เปิดคำตัดสิน IPU กรณีจตุพรถูกถอดถอนจาก ส.ส.



ทีมข่าว นปช.
10 สิงหาคม 2555


คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสมาชิกรัฐสภา
สหภาพรัฐสภาสากล

เรียน คณะกรรมาธิการ

เมื่อพิจารณาว่าผู้ให้ข้อมูลยืนยันว่าข้อหาทางอาญาของนายจตุพรที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเขาในการชุมนุมของคนเสื้อแดงปี 2553 เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก ข้อหาการเข้าร่วมในการชุมนุมที่ผิดกฎหมายมาจากใช้อำนาจฉุกเฉินที่มิชอบด้วยกฎหมายของรัฐบาลที่แล้ว และการแจ้งข้อหาก่อการร้ายที่นายจตุพรและแกนนำเสื้อแเดงคนอื่นเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง (ผู้ให้ข้อมูลระบุว่าในขณะที่รัฐบาลกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงก่อความรุนแรงหลายครั้ง แต่ไม่มีหลักฐานว่าแกนนำของพวกเขามีบทบาทในการวางแผนโจมตีทำร้าย หรือแม้แต่ล่วงรู้แผนการเหล่านั้น)
เมื่อพิจารณาว่าจะมีการพิจารณาคดีดังกล่าวในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และผู้ให้ข้อมูลกลัวว่าศาลจะสั่งคุมขังนายจตุพรอีกครั้ง และข้อเท็จที่คณะกรรมาธิการควรรู้คือประเทศไทยเป็นภาคีกับ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และดังนั้นจึงมีพันธะที่จะปกป้องสิทธิดังกล่าว
1. มีความกังวลอย่างมากว่านายจตุพรถูกถอดถอนจากการเป็น ส.ส. ด้วยมูลเหตุที่ปรากฎว่าฝ่าฝืนพันธะในการปกป้องสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของประเทศไทยโดยตรง
2. เมื่อพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญไทยบัญญัติว่าการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของบุคคลที่ “ถูกคุมขังโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย” ในวันเลือกตั้ง เป็นการขัดขวางไม่ให้บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาทางอาญาจากการใช้สิทธิ์เลือกตั้งซึ่งขัดแย้งกับบทบัญญัติในไอซีซีพีอาร์ มาตรา 25 ซึ่งรับรองสิทธิในการ “เข้าร่วมกับกิจกรรมทางสาธารณะ” และ “ลงคะแนนเสียงหรือลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นอย่างแท้จริงตามกำหนดเวลา” โดยปราศจาก “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล”
3. พิจารณาได้ว่าในกรณีนี้ว่าการปฏิเสธไม่ให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากเรือนจำเพื่อใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคือ “ข้อจำกัดอันไม่สมเหตุสมผล” โดยเฉพาะในบทบัญญัติไอซีซีพีอาร์ที่รับรองให้สัณนิษฐานบุคคลซึ่งถูกกล่าวหาทางอาญาว่าเป็นผู้บริสุทธ์ (มาตรา 14) และ “ต้องแยกการปฏิบัติให้เหมาะสมต่อสถานะของบุคคลที่ยังไม่ถูกพิพากษาลงโทษ” (มาตรา 10 (2) (a)) การถอดถอนนายจตุพรยังขัดกับจิตวิญญาณของมาตรา 102 (4) ของรัฐธรรมนูญไทยซึ่งบัญญัติว่าบุคคลซึ่งต้องโทษทางอาญาไม่รวมถึงบุคคลที่ถูกกล่าวหาทางอาญาเท่านั้นที่จะเสียสิทธิ์ในการลงสมัครรับเลือกตั้งในวันสมัครลงแข่งขันเลือกตั้ง
4. นอกจากนี้ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นธรรมในการถอดถอนนายจตุพรออกจากเป็นสมาชิกพรรการเมืองในครั้งหนึ่งทั้งที่ไม่มีการระบุว่าเขากระทำความผิดใดและปรากฎอย่างชัดเจนว่าคำปราศรัยของเขาเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทางการแสดงออกซึ่งยืนยันโดยการยกร้องในเวลาต่อมา  และยังมีความกังวลว่าศาลอาจสามารถตัดสินเรื่องกรณีสมาชิกภาพในพรรคการเมืองของเขา แต่เมื่อกรณีนี้เป็นกรณีส่วนตัวอย่างชัดเจนเด็ดขาดระหว่างนายจตุพรและพรรคของเขา และไม่มีความขัดแย้งระหว่างพวกเขาในข้อพิพาทดังกล่าว
5. เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจากกรณีที่กล่าวไปข้างต้น เจ้าหน้าที่รัฐไทยซึ่งมีศักยภาพจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อจะพิจารณาการถอดถอนนายจตุพรอีกครั้งและประกันว่าบทบัญญัติทางกฎหมายในปัจจุบันจะสอดคล้องกับมาตราฐานสิทธิมนุษยชนสากลอย่าแท้จริง และเราหวังว่าจะค้นหาความเห็นของเจ้าหน้าที่ให้กรณีดังกล่าว
6. มีความกังวลเกี่ยวกับมาตารฐานทางกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ใช้อ้างอิงในข้อหาที่กำลังรอการพิจารณาคดีของนายจตุพรแเละความเป็นไปได้ที่ศาลอาจสั่งคุมขังเขาอีกครั้ง และเราหวังว่าจะได้รับสำเนาเอกสารชีแจงข้อกล่าวหาและได้รับการแจ้งถึงผลของการพิจารณาคดีในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 และการพิจารณาคดีครั้งต่อไป เมื่อพิจารณาวถึงความกังวลในกรณีนี้ อาจะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ที่จะมองหาความเป็นไปได้ที่ส่งผู้สังเกตการณ์ร่วมรับฟังการพิจารณาคดี และร้องขอให้สำนักงานเลนุการพิจาณาเรื่องนี้
7. ร้องขอให้สำนักงานเลนุการถ่ายทอดคำตัดสินนี้ไปยังเจ้าหน้าซึ่งมีความสามารถและผู้ให้ข้อมูล
8. ตัดสินว่าจะมีการตรวจสอบกรณีดังกล่าวในการประชุมครั้งต่อไป ในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภาสากลครั้งที่ 127 (ตุลาคม ปี 2555)

(แปลจาก: Document of Committee on the Human Rights of Parliamentarians  Inter-Parliamentary Union)