หมายเหตุ - นาย ถวิล เปลี่ยนศรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ในฐานะอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และอดีตเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เปิดแถลงข่าวชี้แจงกรณีนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาระบุว่าเป็นผู้ทราบเรื่องว่าใครสั่งสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2553
ถวิล เปลี่ยนศรี
อดีตเลขาธิการ สมช.
อดีตเลขานุการ ศอฉ.
"...นายธาริตเสนอความเห็นหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการทำงานช่วงนั้นมาก และได้รับคำชมว่านายธาริตเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำงาน..."
ข้อ เท็จจริงบางอย่างเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม แต่เมื่อเข้าสู่เวลาหนึ่งกลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง คิดว่าถ้าบ้านเมืองเป็นแบบนี้ เวลาผ่านมาแค่ไม่กี่เดือนแต่ข้อเท็จจริงบางอย่างถูกบิดเบือน เราจะเขียนประวัติศาสตร์ในหลายๆ ปีได้อย่างไร
เรื่องของการปฏิบัติ งานของเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์การสลายการชุมนุม ข้อเท็จจริงมีเพียงข้อเท็จจริงเดียว วันเวลาผ่านไปจะต้องไม่เปลี่ยนแปลง ในเหตุการณ์นั้นเจ้าหน้าที่ออกมาเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อระงับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดจากการชุมนุมประท้วงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำวินิจฉัยออกมาชัดเจนแล้วว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย และเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำเนินตามกฎหมายได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักสากล
ส่วนประเด็นการทำงานใน ศอฉ. (ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน) เป็นรูปแบบคณะกรรมการ มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มีปลัดกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผบ.เหล่าทัพ ร่วมเป็นกรรมการ ผมเป็นเลขานุการ ศอฉ. นายธาริตก็เป็นกรรมการ ศอฉ.ด้วย ตั้งกองกำลังที่ ร.11 รอ. ทำงานทุกวัน แรกๆ จะประชุมวันละสี่ครั้ง โดยมีกรรมการมาร่วมประชุม ผมกับนายธาริตร่วมประชุมด้วย เริ่มจากบรรยายสรุปว่าในแต่ละวันมีสถานการณ์เช่นใด ผู้ชุมนุมกระทำการเช่นใด ขอเรียนว่า ไม่มีการสั่งการจากที่ประชุมว่าให้ไปดำเนินการแบบนั้นแบบนี้ เพราะมีการปรึกษาหารือกัน รวมทั้งใครที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของ ศอฉ. กรรมการก็สามารถโต้แย้งแก้ไขได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นความเห็นในทิศทางเดียวกัน
สำ หรับนายธาริตเสนอความเห็นหลายเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการทำงานช่วงนั้นมาก และได้รับคำชมว่านายธาริตเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำงาน นายสุเทพ (เทือกสุบรรณ) ในฐานะ ผอ.ศอฉ.จะมาสั่งมอบแบบรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่ คงไม่ได้ แต่จะมอบแนวทางปฏิบัติผ่านหัวหน้าหน่วยในการออกแผนปฏิบัติ เพราะในทางทหารเรียกว่าสั่งการแบบยุทธการ ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ และกรรมการ ศอฉ.คนอื่นๆ ล้วนคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ร่วมชุมนุมทุก ครั้ง แต่สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้คือ มีการใช้อาวุธและยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ เช่น บุกค้นโรงพยาบาลจุฬาฯ การยิงสถานีรถไฟฟ้าสีลม
คำสั่งยุทธการและ ปฏิบัติการในการทำงานของ ศอฉ.นั้นมีการยึดกฎหมายและระเบียบราชการ และในที่ประชุมนักกฎหมายหลายคนได้แสดงความเห็นว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมายและหลักสากล เจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการจะได้รับการกำชับตลอดเวลาว่า ต้องระวังความสูญเสียให้มากที่สุดและเพ่งเล็งไปที่ผู้ใช้อาวุธต่อสู้กับเจ้า หน้าที่รัฐเป็นสำคัญ
นายธาริตเคยระบุว่าหลายเรื่องที่ฝ่ายยุทธการตกลงกัน แต่นายธาริตไม่รู้เรื่อง
ถวิล - เรียนแล้วว่ามันไม่มีความลับ การสั่งการจะสั่งโต้งๆ ในที่ประชุมคงไม่ได้ แต่ถามว่าคุยกันเรื่องนโยบายหลักหรือไม่ ตอบว่าคุยแน่นอน เช่น วันที่ 10 เมษายน 2553 มีการขอคืนพื้นที่ มันเป็นความรับผิดชอบของ ศอฉ.ร่วมกัน แต่การปฏิบัติจะสั่งการในที่ประชุมไม่ได้ คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติต้องไปออกแผนปฏิบัติของตัวเองตามกรอบ ที่ ศอฉ.ให้ไว้ หากใครไม่เห็นด้วย การประชุมครั้งต่อไปก็นำมาคุยกันได้
การแถลงข่าวในวันนี้คล้ายกับว่า ใครมาเป็นรัฐบาลข้อมูลย่อมเปลี่ยนไปเสมอ
ถวิล - รู้สึกแบบนั้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว แต่เรื่องอื่นมันเกินหน้าที่ผม แค่เรื่องนี้ก็กลุ้มใจพออยู่แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐหากยอมทุกอย่างเพื่อรักษาตำแหน่งหน้าที่ ก็เป็นความโชคร้ายของสังคม แต่ผมไม่เป็นแบบนั้นแน่นอน
การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมและผู้บาดเจ็บเมื่อปี 2553 ใครรับผิดชอบ
ถวิล - เป็นคำถามยาก แต่ใครทำผิดต้องรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติการนั้นได้รับการคุ้มครองเพราะมีการประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ต้องใช้สิทธิเท่าที่จำเป็น มีการกำหนดว่าจะใช้เงื่อนไขใดบ้าง แต่จะเกินกว่าเหตุและเกินความจำเป็นไม่ได้ ส่วนเหตุการณ์ราชปรารภที่ยิงกันจากอาคารสูงนั้น ไม่ทราบเรื่องและข้อมูล
ครม.และผู้บริหารประเทศตอนนั้น ควรรับผิดชอบเช่นใด เพราะตอนนั้นมอบให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯเป็น ผอ.ศอฉ.
ถวิล - ต้องรับผิดชอบทั้งนั้น ต้องรับผิดชอบตามลำดับขั้น แต่ควรเป็นไปตามขั้นตอนยุติธรรม อย่าเป็นไปตามคำกล่าวหากัน ตอนนี้เจ้าหน้าที่โดนร้องเรียนเยอะ กองทัพได้รับร้องเรียนเยอะ แต่ผู้ใหญ่ห้ามปรามกันเยอะว่าทหารออกไปเสี่ยงชีวิต ทหารหนึ่งนายคุมอาวุธและรถ แต่โดนผู้ชุมนุมปิดล้อม ทหารถือปืน หากลั่นไกไปอาจติดคุก หากไม่ลั่นไกก็โดนตีตายได้
กระบวนการยุติธรรมตอนนี้เพ่งเล็งไปยังนายสุเทพกับนายอภิสิทธิ์มาก
ถวิล - ไม่ขอพูดถึง แต่ประหลาดใจว่าไม่น่ากลับตาลปัตรแบบนี้ การสั่งการและดำเนินการต่างๆ ในตอนนั้น ทำไปอย่างรอบคอบ รวมทั้งยังผ่านประสบการณ์เรื่องนี้มาพอสมควรตั้งแต่ปี 2551-2552-2553 ไม่ใช่ว่าจะไม่มีประสบการณ์เลย
เรียนแล้วว่าเหตุการณ์ 2553 เป็นการออกไประงับเหตุและรักษาความสงบเรียบร้อย เพราะมีการชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แต่กระแสตอนนี้กลับมองว่าออกไปฆ่าประชาชนและคิดว่าไม่ยุติธรรม ไม่อยากสรุปตรงนี้เอง แต่ขอให้ไปย้อนทบทวนสถานการณ์ตอนนั้น
เมื่อถามว่าที่สุดแล้วสังคมต้องการความเป็นธรรมในตอนนี้แล้วหรือไม่
ถวิล - มันควรเรียกร้องจากสองฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ แต่เหตุผลมันฟังไม่ได้ มันเป็นกฎของการกระทบกัน ฝ่ายหนึ่งบอกว่าโดนผลัก แต่ควรฟังส่วนที่เป็นกลางและยุติธรรม ข้อเท็จจริงนั้นมันมีหนึ่งเดียว การเข้าหาความเป็นธรรมนั้นควรอาศัยองค์กร แต่องค์กรไม่สำคัญเท่าดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในองค์กรนั้น ตนหวังว่าหากนำชาติบ้านเมืองให้อยู่รอดได้ เจ้าหน้าที่รัฐควรทำงานแบบสุจริตในวิชาชีพ ถูกเป็นถูก ผิดเป็นผิด
ธาริต เพ็งดิษฐ์
อธิบดีดีเอสไอ
อดีตกรรมการ ศอฉ.
"...การรับรู้ข้อมูลการทำงานของ ศอฉ. ผมคงรับรู้ได้น้อยกว่าพี่ถวิล เพราะผมไม่เคยเข้าร่วมประชุมยุทธการ แต่พี่ถวิลร่วมประชุมตลอด..."
อยาก จะชี้แจงเหมือนกับหลายครั้งที่ผ่านมาว่า ผมนั่งเป็นกรรมการ ศอฉ. แต่ที่ประชุมของ ศอฉ.แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน 4 ส่วนที่กล่าวถึงเป็นรูปแบบของคณะกรรมการ ศอฉ.ชุดใหญ่ เวลาประชุมร่วมก็ประมาณ 50 คน และผมเป็น 1 ในกรรมการที่เป็นฝ่ายข้าราชการพลเรือนที่เข้าร่วมประชุม
บรรยากาศ การประชุมก็รายงานสถานการณ์ต่างๆ ไม่มีการขอความเห็นหรือขอออกคำสั่งแต่อย่างใด แต่ที่ประชุมของ ศอฉ.ยังมีการประชุมอีกชุด คือ ฝ่ายยุทธการ ประกอบด้วย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายบริหาร รวมถึงนายถวิล เปลี่ยนศรี ในฐานะเลขานุการ ศอฉ. ซึ่งจำกัดบุคคลเข้าร่วมประชุม และผมก็เป็นบุคคลที่ถูกจำกัด ไม่ได้เข้าร่วมประชุมเช่นกัน
ในการประชุมของฝ่ายยุทธการเข้าใจว่าจะ มีการสั่งการ แนวทางการปฏิบัติงานและภารกิจการขอคืนพื้นที่ในช่วงเหตุการณ์การชุมนุมขณะ นั้น ผมไม่เคยเข้าร่วมประชุมการปฏิบัติงาน คงไม่เข้าใจการทำงานทั้งหมดว่ากำลังอยู่จุดไหน สั่งการอย่างไร เพียงแค่รับรู้สถานการณ์การทำงานโดยรวมเหมือนกับเพื่อนข้าราชการพลเรือนทั่ว ไปที่เป็นกรรมการ ศอฉ.
ถ้าจะให้เปรียบเทียบการรับรู้ข้อมูลการทำงาน ของ ศอฉ. ผมคงรับรู้ได้น้อยกว่าพี่ถวิล เพราะผมไม่เคยเข้าร่วมประชุมยุทธการ แต่พี่ถวิลร่วมประชุมตลอด ดังนั้นการรับรู้คงจะต่างกัน ผมไม่อยากโต้แย้ง และสิ่งสำคัญผมยังคงยืนยันคำพูดเดิมว่า ผมเคารพในการตัดสินและสนับสนุนการทำงานของ ศอฉ. ศอฉ.ทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่คับขันของบ้านเมืองขณะนั้น เพราะทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติได้ในที่สุด
มีการกล่าวหาว่าได้เสนอความเห็นหลายอย่างสนับสนุนความเห็นของ ศอฉ.
ธา ริต - ไม่เข้าใจว่าหมายถึงความเห็นส่วนใด หากเป็นการแถลงเรื่องการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดคดีก่อการร้าย การกระทำต่อชีวิตร่างกาย พลเรือน เจ้าหน้าที่่ การกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ หรือการข่มขู่เจ้าหน้าที่ เป็นหน้าที่ของผมในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดีตามภารกิจ
ผมไม่ รู้เหมือนกันว่าความเห็นของผมส่วนไหนสนับสนุน ผมไม่เคยออกคำสั่งการ และความคิดเห็นของผมคงไม่มีน้ำหนักอะไรในที่ประชุม เพราะผมเป็นเพียงกรรมการ 1 ใน 50 คนเท่านั้น ไม่ได้มีบทบาทอะไรมากนัก ผมจะมีความเห็นก็ต่อเมื่อเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบทางคดีและความรับผิดชอบ ของผมเท่านั้น