5 กันยายน 2555
บรรยายสรุปเกี่ยวกับกระบวนการเจรจา
เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับ 'กระบวนการเจรจา' ที่ถามโดยนักข่าวที่อาวุโสท่านหนึ่ง เรามีความยินดีที่จะประกาศการบรรยายสรุปต่อสาธารณะดังนี้
ในขณะที่การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเป็นหน้าที่ของชนชาวมลายูปาตานีทุกๆคนและในอีกแง่หนึ่ง เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาก็ไม่ชอบความรุนแรงเหมือนๆกับกลุ่มชนที่รักสันติอื่น ๆ เพราะแทนที่จะสามารถแก้ปัญหา ในบางครั้งจะนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ มาทับถมแทน ในการให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้ เราจึงให้โอกาสเสมอแก่ 'กระบวนการเจรจาหรือ Dialogue Process' ที่ผ่านๆมากับหน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยบางหน่วยผ่านองค์กรไกล่เกลี่ยเอ็นจีโอระหว่างประเทศ ถึงกระนั้น ถึงแม้ว่าวันเวลาแห่งการพบปะดังกล่าวที่อำนวยความสะดวกโดยองค์กรเหล่านั้นมีมานานพอสมควร แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากฝ่ายรัฐไทยเองไม่มีความจริงใจ มีความขัดแย้งของผลประโยชน์กันเองที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการนี้ แถมมีความเงื่อนงำเป็นชาตินิยม(สุดโต่ง)และการขาดกติกาจริยธรรมความรับผิดชอบ คือสาเหตุของความคืบหน้าในกระบวนการสันติภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืนนั้น เกิดการล่าช้าหรือหยุดชะงักลง
ในส่วนของการดำเนินการกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐไทยและขบวนการปลดปล่อยมลายูปตานีนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ดังที่บางฝ่ายเข้าใจและแน่นอนไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงเวลานี้ และเพื่อแสดงให้เห็นว่าชนชาวมลายูปาตานี 'ดารุสซาลาม/ดินแดนแห่งสันติ' มีความปรารถนาที่จะดำรงชีวิตและทำมาหากินอย่างสงบดังกล่าวข้างต้นเช่นกลุ่มชนอื่นๆ กระบวนการเจรจากับสยามประเทศหรือรัฐไทยในปัจจุบัน จึงเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่นในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดขึ้นระหว่างแนวร่วมปลดปล่อยปาตานีบางกลุ่มกับหน่วยความมั่นคงไทย และในอดีตหากย้อนกลับไปถึงทศตวรรษที่ 1950 หรือหลังการลุกฮือที่รู้จักกันในนามสงครามดุซงญอในปี 1948 ก็เริ่มมีการเจรจากันหลายรอบระหว่างผู้นำทางการเมืองสยามในขณะนั้นกับผู้นำของฝ่ายชนชาวมลายูปาตานีคือโต็ะครูหะยีสุหลง โดยในที่สุดมีข้อสรุปในลักษณะ การเรียกร้อง 7 ประการ แต่การเรียกร้องในลักษณะนี้ ไม่เพียงแค่ถูกปฎิเสธ จากฝ่ายรัฐไทยใหม่เท่านั้น หากแต่ได้นำโศกนาฎกรรมการสูญเสียสู่ชนชาวมลายูปาตานี ท่านโต็ครูหะยีสุหลงและพวกถูกเจ้าหน้าที่รัฐไทยวิสามัญกรรม ด้วยสถานการณ์ที่ยิ่งเลวร้าย การต่อสู้ในเชิงสันติวิถีตามประเพณีดั้งเดิมของชนชาวปาตานีเสมือนถูกบีบบังคับโดยรํฐไทยด้วยลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง เริ่มด้วยนโยบายกลมกลืนรัฐานิยมตั้งแต่อดีตจนถึงการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในปัจจุบันนี้ ที่เปิดโอกาสให้ จนท. ฝ่ายมั่นคงของรัฐไทยใช้กำลังเกินขอบเขตมนุษยธรรมและธรรมเนียมไม่เอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐไทย ทำให้ชนชาวมลายูปาตานีเริ่มปกป้องตนเองและต่อสู้ด้วยการจับอาวุธนับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ถึงกระนั้น ชนชาวมลายูปาตานีที่มีกองกำลังอาวุธเป็นแนวหน้าก็ไม่ตัดประเด็นกระบวนการเจรจาเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีทางทางการเมือง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับฐานความความคิดและจุดยืนของรัฐไทยว่าจะให้ความสำคัญต่อทางออกนี้สักเพียงไร
แน่นอนที่สุด ตราบใดที่รัฐไทยยังไม่คิดที่จะเคารพและยอมรับสิทธิตามธรรมชาติและเชื้อชาติของชนชาวมลายูปาตานีอย่างเต็มอัตราที่พวกเขามีความภาคภูมิใจในความเป็นปาตานีครั้นในอดีต ปัจจุบันและไปจนถึงอนาคตอันไกล และการที่รัฐไทยสามารถทำได้แค่เยียวยารักษาแผลเป็นที่ได้กระทำไว้ต่อชนชาวปาตานีด้วยการโรยเงินดังผักชีโรยหน้า ฤาจะสามารถรักษาให้หายขาดหยั่งลึกถึงจิตใจอย่างถาวรได้ ?
และการยอมรับอย่างมีความเข้าใจเพื่ออนาคตร่วมกันนั้น หวังว่าจะไม่มีการตีค่าของความเป็นปาตานีอย่างถูกๆเช่นการทิ้งท้ายด้วยประโยคที่ว่า "ร่วมพัฒนาชาติไทย" ที่ใครคนหนึ่งเคยลั่นวาจาไว้ในโอกาสการพบปะครั้งที่แล้วอีก เพราะหากมีจิตใจแน่วแน่ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุข สันติและเคียงบ่าเคียงไหล่กับกลุ่มชนอื่นหรือชาติอื่น การเคารพในความภาคภูมใจของกันและกันนั้นย่อมสำคัญ