"เหวง" แสดงทัศนะเกี่ยวกับหนังสือจากสภาให้ชี้แจงต่อศาล รธน.

Facebook นพ.เหวง โตจิราการ 10 กรกฎาคม 2555 >>>


นพ.เหวง โตจิราการ เล่าเรื่องหนังสือจากสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเรื่องให้ส่งยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาล รธน. และแสดงความเห็นต่อการดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาต่อไปนี้
ผมได้รับหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สผ.0001/ว462 ของ สนง.เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏรลงวันที่ 6 ก.ค. 55 อย่างไม่เป็นทางการ (เพราะผมทราบจาก ส.ส. ท่านอื่นว่าได้รับแล้วแต่ของผมจนกระทั่งขณะนี้ (19.30 น. วันที่ 10 ก.ค. 55) ยังไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว
ด้วยผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องร้ายแรงของระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเพราะผมเห็นว่ากำลังมีการทำลายระบอบประชาธิปไตยของไทยลงไปอย่างน่าสังเวชใจ เพราะบางเสี้ยวส่วนของอำนาจตุลาการกำลังแทรกแซงครอบงำบงการอำนาจนิติบัญญัติอย่างร้ายแรง ดังนั้นผมจึงได้แจ้งไปยังหน่วยงานรัฐสภาให้ส่งหนังสือฉบับนี้มา ผมได้รับทางแฟ๊กซ์เพียงหน้าแรก ทราบว่ามีเอกสารประกอบอีกจำนวนมาก แต่เพียงหน้าแรก ผมก็ขออนุญาตแสดงทัศนะดังต่อไปนี้
เอกสารในหน้าแรกความสำคัญกล่าวไว้ว่า (ผมขอแยกเป็นสองวรรคเพื่อสะดวกในการกล่าวอ้างถึง) "ด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำสั่งรับคำร้องของพลตรีจำลอง ศรีเมือง กับพวกผู้ร้อง และนายสุนัย จุลพงศธรกับพวกผู้ถูกร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ประกอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจาณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 ข้อ 17 (2) และมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกต้องจำนวน 304 คน เพื่อให้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วันนับแต่วันรับสำเนาคำฟ้อง ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย (ในขณะที่เขียนนี้ผมยังไม่ได้รับรายละเอียดดังกล่าว)” ผมมีความเห็นดังต่อไปนี้

1. รัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติมาตราไหนที่ให้อำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญที่จะเรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาทำการใดๆตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ท่านพิจารณาถ้อยคำของมาตรา 213 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ให้ละเอียดที่กล่าวว่า "ในการปฏิบัติหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้”
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีนิติฐานะตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 93 และสมาชิกวุฒิสภามีนิติฐานะตามมาตรา 111 ดังนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิ สภาจึงไม่ใช่ “บุคคลใด หรือพนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง"
นอกจากนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา กลับได้รับการคุ้มครองให้สามารถทำหน้าที่ได้โดยปลอดจากการแทรกแซงครอบงำบงการจากทุกองค์กรทุกหน่วยงานโดยสิ้นเชิง ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 122 ที่กล่าวไว้ว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์”
สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภา ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้รับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนขาวไทยโดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์”เท่านั้น นอกจากนั้นไม่อาจจะมีองค์กรหรือหน่วยงานใดจะมีอำนาจมาแทรกแซงครอบงำบงการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาได้เป็นอันขาด
2. ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งรับคำร้องของพลตรีจำลองศรีเมืองกับพวก โดยไม่ชอบด้วยหลักนิติรัฐนิติธรรม ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เพราะการรับคำร้องนั้น “ต้องมีเหตุอันเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดรัฐธรรมนูญจริง” “ต้องมีข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่ามีการกระทำตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีทั้งสองประการ ขอให้พิจารณามาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ดู
   “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้ ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”
รัฐสภาไม่ใช่บุคคล รัฐสภาใช้อำนาจหน้าที่ ไม่ได้ใช้สิทธิและเสรีภาพ มาตรา 291 แก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านวาระ 1 และ 2 ได้กำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 291/11 วรรค 5 ว่า “ห้ามล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ”
ดังนั้นจึงไม่มีกรณีตามวรรคหนึ่ง จึงไม่มีการกระทำตามวรรคหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ทราบการกระทำดังกล่าว แล้วศาลรัฐธรรมนูญ”มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้อย่างไร”
ในวรรคสองระบุชัดแจ้งว่าให้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง(จากนั้นจึง)และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกที ไม่ใช่สามารถส่งตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ 
ดังนั้นการกระทำครั้งนี้ของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีบทบัญญัติใดๆในรัฐธรรมนูญรองรับ เป็นการวางอำนาจบาตรใหญ่ทำการนอกเหนือรัฐธรรมนูญทำการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงเป็นความชอบธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ต้องทำคำชี้แจงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาใดๆ
ในทางตรงข้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายดังกล่าวมีสิทธิที่จะฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญและพลตรีจำลองศรีเมืองต่อศาลสถิตย์ยุติธรรมกลับ ตามมาตรา 157 ของประมวลอาญาในเรื่อง "เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต” ต่างหาก 
จึงเรียนมายังสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภาทุกท่านได้โปรดช่วยกันพิจารณารักษาหลักการที่เป็นแก่นแท้สำคัญของระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ อย่าให้ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการอันเสียหายต่อระบอบประชาธิปไตยเป็นอันขาด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีนิติฐานะตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 93 และสมาชิกวุฒิสภามีนิติฐานะตามมาตรา 111 ดังนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิ กวุฒิ สภาจึงไม่ใช่ “บุคคลใด หรือพนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอ้าง นอกจากนี้ สมาชิกสภาผู้แท นราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา กลับได้รับการคุ้มครองให้สามารถทำหน้าที่ได้โดยปลอดจากการแทรกแซงครอบงำบงการจากทุกองค์กรทุกหน่วยงานโดยสิ้นเชิง ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 122 ที่กล่าวไว้ว่า ”สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย โดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์” สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภา ดังที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้รับผิดชอบต่อการ”ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนขาวไทยโดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์” เท่านั้น นอกจากนั้นไม่อาจจะมีองค์กรหรือหน่วยงานใดจะมีอำนาจมาแทรกแซงครอบงำบงการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาได้เป็นอันขาด
2. ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งรับคำร้องของพลตรีจำลองศรีเมืองกับพวก โดยไม่ชอบด้วยหลักนิติรัฐนิติธรรม ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เพราะการรับคำร้องนั้น “ต้องมีเหตุอันเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดรัฐธรรมนูญจริง” “ต้องมีข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้วว่ามีการกระทำตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีทั้งสองประการ ขอให้พิจารณามาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ดู
   “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้ ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวแต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”
รัฐสภาไม่ใช่บุคคล รัฐสภาใช้อำนาจหน้าที่ ไม่ได้ใช้สิทธิและเสรีภาพ มาตรา 291 แก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านวาระ 1 และ 2 ได้กำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 291/11 วรรค 5 ว่า “ห้ามล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ”
ดังนั้นจึงไม่มีกรณีตามวรรคหนึ่ง จึงไม่มีการกระทำตามวรรคหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ทราบการกระทำดังกล่าว แล้วศาลรัฐธรรมนูญ”มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยได้อย่างไร”
ในวรรคสองระบุชัดแจ้งว่าให้เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง (จากนั้นจึง) และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกที ไม่ใช่สามารถส่งตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ 
ดังนั้นการกระทำครั้งนี้ของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีบทบัญญัติใดๆในรัฐธรรมนูญรองรับ เป็นการวางอำนาจบาตรใหญ่ทำการนอกเหนือรัฐธรรมนูญทำการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญจึงเป็นความชอบธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ต้องทำคำชี้แจงเพื่อแก้ข้อกล่าวหาใดๆ
ในทางตรงข้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายดังกล่าวมีสิทธิที่จะฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญและพลตรีจำลองศรีเมืองต่อศาลสถิตย์ยุติธรรมกลับ ตามมาตรา157ของประมวลอาญาในเรื่อง "เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใดผู้หนึ่งหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต” ต่างหาก 
จึงเรียนมายังสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและสมาชิกวุฒิสภาทุกท่านได้โปรดช่วยกันพิจารณารักษาหลักการที่เป็นแก่นแท้สำคัญของระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ อย่าให้ศาลรัฐธรรมนูญกระทำการอันเสียหายต่อระบอบประชาธิปไตยเป็นอันขาด