจารณาตามกระบวนการที่กำหนดไว้ หากผ่านวาระสองแล้วควรทิ้งระยะเวลาไปสักพักหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนลงมติ ทั้งนี้ ประชาชนอาจจะมีส่วนรวมในการสรรหาจังหวัดละคนเช่นเดียวกับการสรรหา ส.ส.ร. 2 ตามสายอาชีพ ผู้เชี่ยวชาญ และน่าจะมีตัวแทนพรรคการเมืองตามสัดส่วนในสภาผู้แทนราษฎร อีกวิธีหนึ่งที่มีการถกแถลงกันคือ ให้มี กกร. 200 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยเลือกตั้งโดยอ้อมเพื่อไม่ให้ยุ่งยาก ไม่ว่าจะเลือกตั้งจากสมาชิกอบต. เทศบาล อบจ. ส.ส. ส.ว. ซึ่งเรื่องนี้ ได้มีการนำเสนอให้คณะกรรมการพรรคร่วมรัฐบาลและ และให้ทุกฝ่ายเห็นพ้องกับกระบวนการ
นอกจากนี้ อ.โคทม ยังกล่าวอีกว่า การร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลเองก็จะแก้ ซึ่งเป็นไปได้แต่อาจจะมีปัญหาบ้าง เพราะกลัวว่าการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับอาจจะไม่ราบรื่น ขระที่การแก้รายมาตราอาจจะกระทบมาตราอื่น แต่ท้ายที่สุดทางเลือกมีหลายทาง ขึ้นอยู่กับว่าขณะนี้ รัฐบาลจะเดิหน้าฝ่ายเดียวหรือหลายฝ่าย แต่ตนเห็นด้วยกับการแก้หลายฝ่าย ส่วนรายระเอียดเป็นอย่างไรไม่สำคัญ รัฐสภาเสียงข้างมากก็อยู่ที่รัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นเสียงข้างมากอยู่แล้ว ต้องคุยกันทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลจนกระทั่งตกผลึก จนทุกคนรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ