ข่าวสด 24 ตุลาคม 2555 >>>
ไต่สวนนัดสุดท้ายคดี "ชาญณรงค์" ถึงคิว 4 พยานปากสำคัญ ทั้ง "อนุพงษ์" "กัมปนาท" "เทพเทือก" "ณัฐวุฒิ" ขึ้นเบิกความ ทนายชี้พยานหลักฐานโยงชัด ฝีมือ จนท.รัฐ แน่ ด้านเมียเตรียมลุ้นฟังไต่สวนด้วย "ตู่" บุกดีเอสไออีก ยื่นเพิ่มหลักฐานการชุมนุมเสื้อแดงปี 53 "ดีเอสไอ" รุดเช็กวงจรปิดเข้า-ออกราบ 11 ช่วงตั้ง ศอฉ. แต่ทหารอ้างไม่ได้บันทึกภาพ ชี้ติดตั้งกล้องไว้ดูแลความปลอดภัยเท่านั้น "รองโฆษก ทบ." ปัดชายชุดดำเข้า-ออก ศอฉ. ยันตรวจสอบได้ พม. จ่ายอีก เยียวยาม็อบทุกสีรอบ 7 รวม 425 ราย
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 ต.ค. ที่พรรคเพื่อไทย นพ.เหวง โตจิราการ พร้อม นพ. เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายไพโรจน์ อิสรเสรีพงษ์ ส.ส.กทม. ร่วมกันแถลงข่าว โดย นพ.เหวงกล่าวว่า ในวันที่ 24 ต.ค. เวลา 12.00 น. จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้เปิดเผยผลการศึกษา กรณีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงปี 2552 บริเวณหน้ารัฐสภา โดยมีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานสภาในขณะนั้น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งภายใต้การบริหารของรัฐบาลพรรคประชาธิ ปัตย์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี โดยครั้งนั้นมีเหตุการณ์สำคัญที่ยังเป็นปริศนาของสังคมคือ การเสียชีวิตของพลทหารอภินพ เครือสุข ภายในบ้านพักแม่ทัพภาคที่ 1 และกรณีคลิปเสียงที่คล้ายนายอภิสิทธิ์สั่งสลายการชุมนุม โดยทราบว่าในขณะนี้ผลสอบดังกล่าวแล้วเสร็จ แต่ถูกปิดเป็นความลับ จากนั้นในเวลา 15.00 น. วันเดียวกัน จะไปยื่นคำร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อให้รับการพิจารณา 2 คดีดังกล่าวด้วย
ด้าน พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ 98 ศพ ในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2553 กล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนคดีว่า จากกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำนปช. มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา โดยนายจตุพรได้อธิบายถึงรายละเอียด ขั้นตอน และรูปแบบการเคลื่อนไหว พร้อมให้ข้อมูลว่า มีพยานเห็นกลุ่มชายชุดดำนั่งรถตู้สีขาว มีตราสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ติดอยู่ ออกจากกรมทหารราบที่ 11 รอ.
พ.ต.อ.ประเวศน์ กล่าวต่อว่า พนักงานสอบสวนได้ประสานไปยังกรมทหารราบที่ 11 รอ. เพื่อขอภาพจากกล้องวงจรปิด ทั้งขาเข้าและออกในช่วงที่มีการชุมชนุมปี 2553 ตามที่นายจตุพรกล่าวอ้าง แต่ทหารได้ส่งหนังสือตอบกลับมาว่า ไม่ได้มีการบันทึกภาพวงจรปิดในปี 2553 เพียงติดตั้งกล้องไว้ตรวจสอบดูแลความปลอดภัยในกรมทหารราบที่ 11 รอ. โดยไม่มีการบันทึกภาพไว้ อย่างไรก็ตาม วันที่ 24 ต.ค. นายจตุพรจะมาพบพนักงานสอบสวนอีกครั้ง เพื่อนำข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับการชุมนุมและการประชุมของแกนนำในปี 2553 มามอบให้
วันเดียวกัน พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า เรื่องดังกล่าวตรวจสอบได้ตามขั้นตอน จึงอยากขอให้สังคมร่วมพิจารณาว่า เมื่อก่อนจะมีคนบางกลุ่มพยายามปฏิเสธเรื่องของชายชุดดำ แต่ในปัจจุบันการรับรู้ของสังคมเปลี่ยนไป เนื่องจากข้อเท็จจริงที่หลายฝ่ายไม่อาจปฏิเสธได้ ว่ามีกลุ่มดังกล่าวจริง จึงอาจเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีบางกลุ่มพยายามออกตัวปฏิเสธในความ เชื่อมโยงกับกลุ่มชายชุดดำ
"ตอนนี้มีพยายามชี้นำความเชื่อ ของสังคมไปในทิศทางอื่นหรือทิศทางตรงข้ามความเป็นจริง เช่น พยายามทำให้เห็นว่าชายชุดดำมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเชื่อว่าคงต้องมีการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวที่อ้างถึงด้วย เพราะหลายครั้งที่ผ่านมาไม่สามารถพิสูจน์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงได้อย่างเป็น รูปธรรม" รองโฆษก ทบ. กล่าว
พ.อ.วินธัย กล่าวอีกว่า ช่วงที่มีการชุมนุมหลายคนได้เห็นภาพข่าวผ่านสื่อไปบ้าง เราจะเห็นพฤติกรรมของกลุ่มชายชุดดำ แสดงออกชัดเจนถึงความต้องการที่จะต่อต้านและทำร้ายทหารด้วยอาวุธสงครามนานา ชนิด ถึงขั้นเป็นเหตุให้ประชาชนและทหารบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยสังเกตได้ชัดเจนว่า ระหว่างที่กลุ่มชายชุดดำปฏิบัติการต่อต้านเจ้าหน้าที่อยู่นั้น กลุ่มชายชุดดำสามารถอยู่ร่วมในกลุ่มผู้ชุมนุมได้ด้วยความคุ้นเคยอย่างเปิด เผย อีกทั้งยังแสดงออกให้เห็นถึงการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการร่วมกันปฏิบัติการต่อต้านทหาร จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเจ้าหน้าที่หรือใครก็ตามที่ไม่คุ้นเคยกัน จะเข้าไปอยู่รวมปะปนในกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมได้
ขณะที่นายโชค ชัย อ่างแก้ว ทนายความ กล่าวถึงการไต่สวนนัดสุดท้ายคดีนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ชุมนุมกลุ่มนปช. ที่ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ว่าการไต่สวนนัดสุดท้ายในวันที่ 24 ต.ค. ได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่จะเข้าเบิกความรวม 4 ปาก ประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีต ผบ.ทบ. พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีต ผอ.ศอฉ. และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และแกนนำ นปช. ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น. โดย แนวทางการไต่สวน กรณีนายสุเทพจะไต่สวนเรื่องการออกคำสั่งและการปฏิบัติของ ศอฉ. สำหรับนายณัฐวุฒิจะไต่สวนเกี่ยวกับการชุมนุมว่าเป็นอย่างไร ส่วน พล.อ.อนุพงษ์ จะไต่สวนเรื่องการควบคุมการปฏิบัติของทหาร และ พล.ต.กัมปนาท จะไต่สวนเรื่องการวางกำลังในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น ราชปรารภ พญาไท เพชรบุรี และถนนศรีอยุธยา
"คาดว่าพยานทุกปากจะมา เพราะเคยขอเลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเวลาเตรียมตัว แต่หากพยานคนใดไม่มา สามารถแจ้งเหตุให้ทราบในวันนัดไต่สวนได้ ซึ่งต้องหารือกับทนายอีกคนหนึ่งก่อนว่า ยังต้องการไต่สวนเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่ หรือพยานหลักฐานที่มีเพียงพอหรือไม่ ถ้าต้องการคงต้องขอเลื่อนการไต่สวน หากไม่ต้องการก็จะไต่สวนเป็นนัดสุดท้าย แต่ที่ออกหมายเรียกไป เพราะต้องการข้อเท็จจริงจากพยานทั้ง 4 ปาก เพื่อยืนยันข้อมูลประกอบการพิจารณา ส่วนกรณีที่ศาลจะมีคำสั่งอย่างไร ไม่ขอก้าวล่วง แต่หากมีคำสั่งออกมาว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ศาลจะส่งสำนวนคดีอาญาไปยังดีเอสไอ เหมือนกับคดีของนายพัน คำกอง เพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป" นายโชคชัย กล่าว
นายโชคชัยกล่าวต่อว่า จากพยานหลักฐานในคดีและการไต่สวนที่ผ่านมา คิดว่ามีมากพอและยืนยันได้ว่านายชาญณรงค์ถูกกระสุนที่ยิงมาจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณดังกล่าว ทั้งรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) ที่ระบุว่าเกิดจากกระสุนของเจ้าหน้าที่ ส่วนรายงานของพนักงานสอบสวนก็สรุปความเห็นว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่อีกเช่นกัน รวมถึงประจักษ์พยาน เช่น นายไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพสำนักข่าวเนชั่น ซึ่งถูกยิงที่ขาและบันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ได้
นายโชคชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีพยานวัตถุเป็นกระสุนปืน .223 (5.56 ม.ม.) ที่พบในศพ ซึ่งใช้กับอาวุธปืนเอ็ม 16 และ ทาโวร์ โดยพบกระสุนปืนชนิดนี้ในที่เกิดเหตุด้วย เพราะขณะนั้นเจ้าหน้าที่ระดมยิงกดดันผู้ชุมนุมที่นำยางรถยนต์มาตั้งบังเกอร์ หน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ และจากผลการตรวจรอยกระสุนที่บังเกอร์พบว่า มาจากฝั่งของเจ้าหน้าที่
ด้านนางสุริยันต์ พลศรีลา ภรรยาของนายชาญณรงค์ กล่าวว่า การไต่สวนนัดสุดท้ายนี้จะไปกับลูกสาวคนโต และจะอยู่ฟังจนจบการไต่สวน แต่ยังกลัวว่าพยานที่ถูกหมายเรียกจะมาไม่ครบ เพราะมีแต่บุคคลสำคัญ ถามว่ารู้สึกอย่างไร ก็รู้สึกดีใจมากที่คดีเดินหน้ามาถึงจุดนี้ แต่ไม่ค่อยตื่นเต้นกับการไต่สวนนัดสุดท้ายเท่าไร เนื่องจากเวลาผ่านมานานแล้ว ทำให้จิตใจเข้มแข็งที่จะรอ ถ้าเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งก็จะตื่นเต้นมาก เพราะรอลุ้นให้ถึงวันนั้นมาตลอด และเชื่อมั่นว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่แน่นอน จากการฟังพยานที่อยู่ในเหตุการณ์หลายคนก็พูดตรงกัน แต่ไม่รู้ว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างไร
ที่กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ประกาศรายชื่อผู้ได้รับสิทธิเยียวยา หลังได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2548-2553 ครั้งที่ 7 รวม 425 ราย แบ่งเป็นกรณีเสียชีวิต 5 ราย กรณีทุพพลภาพ 5 ราย สูญเสียอวัยวะสำคัญ 4 ราย กรณีสูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ 6 ราย กรณีบาดเจ็บสาหัส 13 ราย กรณีบาดเจ็บ 87 ราย กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย 295 ราย กรณียื่นเรื่อง 2 เหตุการณ์ 2 ราย กรณีขอค่ารักษาพยาบาล 4 ราย และกรณีขอคืนเงินหักไว้เกิน 4 ราย
สำหรับรายชื่อกรณีเสีย ชีวิต 5 ราย ประกอบด้วย
1. นายประจวบ ศิลาพันธ์
2. นายสมัย ทัดแก้ว
3. นายพรสวรรค์ นาคะไชย
4. นายธนากร ปิยะผลดิเรก
5. นายรณชัย ไชยศรี
ขณะที่กรณีทุพพลภาพ 5 ราย ประกอบด้วย
1. นายวิทยา สาระโท
2. นายสิทธิพงษ์ สิทธิสีจันทร์
3. พลทหารนิวัฒน์ เพียรอดวงษ์
4. นายธีระพงษ์ศักดิ์ สังฆะทิตย์
5.นายสุชิน แสนรินทร์
กรณีสูญเสียอวียวะสำคัญ 4 ราย ประกอบด้วย
1. นายประยงค์ ทรัพย์อุไรรัตน์
2. นายนวพงษ์ วรคชิน
3. นายชัชชัย บริบูรณ์
4. น.ส.สุวิรัลพัชธ วิษวัมพรชัย
กรณีสูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ 6 ราย ประกอบด้วย 1.นายสนอง พานทอง 2.นาย ภูกาญจน์ คังฆะ 3.นายปิยะพงษ์ วนะสิทธิ์ 4.นายฐิติกร แฉ่งคำโฉม 5.นายสุริยน ไม้ประเสริฐ 6.พ.อ.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช กรณีบาดเจ็บสาหัส 13 ราย 1.นายเนลสัน เซอร์เกแรนด์ 2.นายสมร ไหมทอง 3.นาย วรเชษฐ์ สถานทรัพย์ 4.นายสุทิน ชามนตรี 5.นายสุวสัน ตินนัง 6.นายเจษฎา จันทร์กระจ่าง 7.ส.ต.ชัยสิทธิ์ ขาวโพธิ์เอน 8.นาย วรวิทย์ จำนงค์นอก 9.นายแชนด์เลอร์ แวนเดอร์กริฟต์ 10.นายเอกประพันธ์ พาณิชย์พงศ์ 11.นายชัยวิทย์ สุขสวัสดิ์ 12. นายบัวศรี ทุมมา 13.จ.ส.อ.นิด กระจันทร์
ไต่สวนนัดสุดท้ายคดี "ชาญณรงค์" ถึงคิว 4 พยานปากสำคัญ ทั้ง "อนุพงษ์" "กัมปนาท" "เทพเทือก" "ณัฐวุฒิ" ขึ้นเบิกความ ทนายชี้พยานหลักฐานโยงชัด ฝีมือจนท.รัฐแน่ ด้านเมียเตรียมลุ้นฟังไต่สวนด้วย "ตู่"บุกดีเอสไออีก ยื่นเพิ่มหลักฐานการชุมนุมเสื้อแดงปี ?53 "ดีเอสไอ"รุดเช็กวงจรปิดเข้า-ออกราบ 11 ช่วงตั้งศอฉ. แต่ทหารอ้างไม่ได้บันทึกภาพ ชี้ติดตั้งกล้องไว้ดูแลความปลอดภัยเท่านั้น "รองโฆษกทบ."ปัดชายชุดดำเข้า-ออกศอฉ. ยันตรวจสอบได้ พม.จ่ายอีก เยียวยาม็อบทุกสีรอบ 7 รวม 425 ราย
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 ต.ค. ที่พรรคเพื่อไทย นพ.เหวง โตจิราการ พร้อม นพ. เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายไพโรจน์ อิสรเสรีพงษ์ ส.ส.กทม. ร่วมกันแถลงข่าว โดย นพ.เหวงกล่าวว่า ในวันที่ 24 ต.ค. เวลา 12.00 น. จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้เปิดเผยผลการศึกษา กรณีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงปี 2552 บริเวณหน้ารัฐสภา โดยมีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานสภาในขณะนั้น ซึ่งได้รับการแต่งตั้งภายใต้การบริหารของรัฐบาลพรรคประชาธิ ปัตย์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี โดยครั้งนั้นมีเหตุการณ์สำคัญที่ยังเป็นปริศนาของสังคมคือ การเสียชีวิตของพลทหารอภินพ เครือสุข ภายในบ้านพักแม่ทัพภาคที่ 1 และกรณีคลิปเสียงที่คล้ายนายอภิสิทธิ์สั่งสลายการชุมนุม โดยทราบว่าในขณะนี้ผลสอบดังกล่าวแล้วเสร็จ แต่ถูกปิดเป็นความลับ จากนั้นในเวลา 15.00 น. วันเดียวกัน จะไปยื่นคำร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อให้รับการพิจารณา 2 คดีดังกล่าวด้วย
ด้านพ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ 98 ศพ ในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองปี 2553 กล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนคดีว่า จากกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำนปช. มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา โดยนายจตุพรได้อธิบายถึงรายละเอียด ขั้นตอน และรูปแบบการเคลื่อนไหว พร้อมให้ข้อมูลว่า มีพยานเห็นกลุ่มชายชุดดำนั่งรถตู้สีขาว มีตราสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ติดอยู่ ออกจากกรมทหารราบที่ 11 รอ.
พ.ต.อ.ประเวศน์กล่าวต่อว่า พนักงานสอบสวนได้ประสานไปยังกรมทหารราบที่ 11 รอ. เพื่อขอภาพจากกล้องวงจรปิด ทั้งขาเข้าและออกในช่วงที่มีการชุมชนุมปี 2553 ตามที่นายจตุพรกล่าวอ้าง แต่ทหารได้ส่งหนังสือตอบกลับมาว่า ไม่ได้มีการบันทึกภาพวงจรปิดในปี 2553 เพียงติดตั้งกล้องไว้ตรวจสอบดูแลความปลอดภัยในกรมทหารราบที่ 11 รอ. โดยไม่มีการบันทึกภาพไว้ อย่างไรก็ตาม วันที่ 24 ต.ค. นายจตุพรจะมาพบพนักงานสอบสวนอีกครั้ง เพื่อนำข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับการชุมนุมและการประชุมของแกนนำในปี 2553 มามอบให้
วันเดียวกัน พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า เรื่องดังกล่าวตรวจสอบได้ตามขั้นตอน จึงอยากขอให้สังคมร่วมพิจารณาว่า เมื่อก่อนจะมีคนบางกลุ่มพยายามปฏิเสธเรื่องของชายชุดดำ แต่ในปัจจุบันการรับรู้ของสังคมเปลี่ยนไป เนื่องจากข้อเท็จจริงที่หลายฝ่ายไม่อาจปฏิเสธได้ ว่ามีกลุ่มดังกล่าวจริง จึงอาจเป็นไปได้ที่กลุ่มผู้ไม่หวังดีบางกลุ่มพยายามออกตัวปฏิเสธในความเชื่อมโยงกับกลุ่มชายชุดดำ
"ตอนนี้มีพยายามชี้นำความเชื่อของสังคมไปในทิศทางอื่นหรือทิศทางตรงข้ามความเป็นจริง เช่น พยายามทำให้เห็นว่าชายชุดดำมีความเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเชื่อว่าคงต้องมีการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวที่อ้างถึงด้วย เพราะหลายครั้งที่ผ่านมาไม่สามารถพิสูจน์ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม" รองโฆษกทบ.กล่าว
พ.อ.วินธัยกล่าวอีกว่า ช่วงที่มีการชุมนุมหลายคนได้เห็นภาพข่าวผ่านสื่อไปบ้าง เราจะเห็นพฤติกรรมของกลุ่มชายชุดดำ แสดงออกชัดเจนถึงความต้องการที่จะต่อต้านและทำร้ายทหารด้วยอาวุธสงครามนานาชนิด ถึงขั้นเป็นเหตุให้ประชาชนและทหารบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยสังเกตได้ชัดเจนว่า ระหว่างที่กลุ่มชายชุดดำปฏิบัติการต่อต้านเจ้าหน้าที่อยู่นั้น กลุ่มชายชุดดำสามารถอยู่ร่วมในกลุ่มผู้ชุมนุมได้ด้วยความคุ้นเคยอย่างเปิดเผย อีกทั้งยังแสดงออกให้เห็นถึงการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในการร่วมกันปฏิบัติการต่อต้านทหาร จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเจ้าหน้าที่หรือใครก็ตามที่ไม่คุ้นเคยกัน จะเข้าไปอยู่รวมปะปนในกลุ่มผู้ร่วมชุมนุมได้
ขณะที่นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความ กล่าวถึงการไต่สวนนัดสุดท้ายคดีนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ชุมนุมกลุ่มนปช. ที่ถูกยิงเสียชีวิต บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ว่าการไต่สวนนัดสุดท้ายในวันที่ 24 ต.ค. ได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่จะเข้าเบิกความรวม 4 ปาก ประกอบด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีตผอ.ศอฉ. และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และแกนนำนปช. ตั้งแต่เวลา 09.00-16.30 น.
โดยแนวทางการไต่สวน กรณีนายสุเทพจะไต่สวนเรื่องการออกคำสั่งและการปฏิบัติของศอฉ. สำหรับนายณัฐวุฒิจะไต่สวนเกี่ยวกับการชุมนุมว่าเป็นอย่างไร ส่วนพล.อ.อนุพงษ์จะไต่สวนเรื่องการควบคุมการปฏิบัติของทหาร และพล.ต.กัมปนาทจะไต่สวนเรื่องการวางกำลังในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น ราชปรารภ พญาไท เพชรบุรี และถนนศรีอยุธยา
"คาดว่าพยานทุกปากจะมา เพราะเคยขอเลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเวลาเตรียมตัว แต่หากพยานคนใดไม่มา สามารถแจ้งเหตุให้ทราบในวันนัดไต่สวนได้ ซึ่งต้องหารือกับทนายอีกคนหนึ่งก่อนว่า ยังต้องการไต่สวนเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่ หรือพยานหลักฐานที่มีเพียงพอหรือไม่ ถ้าต้องการคงต้องขอเลื่อนการไต่สวน หากไม่ต้องการก็จะไต่สวนเป็นนัดสุดท้าย แต่ที่ออกหมายเรียกไป เพราะต้องการข้อเท็จจริงจากพยานทั้ง 4 ปาก เพื่อยืนยันข้อมูลประกอบการพิจารณา ส่วนกรณีที่ศาลจะมีคำสั่งอย่างไร ไม่ขอก้าวล่วง แต่หากมีคำสั่งออกมาว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ศาลจะส่งสำนวนคดีอาญาไปยังดีเอสไอ เหมือนกับคดีของนายพัน คำกอง เพื่อให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป" นายโชคชัยกล่าว
นายโชคชัยกล่าวต่อว่า จากพยานหลักฐานในคดีและการไต่สวนที่ผ่านมา คิดว่ามีมากพอและยืนยันได้ว่านายชาญณรงค์ถูกกระสุนที่ยิงมาจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณดังกล่าว ทั้งรายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่ระบุว่าเกิดจากกระสุนของเจ้าหน้าที่ ส่วนรายงานของพนักงานสอบสวนก็สรุปความเห็นว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่อีกเช่นกัน รวมถึงประจักษ์พยาน เช่น นายไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพสำนักข่าวเนชั่น ซึ่งถูกยิงที่ขาและบันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ได้
นายโชคชัยกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีพยานวัตถุเป็นกระสุนปืน .223 (5.56 ม.ม.) ที่พบในศพ ซึ่งใช้กับอาวุธปืนเอ็ม 16 และ ทาโวร์ โดยพบกระสุนปืนชนิดนี้ในที่เกิดเหตุด้วย เพราะขณะนั้นเจ้าหน้าที่ระดมยิงกดดันผู้ชุมนุมที่นำยางรถยนต์มาตั้งบังเกอร์หน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ และจากผลการตรวจรอยกระสุนที่บังเกอร์พบว่า มาจากฝั่งของเจ้าหน้าที่
ด้านนางสุริยันต์ พลศรีลา ภรรยาของนายชาญณรงค์ กล่าวว่า การไต่สวนนัดสุดท้ายนี้จะไปกับลูกสาวคนโต และจะอยู่ฟังจนจบการไต่สวน แต่ยังกลัวว่าพยานที่ถูกหมายเรียกจะมาไม่ครบ เพราะมีแต่บุคคลสำคัญ ถามว่ารู้สึกอย่างไร ก็รู้สึกดีใจมากที่คดีเดินหน้ามาถึงจุดนี้ แต่ไม่ค่อยตื่นเต้นกับการไต่สวนนัดสุดท้ายเท่าไร เนื่องจากเวลาผ่านมานานแล้ว ทำให้จิตใจเข้มแข็งที่จะรอ ถ้าเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งก็จะตื่นเต้นมาก เพราะรอลุ้นให้ถึงวันนั้นมาตลอด และเชื่อมั่นว่าเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่แน่นอน จากการฟังพยานที่อยู่ในเหตุการณ์หลายคนก็พูดตรงกัน แต่ไม่รู้ว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างไร
ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ประกาศรายชื่อผู้ได้รับสิทธิเยียวยา หลังได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2548-2553 ครั้งที่ 7 รวม 425 ราย แบ่งเป็นกรณีเสียชีวิต 5 ราย กรณีทุพพลภาพ 5 ราย สูญเสียอวัยวะสำคัญ 4 ราย กรณีสูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ 6 ราย กรณีบาดเจ็บสาหัส 13 ราย กรณีบาดเจ็บ 87 ราย กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย 295 ราย กรณียื่นเรื่อง 2 เหตุการณ์ 2 ราย กรณีขอค่ารักษาพยาบาล 4 ราย และกรณีขอคืนเงินหักไว้เกิน 4 ราย
สำหรับรายชื่อกรณีเสียชีวิต 5 ราย ประกอบด้วย 1.นายประจวบ ศิลาพันธ์ 2.นายสมัย ทัดแก้ว 3.นายพรสวรรค์ นาคะไชย 4.นายธนากร ปิยะผลดิเรก 5.นายรณชัย ไชยศรี ขณะที่กรณีทุพพลภาพ 5 ราย ประกอบด้วย 1.นายวิทยา สาระโท 2.นายสิทธิพงษ์ สิทธิ สีจันทร์ 3.พลทหารนิวัฒน์ เพียรอดวงษ์ 4.นายธีระพงษ์ศักดิ์ สังฆะทิตย์ 5.นายสุชิน แสนรินทร์ กรณีสูญเสียอวียวะสำคัญ 4 ราย ประกอบด้วย 1.นายประยงค์ ทรัพย์อุไรรัตน์ 2.นายนวพงษ์ วรคชิน 3.นายชัชชัย บริบูรณ์ 4.น.ส.สุวิรัลพัชธ วิษวัมพรชัย
กรณีสูญเสียอวัยวะไม่สำคัญ 6 ราย ประกอบด้วย 1.นายสนอง พานทอง 2.นาย ภูกาญจน์ คังฆะ 3.นายปิยะพงษ์ วนะสิทธิ์ 4.นายฐิติกร แฉ่งคำโฉม 5.นายสุริยน ไม้ประเสริฐ 6.พ.อ.เกรียงศักดิ์ นันทโพธิ์เดช กรณีบาดเจ็บสาหัส 13 ราย 1.นายเนลสัน เซอร์เกแรนด์ 2.นายสมร ไหมทอง 3.นาย วรเชษฐ์ สถานทรัพย์ 4.นายสุทิน ชามนตรี 5.นายสุวสัน ตินนัง 6.นายเจษฎา จันทร์กระจ่าง 7.ส.ต.ชัยสิทธิ์ ขาวโพธิ์เอน 8.นาย วรวิทย์ จำนงค์นอก 9.นายแชนด์เลอร์ แวนเดอร์กริฟต์ 10.นายเอกประพันธ์ พาณิชย์พงศ์ 11.นายชัยวิทย์ สุขสวัสดิ์ 12. นายบัวศรี ทุมมา 13.จ.ส.อ.นิด กระจันทร์