สัมภาษณ์โดย ยานน แฟรนองเดส (Yann Fernandez) และ ปิแยร์ เกอะเฟอเลก (Pierre Quifellec) แปลโดย Cretel Sivaporn
ภาพคณะวุฒิสมาชิก 4 ท่านในกลุ่มสัมพันธ์ฝรั่งเศส-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าพบอาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา (ภาพจากทีมข่าว นปช.)
ตัวแทนคณะกรรมการของวุฒิสมาชิกฝรั่งเศสกลุ่มสัมพันธ์ฝรั่งเศส-เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 4 ท่านได้เข้าพบตัวแทนทางการเมืองของไทย ผู้นำกลุ่มเสื้อแดง และเหล่าสมาชิกในสมาคมคนฝรั่งเศสในประเทศไทยเมื่อวันอาทิตย์ถึงวันอังคารที่ผ่านมา พวกเขายินดีที่จะตอบคำถามให้กับ “เปอติ๊จูรนาล.คอม” ที่กรุงเทพฯ เพื่อสรุปสิ่งต่างๆที่กำลังจะมาถึง
จากซ้ายไปขวา ฌอง-โคล้ด เรอกีเย้ (Jean-Claude Requier) แบร์นารด์ โซเจ้ (Bernard Saugey) ผู้รับผิดชอบกิจการของสถานทูตฝรั่งเศส ยานน ปราโด (Yann Pradeau) เจรารด์ มิเกล (Gérard Miquel) และแอรเว่ โมเรย์ (Hervé Maurey) ในการรับรองเมื่อวันอาทิตย์ที่สถานทูตฝรั่งเศส (รูปจากสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย)
ตัวแทนคณะกรรมการของวุฒิสมาชิกฝรั่งเศสกลุ่มสานสัมพันธ์ฝรั่งเศส-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้4ท่านจากวุฒิสภาฝรั่งเศสเยือนประเทศไทยเมื่อวันอาทิตย์-วันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งการเดินทางครั้งนี้คณะวุฒิสมาชิกทั้ง4ท่านเดินมาเพื่อศึกษาความเป็นมาเป็นไปต่างๆ พวกเขาได้เข้าพบประธานวุฒิสภาไทย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. อันเป็นกลุ่มหลักซึ่งก่อตัวจากกลุ่มเสื้อแดง) และผู้แทนกลุ่มคนฝรั่งเศสในไทย พวกเขายังได้เข้าพบกับผู้อำนวยการพิเศษสำนักงานการกระจายอำนาจ (ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี) “เพื่อหยิบยกโครงการที่น่าสนใจร่วมกันขึ้นมาเจรจา ซึ่งอาจจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันในการกระจายอำนาจอย่างจริงจัง” ทั้งนี้กลุ่มวุฒิสภาได้ขออนุญาตเข้าพบปะกับผู้แทนเสื้อเหลืองเช่นกัน หากแต่ท้ายที่สุดแล้วทางผู้แทนฯไม่ได้ให้เข้าพบแต่อย่างใด ขณะนี้วุฒิสภาอยู่ในประเทศพม่าเพื่อการเยี่ยมเยือนเป็นเวลา 4 วัน ซึ่งในช่วงเวลานี้พวกเขาก็จะเข้าพบประธานาธิบดี เต็ง เส่ง หรือรองประธานาธิบดี ประธานสภาสูง และล่าง ประธานพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา (พรรคการเมืองอันมีต้นกำเนิดจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง) หนึ่งในตัวแทนคณะผู้แทนขององค์กรนานาชาติ กลุ่มผู้แทนของชาวฝรั่งเศสในพม่า และเข้าเยี่ยมเยือนโครงการที่ได้ดำเนินการขององค์การพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอฝรั่งเศส
คำถามจากเลอเปอติ๊จูรนาล กรุงเทพฯ: อะไรคือแรงจูงใจของการเยี่ยมเยือนประเทศไทยและพม่าในครั้งนี้ อะไรคือผลลัพธ์จากพบปะต่างๆที่ผ่านมา
เจรารด์ มิเกล (วุฒิสมาชิกจากแคว้นลอต พรรคสังคมนิยม [Parti socialiste] ฝ่ายซ้ายและประธานของกลุ่มสานสัมพันธ์ในครั้งนี้): เราเลือกที่จะเยี่ยมเยือนประเทศไทยและพม่าเนื่องจากในช่วงเวลาที่ผ่านมา2ประเทศนี้มีเหตุการณ์ทางการเมืองอันเป็นเหตุแห่งวิวัฒนาการในแง่บวกอันเป็นที่น่าสนใจ พม่ากำลังเปิดประเทศ สำหรับประเทศไทย ก็เห็นได้จากเหตุการณ์ต่างๆเมื่อปี 2010 เราคาดหวังจากเหตุการณ์เหล่านั้นว่าจะนำไปสู่วิวัฒนาการทางการเมืองอันน่าสนใจเช่นกัน ซึ่งเราสามารถเห็น (ขณะที่สนทนา) วิวัฒนาการเหล่านั้นบนแผนการทางการเมืองและเศรษฐกิจ ว่ามีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างจากเดิมที่เคยมี ทางเราได้ทราบดีว่าสิ่งต่างๆในประเทศไทยดำเนินไปด้วยดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมายอดการขายเครื่องบินแอร์บัสนั้นเป็นไปอย่างน่าพึงพอใจมากหรือน้อยแตกต่างกันไป แต่ในปีถัดไป ยอดขายนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางบวก และเราจะดูด้วยว่า เราจะสามารถให้ความสะดวกในการแลกเปลี่ยนต่างๆนี้อย่างไร อีกทั้งเราจะสามารถช่วยเหลือบริษัทห้างร้านสัญชาติชาติฝรั่งเศสที่อยู่ในไทยอยู่แล้วและที่ต้องการจะลงทุนในประเทศไทยได้อย่างไร เราได้ทำการพบปะที่น่าสนใจอย่างยิ่งโดยได้พบปะกับรองประธานสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวานนี้ (วันจันทร์) ประธานวุฒิสภาผู้ซึ่งเข้าใจภาษาฝรั่งเศสเป็นอย่างดี และเพื่อนร่วมงานของกลุ่มสานสัมพันธ์ ไทย-ฝรั่งเศสของวุฒิสภาไทย ซึ่งกลุ่มที่ว่านี้จะเดินทางมาเยือนฝรั่งเศสในเดือนตุลาคมนี้ นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีไทย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ไปเยี่ยมเยือนฝรั่งเศสเมื่อไม่นานมานี้ (เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งได้เข้าพบประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส) ทั้งหมดทั้งปวงแสดงให้เห็นถึงสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งเราจะต้องทำทุกอย่างเพื่อดูแลความสัมพันธ์นี้ อันเป็นเป้าหมายสำคัญของภารกิจในครั้งนี้
เลอเปอติ๊จูรนาล กรุงเทพฯ: คุณมีทัศนคติต่อการทำงานของสถาบันต่างๆของรัฐสภาไทยอย่างไร
เจรารด์ มิเกล: มันค่อนข้างยากที่จะอธิบาย จากการพบปะเพียงวันครึ่ง แล้วจะให้กล่าวถึงทัศนคติต่อการทำงานสถานบันต่างๆ แต่ผมมีความรู้สึกว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจอะไรที่ชัดเจน จะเป็นสถาบันทหารเสียมากกว่าที่ครอบครองอำนาจต่างๆ ซึ่งดูได้จากรัฐธรรมนูญฉบับที่เพิ่งผ่านประชามติซึ่งถูกเสนอโดยเหล่าทหารและจากศาล (รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550-บรรณาธิการ) ซึ่งไม่ได้ให้อำนาจมากมายนักกับรัฐสภา แต่สิ่งต่างๆสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดหวังอย่างแน่นอน
เลอเปอติ๊จูรนาล กรุงเทพฯ: มีสัญญาณอันใดอันเป็นสัญญาณบวกที่จะสามารถนำไปสู่วิวัฒนาการที่ว่านี้หรือไม่
แบรนารด์ โซเจ้ (วุฒิสมาชิกจากแคว้นอิแซร พรรคสหภาพแนวร่วมประชาชน [Union pour un Mouvement Populaire] ฝ่ายขวาและประธานผู้แทนกลุ่มเพื่อนประเทศไทย): ผมคิดว่าสัญญาณบวกนั้นใช้เวลานานกว่าจะมาถึงและประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่ค่อนข้างติดขัด ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญอย่างไม่ต้องสงสัย ณ ที่นี้ ไม่มีอะไรที่ต้องกล่าวถึง ไม่มีการละเมิดสิทธิใดๆ ทุกๆอย่างนั้นเท่าเทียม แต่พวกเรารู้สึกว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงที่อยู่ที่กล่องลงคะแนนเสียงนั้นไม่ได้ให้ผลลัพธ์มากมายนัก เราคิดว่ามันสามารถมีวิวัฒนาการได้ ถ้ามีการเมืองที่มาจากความตั้งใจ (มาจากการเลือกของประชาชน) แต่มันจะเพียงพอที่จะต่อสู้กับบางสิ่งที่ขวางกั้นเป็นอย่างมากหรือไม่นั้น อันนี้ผมไม่แน่ใจ
เจรารด์ มิเกล: มัน (ระบบการเมืองของไทย) ไม่สามารถรองรับเอาความพึงพอใจของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจึงเกิดวิวัฒนาการขึ้น เหล่าสมาชิกเสื้อแดงนั้นกระตือรือล้นเป็นอย่างมาก เราได้พบปะกับประธานกลุ่ม (นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ อันเป็นกลุ่มหลักก่อตั้งจากกลุ่มเสื้อแดง) เธอเป็นผู้หญิงที่ทำงานอย่างหนัก เราไม่สามารถบอกได้ว่า ถ้าเป็นเราเราจะสามารถควบคุมสถานการณ์อย่างนี้ได้อย่างไร มันคงจะมีการดำเนินการอะไรซักอย่างเพื่อให้สิ่งต่างๆได้เคลื่อนไหวอย่างแน่นอน ในพม่านั้นเหล่าสถาบันทางทหารผู้มีอำนาจที่ตระหนักว่ามันจะต้องทำอะไรซักอย่างเพื่อให้ระบบเกิดการพัฒนา ซึ่งแน่นอนว่า การพัฒนาที่ว่านี้อาจจะไม่รวดเร็วอย่างที่เราคาดหวังแต่ก็มีหนทางที่เปิดให้ดำเนินไป
แบรทารด์ โซเจ้: มันดีกว่าถ้าจะมีวิวัฒนาการอย่างช้าๆ ทั้งในกรณีของประชาธิปไตยและในกรณีความสงบสุขของประชากรพม่า
แอรเว่ โมเรย์ (วุฒิสภาแคว้นเอิรก พรรคสหภาพสายกลาง [Union Centriste] สายกลางเอียงซ้าย รองประธานกลุ่ม): สำหรับผู้ที่สนใจ (ในประเทศไทย) สำหรับพวกเรารัฐสภาฝรั่งเศส เรามีชีวิตทางการเมืองที่แตกต่างอย่างชัดเจนกับของทางไทย แวบแรกเราสามารถคิดได้ว่าเรามีอะไรที่เหมือนกันในเรื่องประชาธิปไตย เนื่องจากเรามีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตย แต่จากการที่เราได้เข้าพบปะ เราถึงได้เข้าใจว่ารัฐสภาและราชการนั้นมีอำนาจแค่เพียงส่วนหนึ่ง เราค้นพบว่าอำนาจส่วนใหญ่นั้นถูกครอบครองโดยสถาบันทหาร ซึ่งเหล่าผู้พิพากษา ก็เกี่ยวเนื่องกับพวกกลุ่มอนุรักษนิยม และเหล่าทหารเช่นกัน เราทราบดีว่าสถานการณ์นั้นยุ่งยากแค่ไหน เห็นได้จากการที่มีคำขู่ว่าจะมีรัฐประหารทุกครั้งที่กลุ่มพลังทางการเมืองก้าวลึกไปข้างหน้าเกินไป เรารู้สึกว่าผู้รับผิดชอบทางการเมืองนั้นมีขอบเขตในการทำงานสูงมาก เราเห็นอย่างชัดเจนจากความใครที่จะปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ
แบนารด์ โซเจ้: และที่ลืมไม่ได้คือวุฒิสมาชิกครึ่งหนึ่งมาจากการเสนอชื่อแต่งตั้ง
เจรารด์ มิเกล: เรารู้สึกถึงความตั้งใจของเหล่าวุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งที่เราได้พบปะที่จะพายามกระจายอำนาจให้มากขึ้น ผมคิดว่าถ้าพวกเขาเหล่านั้นมีส่วนในกระบวนการกระจายอำนาจ และกระบวนการกระจายอำนาจนี้ก่อร่างอย่างดี นั่นจะเป็นตัวนำพาให้เกิดวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงต่างๆในสถาบันต่างๆในประเทศ ซึ่งต่อมาจะทำให้ประชาธิปไตยตั้งตัวได้อย่างรวดเร็วขึ้น เราดูได้จากประมาณที่เราได้มาจากการเลือกตั้งท้องถิ่นใน 30 ปีที่ผ่านมา.... (การกระจายอำนาจ)มันได้นำอำนาจเข้าใกล้มวลชนมากที่สุด
แบรนารด์ โซเจ้: จากการที่เราได้พบปะผู้ว่าราชการ กทม. เมื่อวันจันทร์เช้าที่ผ่านมา (วันจันทร์) ท่านได้บอกเราว่าทางกรุงเทพฯเป็นผู้จัดการการขนส่งมวลชน แต่รถประจำทางนั้นเป็นสมบัติรัฐ สำหรับพวกเรานั้นมันเป็นเรื่องที่ไม่ควรเป็นเช่นนั้น สำหรับแผนเศรษฐกิจ เรารู้สึกว่าประเทศไทยนั้นตระหนักถึงการเปิดเขตการค้าอาเซียนเป็นอย่างมาก คุณมีความเห็นอย่างไรภายหลังจากการพบปะต่างๆ
แบรนารด์ โซเจ้: เราได้กล่าวถึงอาเซียนเป็นอย่างมากแน่นอน เรารู้สึกว่าประเทศไทยมีความกระหายเกี่ยวกับการเปิดเขตการค้านี้ เราไม่รู้ว่าอาเซียนนั้นจะไปได้ไกลขนาดไหน แต่จากที่เลขาธิการระยะยาวของกระทรวงการต่างประเทศได้บอกกล่าวกับเราว่าจะมีหลายหลากประเทศเข้าร่วม ซึ่งรวมไปถึงรัสเซียด้วย
แอรเว่ โมเรย์: ในวันที่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมาถึงนั้น (AEC จะเริ่มดำเนินการในปี2015) ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า แต่ก็ถือเป็นการกระโดดเข้าหาสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เช่นกัน ผู้เกี่ยวข้องของเราหลายท่านได้กล่าวว่าให้จับตาดูอย่างระมัดระวังถึงสิ่งที่ได้ส่งผลต่อและสิ่งที่สามารถส่งผลต่อยุโรป ซึ่งมันจะมีสิ่งที่เกี่ยวข้องระหว่างหน้าที่ของประเทศฝรั่งเศสในสหภาพยุโรป และของประเทศไทยในกลุ่มอาเซียน ซึ่งเป็นที่น่าสนใจต่อเหล่าผู้เกี่ยวข้องของเรา
เลอเปอติ๊จูรนาล กรุงเทพฯ: กลุ่มธุรกิจใดของฝรั่งเศสที่น่าจะสนใจในก้าวเดินก้าวใหม่นี้
แบรนารด์ โซเจ้: กลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ เช่นเคย ยกตัวอย่างเช่น แอร์บัส เหล่าผู้แทนของบริษัทได้กล่าวกับเราเมื่อวานนี้ว่าบริษัทการบินมาเลเซีย (มาเลเซีย แอร์ไลน์) เป็นเจ้าของแอร์บัสถึง 500 ลำ ซึ่งหมายถึงว่าเครื่องบินของบริษัทการบินมาเลเซียนั้นเป็นแอร์บัสทั้งหมด แอร์บัสนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีโครงการให้บริการการบินความเร็วสูงอีกด้วย
เจรารด์ มิเกล: เกี่ยวกับพลังงานก็ด้วย เนื่องจากสองประเทศนี้จะมีการต้องการใช้พลังงาน และประเทศฝรั่งเศสนั้นมีผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง ซึ่งใครก็ไม่สามารถเห็นเป็นอย่างอื่นได้ ทั้งในแผนพลังงานน้ำ และพลังงานนิวเคลียร์ อีกทั้งการบำบัดน้ำเสียอันเป็นปัญหาสำคัญของโซนนี้ การต่อสู้ทางการตลาดนั้นมีค่อนข้างสูง กลุ่มธุรกิจใหญ่ๆของประเทศเราต้องมีประสิทธิภาพ แต่เราก็มีข้อได้เปรียบใหญ่ๆหลายข้อ เราได้เข้าพบผู้รับผิดชอบชาวฝรั่งเศสของกลุ่มมาตรฐานสูงท่านหนึ่งในสถานทูตฝรั่งเศส ผู้ซึ่งได้กล่าวกับทางเราว่าบริษัทของเขานั้นมีความก้าวหน้าอย่างยอดเยี่ยม ซึ่งธุรกิจของประเทศเรานั้นต้องการเป็นอย่างมาก
เลอเปอติ๊จูรนาล กรุงเทพฯ: บนขั้นบันไดลำดับความสำคัญสำหรับประเทศฝรั่งเศส เอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นอยู่ในขั้นใด ?
แบรนารด์ โซเจ้: ผมเชื่อว่าเราไม่สามารถพูดกันได้แบบนี้ การก้าวหน้าต่างๆนั้นมีส่วนมากจากคณะผู้ทำงานที่ประจำอยู่ ณ ประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เรามีคณะทำงานที่ดีเยี่ยมทั้งในสถานทูตและในบริษัทใหญ่สัญชาติฝรั่งเศส ปิแยร์ จาเฟรอะ (รองประธานพิเศษโซนเอเซีย-แปซิฟิกของ EADS (European Aeronautic Defence and Space Company)) ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในโซนนี้เป็นเวลา 15 ปี เป็นต้น มันเป็นสิ่งสำคัญเมื่อจะก่อตั้งบริษัทในต่างประเทศ ทั้งนี้ยังมีบริษัทโตตาลในพม่า มิชเชอร์ลัง อัลสตอม ซาโนฟี่อีกด้วย
เลอเปอติ๊จูรนาล กรุงเทพฯ: เหล่าตัวละครทั้งหมดเหล่านั้นจะไปจัดตั้งในพม่าด้วยหรือไม่
แบรนารด์ โซเจ้: แน่นอน แต่ก็ควรต้องระมัดระวังด้วย
เจรารด์ มิเกล: ผู้เกี่ยวข้องได้กล่าวกับพวกเราด้วยว่า ประเทศฟิลิปปินส์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าลงทุนเป็นอย่างยิ่ง
แอรเว่ โมเรย์: อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดทั้งปวงได้นำความสบายใจกลับคืนมาให้เรา เนื่องจากในประเทศฝรั่งเศส เรามีความกังวลไปเองตลอดเวลา แต่เมื่อเราได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองว่าผู้แทนทางเศรษฐกิจของเรานั้นทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ กลุ่มธุรกิจต่างๆที่เรากล่าวถึงอันเป็นกลุ่มที่มิได้นำมาซึ่งความอับอายให้กับประเทศฝรั่งเศส ในทางกลับกันยังนำพาความภาคภูมิใจมาให้กับประเทศอีกด้วย
เลอเปอติ๊จูรนาล กรุงเทพฯ: คุณมีทัศนคติอย่างไรเมื่อก่อนที่จะเยือนพม่า
แบรนารด์ โซเจ้: พวกเราต้องการตรวจสอบว่าที่เค้าพูดๆกันนั้นเป็นอย่างไร เช่น พวกเขาได้ยกเลิกการเซนเซอร์ (สื่อมวลชน) ลบชื่อบุคคล 2,000 คน (ที่ถูกทางการขับไล่) จากบัญชีดำ พวกเราต้องการเห็นอย่างชัดเจนว่ามันเปลี่ยนไปอย่างไร
แอรเว่ โมเรย์: ตอนที่เราเข้าพบปะพูดคุย เราได้เห็นว่า หลายๆสิ่งที่ออกมาเป็นวาจาแต่ไม่สามารถเห็นได้จริง จากการติดตามอย่างระมัดระวังถึงความเป็นไปในประเทศตามสื่อต่างๆ มันน่าสนใจที่จะดูว่าสิ่งต่างๆนั้นมีวิวัฒนาการอย่างไร มีจังหวะอย่างไร แลการเปลี่ยนแปลงนั้นจริงหรือไม่ในประเทศพม่า เราได้พบกับคำถามมากมายมากกว่าความมั่นใจในช่วงก่อนออกจากพม่า
คำถามจาก ยานน แฟรนองเดส และ ปิแยร์ เกอะเฟอเลก พฤหัสบดีที่ 6 กันยายน 2012