(ทำไม) หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน (เมื่อยังไม่) ถึงทางตันขบวนการนักศึกษา ?

มติชน 11 กันยายน 2555 >>>




ประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีความสำคัญและถูกรำลึกถึงอยู่บ่อยๆ คือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาคม ปี 2535 ส่วนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หลายฝ่ายก็อยากจำบางฝ่ายก็อยากให้ลืมและนั่นอาจรวมถึงเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมษายา-พฤษภาคมปี 2553 ด้วยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
กลุ่มผู้ที่มีบทบาทขับเคลื่อนทางการเมืองคือ กลุ่ม "นิสิตนักศึกษา"เป็น "หัวขบวน" กลุ่มแรก ๆ ที่เรียกร้องให้มีการประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ จัดการเลือกตั้งโดยประชาชนนำไปสู่
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และก็เป็น "หัวขบวน" กลุ่มแรก ๆ อีกเช่นกัน ที่เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าแรงแก่ จนนำไปสู่เหตุการณ์ล้อมปราบนิสิตนักศึกษาและประชาชนภายในธรรมศาสตร์ และ "ใต้ต้นมะขาม"  6 ตุลาคม 2519 !!! หลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่ "ยุคป่าแตก" แนวคิดสังคมนิยมพ่ายแพ้ต่อทุนนิยม เกิดกลุ่มคนชนชั้นกลางที่ต้องการ"เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง"อย่างเต็มที่ไม่ ก็นำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง"
ที่น่าสังเกตคือ หัวขบวนไม่ได้มาจากนิสิตนักศึกษาแต่เป็นภาคประชาสังคมซึ่งก็คือกลุ่มคนที่กลับมาจาก "ป่า" และเรียนอยู่ในยุค "14 ตุลา 16" จนล่าสุดเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่ประชาชน-รากหญ้า เข้ามาในเมืองกรุง เรียกร้องให้รัฐบาล "อภิสิทธิ์" ยุบสภา
นำไปสู่การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทหาร-ประชาชน "98 ศพ" เกิดไฟไหม้ศูนย์การค้าใหญ่ "เผาบ้านเผาเมือง" แล้ว "การมีส่วนร่วม" จากนิสิตนักศึกษาก็ไม่มีบทบาทหรือไม่ถูกจับจ้องเท่าที่ควร
อีกทั้งในช่วงนี้ที่สังคมไทยมี "ความขัดแย้งสูง" หลายส่วนในสังคมยังคาดหวัง "พลังนักศึกษา" เพราะสังคมเชื่อว่าเป็นพลังที่บริสุทธิ์ปราศจากความเป็นการเมือง
ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงนั้น"กลับหายไปในสังคม" นำไปสู่งานเสวนาที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกลุ่มประชาคมจุฬาลงกรณ์เพื่อประชาชนหรือซีซีพี"หมดจิตหมดใจจะใฝ่ฝัน : ถึงทางตันขบวนการนักศึกษา ?"
ตั้งคำถามว่าพลังนักศึกษาหายไปไหนหรือทำอย่างไรให้กลับมามีบทบาทในสังคมอีกครั้งเกรียงกมล เลาหะไพโรจน์ อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ปี 2518
เป็นคนแรกที่ตอบคำถามดังกล่าว่า แท้จริงแล้วพลังนักศึกษาไม่ได้หายไปไหนและไม่เชื่อว่าจะถึงทางตันของขบวนการนักศึกษาเขายังมองภาพกลับว่าปัญญาชนในสมัยปัจจุบันมีกระบวนการคิดการตั้งคำถามกับสังคมลึกซึ้งกว่าคนในรุ่นเขาเสียอีก
โดยเฉพาะสภาพสังคมหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 2549 ประชาชนรวมถึงนักศึกษาเองก็มีความรับรู้ทางการเมืองที่ลึกซึ้งกว่าคนที่อยู่ในเหตุการณ 14 ตุลาคม 2516 เพียงแต่สังคมในสมัยปัจจุบันบีบคั้นนิสิตนักศึกษามากเกินไปรับผิดชอบมากขึ้น ต่างจากรุ่นของเขาที่มีเวลาในการทำกิจกรรมได้หลากหลายดังนั้นจึงไม่สามารถตัดสินที่ตัวนิสิตนักศึกษาได้อย่างเดียวเสมอไป และไม่เชื่อว่านิสิตนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมืองจะมีน้อย
อดีต เลขาฯ ศนท. กล่าวต่อว่า การชุมนุมหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ปี 49 เป็นต้นมาแม้จะเป็นผู้ใหญ่ที่ออกมาชุมนุม แต่คนเหล่านี้ก็มีลูกหลานที่คิดไม่ต่างจากพ่อแม่ของตนเองเช่นกันจึงน่ายกย่องขบวนการนักศึกษาที่ยังทำกิจกรรมทางการเมืองถือเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากในสังคม เพราะสามารถจัดสรรทรัพยากรและเวลามาทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวมแล้วคนที่ทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยก็จะได้ทักษะ ความสามารถในการทำงานกับผู้อื่นและความภาคภูมิใจในตัวเองทั้งนี้ขบวนการนิสิตนักศึกษาก็ต้องหาทางสื่อสารด้วยกัน พยายามจัดหัวข้อเสวนาให้น่าสนใจมากขึ้นหรืออาจช่วยกันผลักดันสังคมให้เกิด
ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ทำให้รัฐบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรมเชื่อมั่นในเสียงของประชาชนพร้อมทั้งกล่าวสรุปฝากถึงนิสิตนักศึกษารุ่นนี้ว่า "นิสิตนักศึกษาอย่าหยุดฝันที่ต้องการเห็นสังคมไทยดีกว่านี้" ส่วนชูวัส ฤกษ์ศิริสุข อดีตกรรมการบริหารสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งปะเทศไทย (สนนท.) ปี 2535 มองว่า ถ้าขบวนการนิสิตนักศึกษาตั้งโจทย์ใหญ่ต้องการเป็นองค์กรชี้นำประเด็นทางสังคมเป็นองค์กรที่เปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจเป็น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่วนใหญ่เริ่มจากจุดเล็กๆเสมอ
ดังนั้นคงต้องดูว่าจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นองค์กรจัดตั้งขนาดใหญ่เท่านั้นถึงจะมีอิทธิพลทางความคิดกับคนในสังคมกลุ่มเล็กๆอย่างประชาคมจุฬาฯกลุ่มเสรีธรรมศาสตร์ฯ อาจมีอิทธิพลทาง หัวใจของขบวนการนักศึกษาคือแรงบันดาลใจที่จะทำตามความฝัน
ถ้าไม่มีแรงบันดาลใจขบวนการจะไม่มีทางเติบโต"ดวงดาวอาจไม่ใช่เป้าหมาย แต่วิธีการหรือกระบวนการเรียนรู้ต่างหากที่จะน่าจะเป้าหมายยิ่งกว่า ขอให้มีความใฝ่ฝัน ผลิตมันออกมา แม้ไม่ถึงดวงดาวก็น่าจะได้อะไรบางอย่างกลับมาเสมอ" ด้านอติเทพ ไชยสิทธิ์ กรรมการบริหาร สนนท. ปี 2553เห็นว่า พลังนักศึกษาไม่ใช่พลังบริสุทธิ์เหมือนงานวรรณกรรมหรือบทกวีจากคนยุค 14 แต่นิสิตนักศึกษาก็เป็นมนุษย์ทั่วไปที่ต้องการผลประโยชน์เช่นกัน
ด้วยเหตุนี้นิสิตนักศึกษายุคปัจจุบันยังไม่เห็นถึงผลประโยชน์ที่จะต้องออกมาแสดงพลังเพื่อเรียกร้องบางอย่างดังนั้นถ้าอยากให้ภาพขบวนการนักศึกษายิ่งใหญ่ก็ต้องทำให้นิสิตนักศึกษาเห็นว่า ถ้าพวกเขาไม่ออกมาชุมนุมทางการเมืองก็อาจจะเสียผลประโยชน์ของตนเองไปแล้วขณะนี้ กลุ่มการเมืองภาคประชาชนก็ไม่ถูกปิดกั้นเหมือนเมื่อก่อน
มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่เข้าเชื่อมโยงกันทั้งสังคมดังนั้นภาคประชาชนจึงสามารถแลกเปลี่ยนทางความคิดแสดงพลังหรือความเห็นที่แหลมคมกว่านิสิตนักศึกษาด้วยซ้ำอีกทั้งโครงสร้างองค์กร สนนท. เองก็มีลักษณะคล้ายพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นองค์กรที่ตอบโจทย์ความหลากหลายแต่จำนวนสมาชิกที่อยู่ใน สนนท. ในปัจจุบัน
กลับไม่มีความหลากหลายและมีจำนวนสมาชิกน้อยเกินไป ด้วยเหตุนี้อาจจะต้องปรับโครงสร้าง สนนท. ให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้นทำให้ขบวนการนักศึกษาไม่ใช่ขบวนการชี้นำทางสังคมเหมือนในอดีตแต่เป็นองค์กรหนึ่งหนึ่งของภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
สนนท. อาจเป็นองค์กรที่มีอยู่ตามเฉพาะกาลเป็นองค์กรกลาง เชื่อมกลุ่มกิจกรรมของมหาวิทยาลัยทั้งหมดถ้ากลุ่มกิจกรรมในมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมร่วมกัน และนี่คือคำตอบจากอดีตหัวหน้าขบวนการนักศึกษาตัวแทนสามยุคสามสมัยของประวัติศาสตร์การเมืองไทยไล่มาตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 ถึงเมษายน-พฤษภาคม 2553 ที่มองตรงกันว่าพลังนักศึกษาไม่ได้หายไปไหนเพียงแต่ไม่ควรยึดติดว่าจะต้องรวมตัวกันขนานใหญ่เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอีกทั้งหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยต่อจากนี้คงเป็นหน้าที่ของ"ประชาชนรากหญ้า" ที่จะมีพื้นที่เขียนประวัติศาสตร์ของตัวเองหลังจากที่ให้นิสิตนักศึกษาเขียนประวัติศาสตร์ของตัวเองจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และกลุ่มนักธุรกิจชนชั้นกลางจากเหตุการณ์พฤษภาคมปี 2535 ที่สำคัญอย่าลืมว่า พลังทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น
   "ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดๆ"แต่ต้องมีปัจจัยทางสังคมเกื้อหนุนเพราะถ้าไม่มีเผด็จการทหารก็ไม่มีการเรียกร้องประชาธิปไตยแล้วนิสิตนักศึกษาจะเข้ามามีบทบาทได้อย่างไรอีกทั้งการรวมตัวกันจากคนกลุ่มๆเล็กก็มีความสำคัญ ผู้เขียนจึงอยากให้ข้อมูล"อีกด้าน"ทางประวัติศาสตร์ว่าการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาที่ยิ่งใหญ่อาจจะเกิดจากกลุ่มนิสิตนักศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ที่สนใจการเมืองจริง ๆ เอาปูนกาวหยอดไว้ที่กลอนประตู เพื่อไม่ให้นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำการสอบได้ เลยต้องมานั่งรวมตัวกันบริเวณสนามฟุตบอล หน้าเวทีชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่จัดโดยนิสิตนักศึกษาที่สนใจการเมืองในช่วงยุคสายลม-แสงแดด"
สำคัญแต่ว่าต่อจากนี้จะทำอย่างไรให้นิสิตนักศึกษาเห็นผลประโยชน์ของการออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งคงเป็นหน้าที่หลักของ สนนท. ต่อจากนี้ที่จะทำให้นิสิตนักศึกษาเห็น "ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตย" ของสังคมไทยดังนั้นนอกจากจะยังไม่ถึงทางตันของขบวนการนักศึกษาแล้ว ยังเชื่อได้เลยว่าถ้ามี "พื้นที่" ให้นักศึกษาก้าวออกมาเราอาจจะได้เห็น "ขบวนการนักศึกษาอีกครั้ง" จึงเป็นหน้าที่ของ "ผู้ใหญ่" ที่จะเปิด "พื้นที่" สำหรับขบวนการนักศึกษา จะเป็นทางตันหรือทางต่อฝากผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้คิดกันต่อไป...