การที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะทำหนังสือลงวันที่ 24 สิงหาคม เพื่อขอเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีสามารถเข้าใจได้เข้า ใจได้ว่าเมื่อ ปลัดกระทรวงกลาโหม มีความเห็นต่างไปจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม การทำหนังสือขอหารือและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่ดำเนินไปตามกระบวนการในระบบราชการอย่างน้อย ปลัดกระทรวงกลาโหม ก็ยังมีความหวังว่า นายกรัฐมนตรี จะสามารถเป็นที่พึ่งพิงได้ในท่ามกลางความขัดแย้งเป็นไปตามระบบ เป็นไปตามโครงสร้างของการบังคับบัญชา
แต่การที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ เดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และฝากบัญชีรายชื่อโยกย้ายและแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหมไปให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นเรื่องที่ยากจะทำความเข้าใจได้อย่างปกติ ธรรมดาแม้ว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จะเคยเป็นนายกรัฐมนตรีแต่ก็เป็นอดีตไปแล้วมอง จากมุมของสังคมไทยซึ่งยังยึดโยงอยู่กับระบบเครือข่าย ระบบอุปถัมภ์ การเคลื่อนไหวของ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ อาจเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาใครๆ ก็ทำกันใน ยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เดินทางเข้าบ้านสี่เสา เทเวศร์ มาแล้วนั่นเป็นสถานการณ์ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 จึง มิได้เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ จะเดินทางเข้าพบ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อเชื่อมประสานไปยัง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ คำถามอยู่ที่ว่าเชื่อมประสานอย่างไร
คำตอบ 1 เชื่อมประสานเพราะว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยเป็นผู้บังคับบัญชามาก่อนกระนั้นหรืออย่างน้อย 2 ท่านนี้ก็เคยเป็น ผบ.ทบ. เคยเป็นนายกรัฐมนตรี
อย่างน้อย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็เคยเป็น ผบ.ทหารสูงสุด และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่ที่ควรระมัดเป็นอย่างยิ่งก็คือ ตำแหน่งในปัจจุบันของทั้ง 2 คืออะไร
องคมนตรีตําแหน่งองคมนตรีทั้งของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีความละเอียดอ่อนอย่างเป็นพิเศษยิ่ง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ยิ่งสลับซับซ้อนเพราะมิได้ดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรีอย่างธรรมดา ตรงกันข้าม ยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะองคมนตรีรู้กันอยู่ว่าองคมนตรีอยู่เหนือการเมืองรู้ กันอยู่ว่าองคมนตรีอยู่ในสถานะอันเป็นที่ปรึกษาให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ย่อมมิอาจได้เสียในเรื่องทางการเมือง อันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ อันเป็นเรื่องของความขัดแย้งแตกแยกของบุคคลหลายๆ ฝ่ายแล้วไฉน พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ จึงนำเอาความขัดแย้งที่ตนมีกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าไปให้องคมนตรีรับรู้ด้วยทั้งๆ ที่เป็นเรื่องของรัฐบาลทั้งๆ ที่เรื่องทั้งหมดนี้สามารถทำความเข้าใจกันได้บนพื้นฐานแห่งบทบัญญัติของรัฐ ธรรมนูญ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการปกครอง ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม รวมถึงระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยประมวลจริยธรรมในอำนาจของรัฐบาลพลันที่ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ขยายความขัดแย้งไปถึงระดับ "องคมนตรี"เรื่อง ของความไม่ลงรอยกันระหว่างปลัดกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็บานปลาย กลายเป็นเรื่องของการเมือง เป็นเรื่องของประโยชน์สาวไส้